ข้ามไปเนื้อหา

วิกิพีเดีย:คู่มือการเขียน/การทับศัพท์ภาษาอาหรับ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การทับศัพท์ภาษาอาหรับที่ใช้ในปัจจุบันมีสองแบบ คือ แบบราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งมีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีให้ใช้เป็นบรรทัดฐานเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2554 และแบบที่กำหนดขึ้นโดย อิสรอฟีล ซึ่งเป็นมาตรฐานการสะกดที่ใช้ในมหาวิทยาลัยอิสลามยะลาและงานเขียนของนักวิชาการมุสลิมส่วนใหญ่เป็นหลัก

หลักเกณฑ์ของราชบัณฑิตยสถาน

[แก้]

การทับศัพท์ภาษาอาหรับในที่นี้เป็นหลักการที่กำหนดตามราชบัณฑิตยสถาน (ปัจจุบันคือสำนักงานราชบัณฑิตยสภา)

หลักเกณฑ์การทับศัพท์ตามอักษรอาหรับ

[แก้]

หลักทั่วไป

[แก้]

1. การทับศัพท์ภาษาอาหรับตามหลักเกณฑ์นี้ยึดการออกเสียงภาษาอาหรับแบบที่ใช้ในการสื่อสารทั่วไป ไม่ได้ออกเสียงตามการอ่านพระคัมภีร์อัลกุรอาน หลักเกณฑ์นี้มีตารางเทียบอักษรอาหรับ เสียงของพยัญชนะอาหรับ (ในรูปสัทอักษร) อักษรไทยที่ใช้ในการทับศัพท์ อักษรโรมัน และมีตัวอย่างประกอบพร้อมความหมาย

2. ตัวอย่างของคำที่นำมาใช้ในหลักเกณฑ์นี้เป็นคำเดี่ยว คือคำที่ยังไม่ผันไวยากรณ์ และใช้วิธีการอ่านแบบหยุดคือไม่ออกเสียงท้าย ได้แก่ เสียงอุ ـُـ และเสียงอุน ـٌـ เช่น อัลมัสญิดุ อ่านเป็น อัลมัสญิด, อะบุน อ่านเป็น อับ

3. การออกเสียงที่แสดงไว้ในตาราง ได้ให้สัทอักษรในระบบสัทอักษรสากล (International Phonetic Alphabet หรือ IPA) ซึ่งแสดงประเภทของเสียง ลักษณะการออกเสียง และฐานที่เกิดของเสียง เช่น

พยัญชนะ ب (บาอ์) เทียบสัทอักษร /b/ แสดงว่าเป็นเสียงหยุด ก้อง มีฐานที่เกิดที่ริมฝีปาก
พยัญชนะ س (ซีน) เทียบสัทอักษร /s/ แสดงว่าเป็นเสียงเสียดแทรก ไม่ก้อง มีฐานที่เกิดที่ฐานฟันหรือปุ่มเหงือก

4. การเขียนภาษาอาหรับ จะเขียนพยัญชนะจากขวาไปซ้าย และมีรูปสระที่อาจอยู่ข้างบนหรือข้างล่าง

5. พยัญชนะในภาษาอาหรับหลายตัวไม่มีเสียงในภาษาไทย จำเป็นจะต้องเลือกอักษรไทยที่มีรูปต่างกันมาเทียบเพื่อแสดงให้เห็นว่าพยัญชนะในภาษาอาหรับเหล่านั้นมีเสียงต่างกัน[# 1] ดังนี้

5.1

5.2

5.2

5.4



5.5

5.6














=
=
=
=
=
=
=
=
=
=
=
=
=
=
ดาล /d/
ฎ๊อด /dˤ/[# 2]
ตาอ์ /t/
ฏออ์ /tˤ/
คออ์ /x/
ฆอยน์, เฆน /ɣ/
ซัย /z/ ซออ์ /ðˤ/ และซีน /s/ ในตำแหน่งพยัญชนะต้น
ซีน /s/ ในตำแหน่งพยัญชนะท้าย
ศ้อด /sˤ/
ษาอ์ /θ/ และษาล /ð/
หาอ์ /ħ/ ในตำแหน่งพยัญชนะท้าย
หาอ์ /ħ/ ในตำแหน่งพยัญชนะต้น และฮาอ์ /h/
ยาอ์ /j/
ญีม /d͡ʒ/, /ɡ/ ในตำแหน่งพยัญชนะต้น

6. สระเอาะในพยางค์แรกให้ออกเสียงเบา เป็นเสียงสามัญ เช่น ضَلاَلْ alāl าะลาล = หลงผิด

7. การใช้เครื่องหมายทัณฑฆาตมีหลักเกณฑ์ดังนี้

7.1 คำที่มีเสียงพยัญชนะท้าย 2 เสียงหรือมากกว่า ให้ใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตไว้ที่พยัญชนะตัวสุดท้าย เช่น
بَرْد
تَمْر
حَبْل
فَجْر
bard
tamr
abl
fajr
บัรด์
ตัมร์
ฮับล์
ฟัจญร์
"เย็น"
"อินทผลัม"
"เชือก"
"รุ่งอรุณ"
7.2 คำที่มีเสียงพยัญชนะอัยน์อยู่ในตำแหน่งพยัญชนะสะกด ซึ่งกำหนดให้ทับศัพท์เป็น อ์ หากมีพยัญชนะอื่นตามมา ให้เลื่อนเครื่องหมายทัณฑฆาตไปไว้บนพยัญชนะตัวสุดท้าย เช่น
كَعْب
لَعْب
kaab
laab
กะอบ์
ละอบ์
"ส้นเท้า"
"การเล่น"

8. สระ ـَـ (a) ในภาษาอาหรับออกเสียงได้ 2 แบบคือ –ะ, –า หรือ เ–าะ, –อ ดังนี้

8.1 ออกเสียงเป็น –ะ เมื่ออยู่บนพยัญชนะ 20 ตัว ได้แก่
 ا (อลิฟ)  ب (บาอ์); b  ي (ยาอ์); y  ه (ฮาอ์); h
 و (วาว); w  ن (นูน); n  م (มีม); m  ل (ลาม); l
 ك (ก๊าฟ); k  ف (ฟาอ์); f  ع (อัยน์)  ش (ชีน, เชน); sh, š
 س (ซีน); s  ز (ซัย); z  ذ (ษาล); dh, z,  د (ดาล); d
 ح (หาอ์);  ج (ญีม); j, dj, ǧ  ث (ษาอ์); th,  ت (ตาอ์); t
เช่น وَحْدَة wadah วห์ดฮ์ = เอกภาพ, عَدْل adl อัดล์ = ความยุติธรรม
และจะออกเสียงเป็น –า เมื่อตามด้วยอลิฟ เช่น وَاجِبْ wājib วญิบ = สิ่งจำเป็น
8.2 ออกเสียงเป็น เ–าะ เมื่ออยู่บนพยัญชนะ 8 ตัว ได้แก่
 ض (ฎ๊อด);  غ (ฆอยน์, เฆน); gh, ġ  خ (คออ์); kh, ,  ق (ก๊อฟ); q
 ر (รออ์); r  ص (ศ้อด);  ط (ฏออ์);  ظ (ซออ์); , dh
เช่น خَلِيْفَة khalīfah าะลีฟะฮ์ = ตัวแทน
และจะออกเสียงเป็น –อ เมื่อตามด้วยอลิฟ เช่น قَاعِدَة qāidah กอิดะฮ์ = หลักการ

9. การเขียนคำทับศัพท์ที่มี أَلْ (al) อยู่ข้างหน้า แม้ในอักษรโรมันจะเขียนโดยมีเครื่องหมายยัติภังค์คั่น เมื่อเขียนทับศัพท์ให้เขียนติดกัน เช่น

اَلْفَتْح
اَلْحَج
al-fat
al-aj
อัลฟัตห์
อัลฮัจญ์
"ชัยชนะ"
"การทำฮัจญ์"

10. การทับศัพท์คำที่มีการออกเสียงเชื่อมคำในภาษาอาหรับมีหลักดังนี้

10.1 การทับศัพท์คำ أَلْ ที่นำหน้าคำนาม
คำว่า أَلْ ในภาษาอาหรับเป็นคำนำหน้านามเหมือนกับ the ในภาษาอังกฤษ เมื่อเติม أَلْ จะทำให้คำนามทั่วไป (نَكِرَة) กลายเป็นคำนามชี้เฉพาะ (مَعْرِفَة) ทันที ในการทับศัพท์มีหลักการดังนี้
10.1.1 เมื่อ أَلْ ตามด้วยพยัญชนะจันทรา (حروف قمرية) ซึ่งมี 14 ตัว ให้ทับศัพท์เป็น อัล ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ลำดับ อักษรอาหรับ ตัวอย่าง
อักษรอาหรับ อักษรโรมัน คำทับศัพท์ ความหมาย
 1  (ﺃ (همزة الْأَمِين    al-amīn  อัลอะมีน  ผู้ซื่อสัตย์
 2   اَلْبَلَد    al-balad  อัลบะลัด  เมือง
 3   اَلْحِكْمَة    al-ikmah  อัลฮิกมะฮ์  วิทยปัญญา
 4   اَلْجَزِيْرَة    al-jazīrah  อัลญะซีเราะฮ์  เกาะ
 5   اَلْخَلِيْفَة    al-khalīfah  อัลเคาะลีฟะฮ์  ตัวแทน, ผู้สืบทอด
 6   اَلْعِلْم    al-ilm  อัลอิลม์  ความรู้
 7   اَلْغُلَام    al-ghulām  อัลฆุลาม  เด็กหนุ่ม
 8   اَلْفَتْح    al-fat  อัลฟัตห์  ชัยชนะ
 9   اَلْقُرْآن    al-Qurān  อัลกุรอาน  คัมภีร์อัลกุรอาน
 10   اَلْكَلَام    al-kalām  อัลกะลาม  คำพูด
 11   اَلْمَلِك    al-malik  อัลมะลิก  กษัตริย์
 12   اَلْوَزِيْر    al-wazīr  อัลวะซีร  รัฐมนตรี
 13  ـﻫ اَلْهِلَال    al-hilāl  อัลฮิลาล  จันทร์เสี้ยว
 14   اَلْيَتِيْم    al-yatīm  อัลยะตีม  เด็กกำพร้า
10.1.2 เมื่อ أَلْ ตามด้วยพยัญชนะสุริยัน (حروف شمسية) ซึ่งมี 14 ตัว ให้ทับศัพท์พยัญชนะต้นของคำที่ตามมาให้เป็นตัวสะกดแทน ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ลำดับ อักษรอาหรับ ตัวอย่าง
อักษรอาหรับ อักษรโรมัน คำทับศัพท์ ความหมาย
 1   اَلتَمْرِيْن    at-tamrīn  อัตตัมรีน  แบบฝึกหัด
 2   اَلثَّلْج    ath-thalj  อัษษัลจญ์  น้ำแข็ง, หิมะ
 3   اَلدَّفْتَر    ad-daftar  อัดดัฟตัร  สมุด
 4   اَلذَّهَب    adh-dhahab  อัษษะฮับ  ทองคำ
 5   اَلرَّئِيْس    ar-raīs  อัรเราะอีส  หัวหน้า, ผู้นำ
 6   اَلزُّجَاج    az-zujāj  อัซซุญาจญ์  แก้ว, กระจก
 7   اَلسُّرُوْر    as-surūr  อัสซุรูร  ความปลื้มปีติ
 8   اَلشَّجَاعَة    ash-shajāah  อัชชะญาอะฮ์  ความกล้าหาญ
 9   اَلصِّيَام    aṣ-iyām  อัศศิยาม  การถือศีลอด
 10   اَلضَّعِيْف    aḍ-aīf  อัฎเฎาะอีฟ  ผู้อ่อนแอ
 11   اَلطَّهَارَة    aṭ-ahārah  อัฏเฏาะฮาเราะฮ์  ความสะอาด
 12   اَلظَّلَام    aẓ-alām  อัซเซาะลาม  ความมืด
 13   اَللَّيْل    al-layl  อัลลัยล์  กลางคืน
 14   اَلنَّيْل    an-nail  อันนัยล์  แม่น้ำไนล์
10.2 การทับศัพท์คำ أَلْ ที่มีคำนำมาข้างหน้า
คำนามที่มีคำ أَلْ ประกอบข้างหน้า หากมีคำอื่นนำหน้า เมื่อทับศัพท์จะไม่ทับศัพท์สระ a ต้นพยางค์ของคำที่มี أَلْ อยู่ข้างหน้า แต่จะทับศัพท์สระของพยางค์ท้ายของคำที่นำมาข้างหน้าให้เชื่อมเสียงกับคำที่ตามมา เช่น คำว่า عَبْدُ الرَّحْمن Abdurrahmān ประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ عَبْدُ abdu (อับดุ) และ الرَّحْمن arrahmān (อัรเราะห์มาน) คำ arrahmān (อัรเราะห์มาน) ประกอบขึ้นจาก อัล กับ เราะห์มาน จึงทับศัพท์เป็น อับดุเราะห์มาน, คำว่า عَبْدُ الْكَرِيْم Abdulkarīm ประกอบด้วยคำ 2 คำคือ عَبْدُ abdu (อับดุ) และ الْكَرِيْم alkarīm (อัลกะรีม) คำ alkarīm (อัลกะรีม) ประกอบขึ้นจาก อัล กับ กะรีม จึงทับศัพท์เป็น อับดุกะรีม

11. พยัญชนะอาหรับโดยทั่วไปมี 28 ตัว ถ้ารวมฮัมซะฮ์จะเป็น 29 ตัว มีชื่อดังนี้

อักษรอาหรับ ชื่อพยัญชนะ เสียง เทียบอักษร
โรมัน ไทย
 ا  อลิฟ (alif)  -  -  อ
 ء  ฮัมซะฮ์ (hamzah)  ʔ  -  อ (ในตำแหน่งพยัญชนะต้น),
 อ์ (ในตำแหน่งพยัญชนะท้าย)
 ب  บาอ์ (bā)  b  b  บ
 ت  ตาอ์ (tā)  t  t  ต
 ة  a, at  ah  –ะฮ์, เ–าะฮ์
 ث‎[# 3]  ษาอ์ (thā)  θ  th,  ษ
 ج  ญีม (jīm)  d͡ʒ, ɡ  j, dj, ǧ  ญ (ในตำแหน่งพยัญชนะต้น),
 จญ์ (ในตำแหน่งพยัญชนะท้าย)
 ح  หาอ์ (ḥā)  ħ    ฮ (ในตำแหน่งพยัญชนะต้น),
 ห์ (ในตำแหน่งพยัญชนะท้าย)
 خ  คออ์ (khā)  x  kh, ,  ค
 د  ดาล (dāl)  d  d  ด
 ذ  ษาล (dhāl)  ð  dh, z,  ษ
 ر  รออ์ (rā)  r  r  ร
 ز  ซัย (zai)  z  z  ซ
 س  ซีน (sīn)  s  s  ซ (ในตำแหน่งพยัญชนะต้น),
 ส (ในตำแหน่งพยัญชนะท้าย)
 ش  ชีน, เชน (shīn)  ʃ  sh, š  ช
 ص  ศ้อด (ṣād)      ศ
 ض  ฎ๊อด (ḍād)      ฎ
 ط  ฏออ์ (ṭā)      ฏ
 ظ  ซออ์ (ẓā)  ðˤ  , dh  ซ
 ع  อัยน์ (ayn)  ʕ  -  อ (ในตำแหน่งพยัญชนะต้น),
 อ์ (ในตำแหน่งพยัญชนะท้าย)
 غ  ฆอยน์, เฆน (ghayn)  ɣ  gh, ġ  ฆ
 ف  ฟาอ์ (fā)  f  f  ฟ
 ق  ก๊อฟ (qāf)  q  q  ก
 ك  ก๊าฟ (kāf)  k  k  ก
 ل  ลาม (lām)  l  l  ล
 م  มีม (mīm)  m  m  ม
 ن  นูน (nūn)  n  n  น
 و  วาว (wāw)  w  w  ว
 ه  ฮาอ์ (hā)  h  h  ฮ (ในตำแหน่งพยัญชนะต้น),
 ฮ์ (ในตำแหน่งพยัญชนะท้าย)
 ي  ยาอ์ (yā)  j  y  ย

12. คำทับศัพท์ที่เป็นชื่อเฉพาะ ได้แก่ วัน เดือน ปี วันสำคัญทางศาสนาอิสลาม เวลาปฏิบัติละหมาด ชื่อคน ชื่อสถานที่ และคำอาหรับในปฏิทินหลวงได้จัดทำไว้เป็นภาคผนวก

หมายเหตุ
  1. ตัวพยัญชนะไทยที่มีอยู่ 44 ตัวนั้น เป็นตัวอักษรที่ใช้ร่วมกับอักษรที่ใช้เขียนภาษาบาลีสันสกฤต 34 ตัว อีก 10 ตัว เป็นพยัญชนะที่ไทยสร้างขึ้นเพื่อรองรับเสียงในภาษาไทย แต่ในระบบเสียงของภาษาไทยนั้นมีหน่วยเสียงพยัญชนะอยู่เพียง 21 หน่วยเสียง ดังนั้น จึงมีตัวพยัญชนะหลายตัวที่ใช้แทนเสียงเดียวกันเมื่อเป็นพยัญชนะต้น เช่น ข ฃ ค ฅ ฆ แทนเสียง /kʰ/ ฐ ฑ ฒ ถ ท ธ แทนเสียง /tʰ/ ซ ศ ษ ส แทนเสียง /s/ เป็นต้น
    อนึ่ง เนื่องจากภาษาไทยเป็นภาษาที่มีหน่วยเสียงวรรณยุกต์ ตัวพยัญชนะจึงจัดเป็นอักษรสูง อักษรกลาง อักษรต่ำ ซึ่งมีผลต่อการออกเสียงตามระบบวรรณยุกต์ด้วย ในการทับศัพท์คำที่ไม่มีวรรณยุกต์ ให้ถือว่าอักษรสูง อักษรต่ำนั้นมิได้มีอิทธิพลต่อการออกเสียงวรรณยุกต์ของพยางค์ เช่น คำที่เขียนว่า ษะฮับ หรือ ซะมาอ์ พยางค์หน้าใช้อักษรต่างกันเพราะเป็นเสียงพยัญชนะต่างกันในภาษาอาหรับ แต่ไม่ได้ต่างกันที่วรรณยุกต์
  2. สัญลักษณ์ /ˤ/ ใช้แทนเสียงที่มีลักษณะโคนลิ้นสู่ผนังคอ (pharyngealization) หมายความว่า การออกเสียงนี้ต้องถอยโคนลิ้นลงไปใกล้ที่ผนังคอส่วนที่อยู่เหนือกล่องเสียงตรงลูกกระเดือก เสียง /d/ กับเสียง /dˤ/ ต่างกันที่เสียง /d/ ออกเสียงคล้ายกับ ด ในภาษาไทย นั่นคือ ใช้ปลายลิ้นแตะที่โคนฟันเท่านั้น แต่เสียง /dˤ/ ต้องถอยโคนลิ้นลงไปใกล้ที่ผนังคอด้วย
  3. ในบางถิ่นออกเสียงคล้าย s

ตารางเทียบพยัญชนะ

[แก้]
อักษรอาหรับ ชื่อเรียก เสียง เทียบอักษร ตัวอย่าง
โรมัน ไทย อักษรอาหรับ อักษรโรมัน คำทับศัพท์ ความหมาย
 ا‎  อลิฟ (alif)  -  -  อ إِسْلَام    Islām  อิสลาม  ชื่อศาสนา
أَنْصَارِيْ    Anṣārī  อันศอรี  แห่งชาวอันศอร (ชื่อบุคคลชาย)
أُسَامَة    Usāmah  อุซามะฮ์  ผู้กล้าหาญ (ชื่อบุคคลชาย)
 ء  ฮัมซะฮ์ (hamzah)  ʔ  a[# 1]  อ (ในตำแหน่งพยัญชนะต้น) أَبْ    ab  อั  พ่อ
 อ์ (ในตำแหน่งพยัญชนะท้าย) فَأْلٌ    faalun  ฟะอ์ลุน  ฤกษ์
نَبَأْ    nabaa  นะบะอ์  ข่าว
سَمَاء    samāa  ซะมาอ์  ฟ้า
 i[# 2]  อ إِبِلْ    ibil  อิบิล  อูฐ
 u[# 3] أُسْتَاذ    ustādh  อุสตาษ  ศาสตราจารย์
 ب  บาอ์ (bā)  b  b  บ بَرْد    bard  บัรด์  เย็น
مَبْرُوْك    mabrūk  มัรูก  ขอแสดงความยินดี
مَكْتَبْ    maktab  มักตั  สำนักงาน, โต๊ะเขียนหนังสือ
 ت  ตาอ์ (tā)  t  t  ต تَمْر    tamr  ตัมร์  อินทผลัม
مَتْحَفْ    mataf  มัฮัฟ  พิพิธภัณฑ์
بَيْت    bayt  บัยต์  บ้าน
 ة  a, at  ah  –ะฮ์ [เมื่ออยู่ท้ายคำและตามหลังพยัญชนะ 20 ตัว ได้แก่ ا (a), ب (b), ي (y), ه (h), و (w), ن (n), م (m), ل (l), ك (k), ف (f), ع (a), ش (sh), س (s), ز (z), ذ (dh), د (d), (), (j), (th) และ ت (t)] مَكَّة‎    Makkah  มักกะฮ์  ชื่อเมือง
مَدِيْنَة    Madīnah  มะดีนะฮ์  ชื่อเมือง
اَلْقَاعِدَة    Al-qāidah  อัลกออิดะฮ์  หลักการ, ชื่อขบวนการ
مَرْوَة    Marwah  มัรวะฮ์  ชื่อสถานที่
 เ–าะฮ์ [เมื่ออยู่ท้ายคำและตามหลังพยัญชนะ 8 ตัว ได้แก่ ض (), غ (gh), خ (kh), ق (q), ر (r), ص (), ط () และ ظ ()] اَلْجَزِيْرَة    al-jazīrah  อัลญะซีาะฮ์  เกาะ
رَابِطَة    rābiah  รอบิาะฮ์  สายสัมพันธ์
حَفْصَة    afah  ฮัฟาะฮ์  ชื่อผู้หญิง
وَثِيْقَة    wathīqah  วะษีาะฮ์  เอกสาร
 ث‎[# 4]  ษาอ์ (thā)  θ  th,  ษ ثَوْب    thaob, aob  เาบ์  เสื้อผ้า
مُثْمِرْ    muthmir, mumir  มุมิร  ให้ผล
حَدِيْثْ    adīth, adī  ฮะดี  คำพูด
 ج  ญีม (jīm)  d͡ʒ, ɡ  dj, j, ǧ  ญ (ในตำแหน่งพยัญชนะต้น) جِهَاد    Jihād, Djihād, Ǧihād  ญิฮาด  การต่อสู้
 จญ์ (ในตำแหน่งพยัญชนะท้าย) فَجْر    fajr, fadjr, faǧr  ฟัจญร์  รุ่งอรุณ
اَلْحَج    Al-aj, Al-adj, Al-aǧ  อัลฮัจญ์  การประกอบพิธีฮัจญ์
 ح  หาอ์ (ā)  ħ    ฮ (ในตำแหน่งพยัญชนะต้น) حَبْل    abl  ฮับล์  เชือก
 ห์ (ในตำแหน่งพยัญชนะท้าย) أَحْمَد    Amad  อะห์มัด  ผู้น่ายกย่อง, ผู้น่าสรรเสริญ (ชื่อบุคคลชาย)
بَلَح    bala  บะละห์  อินทผลัมดิบ
 خ  คออ์ (khā)  x  kh, ,  ค خِدْمَة    khidmah, idmah, idmah  คิดมะฮ์  การบริการ
نَخْلَة    nakhlah, nalah, nalah  นัละฮ์  ต้นอินทผลัม
أَخْ    akh, a, a  อั  น้องชาย, พี่ชาย
 د  ดาล (dāl)  d  d  ด دَار    dār  าร  บ้าน
مَدْرَسَة    madrasah  มัเราะซะฮ์  โรงเรียน
وَلَدْ    walad  วะลั  เด็กผู้ชาย
 ذ  ษาล (dhāl)  ð  dh, , z  ษ ذَهَبْ    dhahab, ahab, zahab  ะฮับ  ทองคำ
مَذْهَبْ    madhhab, mahab, mazhab  มัฮับ  แนวทาง, นิกาย
رَذَاذْ    radhādh, raā, razāz  เราะ  ฝนปรอย ๆ
 ر  รออ์ (rā)  r  r  ร رَسُوْل    rasūl  เาะซูล  ทูต
أَرْكَان    arkān  อักาน  หลักสำคัญ, มุม
أَحْمَرْ    amar  อะห์มั  สีแดง
 ز  ซัย (zai)  z  z  ซ زَبِيْب    zabīb  ะบีบ  ลูกเกด
أَزْرَقْ    azraq  อัร็อก  สีน้ำเงิน
عَزِيْز    Azīz  อะซีซ  ยิ่งใหญ่ (ชื่อบุคคลชาย)
 س  ซีน (sīn)  s  s  ซ (ในตำแหน่งพยัญชนะต้น) سَلْمَى    Salmā  ซัลมา  ผู้มีความสุข, ผู้มีความปลอดภัย (ชื่อบุคคลหญิง)
مُوْسَى    Mūsā  มู  ชื่อศาสดาท่านหนึ่ง (ชื่อบุคคลชาย)
 ส (ในตำแหน่งพยัญชนะท้าย) حُسْنِىْ    usnī  ฮุนี  ดี, สวย (ชื่อบุคคลชาย)
قِيَاسْ    qiyās  กิยา  การเทียบเคียง
 ش  ชีน, เชน (shīn)  ʃ  sh, š  ช شَمَالْ    shamāl, šamāl  ะมาล  ทิศเหนือ
مِشْمِشْ    mishmish, mišmiš  มิมิ  ลูกท้อ
 ص  ศ้อด (ṣād)      ศ صَلَاة    alāh  เาะลาฮ์  การละหมาด
مِصْبَاح    mibāḥ  มิบาห์  ดวงประทีป
قِصَاصْ    qiā  กิ  การประหารชีวิตให้ตายตามกัน
 ض  ฎ๊อด (ḍād)      ฎ ضَلَالْ    alāl  เาะลาล  หลงผิด
أَضْحَى    Aḥā  อัฮา  (วันตรุษ) อัฎฮา
إِجْهَاضْ    ijhā  อิจญ์ฮา  การทำแท้ง
 ط  ฏออ์ (ṭā)      ฏ طَلَاق    alāq  เาะลาก  การหย่า
مَطْعَمْ    maam  มัอัม  ร้านอาหาร
نَشَاط    nashā  นะชา  ความกระตือรือร้น
 ظ  ซออ์ (ẓā)  ðˤ  , dh  ซ ظَلَام    alām, dhalām  เาะลาม  ความมืด
مَظْلُوْم    malūm, madhlūm  มัลูม  ผู้ไม่ได้รับความเป็นธรรม
حَافِظْ    Ḥāfi, Ḥāfidh  ฮาฟิ  ผู้รักษา, ผู้ท่องจำ (ชื่อบุคคลชาย)
 ع  อัยน์ (ayn)  ʕ  a[# 5]  อ (ในตำแหน่งพยัญชนะต้น) عَذَاب    adhāb  ะษาบ  การทรมาน
 อ์ (ในตำแหน่งพยัญชนะท้าย) شَعْبَان    shaabān  ชะอ์บาน  เดือนชะอ์บาน (เดือนที่ 8 ของปฏิทินอิสลาม)
نَافِعْ    nāfia  นาเฟียะอ์  มีประโยชน์
 i[# 6]  อ عِبَادَة    ibādah  อิบาดะฮ์  ศาสนกิจ
 u[# 7] عُمُوْم    umūm  อุมูม  ทั่วไป
 غ  ฆอยน์, เฆน (ghayn)  ɣ  gh, ġ  ฆ غُلَام    Ghulām, Ġulām  ฆุลาม  เด็กหนุ่ม, ทาส (ชื่อบุคคลชาย)
مَغْرِب    maghrib, maġrib  มัริบ  เวลาพลบค่ำ
تَبْلِيْغ    tablīgh, tablīġ  ตับลี  การเผยแผ่
 ف  ฟาอ์ (fā)  f  f  ฟ فَسَاد    fasād  ะซาด  ความเสื่อมเสีย
تَفْسِيْر    tafsīr  ตัซีร  การอธิบาย
خُسُوْف    khusūf  คุซู  จันทรคราส
 ق  ก๊อฟ (qāf)  q  q  ก قُرْآن    Qurān  กุรอาน  คัมภีร์กุรอาน
مَقْصُوْد    maqṣūd  มัศูด  จุดมุ่งหมาย
رَحِيْق    raḥīq  เราะฮี  น้ำทิพย์
 ك  ก๊าฟ (kāf)  k  k  ก كَعْبَة    Kabah  ะอ์บะฮ์  วิหารกะอ์บะฮ์
مَكْتَب    maktab  มัตับ  สำนักงาน
مُبَارَك    mubārak  มุบาร็อ  เป็นสิริมงคล
 ل  ลาม (lām)  l  l  ล لَيْلَى    Laylā  ลั  ราตรี, สดใส, ร่าเริง, รัตติกาล (ชื่อบุคคลหญิง)
كَلْب    kalb  กับ์  สุนัข
جَبَل    jabal  ญะบั  ภูเขา
 م  มีม (mīm)  m  m  ม مَسْجِد    masjid  มัสญิด  มัสยิด, สุเหร่า
أَمْثَال    amthāl  อัษาล  อุทาหรณ์
عَالِم    Ālim  อาลิ  ผู้รู้, ปราชญ์ (ชื่อบุคคลชาย)
 ن  นูน (nūn)  n  n  น نَبِي    nabī  ะบี  ผู้แจ้งข่าวจากพระเจ้า
دُنْيَا    dunyā  ดุยา  โลกนี้
لَبَن    laban  ละบั  นมเปรี้ยว
 و  วาว (wāw)  w  w  ว وَاجِب    wājib  ายิบ  สิ่งจำเป็น, หน้าที่
فَوْزِيْ    Fawzī  ซี  ผู้พิชิต, ผู้ชนะ (ชื่อบุคคลชาย)
 ه  ฮาอ์ (hā)  h  h  ฮ (ในตำแหน่งพยัญชนะต้น) هِجْرَة    hijrah  ฮิจญ์เราะฮ์  การอพยพ
 ฮ์ (ในตำแหน่งพยัญชนะท้าย) أَهْلِي    ahlī  อะฮ์ลี  ครอบครัวของฉัน
لِمَهْ    limah  ลิมะฮ์  เพราะเหตุใด
 ي  ยาอ์ (yā)  j  y  ย يَتِيْم    yatīm  ะตีม  เด็กกำพร้า
أَيْمَان    aymān  อัมาน  คำสาบาน
หมายเหตุ
  1. ในการถอดฮัมซะฮ์เป็นอักษรโรมัน จะถอดตามรูปสระที่ตามมา
  2. ในการถอดฮัมซะฮ์เป็นอักษรโรมัน จะถอดตามรูปสระที่ตามมา
  3. ในการถอดฮัมซะฮ์เป็นอักษรโรมัน จะถอดตามรูปสระที่ตามมา
  4. ในบางถิ่นออกเสียงคล้าย s
  5. ในการถอดอัยน์เป็นอักษรโรมัน จะถอดตามรูปสระที่ตามมา
  6. ในการถอดอัยน์เป็นอักษรโรมัน จะถอดตามรูปสระที่ตามมา
  7. ในการถอดอัยน์เป็นอักษรโรมัน จะถอดตามรูปสระที่ตามมา

ตารางเทียบสระ

[แก้]
อักษรอาหรับ เทียบอักษร ตัวอย่าง
โรมัน ไทย อักษรอาหรับ อักษรโรมัน คำทับศัพท์ ความหมาย
 ـَـ  a  –ะ أَدَبْ    adab  อดับ  มารยาท
أَحْمَدْ    Amad  อห์มัด  ผู้น่ายกย่อง, ผู้น่าสรรเสริญ (ชื่อบุคคลชาย)
 a (เมื่อมีตัวสะกด)  –ั شَتْم    shatm  ชัตม์  ด่าว่า, กล่าวให้ร้าย
عَدْل    adl  อัดล์  ความยุติธรรม
آدَمْ    Ādam  อาดั  มนุษย์ (ชื่อบุคคลชาย)
تَمْر    tamr  ตัมร์  อินทผลัม
 a [เมื่ออยู่บนพยัญชนะ 8 ตัว ได้แก่ ض (), غ (gh), خ (kh), ق (q), ر (r), ص (), ط () และ ظ ()]  เ–าะ خَبَرْ    khabar  าะบัร  ข่าว
رَسُوْل    rasūl  าะซูล  ทูต
مُصْطَفَى    Muṣṭafā  มุศาะฟา  ผู้ถูกคัดเลือก (ชื่อบุคคลชาย)
 ā, aa  –า سَالِمْ    Sālim  ซลิม  ผู้มีความปลอดภัย (ชื่อบุคคลชาย)
وَاجِبْ    wājib  วญิบ  สิ่งจำเป็น
 ā [เมื่ออยู่บนพยัญชนะ 8 ตัว ได้แก่ ض (), غ (gh), خ (kh), ق (q), ر (r), ص (), ط () และ ظ ()]  –อ خَالِدْ    Khālid  คลิด  ผู้คงอยู่ (ชื่อบุคคลชาย)
صَادِق    ādiq  ศดิก  ผู้มีสัจจะ, มีความซื่อตรง (ชื่อบุคคลชาย)
قَاعِدَة    qāidah  กอิดะฮ์  หลักการ
 ai, ay  –ัย سُلَيْمَانْ    Sulaymān  ซุลัยมาน  ผู้มีความสงบสุข (ชื่อบุคคลชาย)
فَيْصَل    Fayal  ฟัยศ็อล  ผู้พูดเก่ง, ผู้ตัดสิน (ชื่อบุคคลชาย)
 au, aw  เ–า تَوْفِيقْ    taufīq  ฟีก  ความสำเร็จ
مَوْلِدْ    maulid  ลิด  สถานที่เกิด, วันเกิด
 ـِـ  i  –ิ عِبَادَة    ibādah  อิบาดะฮ์  ความเคารพภักดี
مِفْتَاح    miftāḥ  มิฟตาห์  ลูกกุญแจ
 i(a)a  เ–ียะอ์ [เมื่อตามด้วยพยัญชนะอัยน์ (ayn)] نَافِعْ    Nāfia  นาเฟียะอ์  มีประโยชน์ (ชื่อบุคคลชาย)
 เ–ียอ์ [เมื่อตามด้วยพยัญชนะยาอ์ (yā) และพยัญชนะอัยน์ (ayn)] سَمِيْع    Samiaa  ซะเมียอ์  ผู้ได้ยิน (ชื่อบุคคลชาย)
 i(a)  เ–ียะห์ [เมื่อตามด้วยพยัญชนะหาอ์ (ḥā)] صاَلِحْ    Ṣāli  ศอเลียะห์  ผู้มีคุณธรรม (ชื่อบุคคลชาย)
 เ–ียห์ [(เมื่อตามด้วยพยัญชนะยาอ์ (yā) และพยัญชนะหาอ์ (ḥā)] صَرِيْح    aria  เศาะเรียห์  ชัดเจน (ชื่อบุคคลชาย)
 ī  –ี إِيْمَان    īmān  อีมาน  การศรัทธา
دِيْن    dīn  ดี  ศาสนา
 ـُـ  u  –ุ مُحَمَّد    Muammad  มุฮัมมัด  ผู้ที่ได้รับการสรรเสริญ (ชื่อบุคคลชาย)
حُسْنِيْ    usnī  ฮุสนี  ดี, สวย (ชื่อบุคคลชาย)
 uaa  –ัวะอ์ مُعْجِزَة    muaajizah  มัวะอ์ญิซะฮ์  สิ่งมหัศจรรย์
 ua  –ัวะห์ مُحْسِن    muasin  มัวะห์ซิน  ผู้ทำความดี
 uwa  –ุวา مُوَافَقَة    muwāfaqah  มุวาฟะเกาะฮ์  การเห็นชอบ
 ū  –ู سُوْدَان    Sūdan  ซูดาน  ชื่อประเทศ
كُوْفَة    Kūfah  กูฟะฮ์  ชื่อเมือง
 ـًـ  an [เมื่ออยู่บนพยัญชนะ 20 ตัว ได้แก่ ا (a), ب (b), ي (y), ه (h), و (w), ن (n), م (m), ل (l), ك (k), ف (f), ع (a), ش (sh), س (s), ز (z), ذ (dh), د (d), (), (j), (th) และ ت (t)]  –ัน أَدَباً    adaban  อะดะบัน  มารยาท
سَلَفاً    salafan  ซะละฟัน  ก่อน
 an [เมื่ออยู่บนพยัญชนะ 8 ตัว ได้แก่ ض (), غ (gh), خ (kh), ق (q), ر (r), ص (), ط () และ ظ ()]  –็อน خَيْرًا    khairan  ค็อยร็อน  ความดี
رِزْقًا    rizqan  ริซก็อน  ปัจจัยยังชีพ
 ـٍـ  in  –ิน هَادٍ    hādin  ฮาดิน  ผู้ให้แนวทาง
عَالٍ    ālin  อาลิน  สูง
 ـٌـ  un  –ุน بَابٌ    bābun  บาบุน  ประตู
وَلَدٌ    waladun  วะละดุน  เด็กชาย

หลักเกณฑ์การทับศัพท์ตามอักษรโรมัน

[แก้]

การเขียนคำทับศัพท์ภาษาอาหรับนี้เป็นหลักการที่กำหนดตามราชบัณฑิตยสถาน

หลักทั่วไป

[แก้]

1. การทับศัพท์ภาษาอาหรับตามหลักเกณฑ์นี้เป็นการถ่ายเสียงจากภาษาอาหรับที่เขียนด้วยอักษรโรมัน โดยเทียบเคียงกับหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอาหรับที่เขียนด้วยอักษรอาหรับ

2. เนื่องจากในปัจจุบันการถ่ายเสียงคำและชื่อเฉพาะจากภาษาอาหรับด้วยอักษรโรมันมีวิธีเขียนที่หลากหลาย แม้ว่าองค์การมาตรฐานสากล (International Organization for Standardization หรือ ISO) จะได้จัดทำมาตรฐานการถ่ายเสียงภาษาอาหรับเป็นอักษรโรมันไว้แล้ว แต่ก็ยังมิได้ใช้กันทั่วไป ในตารางการถ่ายเสียงสระและพยัญชนะภาษาอาหรับตามหลักเกณฑ์นี้จึงได้รวบรวมอักษรโรมันที่เทียบเสียงสระและพยัญชนะภาษาอาหรับแบบต่าง ๆ มาแสดงไว้เท่าที่จะทำได้ รวมทั้งแบบขององค์การมาตรฐานสากลด้วย โดยใส่ไว้ท้ายสุด เช่น

th,
kh, ,
เทียบอักษรไทย ษ
เทียบอักษรไทย ค

3. ในตารางเทียบเสียงสระและพยัญชนะอาหรับ ได้ให้สัทอักษรสากล (IPA) ไว้ด้วย เพื่อแสดงประเภทของเสียง ลักษณะการออกเสียง และฐานที่เกิดของเสียงของสระหรือพยัญชนะนั้น ๆ เช่น

dh, z,
kh, ,
sh, š
/ð/
/x/
/ʃ/

4. เสียงพยัญชนะในภาษาอาหรับหลายเสียงไม่มีในภาษาไทย ในการทับศัพท์จึงได้เลือกพยัญชนะไทยที่มีเสียงใกล้เคียงและปรกติใช้เขียนคำที่รับจากภาษาบาลีสันสกฤตมาใช้แสดงเสียงเหล่านั้น เช่น




ใช้แทนพยัญชนะ /dˤ/
ใช้แทนพยัญชนะ gh, ġ /ɣ/
ใช้แทนพยัญชนะ /sˤ/
ใช้แทนพยัญชนะ th, /θ/ และ dh, z, /ð/

อนึ่ง พยัญชนะไทยที่เป็นอักษรสูง เช่น ศ ษ ซึ่งนำมาใช้แทนเสียงพยัญชนะอาหรับ เป็นการนำมาใช้เพื่อแสดงว่าพยัญชนะนั้นแทนเสียงที่แตกต่างกับพยัญชนะอื่นเท่านั้น ไม่ได้แสดงว่าพยัญชนะดังกล่าวออกเสียงสูงอย่างในภาษาไทย

5. เสียงสระในภาษาอาหรับแยกเป็นเสียงสระสั้นและเสียงสระยาว ซึ่งทำให้คำมีความหมายต่างกัน ในการกำหนดหลักเกณฑ์การทับศัพท์จึงได้ใช้สระเสียงสั้นและสระเสียงยาวในภาษาไทยมาใช้แยกเสียง ดังกล่าว เช่น

Alī
Abbās
Al-Kūfah
Āminah
=
=
=
=
ะลี
อับบ
อักูฮ์
ามิฮ์

อย่างไรก็ดี ในทางปฏิบัติ คำและชื่อภาษาอาหรับที่เขียนด้วยอักษรโรมันตามที่ปรากฏในเอกสารต่าง ๆ มักไม่แสดงเครื่องหมายที่บ่งบอกว่าเป็นเสียงยาว ฉะนั้นในการทับศัพท์ ผู้ใช้อาจถอดเสียงสระเป็นเสียงสั้นหรือยาวตามความเหมาะสมในการออกเสียง

6. สระ a และ ā ในภาษาอาหรับออกเสียงได้ 2 แบบ โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้

6.1 ออกเสียงเป็น –ะ และ –า เมื่อตามหลังพยัญชนะ b, d, dh, f, h, , j, k, l, m, n, s, sh, t, th, w, y และ z รวมทั้งเมื่ออยู่ต้นคำ เช่น
Alī
batūl
laṭīf
Salmā
alāh
=
=
=
=
=
ลี
ตูล
ฏีฟ
ซัลม
เศาะลฮ์

ยกเว้นพระนาม Allah ออกเสียงเป็น อัลาะฮ์ หรือ อัลลฮ์ ทั้งนี้รวมทั้งคำนามที่เชื่อมกับพระนามนี้ด้วย เช่น Abdullah ออกเสียงเป็น อับดุลาะฮ์ หรือ อับดุลลฮ์

6.2 ออกเสียงเป็น เ–าะ และ –อ เมื่อตามหลังพยัญชนะ , gh, kh, q, r, , และ เช่น
Muṣṭafā
Rahmān
Khālid
Qāsim
Ghālīyah
=
=
=
=
=
มุศาะฟา
าะห์มาน
ลิด
ซิม
ลียะฮ์

7. เครื่องหมายทัณฑฆาตในภาษาไทยใช้ฆ่าอักษรที่ไม่ต้องการออกเสียง เช่น "ศัพท์" ในภาษาอาหรับจะออกเสียงพยัญชนะท้ายทุกเสียง เมื่อเป็นคำทับศัพท์ใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตกำกับไว้เพื่อแสดงว่าเป็นเสียงพยัญชนะท้ายของพยางค์ ไม่ได้ฆ่าเสียงทั้งหมด มีหลักเกณฑ์ดังนี้

7.1 เสียงพยัญชนะท้ายที่ไม่สามารถออกเสียงตามอักขรวิธีไทยได้ให้ใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตกำกับไว้ เช่น
Fitnah
Amad
=
=
ฟัตนะฮ์
อะห์มัด
7.2 คำที่มีเสียงพยัญชนะท้าย 2 เสียงหรือมากกว่า ให้ใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตไว้ที่พยัญชนะตัวสุดท้าย เช่น
ibn
bint
=
=
อิบน์
บินต์

8. คำที่มีคำ al อยู่ข้างหน้า แม้เมื่อเขียนด้วยอักษรโรมันจะมีเครื่องหมายยัติภังค์คั่น เมื่อเขียนทับศัพท์เป็นภาษาไทยให้เขียนติดกัน เช่น

Al-Muwahhidūn
Al-Kūfah
=
=
อัลมุวะฮ์ฮิดูน
อัลกูฟะฮ์

9. คำทับศัพท์ที่มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา เช่น คำในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง ใช้ตามนั้นได้ เช่น มะหะหมัด ฮิจเราะห์ ริยาด ราบัต กาตาร์

10. คำภาษาอาหรับที่รับมาใช้ในภาษาไทยเป็นเวลานานแล้ว และได้มีการเขียนคำไทยจนเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป อาจใช้ตามรูปคำที่เขียนกัน เช่น มัสยิด เมกกะ อิหม่าม คอเต็บ บิหลั่น

ตารางเทียบพยัญชนะ

[แก้]
อักษรโรมัน เสียง เทียบอักษร ตัวอย่าง
อาหรับ ไทย คำอาหรับ (อักษรโรมัน) คำทับศัพท์ ความหมาย
 b  b   (บาอ์)  บ  Badrī  บัดรี  จันทร์เพ็ญ, รัชนีกร (ชื่อบุคคลหญิง)
 ibn  อิน์  ลูก
 d  d   (ดาล)  ด  Dāwūd  าวู  ชื่อนะบีท่านหนึ่ง (ชื่อบุคคลชาย)
 Saūd  ซะอู  ความสุขทั้งหลาย, ความโชคดีทั้งหลาย (ชื่อบุคคลชาย)
      (ฎ๊อด)  ฎ  iyāa  ฎิยาอ์  รังสี, รัศมี (ชื่อบุคคลชาย)
 Iyā  อิยา  ผู้มาทดแทน, ที่ทดแทน (ชื่อบุคคลชาย)
 dh, z,  ð   (ษาล)  ษ  Dhikrī, Zikrī, ikrī  ษิกรี  การระลึกถึงของฉัน, ความจำของฉัน (ชื่อบุคคลชาย)
 Shadhwān, Shazwān, Šawān  ชัวาน  ที่มีกลิ่นหอมหลากหลาย, หอมหวล (ชื่อบุคคลหญิง)
 f  f   (ฟาอ์)  ฟ  Fayal  ฟัยศ็อล  ผู้พูดเก่ง, ผู้ตัดสิน, สุพจน์ (ชื่อบุคคลชาย)
 Hafah  ฮัเศาะฮ์  คนที่อยูในวัยหนุ่มสาว (ชื่อบุคคลหญิง)
 gh, ġ  ɣ   (ฆอยน์, เฆน)  ฆ  Ghulām, Ġulām  ฆุลาม  เด็กชาย, ดนัย (ชื่อบุคคลชาย)
 Maghrib, Maġrib  มัริบ  ตะวันลับฟ้า (ชื่อประเทศโมร็อกโก)
 h  h   (ฮาอ์)  ฮ (ในตำแหน่งพยัญชนะต้น)  hijrah  ฮิจญ์เราะฮ์  การอพยพ, ชื่อศักราชตามปฏิทินอิสลาม
 ฮ์ (ในตำแหน่งท้ายพยางค์)  Abdullah  อับดุลเลาะฮ์, อับดุลลอฮ์  บ่าวของพระเจ้า (ชื่อบุคคลชาย)
 Ø, t  ة (ตาอ์)  Āishah  อาอิชะฮ์  ผู้มีชีวิตอย่างผาสุก (ชื่อบุคคลหญิง)
 Shīah  ชีอะฮ์  ชื่อนิกาย
   ħ   (หาอ์)  ฮ (ในตำแหน่งพยัญชนะต้น)  anīfah  ะนีฟะฮ์  ผู้ซื่อตรง (ชื่อบุคคลชาย, หญิง)
 ห์ (ในตำแหน่งท้ายพยางค์)  Amad  อะห์มัด  ผู้น่ายกย่อง, ผู้น่าสรรเสริญ (ชื่อบุคคลชาย)
 j, dj, ǧ  d͡ʒ, ɡ   (ญีม)  ญ (ในตำแหน่งพยัญชนะต้น)  Jihād, Djihād, Ǧihād  ญิฮาด  การต่อสู้ (ชื่อบุคคลชาย)
 จญ์ (ในตำแหน่งท้ายพยางค์)  Al-aj, Al-adj, Al-aǧ  อัลฮัจญ์  การประกอบพิธีฮัจญ์
 k  k   (ก๊าฟ)  ก  Karīm  ะรีม  ผู้มีใจเอื้ออารี (ชื่อบุคคลชาย)
 Mālik  มาลิ  ผู้ทรงสิทธิ์ (ชื่อบุคคลชาย)
 kh, ,  x   (คออ์)  ค  Khālid, ālid, ālid  อลิด  ผู้คงอยู่, ธำรง (ชื่อบุคคลชาย)
 Mukhtār, Mutār, Mutār  มุตาร  ผู้ที่ถูกเลือกสรรมา (ชื่อบุคคลชาย)
 l  l   (ลาม)  ล  Laṭīf  ะฏีฟ  ผู้อ่อนน้อม, สุภาพ (ชื่อบุคคลชาย)
 Amal  อะมั  ความหวัง, ความปรารถนา (ชื่อบุคคลหญิง)
 m  m   (มีม)  ม  Muammad  มุฮัมมั  ผู้ที่ได้รับการสรรเสริญ (ชื่อศาสดา)
 Hakīm  ฮะกี  ผู้ทรงความรู้, ปรีชา (ชื่อบุคคลชาย)
 n  n   (นูน)  น  Nabī  ะบี  ผู้แจ้งข่าวจากพระเจ้า
 Imrān  อิมรอ  ความรุ่งเรือง (ชื่อบุคคลชาย)
 q  q   (ก๊อฟ)  ก  Qurān  กุรอาน  คัมภีร์กุรอาน
 Ṣādiq  ศอดิ  ผู้มีสัจจะ, มีความซื่อตรง (ชื่อบุคคลชาย)
 r  r   (รออ์)  ร  Rāshid  อชิด  ผู้ชี้นำ, ผู้ฉลาดล้ำ (ชื่อบุคคลชาย)
 Samīr  ซะมี  เพื่อนที่สนิท (ชื่อบุคคลชาย)
 s  s   (ซีน)  ซ (ในตำแหน่งพยัญชนะต้น)  Salmā  ซัลมา  ผู้มีความสุข, มีความปลอดภัย (ชื่อบุคคลหญิง)
 ส (ในตำแหน่งท้ายพยางค์)  Abbās  อับบา  ผู้กล้าหาญ, สิงโต (ชื่อบุคคลชาย)
 sh, š  ʃ   (ชีน, เชน)  ช  Sharīf, Šarīf  ะรีฟ  ผู้มีเกียรติ, ตระกูลสูง (ชื่อบุคคลชาย)
 Dānish, Dāniš  ดานิ  ความรู้, ปัญญา, ความฉลาด (ชื่อบุคคลชาย)
      (ศ้อด)  ศ  ālihīn  อลิฮีน  ผู้มีคุณธรรม (ชื่อบุคคลชาย)
 Khāli  คอลิ  บริสุทธิ์ใจ, มีใจบริสุทธิ์ (ชื่อบุคคลชาย)
 t  t   (ตาอ์)  ต  Tasnīm  ตัสนีม  ตาน้ำที่อยูในสวรรค์ (ชื่อบุคคลหญิง)
 Nafaḥāt  นะฟะฮา  ที่มีความขยัน, ส่วนที่ดี (ชื่อบุคคลหญิง)
      (ฏออ์)  ฏ  āah  ออะฮ์  การภักดี, การนอบน้อม, สวามิภักดิ์ (ชื่อบุคคลหญิง)
 Nishā  นิชา  ชีวิตชีวา, เต็มไปด้วยพลังในชีวิต (ชื่อบุคคลชาย)
 th, [# 1]  θ   (ษาอ์)  ษ  Tharīyah, arīyah  ะรียะฮ์  ที่มีความร่ำรวย, ที่มีความสมบูรณ์ (ชื่อบุคคลหญิง)
 Uthmān, Umān  อุมาน  ผู้เพียรพยายาม (ชื่อบุคคลชาย)
 w  w   (วาว)  ว  Wāhid  าฮิด  ผู้เป็นหนึ่ง (ชื่อบุคคลชาย)
 Wardah  วัรดะห์  ดอกกุหลาบ (ชื่อบุคคลหญิง)
 y  j   (ยาอ์)  ย  Yazīd  ะซีด  ที่เพิ่มพูน, ที่มีสิริมงคล (ชื่อบุคคลชาย)
 Suhayl  ซุฮัล์  ความสะดวก, ความง่ายดาย (ชื่อบุคคลชาย)
 z  z   (ซัย)  ซ  Ziyād  ซิยาด  ความมั่งคั่ง (ชื่อบุคคลชาย)
 Azīzah  อะซีซะฮ์  มีอำนาจ (ชื่อบุคคลหญิง)
 , dh  ðˤ   (ซออ์)  ซ  ahīr, Dhahīr  เาะฮีร  ปรากฏให้เห็น, ชัดเจน (ชื่อบุคคลชาย)
 Ḥāfi, Ḥāfidh  ฮาฟิ  ผู้จดจำ (ชื่อบุคคลชาย)
หมายเหตุ
  1. ในบางถิ่นออกเสียงคล้าย s

ตารางเทียบสระ

[แก้]
อักษรโรมัน เทียบอักษร ตัวอย่าง
อาหรับ ไทย คำอาหรับ (อักษรโรมัน) คำทับศัพท์ ความหมาย
 a  ـَـ (ฟัตฮะฮ์)  –ะ  adab  อดับ  มารยาท
 Farīdah  ฟรีดฮ์  มารยาทที่พิเศษสุด, ลูกสาวคนเดียว (ชื่อบุคคลหญิง)
 a (เมื่อมีตัวสะกด)  ـَـ (ฟัตฮะฮ์)  –ั  Amr  อัมร์  รุ่งเรือง, เจริญ (ชื่อบุคคลชาย)
 Halwā  ฮัลวา  ความหวาน, ความดีงาม (ชื่อบุคคลหญิง)
 a (เมื่อตามหลังพยัญชนะ 8 ตัว ได้แก่ , gh, kh, q, r, , และ )  ـَـ (ฟัตฮะฮ์)  เ–าะ  Rashīd  าะชีด  ผู้ชี้นำ, ผู้ฉลาดล้ำ (ชื่อบุคคลชาย)
 Hafah  ฮัฟาะฮ์  คนที่อยู่ในวัยหนุ่มสาว (ชื่อบุคคลหญิง)
 ā, aa  ـَـ (ฟัตฮะฮ์)  –า  Sālim  ซลิม  ผู้มีความปลอดภัย, สงบ-สันติ, ไม่เจ็บไข้ (ชื่อบุคคลชาย)
 Salmān  ซัลม  ผู้มีความสงบสุข, ปลอดภัย (ชื่อบุคคลชาย)
 ā (เมื่อตามหลังพยัญชนะ 8 ตัว ได้แก่ , gh, kh, q, r, , และ )  ـَـ (ฟัตฮะฮ์)  –อ  Khālidah  คลิดะฮ์  ที่มีอายุยืน (ชื่อบุคคลหญิง)
 Qāḍī  กฎี  ผู้ตัดสินพิพากษา, ตุลาการ (ชื่อบุคคลชาย)
 ai, ay  ـَـ (ฟัตฮะฮ์)  –ัย  Sulaymān  ซุลัยมาน  ผู้มีความสุข, ปลอดภัย (ชื่อบุคคลชาย)
 Fayrūz  ฟัยรูซ  เพชรพลอย, อัญมณี (ชื่อบุคคลชาย, หญิง)
 au, aw  ـَـ (ฟัตฮะฮ์)  เ–า  Sawdah  ดะฮ์  ผู้มีอำนาจ, นักปกครอง, มีอิทธิพล (ชื่อบุคคลหญิง)
 Nawfal  ฟัล  ผู้เกื้อกูล (ชื่อบุคคลชาย)
 i  ـِـ (กัสเราะฮ์)  –ิ  Iyād  อิยาด  ผู้ช่วยเหลือ (ชื่อบุคคลชาย)
 Sihām  ซิฮาม  ลูกศร, หุ้นส่วน (ชื่อบุคคลหญิง)
 i(a)a  ـِـ (กัสเราะฮ์)  เ–ียะอ์  Iaatimād  เอียะอ์ติมาด  การพึ่งพิง (ชื่อบุคคลชาย)
 Iaajāz  เอียะอ์ญาซ  ความอัศจรรย์ (ชื่อบุคคลชาย)
 i(a)h  ـِـ (กัสเราะฮ์)  เ–ียะห์ (ในตำแหน่งต้นคำ)  Iasān  เอียะห์ซาน  ความดีงาม (ชื่อบุคคลชาย)
 –ียะห์ (ในตำแหน่งท้ายคำ)  Taqīah  ตะกียะห์  ระวัง, รักษา (ชื่อบุคคลหญิง)
 Zāwīah  ซาวียะห์  คม, หลักแหลม (ชื่อบุคคลหญิง)
 ī  ـِـ (กัสเราะฮ์)  –ี  Īmān  อีมาน  การศรัทธา (ชื่อบุคคลหญิง)
 Nūruddīn  นูรุดดี  รัศมีแห่งศาสนา (ชื่อบุคคลชาย)
 u  ـُـ (ฎ็อมมะฮ์)  –ุ  Muammad  มุฮัมมัด  ผู้ได้รับการสรรเสริญ (ชื่อบุคคลชาย)
 Hindun  ฮินดุ  ความรัก, ความผูกพัน (ชื่อบุคคลหญิง)
 ua(a)  ـُـ (ฎ็อมมะฮ์)  –ัวะอ์  Nuamān  นัวะอ์มาน  ความโปรดปราน, ที่โปรดปราน (ชื่อบุคคลชาย)
 Luabah  ลัวะอ์บะห์  เกม, ของเล่น
 uah  ـُـ (ฎ็อมมะฮ์)  –ัวะห์  Muahsin  มัวะห์ซิน  ผู้ทำความดี (ชื่อบุคคลชาย)
 Tuahfah  ตัวะห์ฟะห์  ของขวัญ, ของมีค่า (ชื่อบุคคลหญิง)
 ū  ـُـ (ฎ็อมมะฮ์)  –ู  ūfī  ศูฟี  ผู้บำเพ็ญตนให้บริสุทธิ์ (ชื่อบุคคลชาย)
 Aynūn  อัยนู  ผู้มีตาโตและหวานซึ้ง (ชื่อบุคคลหญิง)

หลักเกณฑ์ของอิสรอฟีล

[แก้]

พยัญชนะ

[แก้]
ข้อ อักษร ชื่ออักษร ภาษาไทย หมายเหตุ
1 / ا ฮัมซะฮฺ/อะลิฟ อ, สระ อา *ถ้าฮัมซะฮฺเป็นสุกูน จะเขียนเป็น <อ์> ในภาษาไทย เช่น <มะอ์มูร>
2 บาอุ .
3 ตาอุ .
4 ษาอุ .
5 ญีม ญ, จญ์ ญะวาด, หัจญ์, ฮิจญ์เราะฮฺ, หิญิร
6 ฮาอุ .
7 คออุ .
8 ดาล .
9 ซาล .
10 รออุ *ถ้าสะกดด้วย ฟัตหะฮฺ ในภาษาไทยเป็น <ร่อ>
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตหะฮฺ ตามด้วยพยัญชนะ ฮัมซะฮฺ, ฮาอุ และ หาอุ ที่เป็นสุกูน ในภาษาไทยเป็น <เราะ>, <เราะหฺ> และ <เราะฮฺ> ตามลำดับ
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตหะฮฺ ตามด้วยพยัญชนะอื่น ที่เป็นสุกูน ในภาษาไทยเป็น <ร่อน> เป็นต้น
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตหะฮฺ+อะลิฟ ในภาษาไทยเป็น <รอ>
11 ซาย
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตหะฮฺ ในภาษาไทยเป็น <ซะ>
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตหะฮฺ+อะลิฟ ในภาษาไทยเป็น <ซา>
12 ซีน ซ, ส .
  • ถ้าเป็นสุกูน ในภาษาไทยเป็น <ส> เช่น <อับบาส>
  • ถ้าเป็นที่รู้จักกันแล้วว่าเขียนด้วย ซ ก็จะเขียนตามแบบที่มีอยู่แล้ว เช่น หะซัน หุเซน และ ร่อซูล
13 ชีน .
14 ศอด .
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตหะฮฺ ในภาษาไทยเป็น <ศ็อ>
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตหะฮฺ ตามด้วยพยัญชนะ ฮัมซะฮฺ, หาอุ และ ฮาอุ ที่เป็นสุกูน ในภาษาไทยเป็น <เศาะ>, <เศาะหฺ> และ <เศาะฮฺ> ตามลำดับ
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตหะฮฺ ตามด้วยพยัญชนะอื่น ที่เป็นสุกูน ในภาษาไทยเป็น <ศ็อน> เป็นต้น
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตหะฮฺ+อะลิฟ ในภาษาไทยเป็น <ศอ>
15 ฎอด ถ้าสะกดด้วยฎ็อมมะฮฺ หรือฎ็อมมะฮฺ+วาว ใช้ ด เป็น <ดุ> และ <ดู> เนื่องจากถ้าเขียนด้วย ฎ และ สระอุหรือสระอูแล้ว สระทั้งสอง จะไม่ปรากฏออกมา
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตหะฮฺ ในภาษาไทยเป็น <ฎ็อ>
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตหะฮฺ ตามด้วยพยัญชนะ ฮัมซะฮฺ, หาอุ และ ฮาอุ ที่เป็นสุกูน ในภาษาไทยเป็น <เฎาะ>, <เฎาะหฺ> และ <เฎาะฮฺ> ตามลำดับ
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตหะฮฺ ตามด้วยพยัญชนะอื่น ที่เป็นสุกูน ในภาษาไทยเป็น <ฎ็อน> เป็นต้น
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตหะฮฺ+อะลิฟ ในภาษาไทยเป็น <ฎอ>
16 ฏออุ .
  • ถ้าสะกดด้วยฎ็อมมะฮฺ หรือฎ็อมมะฮฺ+วาว ใช้ ต เป็น <ตุ> และ <ตู> เนื่องจากถ้าเขียนด้วย ฏ และ สระอุหรือสระอูแล้ว สระทั้งสอง จะไม่ปรากฏออกมา
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตหะฮฺ ในภาษาไทยเป็น <ฏ็อ>
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตหะฮฺ ตามด้วยพยัญชนะ ฮัมซะฮฺ, หาอุ และ ฮาอุ ที่เป็นสุกูน ในภาษาไทยเป็น <เฏาะ>, <เฏาะหฺ> และ <เฏาะฮฺ> ตามลำดับ
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตหะฮฺ ตามด้วยพยัญชนะอื่น ที่เป็นสุกูน ในภาษาไทยเป็น <ฏ็อน> เป็นต้น
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตหะฮฺ+อะลิฟ ในภาษาไทยเป็น <ฏอ>
17 ซออุ .
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตหะฮฺ ในภาษาไทยเป็น <ซ่อ>
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตหะฮฺ ตามด้วยพยัญชนะ ฮัมซะฮฺ, หาอุ และ ฮาอุ ที่เป็นสุกูน ในภาษาไทยเป็น <เซาะ>, <เซาะฮฺ> และ <เซาะหฺ> ตามลำดับ
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตหะฮฺ ตามด้วยพยัญชนะอื่น ที่เป็นสุกูน ในภาษาไทยเป็น <ซ่อน> เป็นต้น
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตหะฮฺ+อะลิฟ ในภาษาไทยเป็น <ซอ>
18 อัยนฺ .
  • ถ้าเป็นสุกูน จะเขียน <อฺ> ในภาษาไทย เช่น <มะอฺมูร>
19 ฆีน .
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตหะฮฺ ในภาษาไทยเป็น <ฆ็อ>
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตหะฮฺ+อะลิฟ ในภาษาไทยเป็น <ฆอ>
20 ฟาอุ .
21 กอฟ .
22 กาฟ .

  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตหะฮฺ ในภาษาไทยเป็น <ก็อ>
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตหะฮฺ ตามด้วยพยัญชนะ ฮัมซะฮฺ, หาอุ และ ฮาอุ ที่เป็นสุกูน ในภาษาไทยเป็น <เฏาะ>, <เกาะหฺ> และ<เกาะฮฺ> ตามลำดับ
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตหะฮฺ ตามด้วยพยัญชนะอื่น ที่เป็นสุกูน ในภาษาไทยเป็น <ก็อน> เป็นต้น
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตหะฮฺ+อะลิฟ ในภาษาไทยเป็น <กอ>
23 ลาม .
24 มีม .
25 นูน .
26 วาว .
27 ฮาอุ ห, ฮ
  • เป็น <ห> หมด ยกเว้นคำที่เป็นที่รู้จักกันแล้วว่า ฮะซัน และ หุเซน
  • ถ้าเป็นสุกูน ในภาษาไทยเป็น <ฮฺ> เช่น <มะดีนะฮฺ>
28 ยาอุ .
  • ถ้า ยาอุ มีสัญลักษณ์ตัชดีด ในภาษาไทยจะสะกดเป็น ย และ การันต์ เช่น <อะลีย์>

สระ

[แก้]
ข้อ ชื่อสระ เทียบกับสระไทย หมายเหตุ
1 ฟัตหะฮฺ สระอะ
2 กัสเราะฮฺ สระอิ
3 ฎ็อมมะฮฺ สระอุ
4 ฟัตหะฮฺ + อะลิฟ สระอา
5 กัสเราะฮฺ + ยาอุ สระอี
6 ฎ็อมมะฮฺ + วาว สระอู
7 ฟัตหะฮฺ + ยาอุ อัย,เอ ถ้าพยางค์นั้น ลงท้ายด้วยพยัญชนะ ที่เป็นสุกูน จะเป็น สระเอ เช่น <ฮุเซน> และ <กุเรช> จากเดิม <ฮุสอยนฺ> และ <กุรอยชฺ> เพื่อความสะดวกในการออกเสียง
8 ฟัตหะฮฺ + วาว เอา เช่น <เลา>

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ไม้ไต่คู้และสระออ <-็อ> ใช้กับ <ฎ>, <ฏ>, <ศ> เมื่อถอดรูป ฟัตหะห เช่น <ฎ็อ>, <ฏ็อ> <ศ็อ> และ <ก็อ> แต่อาจจะละ ไม้ไต่คู้ ไว้ในฐานที่เข้าใจ เช่น <ฎอ>, <ฏอ> และ <ศอ>
  2. ไม้เอกและสระออ< -่อ> ใช้กับ <ร> เมื่อถอดรูปฟัตหะฮฺ เช่น <ร่อซูล> แต่อาจจะละไว้ในฐานที่เข้าใจ เช่น <รอซูล>
  3. จะไม่มีการใช้ <ห> นำหน้าพยัญชนะเสียงต่ำ หรือ วรรณยุกต์ เช่น <อิหม่าม>, <อะมีรุ้ลมุมินีน> หรือ <อ๊าด> ที่ถูกต้องคือ <อิมาม>, <อะมีรุลมุมินีน> และ <อาด>
  4. ไม่มีการตัดสระอะเมื่อถอดรูปฟัตหะฮฺ นอกจากคำว่า นบี เท่านั้น เช่น <อบูบักรฺ> จะต้องเป็น <อะบูบักรฺ>
  5. จะไม่ใช้ การันต์ ในการถอดรูปสุกูน นอกจากกับ <ย์> สำหรับ ยาอุ ที่มีสัญลักษณ์ตัชดีด เช่น <อัลบุคอรีย์>, และ <อ์> ที่แสดงให้เห็นว่าเป็น ฮัมซะฮฺ เช่น <มะอ์มูน>

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]