ประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมือง
ต้นฉบับประกาศสิทธิมนุษยชน และพลเมือง (ค.ศ. 1789–1791) * | |
---|---|
![]() | |
![]() หน้าแรกของประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมือง | |
ที่เก็บรักษา | พิพิธภัณฑ์จดหมายเหตุแห่งชาติ |
ประเทศ | ![]() |
ภูมิภาค ** | ยุโรปและอเมริกาเหนือ |
อ้างอิง | [1] |
ประวัติการขึ้นทะเบียน | |
ขึ้นทะเบียน | 2003/2546 |
* ชื่อตามที่ได้จดทะเบียนในบัญชีมรดกความทรงจำแห่งโลก ** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก |

ประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมือง (ฝรั่งเศส: Déclaration des droits de l'homme et du citoyen) เป็นเอกสารสำคัญซึ่งเกิดขึ้นในสมัยปฏิวัติฝรั่งเศส กำหนดให้สิทธิของปัจเจกชนและสิทธิมวลชลเป็นสิทธิสากล ประกาศฉบับนี้ได้รับอิทธิพลจากทฤษฎีสิทธิธรรมชาติ ซึ่งหมายความว่า สิทธิดังกล่าวมีอยู่ไม่ว่าเมื่อใดและที่ใด เนื่องจากเป็นสิทธิที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานธรรมชาติของมนุษย์ สภาร่างรัฐธรรมนูญ (Assemblée nationale constituante) รับรองร่างสุดท้ายของประกาศนี้เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 1789
แม้ว่าเอกสารดังกล่าวจะกำหนดสิทธิไว้สำหรับ มนุษย์ทุกคนโดยปราศจากข้อยกเว้น แต่ก็ไม่มีการเอ่ยถึงสิทธิสตรี[1] หรือระบบทาส
เนื้อความมาตราแรก (Article Première):
- ภาษาฝรั่งเศส – "Les hommes naissent et demeurent libres et égaux en droits. Les distinctions sociales ne peuvent être fondées que sur l'utilité commune."
- ภาษาอังกฤษ – "Men are born and remain free and equal in rights. Social distinctions can be founded only on the common utility."
- ภาษาไทย – "มนุษย์เกิดมาและดำรงอยู่อย่างเสรีและเสมอภาคกันในสิทธิ การเลือกปฏิบัติทางสังคมจะกระทำได้ก็แต่เพื่อประโยชน์ส่วนรวม"
ประกาศนี้ได้วางขอบเขตรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันไว้ในกฎหมายฝรั่งเศส ซึ่งสามารถยกขึ้นอ้างได้ในการโต้แย้งระหว่างการพิพากษาอรรถคดีในศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
การยอมรับประกาศ[แก้]
วัตถุประสงค์หนึ่งของการยกร่างประกาศนี้คือการผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ หลักการหลายข้อในประกาศแสดงการต่อต้าน "ระบอบเก่า" (Ancien Régime) โดยหลังจากการประกาศใช้ประกาศฯ ไม่นาน ฝรั่งเศสก็เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นสาธารณรัฐ
แนวคิดของการร่างประกาศมาจากหลักปรัชญาและการเมืองของยุคแห่งการรู้แจ้ง (les lumières) โดยที่สำคัญได้แก่ ความเป็นปัจเจกชนและสัญญาประชาคม บนพื้นฐานของทฤษฎีชองนักปรัชาญาเมธีชาวอังกฤษ จอห์น ล็อก และพัฒนาโดยปราชญ์ชาวฝรั่งเศส ฌ็อง-ฌัก รูโซ รวมถึงหลักการแบ่งแยกอำนาจในการปกครองเป็นสามฝ่ายของมงแต็สกีเยอ (อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ)