ขุนนางฝรั่งเศส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปิแอร์ โดซิเอร์ (ค.ศ. 1592–1660), นักศึกษาการสืบวงศ์ตระกูลและผู้พิพากษาแห่งฝรั่งเศส ได้รับการว่าจ้างให้ตรวจสอบสถานะของขุนนางฝรั่งเศส

ขุนนางฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: la noblesse française) เป็นชนชั้นทางสังคมที่ได้รับอภิสิทธิ์ในฝรั่งเศส ตั้งแต่ยุคกลางจนกระทั่งมีการยกเลิก เมื่อวันที่ 23 มิถุยายน ค.ศ. 1790 ในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส

ตั้งแต่ ค.ศ. 1808[1] ถึง ค.ศ. 1815 ในช่วงจักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่ง จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ทรงพระราชทานยศถาบรรดาศักดิ์[2] ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นขุนนางใหม่ตามกฎบัตร เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 1814 ซึ่งได้รับการยินยอมจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 แห่งฝรั่งเศส[3]

ตั้งแต่ ค.ศ. 1814 ถึง ค.ศ. 1848 (การฟื้นฟูราชวงศ์บูร์บงในฝรั่งเศสและราชาธิปไตยเดือนกรกฎาคม) และตั้งแต่ ค.ศ. 1852 ถึง ค.ศ. 1870 (จักรวรรดิฝรั่งเศสที่สอง) ขุนนางฝรั่งเศสได้รับการฟื้นฟูในฐานะผู้ที่มียศฐาบรรดาศักดิ์ที่ได้รับการสืบทอดทางสายเลือดโดยปราศจากอภิสิทธิ์และผู้ที่มียศถาบรรดาศักดิ์ที่ได้รับการสืบทอดทางสายเลือดรุ่นใหม่ที่ได้รับการยินยอม ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 เมื่อวันที่ 4 กันยายน ค.ศ. 1870 ขุนนางฝรั่งเศสนั้นแทบจะไม่มีอยู่เลยและไม่มีสถานะทางกฎหมาย[4][5][6][7]

ครอบครัวตระกูลขุนนางฝรั่งเศสนั้นอาจมีจุดกำเนิดอยู่สองประการตามหลักการของขุนนาง: ครอบครัวตระกูลขุนนางเก่าแก่ และครอบครัวตระกูลขุนนางที่ได้รับการแต่งตั้ง[8]

แหล่งข้อมูลที่แตกต่างเกี่ยวกับจำนวนที่แท้จริงของครอบครัวชาวฝรั่งเศสที่มีเชื้อสายขุนนาง แต่เห็นพ้องต้องกันว่ามันเป็นสัดส่วนระหว่างชนชั้นขุนนางที่เล็กที่สุดในยุโรป ในปี ค.ศ. 1789 นักประวัติศาสตร์ชาวฝรั่งเศสนามว่า ฟร็องซัว บลูเช ได้ให้จำนวนตัวเลขของขุนนางประมาณ 140,000 คน (ครอบครัวตระกูลขุนนางจำนวน 9,000 ตระกูล) และระบุว่าประมาณ 5% ของขุนนางที่กล่าวอ้างสิทธิ์จากการสืบเชื้อสายจากขุนนางศักดินาก่อนช่วงศตวรรษที่ 15[9] ด้วยจำนวนประชากรทั้งหมด 28 ล้านคน เช่นนี้จึงคิดเป็นเพียง 0.5% นักประวัติศาสตร์นามว่า กอร์ดอน ไรต์ ได้ให้จำนวนตัวเลขของขุนนางประมาณ 300,000 คน (โดยมีจำนวน 80,000 คน ที่มาจากขุนนางแห่งดาบ(noblesse d'épée)มาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล)[10] ซึ่งได้รับเห็นชอบกับการคาดคะเนของนักประวัติศาสตร์นามว่า ฌ็อง เดอ วิเกอรี[11] หรือมากกว่าเพียงเล็กน้อย 1% ในเรื่องของการถือครองที่ดิน ในช่วงเวลาของการปฏิวัติ อสังหาริมทรัพย์ของขุนนางประกอบด้วยประมาณหนึ่งในห้าของที่ดิน[12]

อ้างอิง[แก้]

  1. Bulletin des lois de la République française, 1808, page 177.
  2. Thierry Lentz, Le Premier Empire: 1804 – 1815, Fayard 2018, page 342.
  3. Charter of 4 June 1814.
  4. Répertoire général alphabétique du droit français, 1901, page 533.
  5. Régis Valette, Catalogue de la noblesse française au XXIe siècle, Robert Laffont, 2007, pages 12-13.]
  6. Didier Lancien, Monique de Saint-Martin, Anciennes et nouvelles aristocraties de 1880 à nos jours, Les Editions de la MSH, 2014, page 232.
  7. William Stearns Davis, A History of France from the Earliest Times to the Treaty of Versailles, 1919, page 537.
  8. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Clinchamps13
  9. Bluche, 84.
  10. Wright, 15.
  11. Viguerie, 1232.
  12. Hobsbawm, 57, citing Henri Eugène Sée's Esquisse d'une histoire du régime agraire en Europe aux XVIIIe et XIXe siècles (1991).