ฌอร์ฌ ด็องตง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฌอร์ฌ ฌัก ด็องตง
Georges Jacques Danton
กรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวม
ดำรงตำแหน่ง
6 เมษายน 1793 – 10 กรกฎาคม 1793
ประธานที่ประชุมใหญ่แห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
25 กรกฎาคม 1793 – 8 สิงหาคม 1793
ก่อนหน้าฌ็อง บง แซ็ง-อ็องเดร
ถัดไปมารี-ฌ็อง เอโร เดอ เซแชล
เลขาธิการที่ประชุมใหญ่แห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
20 กันยายน 1792 – 5 เมษายน 1794
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด26 ตุลาคม ค.ศ. 1759(1759-10-26)
อาร์ซีซูว์โรบ ฝรั่งเศส
เสียชีวิต5 เมษายน ค.ศ. 1794(1794-04-05) (34 ปี)
กรุงปารีส ฝรั่งเศส
ศาสนาโรมันคาทอลิก
อาชีพนักกฎหมาย, นักการเมือง
ลายมือชื่อ

ฌอร์ฌ ฌัก ด็องตง (ฝรั่งเศส: Georges Jacques Danton) เป็นนักกฎหมายและนักเคลื่อนไหวคนสำคัญในช่วงต้นของการปฏิวัติฝรั่งเศส นักประวัติศาสตร์ได้อธิบายว่าเขาเป็น "หัวหอกที่โค่นล้มระบอบกษัตริย์ฝรั่งเศสและสถาปนาสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1"[1]

ด็องตงมีเข้ามีส่วนร่วมครั้งแรกในการปฏิวัติในฐานะประธานสโมสรกอร์เดลีเย (Cordeliers) หนึ่งในสมาคมสำคัญในช่วงต้นการปฏิวัติ สมาคมนี้เป็นศูนย์รวมของหลักนิยมที่ว่าฝรั่งเศสควรเป็นประเทศของประชาชนภายใต้อำนาจอธิปไตยของปวงชน พวกเขาเป็นกลุ่มคนแรก ๆ ที่ออกมากล่าวโจมตีราชสำนักว่าทำตัวเป็นศัตรูต่อหลักเสรีภาพ และยังป่าวประกาศถึงความจำเป็นในการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่

ในช่วงสมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว เขาในฐานะเลขานุการที่ประชุมใหญ่แห่งชาติที่ประชุมใหญ่แห่งชาติ พยายามผลักดันให้ฝรั่งเศสรักษาสันติภาพกับบรรดาต่างชาติ แต่ท้ายที่สุด ที่ประชุมใหญ่ก็ประกาศสงครามกับมหาอำนาจยุโรปอย่างอังกฤษ สเปน และโปรตุเกส ด็องตงหันไปร่วมมือกับนักหนังสือพิมพ์คนหนึ่ง ลงบทความในหนังสือพิมพ์ชื่อ Le Vieux Cordelier ซึ่งเรียกร้องให้ยุติสมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัวและยุติการกีดกันศาสนาคริสต์ รวมถึงวิพากษ์วิจารณ์คณะกรรมาธิการความปลอดภัยฯ การกระทำนี้ทำให้เขาขัดแย้งกับคณะกรรมาธิการความปลอดภัยฯซึ่งมักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์ กุมอำนาจอยู่ ส่งผลให้เริ่มมีการขุดคุ้ยหาความผิดของเขา[2]

ด็องตงถูกฟ้องร้องในข้อหาทุจริตรับผลประโยชน์ในช่วงที่เขาเรืองอำนาจ เขาถูกเพื่อนร่วมงานของเขาให้การถึงความอู้ฟู่ในช่วงต้นของการปฏิวัติ รวมไปถึงทรัพย์สินอันไม่สามารถอธิบายที่มา[3] แต่หลักฐานที่นำมาแสดงกลับค่อนข้างคลุมเครือและไม่ปะติดปะต่อ ตัวของด็องตงแม้ถูกฟ้องร้องแต่ก็ไม่หลบหนีและยังคงปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเลขาธิการที่ประชุมใหญ่แห่งชาติ ในที่สุดด็องตงก็ถูกเข้าจับกุมอย่างฉับพลันในวันที่ 30 มีนาคม 1794 โดยไม่ได้รับโอกาสได้แก้ต่างต่อที่ประชุมใหญ่ เขาถูกกล่าวหาว่าสมคบกับดยุกแห่งออร์เลอ็อง ทุจริตฉ้อฉล และโกงกินเงินของบริษัทอินเดียตะวันออก ศาลปฏิวัติทำการพิพากษาว่าเขามีความผิดจริงและให้ประหารเขาด้วยกิโยตีน

ตัวตนของด็องตงเป็นที่ถกเถียงกันในหมู่นักประวัติศาสตร์รุ่นหลัง นักประวัติศาสตร์อย่างตีแยร์และมีแนได้ยกย่องด็องตงให้เป็นนักปฏิวัติผู้ยิ่งใหญ่ เปี่ยมด้วยปัญญาและความอดทนอดกลั้นต่อการใช้ความรุนแรง ในขณะที่ลามาร์ตีนมองว่าด็องตงเป็นบุรุษไร้เกียรติ ไร้หลักการและจรรยา คอยเสาะแสวงหาแต่อำนาจในยุคปฏิวัติ

อ้างอิง[แก้]

  1. "Georges Danton profile". Britannica.com. สืบค้นเมื่อ 20 February 2009.
  2. Andress, David (2005). The Terror: The Merciless Fight for Freedom in Revolutionary France. New York: Farrar, Straus and Giroux. p. 271. ISBN 978-0-374-53073-0.
  3. Hampson, Norman, The Life and Opinions of Maximilien Robespierre (London: Gerald Duckworth & Co., 1974), p. 204