ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์
ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 (5 ปี 234 วัน) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2514 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | อนาคตใหม่ (2561–2563) ก้าวไกล (2563–2567) ประชาชน (2567–ปัจจุบัน) |
ชื่อเล่น | ธัญญ์ |
ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ (เกิด 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2514) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคก้าวไกล 2 สมัย
ประวัติ
[แก้]ธัญวัจน์ เกิดวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2514 ที่กรุงเทพมหานคร
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาสื่อสารมวลชน จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยมหิดล
ธัญวัจน์เคยเป็นผู้ออกแบบท่าเต้น ครูสอนการแสดง และคอมเมนเตเตอร์[1] โดยเคยออกแบบท่าเต้นให้กลุ่มศิลปิน 2002 ราตรี[2]
งานการเมือง
[แก้]ธัญวัจน์เริ่มสนใจการเมืองตั้งแต่อายุ 46 ปี[3] ต่อมาเขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แบบบัญชีรายชื่อ ในลำดับที่ 25 และได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในครั้งแรกที่ลงรับเลือกตั้ง และได้ลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 แบบบัญชีรายชื่อ ในลำดับที่ 16 และได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้งเป็นสมัยที่ 2[2][4][3]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคอนาคตใหม่ → พรรคก้าวไกล
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคก้าวไกล → พรรคประชาชน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ คนตามข่าว : ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ ส.ส.ผู้กำกับบท-แอ๊กชั่นรักกลางสภา
- ↑ 2.0 2.1 ยิ่งเกียรติคุณ, พิเชฐ (2023-12-22). "ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์: 'ฮาร์วีย์ มิลค์เมืองไทย' ผู้ไม่ยอมให้ใครมาขวางความรักของทุกคน". thepeople (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ 3.0 3.1 "ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ "ไม่อยากเป็นแค่กะเทยเดินหมุนตัว"". bangkokbiznews. 2022-06-19.
- ↑ คู่ชีวิตฤาจะสู้สมรสเท่าเทียม: การต่อสู้เพื่อสิทธิที่ถูกพรากไปกับคู่แข่งใหม่ในรัฐสภา กับ ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๐, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2514
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ศิลปินชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- นักการเมืองไทยที่มีความหลากหลายทางเพศ
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- พรรคอนาคตใหม่
- พรรคก้าวไกล
- บุคคลจากคณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- บุคคลจากวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ม.
- พรรคประชาชน (พ.ศ. 2567)