คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
![]() | |
คําขวัญ | พัฒนาคน พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี |
---|---|
ชื่ออังกฤษ | Faculty of Technical Education King Mongkut's University of Technology North Bangkok |
ที่อยู่ | 1518 ถนนพิบูลสงคราม เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800 |
วันก่อตั้ง | พ.ศ. 2512 |
คณบดี | ผศ.ดร.พนาฤทธิ์ เศรษฐกูล |
เว็บไซต์ | www.fte.kmutnb.ac.th |
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เป็นคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมแห่งแรกของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นเป็นแผนกวิชาครั้งแรกในปี พ.ศ. 2512 และได้รับการยกฐานะเป็นคณะ ในปี พ.ศ. 2517 ปัจจุบันเปิดสอนทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก
ต้นแบบแห่งการผลิตครูช่าง สร้างสรรค์นวัตกรรม
ประวัติ[แก้]
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม เดิมมีฐานะเป็นแผนกวิชาหนึ่ง สังกัดวิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือ (ไทย-เยอรมัน) ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 ภายใต้ชื่อว่า Thai-German Technical Teacher College (TGTTC) และต่อมาเมื่อวิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือ ได้ยกฐานะขึ้นเป็นสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตพระนครเหนือ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ในปี พ.ศ. 2514 และโอนมาสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2517 จึงได้ยกฐานะของคณะขึ้นเป็นคณะวิชา โดยใช้ชื่อว่า "คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์"
ต่อมาใช่วง พ.ศ. 2512 – พ.ศ. 2517 เป็นช่วงระยะที่คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมได้รับการก่อตั้งขึ้นโดยความช่วยเหลือทางวิชาการจากรัฐบาลประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน เพื่อผลิตครูช่างอุตสาหกรรมในระดับปริญญาตรีใน 2 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาเครื่องกล และสาขาวิชาไฟฟ้า โครงการความช่วยเหลือดังกล่าวได้เน้นทางด้านการสนับสนุนเครื่องมือเครื่องจักร อุปกรณ์การเรียนการสอน ผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนทุนการศึกษา ฝึกอบรม และการดูงาน โดยคณะเริ่มรับนักศึกษารุ่นที่ 1 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2512 ซึ่งเป็นหลักสูตร ค.อ.บ.แห่งแรกในประเทศไทย และต่อมาในระหว่างปี พ.ศ. 2518-2522 รัฐบาลเยอรมันได้ขยายโครงการความช่วยเหลือแก่คณะเพิ่มขึ้น ด้วยการช่วยเหลือในการพัฒนาการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี และการเปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาโท สาขาวิชาเครื่องกล และสาขาวิชาไฟฟ้า อีกด้วย
พ.ศ. 2521 คณะได้ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาตรีทั้ง 2 สาขาวิชา ให้มีความเข้มข้นในด้านวิชาวิศวกรรมมากขึ้น จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล และสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ ได้แยกงานในส่วนวิทยาศาสตร์ ออกไปจัดตั้งเป็นคณะวิชาใหม่ ดังนั้นคณะจึงได้ใช้ชื่อว่า คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ในปัจจุบัน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมมีการจัดการเรียนการสอนทั้งหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรม(ค.อ.บ./ค.อ.ม.) หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ (วศ.บ./วศ.ม.) และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
ปรัชญา[แก้]
ปรัชญา : คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ยึดถือปรัชญาตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้ คือ "พัฒนาคน พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี"
ปณิธาน : มุ่งผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถทางการศึกษา วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม และเทคโนโลยี เพื่อการสอน การถ่ายทอด การบริหารจัดการ การใช้ การสร้างและพัฒนาเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นผู้ที่รู้จริง ทำได้จริง มีคุณธรรม จริยธรรม และรับผิดชอ
วิสัยทัศน์ : เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ต้นแบบผลิตครูช่าง ควบคู่จรรยาบรรณ สร้างสรรค์งานวิจัย ถ่ายทอดเทคโนโลยีมุ่งสู่สากล
พันธกิจ : คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม จะผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีคุณธรรมและจริยธรรม ทั้งในระดับปริญญาบัณฑิตและบัณฑิตศึกษา ด้านครุศาสตร์อุตสาหกรรมตามความต้องการของสังคมเพื่อพัฒนาการศึกษาและเศรษฐกิจของประเทศ ดำเนินการวิจัย พัฒนาองคืความรู้เพื่อประยุกต์ใช้ในการอาชีวะและเทคนิคศึกษาและอุตสาหกรรม ให้บริการวิชาการในรูปแบบต่าง ๆที่เหมาะสมกับภาครัฐและเอกชน ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมเพื่อทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ
อัตลักษณ์ : บัณฑิตที่คิดเป็น ทำเป็น ถ่ายทอดเป็น
เอกลักษณ์ : ต้นแบบแห่งการผลิตครูช่าง สร้างสรรค์นวัตกรรม
หน่วยงาน[แก้]
- ครุศาสตร์อุตสาหกรรม มจพ.
- ภาควิชาครุศาสตร์เครื่องกล
- ภาควิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี
- ภาควิชาครุศาสตร์ไฟฟ้า
- ภาควิชาครุศาสตร์โยธา
- ภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา
- ภาควิชาบริหารเทคนิคศึกษา
- สำนักงานคณบดี
หลักสูตรการศึกษา[แก้]
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ได้เปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ดังนี้
ภาควิชาครุศาสตร์เครื่องกล
ระดับปริญญาตรี[แก้]
หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต (ค.อ.บ.) Bachelor of Science in Technical Education (B.S.Tech.Ed.) หลักสูตร 4 ปี[แก้]
- สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล (Mechanical Engineering) (TM)
- สาขาวิชาวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ (Mechatronics Engineering) (TT)
- สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิตและอุตสาหการ (Production and Industrial Engineering) (TP)
หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต (ค.อ.บ.) Bachelor of Science in Technical Education (B.S.Tech.Ed.) หลักสูตร 2-3 ปี (เทียบโอน สำหรับผู้จบ ปวส.)[แก้]
- สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล (Mechanical Engineering) (TTM)
- สาขาวิชาวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ (Mechatronics Engineering) (TTT)
- สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิตและอุตสาหการ (Production and Industrial Engineering) (TTP)
ระดับปริญญาโท[แก้]
หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต (ค.อ.ม.) Master of Science in Technical Education (M.S.Tech.Ed.)[แก้]
- สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลศึกษา (Mechanical Engineering Education) (MTM)
- สาขาวิชาวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ (Mechatronics Engineering) (MTT)
ระดับปริญญาเอก[แก้]
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) Doctor of Philosophy (Ph.D.)[แก้]
- สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลศึกษา (Mechanical Engineering Education) (DMEE)
ภาควิชาครุศาสตร์ไฟฟ้า
ระดับปริญญาตรี[แก้]
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) Bachelor of Engineering (B.Eng.) หลักสูตร 5 ปี (เปิดการเรียนการสอน ปีการศึกษา 2562)[แก้]
- สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าและการศึกษา (Electrical Engineering and Education) (TEE)
- แขวงวิชาวิศวกรรมระบบไฟฟ้ากำลังและระบบควบคุม สาขางานไฟฟ้ากำลัง (TEE-Power)
- แขนงวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม สาขางานไฟฟ้าสื่อสาร (TEE-Elec)
หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต (ค.อ.บ.) Bachelor of Science in Technical Education (B.S.Tech.Ed.) หลักสูตร 4 ปี[แก้]
- สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (Electrical Engineering) (TE)
- แขนงวิชาวิศวกรรมระบบไฟฟ้ากำลังและระบบควบคุม (TE-Power)
- แขนงวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม (TE-Elec)
หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต (ค.อ.บ.) Bachelor of Science in Technical Education (B.S.Tech.Ed.) หลักสูตร 2-3 ปี (เทียบโอน สำหรับผู้จบ ปวส.)[แก้]
- สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (Electrical Engineering) (TTE)
- แขนงวิชาวิศวกรรมระบบไฟฟ้ากำลังและระบบควบคุม (TTE-Power)
- แขนงวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม (TTE-Elec)
ระดับปริญญาโท[แก้]
หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต (ค.อ.ม.) (Master of Science in Technical Education (M.S.Tech.Ed.)[แก้]
- สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าศึกษา (Electrical Engineering Education) (MTE)
- แขนงวิชาวิศวกรรมระบบไฟฟ้ากำลัง
- แขนงวิชาวิศวกรรมระบบควบคุม
- แขนงวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
- แขนงวิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม
ระดับปริญญาเอก[แก้]
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) Doctor of Philosophy (Ph.D.)[แก้]
- สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าศึกษา (Electrical Engineering Education) (DTE)
- แขนงวิชาวิศวกรรมระบบไฟฟ้ากำลัง
- แขนงวิชาวิศวกรรมระบบควบคุม
- แขนงวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
- แขนงวิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม
- สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและพลังงาน (Electrical And Energy Engineering) (EDEEE) (หลักสูตรภาษาอังกฤษ)
ภาควิชาครุศาสตร์โยธา
ระดับปริญญาตรี[แก้]
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) Bachelor of Engineering (B.Eng.) หลักสูตร 5 ปี[แก้]
- สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาและการศึกษา (Civil Engineering and Education) (CEE)
หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต (ค.อ.บ.) Bachelor of Science in Technical Education (B.S.Tech.Ed.) หลักสูตร 4 ปี[แก้]
- สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (Civil Engineering) ) (TTC)
ระดับปริญญาโท[แก้]
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.) Master of Engineering (M.Eng.)[แก้]
- สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาและการศึกษา (Civil Engineering and Education) (MCEE)
ระดับปริญญาเอก[แก้]
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) Doctor of Philosophy (Ph.D.)[แก้]
- สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาและการศึกษา (Civil Engineering and Education) (DCEE)
ภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา
ระดับปริญญาตรี[แก้]
หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต (ค.อ.บ.) Bachelor of Science in Technical Education (B.S.Tech.Ed.) หลักสูตร 5 ปี[แก้]
- สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (Computer Technology) (CED)
หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต (ค.อ.บ.) Bachelor of Science in Technical Education (B.S.Tech.Ed.) หลักสูตร 2-3 ปี (เทียบโอน สำหรับผู้จบ ปวส.)[แก้]
- สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (Computer Technology) (TCT)
ระดับปริญญาโท[แก้]
หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต (ค.อ.ม.) Master of Science in Technical Education (M.S.Tech.Ed.)[แก้]
- สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา (Computer Education) (MTCT)
ระดับปริญญาเอก[แก้]
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) Doctor of Philosophy (Ph.D.)[แก้]
- สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา (Computer Education) (DTCT)
ภาควิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี
ระดับปริญญาโท[แก้]
หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต (ค.อ.ม.) Master of Science in Technical Education (M.S.Tech.Ed.)[แก้]
- สาขาวิชาเทคโนโลยีเทคนิคศึกษา (Technical Education Technology) (MET)
ระดับปริญญาเอก[แก้]
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) (Doctor of Philosophy (Ph.D.)[แก้]
- สาขาวิชาเทคโนโลยีเทคนิคศึกษา (Technical Education Technology) (DET)
ภาควิชาบริหารเทคนิคศึกษา
ระดับปริญญาโท[แก้]
หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต (ค.อ.ม.) Master of Science in Technical Education (M.S.Tech.Ed.)[แก้]
- สาขาวิชาบริหารอาชีวะและเทคนิคศึกษา (Vocational and Technical Education Management) (TEM)
ระดับปริญญาเอก[แก้]
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) Doctor of Philosophy (Ph.D.)[แก้]
- สาขาวิชาบริหารอาชีวะและเทคนิคศึกษา (Vocational and Technical Education Management) (DVTM)
หลักสูตรกลาง
ระดับปริญญาโท[แก้]
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) Master of Science (M.Sc.)[แก้]
- สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา (Information and Communication Technology for Education) (MICT)
- สาขาวิชาการสอนอาชีวะและเทคนิคศึกษา (Vocational and Technical Educational Pedagogy) (DPRD)
ระดับปริญญาเอก[แก้]
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) Doctor of Philosophy (Ph.D.)[แก้]
- สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อการศึกษา (Information and Communication Technology for Education) (DICT)