ข้ามไปเนื้อหา

การสมรสเพศเดียวกันในไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถานภาพทางกฎหมายของ
ความสัมพันธ์เพศเดียวกัน
การสมรส
มีประกอบการสมรส
  1. เมื่อได้ประกอบการสมรสในรัฐของเม็กซิโกที่อนุญาตการสมรสเพศเดียวกัน
  2. อาจจดทะเบียนในอารูบา กือราเซา และซินต์มาร์เติน
  3. ไม่ถูกกฎหมายในนีอูเอ โตเกเลา และหมู่เกาะคุก
  4. ไม่ถูกกฎหมายในดินแดนโพ้นทะเลบางดินแดน
  5. ไม่ถูกฎหมายในอเมริกันซามัวและเขตสงวนอินเดียนบางเขต

*ยังไม่มีผลใช้บังคับ

ประเทศไทยจะเริ่มรับรองการสมรสเพศเดียวกันตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2568 เป็นต้นไป[1] โดยก่อนหน้านั้นมีความพยายามเสนอร่างกฎหมายหลายฉบับเพื่อให้เกิดการรับรองดังกล่าวมาตั้งแต่ พ.ศ. 2555 แต่ไม่ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา จนกระทั่งใน พ.ศ. 2567 ร่างแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เพื่อให้บรรลุผลดังกล่าวจึงได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา[2]

ร่างกฎหมายที่ได้รับความเห็นชอบนี้ ได้เสียงสนับสนุนจากรัฐบาลและพรรคฝ่ายค้านหลัก โดยมาจากการเสนอขึ้นในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2566 และผ่านความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรไทยเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2567 ด้วยคะแนน 400 ต่อ 10 เสียง[3] จากนั้นได้รับความเห็นชอบของวุฒิสภาไทยเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2567 ด้วยคะแนน 130 ต่อ 4 เสียง งดออกเสียง 18 เสียง[4] นายกรัฐมนตรีจึงนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายต่อพระมหากษัตริย์เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศในราชกิจจานุเบกษา[5][6][7][7][8] ร่างกฎหมายนี้จะแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยเปลี่ยนคำว่า "ชายและหญิง" และ "สามีและภรรยา" เป็นคำว่า "บุคคล" และ "คู่สมรส" ทั้งยังจะอนุญาตให้คู่รักเพศเดียวกันสามารถรับบุตรบุญธรรมร่วมกันได้[9] เมื่อร่างกฎหมายนี้ประกาศใช้ ประเทศไทยจะเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเป็นประเทศที่สองในเอเชียที่ทำให้การแต่งงานของคนเพศเดียวกันถูกต้องตามกฎหมาย ต่อจากไต้หวัน[10][11][12][13]

ปัจจุบันร่างกฎหมายดังกล่าวประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2567 และจะมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 120 วันนับจากนั้น[1]

การจดทะเบียนคู่ชีวิตเพศเดียวกัน

[แก้]

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2555 รัฐบาลได้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อร่างกฎหมายที่ให้การยอมรับทางกฎหมายสำหรับคู่รักเพศเดียวกันในรูปแบบของการอยู่กินด้วยกัน[14] ปีต่อมา กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม และคณะกรรมาธิการกฎหมาย ยุติธรรม และสิทธิมนุษยชนของรัฐสภา ได้จัดให้มีการประชาพิจารณ์เกี่ยวกับร่างกฎหมายคู่ชีวิตเป็นครั้งแรก ซึ่งร่างโดยพลตำรวจเอก วิรุณ เผื่อแสน ประธานคณะกรรมาธิการ[15]

ในปี พ.ศ. 2557 ร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิตได้รับการสนับสนุนจากทั้งสองฝ่ายในสภาผู้แทนราษฎร แต่ต้องหยุดชะงักลงเนื่องจากความไม่สงบทางการเมืองในประเทศ[16] ในช่วงครึ่งหลังของปี 2557 มีรายงานว่าจะมีการเสนอร่างพระราชบัญญัติที่เรียกว่า "พระราชบัญญัติคู่ชีวิต" ต่อ รัฐสภาไทย ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยรัฐบาลทหาร ซึ่งจะให้สิทธิบางประการแก่คู่รักเพศเดียวกันเช่นเดียวกับการสมรสต่างเพศ แต่ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากการเพิ่มอายุขั้นต่ำในการสมรสจาก 17 ปี เป็น 20 ปี และไม่ให้สิทธิในการรับบุตรบุญธรรม[17]

ในปี พ.ศ. 2560 เจ้าหน้าที่ของรัฐไทยตอบรับคำร้องที่ลงนามโดยประชาชน 60,000 คน เรียกร้องให้มีคู่ครองคู่เพศเดียวกัน ปิติกานต์ สิทธิเดช อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ยืนยันว่าทางกรมได้รับคำร้องแล้ว และจะทำทุกอย่างเท่าที่ทำได้เพื่อให้กฎหมายผ่านการพิจารณาโดยเร็วที่สุด[18] กระทรวงยุติธรรมจัดประชุมเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 เพื่อเริ่มหารือเกี่ยวกับร่างร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต ซึ่งมีชื่อว่า "ร่างพระราชบัญญัติการจดทะเบียนคู่ชีวิตเพศเดียวกัน" ภายใต้ข้อเสนอดังกล่าว คู่รักเพศเดียวกันจะสามารถจดทะเบียนเป็น "คู่ชีวิต" ได้ และจะได้รับสิทธิบางประการเช่นเดียวกับคู่รักต่างเพศ[19][20][21] ร่างกฎหมายดังกล่าวได้รับการหารือในการประชาพิจารณ์ระหว่างวันที่ 12 ถึง 16 พฤศจิกายน โดยมีผู้รายงานว่า 98% แสดงการสนับสนุนกฎหมายดังกล่าว[22][23] เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2561 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัตินี้[24][25][26]

เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติร่างพระราชบัญญัติฉบับใหม่และนำเสนอใน รัฐสภา[27][28] แต่ก็ไม่ได้รับมติเห็นชอบก่อนสิ้นปีดังกล่าว

เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร กลายเป็นเขตอำนาจแห่งแรกใน ประเทศไทย ที่ออกหนังสือรับรองการเป็นคู่ชีวิตซึ่งไม่มีข้อผูกมัดทางกฎหมายแก่คู่รักเพศเดียวกัน[29]

พัฒนาการของการสมรสเพศเดียวกันในไทย

[แก้]
ป้ายผ้ารณรงค์ "สมรสเท่าเทียม" ในงานไพรด์กรุงเทพฯ 2022

ในปี 2471 มีการจัดงานวิวาห์ระหว่างหญิงด้วยกัน บริเวณย่านธนบุรี ระหว่างนางช้อย เจ้าบ่าว และนางสาวถม เจ้าสาว หนังสือพิมพ์หลายฉบับนำเสนอข่าวนี้โดยพาดหัวทำนองว่าเป็น "วิวาห์ลักเพศ" ภายหลังงานวิวาห์ประมาณเดือนกว่า นางช้อยถูกยิงเสียชีวิต[30]

ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2554 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) และเครือข่ายความหลากหลายทางเพศ ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชน ได้เสนอร่างกฎหมายว่าด้วยการสมรสของคนเพศเดียวกัน พร้อมขอการสนับสนุนกฎหมายดังกล่าวจากรัฐบาลไทย[31] [32]

ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2556 บางกอกโพสต์ รายงานว่าเมื่อสองปีก่อนหน้านั้น ความพยายามของนที ธีระโรจนพงษ์ ประธานกลุ่มเกย์การเมืองแห่งประเทศไทย ที่จะจดทะเบียนสมรสกับคู่ครองชายของเขานั้น ถูกปฏิเสธ[33]

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล เสนอร่างกฎหมายที่ทำให้การแต่งงานของคนเพศเดียวกันถูกต้องตามกฎหมาย[34] การประชาพิจารณ์เกี่ยวกับร่างกฎหมายดังกล่าวมีขึ้นเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม[35][36]

ในปี พ.ศ. 2565 ร่างกฎหมายกลุ่มหนึ่งเกี่ยวกับการสมรสระหว่างเพศเดียวกันผ่านการพิจารณาของรัฐสภาไทยเป็นครั้งแรก อันรวมถึงร่างกฎหมายความเท่าเทียมในการสมรสที่เสนอโดยพรรคก้าวไกลซึ่งเป็นฝ่ายค้านในขณะนั้น โดยจะแก้ไขกฎหมายการสมรสในปัจจุบันให้รวมคู่รักทุกเพศทุกวัย และร่างพระราชบัญญัติความเท่าเทียมในการสมรสที่รัฐบาลเสนอ ซึ่งจะแยกความเป็นคู่ชีวิตออกเป็นหมวดหมู่แยกต่างหากแทน โดยให้สิทธิบางส่วนเสมอกับคู่รักที่เป็นชายและหญิงตามเพศกำเนิด แต่ไม่ใช่สิทธิทั้งหมดที่คู่สมรสตามร่างกฎหมายนี้จะได้รับ[37][38][39] แม้จะมีการแก้ไขหลายครั้ง แต่ก็ไม่มีร่างกฎหมายใดผ่านรัฐสภาก่อนที่จะมีการยุบสภาและเลือกตั้งทั่วไปในปีถัดมา

ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2566 นายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน จากพรรคเพื่อไทย ประกาศว่า คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติร่างกฎหมายการแต่งงานของคนเพศเดียวกัน[40] ซึ่งรัฐสภาเริ่มอภิปรายเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม ปีเดียวกัน[41] นอกจากร่างพระราชบัญญัติฉบับของรัฐบาลแล้ว ยังมีการพิจารณาเพิ่มเติมอีก 3 ฉบับโดยพรรคก้าวไกล, พรรคประชาธิปัตย์ และภาคประชาสังคม[42][43] ร่างกฎหมายทั้งสี่ฉบับผ่านความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง 369 ต่อ 10[44] โดยสภาผู้แทนราษฎรอนุมัติการจัดตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อรวมร่างทั้งสี่ฉบับเป็นฉบับเดียวในช่วง 15 วันเพื่อรอการอภิปรายเพิ่มเติมในปีถัดมา[45]

ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2567 สภาผู้แทนราษฎรผ่านร่างกฎหมายดังกล่าวด้วยคะแนนเสียง 400 เสียงต่อ 10 เสียง ทั้งนี้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นมุสลิม ได้ใช้เอกสิทธิ์ไม่ให้ความเห็นชอบต่อร่างกฎหมายดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่าขัดต่อหลักศาสนาของตน[3] ส่วนที่เหลือเป็นการไม่ลงคะแนน 2 เสียง และงดออกเสียง 3 เสียง[6] หลังจากนั้นวุฒิสภาได้ผ่านความเห็นชอบร่างกฎหมายนี้ในเดือนมิถุนายน และนำขึ้นทูลเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย[46][47][48]

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 24) พ.ศ. 2567 หรือกฎหมายสมรสเท่าเทียม ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว ได้รับการเผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2567 และมีผลบังคับใช้ในวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2568[49]

การวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2564 ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยว่ามาตรา 1448 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ตีความการแต่งงานระหว่างหญิงและชายเท่านั้น ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ แต่หลังจากมีคำวินิจฉัยฉบับเต็มมีข้อความหนึ่งระบุว่าคู่รักเกย์ "ไม่สามารถสืบพันธุ์ได้เนื่องจากขัดต่อธรรมชาติ" และผู้คนในชุมชนเหล่านั้นก็ไม่ต่างจากสัตว์ชนิดอื่นที่มีพฤติกรรมหรือลักษณะทางกายภาพที่แปลกประหลาด" คำวินิจฉัยนั้นระบุว่าผู้ที่ไม่รักต่างเพศนั้นเป็น "สายพันธุ์" ที่แตกต่างกันซึ่งจำเป็นต้องแยกออกและศึกษาเนื่องจากไม่สามารถสร้าง "สายสัมพันธ์ที่ละเอียดอ่อน" ของความสัมพันธ์ของมนุษย์ได้[50] ข้อความนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากผู้ที่ไม่รักต่างเพศว่าเป็นการแสดงความรังเกียจและดูหมิ่น[51]

อย่างไรก็ตาม ฉัตรชัย เอมราช กล่าวว่าคำพิพากษาดังกล่าวกลับเป็นผลดีต่อการเรียกร้องสิทธิของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในไทยที่จะเข้มข้นมากขึ้น ทั้งนี้ ในคำวินิจฉัยดังกล่าวระบุว่า ความเสมอภาคในการจัดตั้งครอบครัวนั้นสามารถดำเนินการได้ "โดยบัญญัติกฎหมายเฉพาะขึ้นมาใหม่เพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนถึงกฎหมายหลักที่ได้วางรากฐานความเป็นสถาบันครอบครัวมาตั้งแต่อดีตกาล"[52][53]

ความคิดเห็นของประชาชน

[แก้]

จากผลสำรวจความคิดเห็นของชาวไทย พบว่ามีการสนับสนุนให้รับรองการสมรสของคนเพศเดียวกันอย่างถูกกฎหมายมาโดยตลอด[54][55][56]

จากการสำรวจความคิดเห็น YouGov ในปี พ.ศ. 2562 ซึ่งมีผู้ตอบแบบสำรวจ 1,025 คน พบว่า 63% ของคนไทยสนับสนุนการทำให้ความสัมพันธ์คู่รักเพศเดียวกันถูกต้องตามกฎหมาย โดย 11% คัดค้าน และ 27% เลือกที่จะไม่ตอบ โดย 69% ของผู้ที่มีอายุ 18 ถึง 34 ปีสนับสนุนการออกกฎหมายคู่ชีวิต 10% คัดค้าน การทำให้ถูกต้องตามกฎหมายได้รับการสนับสนุนจาก 56% ของผู้ที่มีอายุระหว่าง 35 ถึง 54 ปี (33% ไม่เห็นด้วย) และ 55% ของผู้ที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไป (13% ไม่เห็นด้วย) 66% ของผู้สำเร็จการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยเห็นด้วย (10% ไม่เห็นด้วย) และ 57% ของผู้ที่ไม่มีวุฒิการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย (12% ไม่เห็นด้วย) 68% ของผู้ที่มีรายได้สูงสนับสนุนการเป็นหุ้นส่วนทางแพ่ง (7% ไม่เห็นด้วย) และ 55% ของผู้ที่มีรายได้น้อย (13% ไม่เห็นด้วย) ผู้หญิง 68% ตอบรับ (ไม่เห็นด้วย 7%) และผู้ชาย 57% (ไม่เห็นด้วย 14%)[57]

จากการสำรวจของ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2565 พบว่าคนไทย 93% ยอมรับเพื่อนหรือเพื่อนร่วมงานที่ไม่รักต่างเพศ 91% จะยอมรับผู้ที่ไม่รักต่างเพศเป็นสมาชิกในครอบครัว และ 80% สนับสนุนการแต่งงานของคนเพศเดียวกัน[58]

สมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า การสำรวจของรัฐบาลที่ดำเนินการระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม ถึง 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 พบว่า 96.6% ของกลุ่มตัวอย่างสนับสนุนร่างกฎหมายการสมรสของบุคคลเพศเดียวกัน[59][60]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "ราชกิจจานุเบกษา ประกาศแล้ว พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม". มติชนออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2024.
  2. Olarn, Helen Regan, Kocha (2024-06-18). "'Monumental step forward': Thailand to become first Southeast Asian nation to legalize same-sex marriage". CNN (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-06-18.
  3. 3.0 3.1 "'วู้ดดี้' เฮลั่น หลังอดทนรอมานาน 20 ปี สมรสเท่าเทียม สู่กฎหมายไทยประเทศที่ 3". komchadluek.net. 2024-03-27.
  4. "ไทย! มีกฎหมายสมรสเท่าเทียมแล้ว หลัง"วุฒิสภา" เห็นชอบด้วยคะแนนท่วมท้น". ช่อง 7HD. 18 มิถุนายน 2024.
  5. "Thailand Passes Bill to Legalize Same-Sex Marriage". Bloomberg.com (ภาษาอังกฤษ). 2024-03-26. สืบค้นเมื่อ 2024-03-27.
  6. 6.0 6.1 "Lawmakers in Thailand overwhelmingly approve a bill to legalize same-sex marriage". AP News (ภาษาอังกฤษ). 2024-03-27. สืบค้นเมื่อ 2024-03-27.
  7. 7.0 7.1 "Thailand moves to legalise same-sex marriage" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2024-03-27. สืบค้นเมื่อ 2024-03-27.
  8. "Thailand lawmakers set to approve changes to legalise same-sex marriage". The Straits Times. สืบค้นเมื่อ 16 March 2024.
  9. "Thailand edges closer to legalising same-sex marriage". Reuters. 2023-12-21. สืบค้นเมื่อ 2023-12-21.
  10. Peter, Zsombor. "LGBTQ advocates cheer Thailand's latest drive for same-sex marriage law". Al Jazeera. สืบค้นเมื่อ 6 April 2024.
  11. "Thailand: Promptly Pass Same-Sex Marriage Bill". Human Rights Watch. 27 March 2024. สืบค้นเมื่อ 6 April 2024.
  12. Pandey, Pranjal (29 March 2024). "Thailand Leads Southeast Asia: Parliament Approves Landmark Same-Sex Marriage Bill – OpEd". Eurasia Review. สืบค้นเมื่อ 6 April 2024.
  13. "In landmark move, Nepal's govt circular allows same-sex marriage". April 27, 2024. สืบค้นเมื่อ May 12, 2024.
  14. Leach, Anna (17 December 2012). "Thai government drafting same-sex civil partnership law". Gay Star News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 July 2019. สืบค้นเมื่อ 21 April 2017.
  15. "Hundreds back civil unions for gay couples". Bangkok Post. 9 February 2013.
  16. Lee, Steve (10 April 2014). "Thai marriage equality bill unable to proceed due to political crisis". LGBT Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 June 2018. สืบค้นเมื่อ 21 April 2017.
  17. Mitsunaga, Takato (9 October 2014). "Same-sex marriage may come true under Thai junta". Prachatai English. สืบค้นเมื่อ 21 April 2017.
  18. "Thailand to revive gay rights Bill". Today. 2 June 2017. สืบค้นเมื่อ 25 November 2018.
  19. Thailand expected to introduce same-sex civil partnerships, The Independent, 27 April 2018
  20. Networks, Hornet (30 July 2018). "Thailand Could Actually Beat Taiwan to Legalizing Same-Sex Unions and Benefits". Hornet.
  21. "Gay union law ready for Cabinet by September". The Nation. 22 July 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-27. สืบค้นเมื่อ 2024-03-28.
  22. John Reed (26 November 2018). "Thais celebrate the prospect of same-sex unions as a leap forward". Financial Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 December 2022. สืบค้นเมื่อ 6 July 2019.
  23. Braidwood, Ella (2018-11-06). "Thailand could be first country in Asia with same-sex unions". PinkNews.
  24. Theparat, Chatrudee (25 December 2018). "Cabinet endorses civil partnership bill". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 25 December 2018.
  25. Sarrubba, Stefania (25 December 2018). "Thailand cabinet approves the first draft of same-sex civil union bill". Gay Star News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 July 2019. สืบค้นเมื่อ 25 December 2018.
  26. "New rights for gay couples". Bangkok Post. 26 December 2018.
  27. Bangprapa, Mongkol (8 July 2020). "Cabinet backs bill allowing same-sex unions". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 8 July 2020.
  28. Thanthong-Knight, Randy (8 July 2020). "Thailand Leads Way in Southeast Asia With Same-Sex Union Bill". Bloomberg News. สืบค้นเมื่อ 8 July 2020.
  29. "Same-sex couples get partnership certificates on Valentine's Day in Bangkok". Pattaya Mail (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2023-02-15. สืบค้นเมื่อ 2023-02-16.
  30. "งานวิวาห์ผู้หญิงกับผู้หญิง ในเมืองไทย เมื่อกว่า 100 ปีก่อน". The MATTER (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-02-16.
  31. "Commission for marriage rights". Star Observer. 13 September 2011. สืบค้นเมื่อ 21 April 2017.
  32. "NHRC will support gay marriage rights". The Nation. 5 September 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 June 2019. สืบค้นเมื่อ 21 April 2017.
  33. Chaiyot Yongcharoenchai (2013-09-08). "The two faces of Thai tolerance". Bangkok Post.
  34. Maneechote, Pear (15 June 2020). "Move Forward Party to push bill granting same-sex marriage in Thailand". Thai Enquirer. สืบค้นเมื่อ 8 July 2020.
  35. "Marriage law amendments now up for public consultation". Prachatai. 8 July 2020. สืบค้นเมื่อ 8 July 2020.
  36. "ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ..." Thailand Parliament. สืบค้นเมื่อ 8 July 2020.
  37. Sattaburuth, Aekarach (2022-06-15). "Parliament passes marriage equality bill, 3 other drafts". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2022-06-20.
  38. "Parliament passes 1st reading of Marriage Equality Bill, paving way for same sex marriage". Thai PBS World. 2022-06-15. สืบค้นเมื่อ 2022-06-20.
  39. Valentin, Declercq. "Gay Rights in Thailand (History) - G.A.M. Legal Alliance". gam-legalalliance.com. G.A.M. Legal Alliance. สืบค้นเมื่อ 20 November 2022.
  40. "Marriage equality bill for parliament next month". Bangkok Post (ภาษาอังกฤษ). Bangkok Post Public Company. Reuters. 21 November 2023. สืบค้นเมื่อ 21 November 2023.
  41. "Thailand steps closer to allowing same-sex marriage with cabinet nod". CNBCTV18 (ภาษาอังกฤษ). 2023-12-19. สืบค้นเมื่อ 2023-12-19.
  42. "สภา เริ่มถกร่างกม.สมรสเท่าเทียม - 'ภาคีสีรุ้ง' วอนโหวตรับเป็นของขวัญปีใหม่". bangkokbiznews. 2023-12-21. สืบค้นเมื่อ 2023-12-21.
  43. "สมรสเท่าเทียม: สำรวจข้อเหมือน-ข้อต่าง ร่างกฎหมายสมรส LGBTQ+ รัฐบาล-ก้าวไกล-ภาคประชาชน" [Marriage equality: explore similarities and differences in LGBTQ+ marriage draft bills, Government-Move Forward-civil sector]. BBC News Thai. 2023-12-21. สืบค้นเมื่อ 2023-12-21.
  44. "สภาฯ รับหลักการ "สมรสเท่าเทียม" ทั้ง 4 ฉบับ" [Parliament approves all four marriage equality bills]. Thai PBS. สืบค้นเมื่อ 2023-12-21.
  45. "Thailand edges closer to legalising same-sex marriage". Reuters. 2023-12-21. สืบค้นเมื่อ 2023-12-21.
  46. "Thailand: Lawmakers pass same-sex marriage bill – DW – 03/27/2024". dw.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-03-27.
  47. "Thailand's parliament approves same-sex marriage bill". Nikkei Asia (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2024-03-27.
  48. ""กม.สมรสเท่าเทียม" ผ่านแล้ว สร้างประวัติศาสตร์ชาติแรกอาเซียน". Thai PBS.
  49. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศแล้ว พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม
  50. "Subtle meanings behind Thai Constitutional Court's ruling against same-sex marriage". nationthailand.com Bangkok. 8 December 2021.
  51. "Constitutional Court's full verdict enrages LGBT community, rights defenders". www.thaipbsworld.com. 2012.
  52. "ถอดคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญกรณี #สมรสเท่าเทียม จุดเปลี่ยนของการเรียกร้องสิทธิ LGBTQ ในไทย". THE STANDARD. 2021-12-04.
  53. คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ ๒๐/๒๕๖๔ ลงวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ เรื่อง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๔๘ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๕ มาตรา ๒๖ และมาตรา ๒๗ วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม หรือไม่
  54. Limsamarnphun, Nophakhun (2018-11-24). "More rights for same-sex couples". The Nation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 November 2018. สืบค้นเมื่อ 2018-11-24.
  55. Villadiego, Laura (16 September 2018). "Land of lady boys? Thailand is not the LGBTI paradise it appears". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 16 September 2018.
  56. "Nida Poll: Most Thais agree with same sex marriage". Thai PBS. 2015-07-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 November 2017. สืบค้นเมื่อ 16 September 2018.
  57. "3 in 5 Thais support same-sex civil partnerships: survey | Coconuts Bangkok". Coconuts (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2019-02-18. สืบค้นเมื่อ 2019-07-01.
  58. "Nine in 10 Thais accept LGBTQ+ people as social tolerance rises: poll". Nation Thailand (ภาษาอังกฤษ). 2022-06-12. สืบค้นเมื่อ 2023-07-14.
  59. "Thailand edges closer to legalising same-sex marriage". Reuters.
  60. "Thailand edges closer to legalising same-sex marriage". www.businesstimes.com.sg. สืบค้นเมื่อ 2024-02-03.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]