คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
Faculty of Technical Education, Rajamangala University of Technology
สถาปนาพ.ศ. 2532
คณบดีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชิต สุทธิพร
ที่อยู่
เลขที่ 150 หมู่ 6 ถนนศรีจันทร์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40000
สี██ สีชมพู
สถานปฏิบัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น
เว็บไซต์www.fte.rmuti.ac.th

คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม(อังกฤษ: Faculty of Technical Education, Rajamangala University of Technology Isan) เป็น1ใน3 คณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น

ประวัติ[แก้]

คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่นก่อตั้งขึ้นตามสัญญาความร่วมมือระหว่างรัฐบาลและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันภายใต้ชื่อโครงการวิทยาลัยเทคนิค(ไทย-เยอรมัน) ขอนแก่น เมื่อ 1 ตุลาคม 2506 เปิดทำการสอนนักศึกษารุ่นแรกในระดับ ปวช. สายช่างอุตสาหกรรม จำนวน 5 สาขาวิชา ตั้งแต่ปีการศึกษา 2507 และหลักสูตรระดับปวส. จำนวน 2 สาขาวิชา ตั้งแต่ปีการศึกษา 2513 โดยสัญญาความร่วมมือเทคนิคไทย-เยอรมันสิ้นสุดลงในปี 2518

ตั้งแต่ปี 2518 เป็นต้นมหาวิทยาลัยเทคนิคไทย-เยอรมันขอนแก่นได้มีการเปิดหลักสูตรในระดับปวส. เพิ่มเติมอีกหลายสาขาวิชาในสายช่างอุตสาหกรรมและในปีการศึกษา 2537 เริ่มเปิดหลักสูตรปวส. บริหารธุรกิจ สาขาการตลาด พ.ศ. 2518 เข้าร่วมเป็นวิทยาเขตหนึ่งของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาตาม พ.ร.บ.วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา พ.ศ. 2518 ปี 2519 วิทยาเขตเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรประโยคครูมัธยม(ปม.) โดยรับผู้สำเร็จการศึกษา ระดับปวส. ทุกสาขาวิชาเรียนวิชาทางด้านการศึกษาเพิ่มเติมอีก 2 ภาคการศึกษา(1ปี) และในปี 2522 กรมอาชีวศึกษาได้เล็งเห็นความสำคัญของครูช่างอุตสาหกรรม จึงขอให้วิทยาเขตต่างๆ ของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ เปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรครูมัธยมช่างอุตสาหกรรม (ปมอ.)

ค.อ.บ.วิศวกรรมอุตสาหการเชื่อมประกอบ และค.อ.บ.วิศวกรรมไฟฟ้า ส่วนหลักสูตรสาขาวิชาอื่นๆอีกหลายหลักสูตรได้เปิดสอนในปีต่อๆมา

ในปี 2532 ที พ.ร.บ. เปลี่ยนชื่อวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเป็นสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2548 มี พ.ร.บ. ให้สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล(เดิม) เป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 9 แห่ง

ตั้งแต่ปีการศึกษา 2532 เป็นต้นมา วิทยาเขตขอนแก่น ภายใต้สังกัดสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ได้เปิดสาขาวิชาทั้งในระดับปวส. ช่างอุตสากรรมและปริญญาตรีหลากหลายสาขา ทั้งหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรม วิศวกรรมศาสตร์ บริหารธุรกิจ วิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ เมื่อมี พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548 ปัจจุบันคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมมีหลักสูตรที่เปิดสอน (ปี 2550) อยู่ทั้งหมด ในระดับปวส. รวม 14 สาขาวิชา หลักสูตรปริญญาตรี (2 ปี รับปวส.) รวม 9 สาขาวิชา ปริญญาตรี (หลักสูตร 4 ปี รับ ม.6 และปวช.) รวม 8 สาขาวิชาและมีโครงการเปิดหลักสูตร ปริญญาตรี(หลักสูตรต่อเนื่อง/เทียบโอน 2 ปี) รับ ปวส. ในปี 2551 อีก 3 สาขาวิชา คือ ค.อ.บ.วิศวกรรมเครื่องกล อส.บ.เทคโนโลยีท่ออุตสาหการ และ บธ.บ.การบัญชี และโครงการหลักสูตรปริญญาโททางด้านครุศาสตร์อุตสาหกรรมในปี 2552

หลักสูตร[แก้]

คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท

ประเภทวิชาอุตสาหกรรม (ปวช.)

  • สาขาวิชาช่างก่อสร้าง
  • สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง
  • สาขาวิชาช่างยนต์
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการเขียนแบบเครื่องกล
  • สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์
  • สาขาวิชาช่างเทคนิคคอมพิวเตอร์

ประเภทวิชาอุตสาหกรรม (ปวส.)

  • สาขาวิชาช่างโยธา
  • สาขาวิชาช่างก่อสร้าง
  • สาขาวิชาช่างเครื่องมือกลอัตโนมัติ
  • สาขาวิชาช่างยนต์
  • สาขาวิชาช่างกลเกษตร
  • สาขาวิชาช่างกลโรงงาน
  • สาขาวิชาช่างท่อและประสาน
  • สาขาวิชาออกแบบการผลิต
  • สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์

หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต (ค.อ.บ.)

  • สาขาวิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรมโยธา
  • สาขาวิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรมไฟฟ้า
  • สาขาวิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรมอุตสาหการ
  • สาขาวิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรมอุตสาหการ (เทียบโอน)
  • สาขาวิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม
  • สาขาวิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม (เทียบโอน)
  • สาขาวิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรมเครื่องกล
  • สาขาวิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรมเครื่องกล (เทียบโอน)
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (เทียบโอน)
  • สาขาวิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรมการเชื่อม
  • สาขาวิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรมการเชื่อม (เทียบโอน)

หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต (อส.บ.)

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีท่ออุตสาหกรรม
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหการ
    • วิชาเอกเทคโนโลยีอุตสาหการเครื่องมือกลอัตโนมัติ (ต่อเนื่อง)
    • วิชาเอกเทคโนโลยีอุตสาหการการจัดการระบบการผลิต (ต่อเนื่อง)
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีออกแบบการผลิต (ต่อเนื่อง)
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีท่ออุตสาหกรรม (ต่อเนื่อง)
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ (ต่อเนื่อง)

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)

  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการจัดการทางธุรกิจ

ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต (ค.อ.ม.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าศึกษา

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]