หม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์ กิติยากร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก กัลยาณกิติ์ กิติยากร)

กัลยาณกิติ์ กิติยากร

เกิด20 กันยายน พ.ศ. 2472
เสียชีวิต15 พฤษภาคม พ.ศ. 2530 (57 ปี)
คู่สมรสท่านผู้หญิงอรุณ กิติยากร ณ อยุธยา
บุตรหม่อมหลวงพลายชุมพล กิติยากร
หม่อมหลวงสิริณา จิตตาลาน
บุพการีพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ
หม่อมหลวงบัว กิติยากร

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ หม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์ กิติยากร (20 กันยายน 2472 - 15 พฤษภาคม 2530) พระเชษฐาคนโตในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง มีชื่อเล่นว่า คุณชายกร๋อย[1] เป็นพระโอรสของพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ กับหม่อมหลวงบัว กิติยากร มีพี่น้อง 4 คน คือ หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร, สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และท่านผู้หญิงบุษบา สธนพงศ์

หม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์ จบการศึกษาจากโรงเรียนราชินี, โรงเรียนเซนต์คาเบรียล จากนั้นไปศึกษาวิชาแพทย์ศาสตร์ที่ประเทศอังกฤษ ที่ Guy's Hospital Medical School ได้รับประกาศนียบัตร MRCS. (Eng.)., LRCP. (Lond.) และ วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยลอนดอน ได้รับปริญญา MB., BS.(Lond.)

หม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์ รับราชการเป็นอาจารย์แพทย์ในคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อ พ.ศ. 2503 ต่อมาจึงย้ายมาอยู่ที่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2512 ท่านเป็นศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคทรวงอกและหัวใจ ได้ค้นคว้าทดลองการผ่าตัดซ่อมลิ้นหัวใจในผู้ป่วยที่มีลิ้นหัวใจมัยตรัลรั่ว และค้นคว้าวิธีผ่าตัดรักษาโรคที่เกิดจากเนื้อเยื่อปิดกั้นเลือดในหลอดเลือดดำใหญ่จากส่วนท้องของร่างกายเข้าสู่หัวใจ (หลอดเลือด เวนา คาวา เส้นล่าง) โดยใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม เป็นคนแรก ได้รับเกียรติจากราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศอังกฤษ ให้เป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ (Honorary Fellow (FRCS) (Eng.) (Hon.)) เมื่อ พ.ศ. 2524

หม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์ กิติยากร สมรสกับ ท่านผู้หญิงอรุณ กิติยากร ณ อยุธยา (สกุลเดิม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) มีบุตรธิดา 2 คน [2] คือ

  • หม่อมหลวงพลายชุมพล กิติยากร (สมรสกับ นางสาวอภิญญา สุวรรณวิหค)
  • หม่อมหลวงสิริณา กิติยากร (สมรสกับ นายปิยะ จิตตาลาน มีธิดา ชื่อ ธารา จิตตาลาน)

หม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์ กิติยากร ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันศุกร์ ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2530 ที่ โรงพยาบาลรามาธิบดี ด้วยโรคหัวใจล้มเหลว สิริอายุรวม 57 ปี 237 วัน เมื่อความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนชั้นประกอบเกียรติยศศพ จากโกศราชนิกูล เป็น โกศราชวงศ์ ในการนี้พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ณ ศาลาบัณณรศภาค วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รับศพไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์โดยตลอด

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

ลำดับสาแหรก[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. หม่อมราชวงศ์กิติวัฒนา ปกมนตรี. เขียนถึงสมเด็จ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ:เลมอนที. 2547, หน้า 74
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-21. สืบค้นเมื่อ 2006-10-11.
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๙๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๓๐
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑, ๒๗ มกราคม ๒๕๒๙
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๘๐ ง หน้า ๑๓๕๒, ๑ มิถุนายน ๒๕๑๙
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๙๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๓๐
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๕๘, ๒๑ มกราคม ๒๕๓๐
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๒๙ ง หน้า ๒๐๕๓, ๑๒ พฤษภาคม ๒๔๙๖
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๑๒๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๖, ๓ กรกฎาคม ๒๕๑๘