ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รักแห่งสยาม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
→‎เพลงประกอบภาพยนตร์: เพิ่มรายละเอียดนิดหน่อย
บรรทัด 125: บรรทัด 125:
อัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง ''รักแห่งสยาม'' ออกวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 สังกัดแฮปปี้โฮม ซึ่งได้ผู้กำกับภาพยนตร์ ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล รับตำแหน่งเป็นโปรดิวเซอร์[[อัลบั้ม]]นี้อีกด้วย ทั้งทำหน้าที่ แต่งเนื้อร้อง ทำนอง ออกแบบการร้อง<ref>นิตยสารแฮมเบอร์เกอร์ ฉบับที่ 113 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 หน้า 166</ref> และขับร้องเองด้วยในเพลง "กันและกัน" และ "Ticket"
อัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง ''รักแห่งสยาม'' ออกวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 สังกัดแฮปปี้โฮม ซึ่งได้ผู้กำกับภาพยนตร์ ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล รับตำแหน่งเป็นโปรดิวเซอร์[[อัลบั้ม]]นี้อีกด้วย ทั้งทำหน้าที่ แต่งเนื้อร้อง ทำนอง ออกแบบการร้อง<ref>นิตยสารแฮมเบอร์เกอร์ ฉบับที่ 113 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 หน้า 166</ref> และขับร้องเองด้วยในเพลง "กันและกัน" และ "Ticket"


และยังมีวงเฉพาะกิจในนาม ออกัส ประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 11 คน<ref>[http://www.siamzone.com/movie/m/4794/trivia รักแห่งสยาม - เกร็ดจากภาพยนตร์] siamzone.com</ref> นำโดย พิช - วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล หนึ่งในนักแสดงนำของภาพยนตร์และนักร้องนำประจำวง ทำเพลงในสไตล์[[ป็อป]][[โซล]] ซึ่งพิชยังมีส่วนในการแต่งเพลง “รู้สึกบ้างไหม”<ref>[http://www.siamzone.com/music/n/2011 อัลบั้ม เพลงประกอบภาพยนตร์ รักแห่งสยาม] siamzone.com</ref> โดยเพลงที่ได้รับการประชาสัมพันธ์ตามคลื่นวิทยุและสถานีโทรทัศน์ดนตรีเพลงแรกคือ “กันและกัน” ร้องโดย คิว-สุวีระ บุญรอด หรือ คิว วง[[ฟลัวร์]] ซึ่งเพลง “กันและกัน” นี้นอกจากคิวแล้วยังมี พิช ขับร้องในภาพยนตร์ 2 ครั้ง คือในฉากงานเลี้ยง เป็นแบบ[[อคูสติก]] และในคอนเสิร์ตช่วงท้ายเรื่อง เป็นแบบบันทึกเสียงสดกับวงออกัส และผู้กำกับภาพยนตร์ ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล ขับร้องในฉบับอคูสติก อยู่ในอัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์ และตามมาด้วยซิงเกิ้ลที่ 2 เพลง “เพียงเธอ” เพลงเก่าของ[[สุกัญญา มิเกล]] ร้องโดยพิช-วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล [[มิวสิกวิดีโอ]]เพลงนี้ถ่ายทำกันที่โรงภาพยนตร์เฮาส์<ref>[http://entertainment.msnth.com/news/articles.aspx?id=10000723&channel=movie “พิช” โรแมนติก เดี่ยวเปียโนเพลงซึ้งในเอ็มวี “เพียงเธอ” ซิงเกิ้ลที่ 2 ของ “รักแห่งสยาม”] msnth.com</ref>
และยังมีวงเฉพาะกิจในนาม ออกัส ประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 11 คน<ref>[http://www.siamzone.com/movie/m/4794/trivia รักแห่งสยาม - เกร็ดจากภาพยนตร์] siamzone.com</ref> นำโดย พิช - วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล หนึ่งในนักแสดงนำของภาพยนตร์และนักร้องนำประจำวง ทำเพลงในสไตล์[[ป็อป]][[โซล]] ซึ่งพิชยังมีส่วนในการแต่งเพลง “รู้สึกบ้างไหม”<ref>[http://www.siamzone.com/music/n/2011 อัลบั้ม เพลงประกอบภาพยนตร์ รักแห่งสยาม] siamzone.com</ref> โดยเพลงที่ได้รับการประชาสัมพันธ์ตามคลื่นวิทยุและสถานีโทรทัศน์ดนตรีเพลงแรกคือ “กันและกัน” ร้องโดย คิว-สุวีระ บุญรอด หรือ คิว วง[[ฟลัวร์]] มิวสิกวิดีโอถ่ายทำที่สยามสแควร์<ref>[http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/popup_news_textmark.aspx?newsid=143838&NewsType=1&Template=1 คิว วงฟลัว ทำกล้ากลางสยาม ฉายเดี่ยวถ่ายเอ็มวีเขินสุดๆ] dailynews.co.th</ref> ซึ่งเพลง “กันและกัน” นี้นอกจากคิวแล้วยังมี พิช ขับร้องในภาพยนตร์ 2 ครั้ง คือในฉากงานเลี้ยง เป็นแบบ[[อคูสติก]] และในคอนเสิร์ตช่วงท้ายเรื่อง เป็นแบบบันทึกเสียงสดกับวงออกัส และผู้กำกับภาพยนตร์ ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล ขับร้องในฉบับอคูสติก อยู่ในอัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์ และตามมาด้วยซิงเกิ้ลที่ 2 เพลง “เพียงเธอ” เพลงเก่าของ[[สุกัญญา มิเกล]] ร้องโดยพิช-วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล [[มิวสิกวิดีโอ]]เพลงนี้ถ่ายทำกันที่โรงภาพยนตร์เฮาส์<ref>[http://entertainment.msnth.com/news/articles.aspx?id=10000723&channel=movie “พิช” โรแมนติก เดี่ยวเปียโนเพลงซึ้งในเอ็มวี “เพียงเธอ” ซิงเกิ้ลที่ 2 ของ “รักแห่งสยาม”] msnth.com</ref>


สำหรับในภาพยนตร์ ผู้ชมจะได้ฟังเพลง “Ticket” เป็นเพลงแรก โดยเพลงนี้เป็นการเล่าเรื่องว่าเพลงของวงของมิวเพลงนี้ก็กำลังดัง ฮิตติดอันดับและถูกเปิดในคลื่นวิทยุอยู่ ต่อมาเพลง “คืนอันเป็นนิรันดร์’” เป็นเพลงที่เคยใช้ประกอบ[[ละครเวที]]ที่[[คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] ซึ่งเดิมทีขับร้องโดยพิจิกา จิตตะปุตตะ (ลูกหว้า วง[[ดูบาดู]]) โดยในเวอร์ชันภาพยนตร์ ขับร้องโดย ภาสกร วิรุฬห์ทรัพย์ นักร้องยุวชนยอดเยี่ยมแห่งประเทศไทย ประจำปี 2549 และเป็นหนึ่งในสมาชิกวงออกัส<ref name="รักแห่งสยาม"/>
สำหรับในภาพยนตร์ ผู้ชมจะได้ฟังเพลง “Ticket” เป็นเพลงแรก โดยเพลงนี้เป็นการเล่าเรื่องว่าเพลงของวงของมิวเพลงนี้ก็กำลังดัง ฮิตติดอันดับและถูกเปิดในคลื่นวิทยุอยู่ ต่อมาเพลง “คืนอันเป็นนิรันดร์’” เป็นเพลงที่เคยใช้ประกอบ[[ละครเวที]]ที่[[คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] ซึ่งเดิมทีขับร้องโดยพิจิกา จิตตะปุตตะ (ลูกหว้า วง[[ดูบาดู]]) โดยในเวอร์ชันภาพยนตร์ ขับร้องโดย ภาสกร วิรุฬห์ทรัพย์ นักร้องยุวชนยอดเยี่ยมแห่งประเทศไทย ประจำปี 2549 และเป็นหนึ่งในสมาชิกวงออกัส<ref name="รักแห่งสยาม"/>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 03:00, 29 ธันวาคม 2550

รักแห่งสยาม
ใบปิดภาพยนตร์
กำกับชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล
เขียนบทชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล
อำนวยการสร้างสมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ
นักแสดงนำสินจัย เปล่งพานิช
เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์
ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี
มาริโอ้ เมาเร่อ
วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล
กัญญา รัตนเพชร์
อธิชา พงศ์ศิลป์พิพัฒน์
กำกับภาพจิตติ เอื้อนรการกิจ
ดนตรีประกอบปวิณ สุวรรณชีพ
ผู้จัดจำหน่ายสหมงคลฟิล์ม
วันฉาย22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
ความยาว150 นาที
ประเทศไทย ไทย
ภาษาไทย
ทุนสร้าง17 ล้านบาท[1]
ข้อมูลจาก IMDb
ข้อมูลจากสยามโซน

รักแห่งสยาม เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 กำกับโดย ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล นำแสดงโดย สินจัย เปล่งพานิช, เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์, ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี, มาริโอ้ เมาเร่อ และ วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรัก และการค้นหาตัวตน ผ่านมุมมองของเด็กชายสองคน โดยมีสยามสแควร์เป็นสถานที่เชื่อมโยงเรื่องราวทั้งหมด ซึ่งการถ่ายทำเป็นไปอย่างยากลำบาก เนื่องจากสยามสแควร์เป็นสถานที่ซึ่งมีผู้คนพลุกพล่านเป็นอุปสรรคต่อการถ่ายทำ

การประชาสัมพันธ์ภาพยนตร์ก่อนการออกฉาย นำเสนอว่าเป็นภาพยนตร์เกี่ยวกับความรักใสๆ ของวัยรุ่นหญิงชาย แต่เมื่อภาพยนตร์ออกฉายจริง กลับมีเนื้อหาเกี่ยวกับความสับสนในจิตใจของวัยรุ่นชาย รวมถึงมีฉากล่อแหลม ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง ส่วนเสียงตอบรับในด้านกลยุทธ์ในการประชาสัมพันธ์นั้นก่อให้เกิดข้อถกเถียงทั้งในแง่บวกและแง่ลบ

เรื่องย่อ

โต้งและมิวเป็นเพื่อนกันตั้งแต่สมัยเด็ก โดยบ้านของทั้งสองอยู่ตรงข้ามกัน มิวอยู่กับอาม่าเพราะพ่อและแม่ของเขาต้องไปทำงานที่ต่างจังหวัด ส่วนโต้งอยู่กับกร (ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี) สุนีย์ (สินจัย เปล่งพานิช) พ่อและแม่ของเขา รวมถึงแตง (เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์) พี่สาว ต่อมากรต้องไปทำงานที่จังหวัดเชียงใหม่ จึงถือโอกาสพาครอบครัวไปเที่ยวด้วย แต่แตงขอไปเที่ยวต่อกับเพื่อน ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้แตงได้หลงไปในป่าและหายตัวไป กรจึงรู้สึกเสียใจและเริ่มกินเหล้ามาตั้งแต่บัดนั้น ไม่นานต่อมาครอบครัวของโต้งซึ่งเหลือเพียงสามคนได้ย้ายบ้านออกไป และไม่กี่เดือนหลังจากนั้น อาม่าของมิวได้ล้มป่วยลงและเสียชีวิตในเวลาต่อมา

เวลาผ่านไป โต้ง (มาริโอ้ เมาเร่อ) เด็กชายชั้น ม.6 ได้คบโดนัท (อธิชา พงศ์ศิลป์พิพัฒน์) เป็นแฟน แต่ด้วยความห่างไกลกัน โดนัทจึงเริ่มสงสัยว่าโต้งอาจไม่รักเธอแล้ว ในขณะที่ มิว (วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล) เด็กชายวัยเดียวกัน ผู้มีพรสวรรค์ทางดนตรีก็กำลังทุ่มเทความรักให้กับเสียงเพลงและวงดนตรีออกัสของตัวเอง มิวไม่เคยได้สัมผัสกับความรักมานานแสนนาน ตั้งแต่อาม่าตายจากไป แม้เพลงแรกของวงจะเป็นที่รู้จัก แต่เมื่อพี่อ๊อด (พงศ์นรินทร์ อุลิศ) โปรดิวเซอร์ได้เสนองานให้แต่งเพลงรัก จึงเป็นเรื่องยากเหลือเกินที่มิวต้องแต่งเพลงนี้เพื่อนำไปเสนอกับค่ายเพลงใหญ่ ในเวลาเดียวกับที่ หญิง (กัญญา รัตนเพชร์) เพื่อนบ้านของมิวก็คอยให้กำลังใจและแอบมองมิวอยู่ห่างๆ แต่มิวก็ไม่เคยรับรู้ความรู้สึกที่หญิงมีต่อตัวเองเลย

วันหนึ่ง ขณะที่โต้งกำลังหาซื้อซีดีวงออกัสที่ร้าน ดี.เจ.สยาม เขาได้พบกับมิวอีกครั้ง หลังจากที่ขาดการติดต่อกันมานาน ความสัมพันธ์ของทั้งสองเริ่มก่อตัวขึ้น มิวแนะนำโต้งให้รู้จักกับ จูน (เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์) คนดูแลวงดนตรีของมิวที่หน้าตาและบุคลิกเหมือนกับแตง พี่สาวของโต้งที่หายตัวไป โต้งจึงคิดแผนให้แม่จ้างจูนปลอมตัวเป็นแตงเพื่อมารักษาอาการติดเหล้าให้กับพ่อ

การเข้ามาของจูนทำให้ครอบครัวโต้งดีขึ้น ในขณะที่เพลงรักของมิวก็เริ่มก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างขึ้น ความฝันของวงออกัสที่จะได้ออกอัลบั้มเริ่มใกล้เข้ามาทุกที แต่เมื่อสุนีย์จัดงานเลี้ยงต้อนรับการกลับมาของแตง ทำให้ความสัมพันธ์ของมิวและโต้งใกล้ชิดมากขึ้นจนเกินเลย สุนีย์จึงต้องเข้ามาตักเตือนมิว และห้ามไม่ให้โต้งไปบ้านมิวอีก เมื่อกรรู้เรื่องเข้า ทำให้เขากับสุนีย์ต้องทะเลาะกัน

ด้วยปัญหาข้างต้น โต้งจึงเริ่มหันไปสูบบุหรี่ กินเหล้ากับเพื่อน ในขณะที่มิวหายตัวไปในวันออดิชั่น สร้างความเสียหายให้กับวง จนโปรดิวเซอร์ตัดสินใจที่จะเปลี่ยนนักร้องนำ เพราะได้จองคิวคอนเสิร์ตในวันคริสต์มาสไว้แล้ว แต่เอกซ์ (ชานน ริกุลสุรกาน) เพื่อนสนิทของมิวได้เสนอตัวที่จะเป็นคนไปบอกโต้งเอง โดยมีจูนช่วยอีกแรง

ทางฝั่งครอบครัวโต้ง สุนีย์สังเกตว่ากรไอเป็นเลือด จึงรีบพากรส่งโรงพยาบาล หมอบอกว่ากรเสียตับไปมาก ในระหว่ากรรักษาตัวอยู่นี้ จูนได้บอกความจริงเกี่ยวกับครอบครัวให้สุนีย์รู้ และได้อยู่ดูแลกร ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายที่เธอได้อยู่กับสุนีย์และกร ส่วนเอกซ์ได้ขอร้องให้มิวกลับมาร้องเพลงอีกครั้ง

ในวันคอนเสิร์ต มิวได้กลับมาร้องเพลงให้ออกัส ขณะเดียวกัน โต้งได้มาที่สยามสแควร์ตามคำชวนของโดนัท และ ณ ที่นั่น โต้งได้บอกเลิกโดนัท และตัดสินใจไปดูคอนเสิร์ตของออกัสพร้อมกับหญิง

หลังคอนเสิร์ตจบ โต้งได้พบกับมิวอีกครั้ง และมอบของขวัญวันคริสต์มาสให้ เมื่อโต้งกลับมาที่บ้าน โต้งพบว่าจูนไม่ได้กลับมาอีกแล้ว เพราะเธอรู้ว่า ถึงครอบครัวของโต้งไม่มีแตงอยู่ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องจมปลักอยู่กับความทุกข์ ส่วนมิวเองก็รู้สึกตื้นตันกับของขวัญที่โต้งให้

ตัวละคร

ไฟล์:โต้งกับมิว รักแห่งสยาม.jpg
โต้งกับมิว สองตัวละครหลักจากภาพยนตร์เรื่องรักแห่งสยาม
  • โต้ง แสดงโดย มาริโอ้ เมาเร่อ (โอ้) และ จิรายุ ละอองมณี (น้องเก้า) (แสดงเป็นโต้งตอนเด็ก) : เด็กชายวัยรุ่นชั้น ม.6 อายุ 17 ปี หน้าตาดี เคยเรียนอยู่ที่โรงเรียนเซนต์นิโคลัสกับมิว เพื่อนที่อยู่บ้านตรงข้ามกัน มีแฟนชื่อโดนัท เป็นเด็กวัยรุ่นทั่วไป ที่ใช้เวลาไปกับการเรียนและอยู่กับเพื่อน แต่กำลังมีความสับสนกับการเลือกทางเดินในชีวิต โต้งมีปมความเจ็บปวดในวัยเด็กคือ พี่สาวที่ชื่อ แตง ได้หายตัวไปตอนไปเที่ยวที่เชียงใหม่[2]
  • มิว แสดงโดย วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล (พิช) และ อาทิตย์ นิยมกุล (น้องหนักแน่น) (แสดงเป็นมิวตอนเด็ก) : มิวเป็นเด็กรุ่นราวคราวเดียวกับโต้งที่มีพรสวรรค์ทางด้านดนตรี เขาก่อตั้งวงดนตรีกับเพื่อนชื่อวงออกัส ซึ่งมิวอาศัยอยู่กับอาม่าตามลำพัง แต่เมื่ออาม่าถึงแก่กรรม จึงทำให้มิวอยู่คนเดียว
  • หญิง แสดงโดย กัญญา รัตนเพชร์ (ตาล) : เป็นเพื่อนบ้านของมิวที่แอบหลงรักมิวอยู่ แต่มิวไม่รู้ สุดท้ายแล้วหญิงเป็นตัวละครที่แสดงให้เห็นถึง การกระทำที่ทำให้คนรักมีความสุข
  • โดนัท แสดงโดย อธิชา พงศ์ศิลป์พิพัฒน์ (เบสท์) : โดนัทเป็นแฟนของโต้ง ที่มีความสวยที่เรียกว่า สวยเลือกได้ เป็นที่หมายปองของหนุ่มๆ จากหลายโรงเรียน แต่แล้วโดนัทเริ่มไม่มั่นใจความสัมพันธ์กับโต้งที่ทำตัวเย็นชาใส่
  • สุนีย์ แสดงโดย สินจัย เปล่งพานิช (นก) : สุนีย์คือแม่ของโต้งที่แบกรับภาระของครอบครัวเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียลูกสาวอย่างแตงและการติดเหล้าของกร ผู้เป็นสามี และเหลือโต้งลูกชายที่เคี่ยวเข็ญเป็นพิเศษ
  • จูน แสดงโดย เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์ (พลอย) : จูนเป็นผู้ดูแลวงดนตรี ที่มีหน้าตาเหมือนกับพี่สาวของโต้งที่หายไป จูนได้รับการจ้างวานให้ทำหน้าที่มาเยียวยาอาการป่วยของกร
  • กร แสดงโดย ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี (กบ) : กรเป็นพ่อของโต้ง ที่จมทุกข์กับอดีตที่สูญเสียแตงลูกสาวไป นำไปสู่อาการติดเหล้าและความจำเลอะเลือน
  • อ๊อด แสดงโดย พงศ์นรินทร์ อุลิศ : อ๊อดเป็นโปรดิวเซอร์ให้กับวงออกัส วงที่มิวอยู่ ได้ให้โจทย์กับมิวให้แต่งเพลงรักเพื่อเป็นจุดขายให้กับอัลบั้ม
  • อาม่า แสดงโดย พิมพ์พรรณ บูรณพิมพ์ (ป้าติ่ง) : อาม่าที่เพิ่งสูญเสียสามี (อากง) ไป อยู่กับมิวด้วยกันกับคนรับใช้อีกหนึ่งคน อาม่าเป็นคนสอนมิวเล่นเปียโน
  • วงออกัส : เป็นวงที่มีสมาชิก 11 คน นอกจากมิวที่เป็นนักร้องนำแล้ว ยังมีนักแสดงประกอบอีก 10 คนคือ ชานน ริกุลสุรกาน (นน), ปฐมวรรธน์ วันสุขประเสริฐ (นาย), อรรถนันต์ ปิยเศรษฐ์ (แวน), ชโลธร ชมจันทร์ (เอ็ม), นภันต์ธนัชย์ พ่วงออมสิน (ต่อ), ภาสกร วิรุฬห์ทรัพย์ (เพชร), ณฐพงษ์ นวศีลวัตร์ (อ๋อง), สุวพัชร ทรงเสี่ยงไชย (แมค), วัชริศ อวศิริพงษ์ (อาร์ม) และวรปรัชญ์ เดชขจรวุฒิ (ไมค์)[3]

งานสร้างภาพยนตร์

ที่มาและการทำงานช่วงแรก

ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่องรักแห่งสยาม

ชูเกียรติ ศักดิ์วีรกุล หรือมะเดี่ยว ผู้กำกับภาพยนตร์และเขียนบทภาพยนตร์ เริ่มเขียนบทครั้งแรกตอนสมัยเรียนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมะเดี่ยวเองมีความคุ้นเคยกับสยามสแควร์ เนื่องด้วยเป็นสถานที่ที่ไปเป็นประจำ ได้เห็นคู่รัก วัยรุ่นมากมาย แม้กระทั่งคนวัยทำงานหรือครอบครัวก็ตาม จึงเป็นแรงบันดาลใจในการเขียนบทและใช้สยามสแควร์เป็นฉากหลังของภาพยนตร์เรื่องนี้ ได้ใช้เวลาถึง 4 ปีในการเขียนบท[4] ซึ่งตัวละคร เรื่องราว ต่างๆ มาจากประสบการณ์ส่วนตัวของตัวผู้กำกับเอง เขาหยิบยกเรื่องของพ่อแม่ พี่สาว และเรื่องส่วนตัว ขึ้นและขยายเรื่องส่วนตัวไปสู่เรื่องสากลที่คนทั่วไปร่วมรับรู้ได้[5] โดยเริ่มเตรียมงานถ่ายทำช่วงกลางปี 2549[5] และเริ่มถ่ายทำเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2549[6]โดยฉากแรกที่ถ่ายคือที่ร้านขายต่างหูบริเวณสยามสแควร์[7] และใช้เวลาถ่ายทำทั้งสิ้น 5 เดือน หลังจากนั้นจึงเป็นงานในส่วนของงานหลังการถ่าย อย่างเช่น ตัดต่อ การลงเสียง เป็นต้น[5]

สถานที่ถ่ายทำและบรรยากาศ

บริเวณร้านดีเจสยาม

ฉากหลังส่วนใหญ่ของเรื่องถ่ายทำที่สยามสแควร์ ซึ่งการถ่ายทำมีความยากลำบากในการควบคุมปัจจัยภายนอกและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ความชุลมุนวุ่นวายของผู้คนที่แวะเวียนผ่านเข้ามาทำกิจกรรมในสยาม บ้างก็เดินผ่าน หรือมุงดู และยังมีเสียงรบกวนต่างๆ รอบด้านที่ ทำให้การถ่ายทำค่อนข้างเป็นไปอย่างยากลำบาก อย่างไรก็ตาม ผู้ค้าบริเวณสยามสแควร์ก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี เช่น ร้านเปี๊ยก ดีเจสยาม เป็นต้น[8]

ฉากที่ถ่ายทำยากฉากหนึ่ง คือ ฉากบริเวณลานน้ำพุเซ็นเตอร์พอยต์ที่โต้งบอกเลิกกับโดนัท ซึ่งต้องถ่ายทำในช่วงเวลา 18.00-19.00 น. อันเป็นช่วงที่มีผู้คนพลุกพล่าน อีกทั้งมีเสียงดังจากจอเช็คเกอร์สกรีน ทำให้ทีมงานและนักแสดงไม่มีสมาธิ[4]

ฉากโรงเรียนซึ่งในเรื่องคือโรงเรียนชื่อ "เซนต์นิโคลัส" เป็นโรงเรียนที่สมมติขึ้นมา ซึ่งเป็นโรงเรียนเดียวกับที่ตัวเอกและเพื่อนในหนังสั้นเรื่อง "12" (หนังภาคก่อนเรื่อง 13 เกมสยอง) จากภาพยนตร์เรื่องก่อนของผู้กำกับ ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล โดยใช้สถานที่ถ่ายทำคือ โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรักและโรงเรียนเซนต์จอห์น[9]

ส่วนช่วงเวลาและบรรยากาศของเรื่องนี้ เป็นช่วงฤดูหนาว ในช่วงวันคริสต์มาส วันปีใหม่ ซึ่งมีบรรยากาศและการตกแต่งร้านค้าต่างๆ ที่ประดับประดาไปด้วยไฟ และถ่ายในช่วงนั้นจริงๆ ทั้งที่สยามสแควร์และศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ส่วนคอนเสิร์ตในช่วงท้ายเรื่อง จัดที่ลานดิสคัฟเวอรีพลาซ่า ศูนย์การค้าสยามดิสคัฟเวอรี[4] นอกจากนี้สิ่งที่ผู้กำกับตั้งใจใส่บรรยากาศอีกอย่างหนึ่งคือ ความเป็นคริสตศาสนานิกายโรมันคาทอลิก ไม่ว่าจะเป็นบรรยากาศในช่วงคริสต์มาส ฉากเล่นละครตอนพระกุมารประสูติ การสวดก่อนอาหาร และคอนเสิร์ตที่จัดในช่วงเทศกาลคริสต์มาส รวมถึงชื่อโรงเรียนเซนต์นิโคลัส ที่เป็นชื่อจริงของ ‘ซานตาคลอส[10]

การคัดเลือกนักแสดง

วิชญ์วิสิฐ (พิช) เป็นรุ่นน้องของผู้กำกับที่โรงเรียนมงฟอร์ต

นักแสดงหน้าใหม่ทั้ง 4 คนได้ผ่านการทดสอบบทโดยส่วนใหญ่มาจากโมเดลลิ่ง อย่างอธิชา พงศ์ศิลป์พิพัฒน์ (เบสท์), กัญญา รัตนเพชร์ (ตาล) สำหรับมาริโอ้ เมาเร่อ (โอ้) ผู้กำกับเคยเห็นการถ่ายนิตยสารต่าง ๆ ของมาริโอ้มาก่อนจึงเรียกมาทดสอบการแสดง[9] ส่วนวิชญ์วิสิฐเป็นรุ่นน้องที่โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย เป็นนักร้องนักดนตรีเช่นกันและเคยทำงานเพลงด้วยกันมาก่อน[11] จากนั้นผู้กำกับจึงให้นักแสดงเวิร์กชอป ทดลองแสดงบทร่วมกัน[12]

การคัดเลือกตัวแสดงหลักทั้ง 3 คน อย่างสินจัย เปล่งพานิช ผู้กำกับตั้งใจตั้งแต่ตอนที่เขียนบทแล้วว่า คนที่จะมารับบท “สุนีย์” จะต้องเป็น สินจัย เปล่งพานิช เท่านั้น[13] สินจัยตอบรับในบทบาทนี้โดยให้ความเห็นไว้ว่า "ได้อ่านบทเรื่องนี้ก็รู้สึกสนใจ ชอบที่ตัวบท และก็มะเดี่ยวด้วย ซึ่งเขาเป็นผู้กำกับรุ่นใหม่ที่มีฝีมือ เขาทำหนังออกมาดีและน่าสนใจมาก"[14] ส่วนการคัดเลือกตัวละคร “ แตง” และ “ จูน” เดิมทีผู้กำกับไม่ได้มองเฌอมาลย์ไว้ เพราะผู้กำกับมีความเห็นว่าเป็นรุ่นใหญ่ไปแล้ว แต่เมื่อติดต่อไปก็ตอบรับบท [13] เฌอมาลย์เผยว่า "อยากเล่น เพราะบทของหนังดี อ่านบทแล้วประทับใจ"[15]

ทางด้านทรงสิทธิ์ก็ตอบรับบทของกรเช่นกัน "ชอบตรงแนวความคิด ตั้งแต่เริ่มอ่านบทแล้ว และเรื่องนี้ไม่เหมือนทุกเรื่อง ซึ่งยังไม่เคยเล่นอะไรแบบนี้ และก็เป็นหนังเรื่องแรกที่ต้องร้องไห้เยอะที่สุดเลยด้วย"[13]

การประชาสัมพันธ์

การประชาสัมพันธ์ของภาพยนตร์เรื่องนี้เริ่มมีการประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลของภาพยนตร์ตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2550[16] หลังจากนั้นจึงเป็นกิจกรรมเดินสายของทางทีมนักแสดงและผู้กำกับ โดยเริ่มจากการออกบูธขายของที่ระลึกและมีวงออกัสแสดงเพลงจากอัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์ ในงานแฟตเฟสติวัล ครั้งที่ 7 ที่ชาเลนเจอร์ฮอลล์ เมืองทองธานี เมื่อวันเสาร์-อาทิตย์ที่ 10-11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550[17] และยังมีกิจกรรมการกุศลร่วมกันคือในวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 นักแสดงและผู้กำกับเรื่องรักแห่งสยามนำโดย กบ ทรงสิทธิ์, นก สินจัย และ พลอย เฌอมาลย์ ร่วมกันทำกระปุกออมสินรูปหัวใจ ในรูปแบบเปเปอร์มาร์เช่ต์ ให้คนดูหนังได้บริจาค เพื่อนำไปช่วยรักษาโรคหัวใจให้เด็ก ๆ ผู้ยากไร้ที่มูลนิธิเด็กโรคหัวใจในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์[18] ถือเป็นการประชาสัมพันธ์ที่ทำบุญไปด้วย

จนในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 จึงได้มีการจัดรอบปฐมทัศน์ของภาพยนตร์เรื่องนี้ โดยมีการจัดมินิคอนเสิร์ต "รักแห่งสยาม Premier Concert: Siam In Love" กันที่เวทีลานดิสคัฟเวอรี่ พลาซ่า สยามดิสคัฟเวอรี่เซ็นเตอร์ ก่อนการฉายรอบปฐมทัศน์ที่โรงภาพยนตร์สยามภาวลัย พารากอนซีนีเพล็กซ์ ศูนย์การค้าสยามพารากอน ในวันเดียวกัน[19] ซึ่งภาพยนตร์เข้าฉายจริงวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550[20]

การตอบรับจากสังคม

ปฏิกิริยาจากผู้ชมภาพยนตร์

บรรยากาศรอบพิเศษ ที่โรงภาพยนตร์สกาล่า เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2550

การประชาสัมพันธ์ภาพยนตร์ก่อนการออกฉาย นำเสนอว่าเป็นภาพยนตร์เกี่ยวกับความรักใสๆ ของวัยรุ่นหญิงชาย แต่เมื่อภาพยนตร์ออกฉายจริง กลับมีเนื้อหาเกี่ยวกับความสับสนในจิตใจของวัยรุ่นชาย รวมถึงมีฉากล่อแหลม ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง เช่นในสื่ออินเทอร์เน็ต อย่าง เว็บไซต์พันทิป มีผู้ตั้งกระทู้ชื่นชม ต่อต้าน และวิจารณ์เป็นจำนวนมาก[21] รวมถึงกลยุทธ์ในการประชาสัมพันธ์ที่ก่อให้เกิดการถกเถียงทั้งแง่บวกและแง่ลบ[22]

สำหรับกระแสสองด้านที่ตัดกันอย่างชัดเจนของหนังเรื่องนี้คือ "กลุ่มคนที่รักจับใจ" กับ "กลุ่มที่เกลียดเข้าไส้" พวกที่รักจับใจมีหลากหลายเหตุผลที่รักหนังเรื่องนี้ ส่วนพวกเกลียดเข้าไส้ มีเหตุผลสองประเด็นใหญ่คือ "เพราะเป็นภาพยนตร์ที่เกี่ยวข้องกับเกย์" กับ "การถูกหลอก"[23] ส่วนทางด้านผู้กำกับ ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล ก็ยอมรับกับการประชาสัมพันธ์ที่ไม่ได้บอกว่าเป็นหนังที่มีเนื้อหาของเกย์อยู่ "แต่ตัวหนังไม่ได้เป็นหนังเกย์ ประเด็นพูดถึงชีวิตความรักหลายรูปแบบ ความเป็นมนุษย์ ดังนั้นหน้าหนังจึงไม่ได้หยิบเรื่องเกย์ขึ้นมาพูดมาเป็นสาระสำคัญของหนัง อีกทั้งถ้าเราบอกว่าเป็นหนังมีเนื้อหาอย่างนี้แล้วหนังเรื่องนี้จะกลายเป็นหนังเฉพาะกลุ่มทันที"[1]

ส่วนฉากที่สร้างความฮือฮามากที่สุดของหนังเรื่องนี้คือ ฉากจูบของโต้งกับมิว ที่ได้รับการตอบรับอย่างมาก ทางด้านวิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุลที่รับบทเป็นมิว ได้รับคำถามจากคนดูเกี่ยวกับรสนิยมทางเพศ เขาให้คำตอบว่า "ส่วนใหญ่ก็มีมาถามครับ ว่าเราเป็นหรือเปล่า และเราก็ต้องแยกภาพลักษณ์ของหนัง กับชีวิตจริงออกจากกัน แต่จริงๆ ลึกๆ ถ้าเรามองในแง่นี้ เราน่าจะดีใจนะว่าเราเล่นได้สมบทบาทจริงๆ"[21] ทางด้านมาริโอ้ เมาเร่อที่ได้รับบทโต้ง พูดถึงฉากนั้นว่า "รู้สึกตื่นเต้น เพราะไม่เคยจูบผู้ชายมาก่อน และไม่ได้จูบกับใครทุกวัน โอ้คิดว่ามันคือการแสดง เราเป็นนักแสดงที่ดีก็ต้องเล่นได้ทุกบทบาท"[1]

การตอบรับของนักวิจารณ์

ชลธิชา พรหมศิริ จากนิตยสารเมโทรไลฟ์ ได้พูดถึงหนังเรื่องนี้โดยรวมว่า "รักแห่งสยาม หนังรักที่หน้าหนังหวานเหมือนลูกกวาดรสสตรอเบอรี่ แต่พอได้ลิ้มลองแล้วมันกลับเป็นยาขมที่ซ่อนอยู่ภายใน คือหนังดรามาที่ไม่ได้ฟูมฟายจนเกินไป และไม่ใช่หนัง Feel good ที่ใครหลายๆ คนคิด"[24] และคำวิจารณ์จากหนังสือไบโอสโคปเขียนไว้ว่า "รักแห่งสยาม มิได้เสียดสี หาบทสรุป หรือสร้างฝัน แต่นำเสนอภาพเสมือนจริงที่ปะทะ จนผู้ชมต้องนำไปคิดต่อนอกโรงหนัง ทั้งในแง่อนาคตของตัวละคร, การซ่อนความหมายของเนื้อเรื่อง และภาพปัจจุบันของสังคมไทย"[22]

มาริโอ้ เมาเร่อ นักแสดงหน้าใหม่ รับบทเป็นโต้ง

ในส่วนของนักวิจารณ์ นันทขว้าง สิรสุนทร นักวิจารณ์ชื่อดัง ได้กล่าวถึงการเล่าเรื่องในภาพยนตร์เรื่องนี้ว่า "การเลือกเรื่องแบบนี้มาเล่า ทำให้คนดูทั่วไปเข้าถึงและง่ายที่จะรู้สึกอะไรไปกับหนัง แต่ รักแห่งสยาม ไม่ได้แตะเรื่อง Gender (เพศ) ใดๆ หากแต่มุ่งไปที่น้ำหนักของ Self-discover (การค้นพบตัวเองและยอมรับ) โดยใช้ Coming-of-age (การสูญเสียและเรียนรู้ความจริง)"[25] อภินันท์ บุญเรืองพะเนา จากผู้จัดการรายสัปดาห์ พูดในทำนองเดียวกันว่า "รักแห่งสยามเป็นหนังในสไตล์ Road Movie กับ Coming-of-age ค่อนข้างคล้ายคลึงกันก็คือ การที่หนังมักจะหยิบยื่นสถานการณ์ยุ่งยากบางอย่างให้ตัวละครต้องเผชิญและผ่านพ้นไปให้ได้ เพื่อก้าวไปสู่ “การเรียนรู้” (Enlightenment) บทเรียนใหม่ๆ ที่จะเปลี่ยนแปลงชีวิตและความคิดของตัวละครไปตลอดกาล"[26]

สรดิเทพ ศุภจรรยา จากเว็บไซต์ thaicinema.org พูดถึงตัวละครในเรื่องว่า "ทุกตัวละครในเรื่องนี้มีมิติ มีปูมหลังที่สามารถทำให้คนดูเข้าถึงและมีอารมณ์ร่วมไปกับความเจ็บปวดและความต้องการความรักของพวกเขาได้"[27] ไกรวุฒิ จุลพงศธร จากนิตยสารสารคดีกล่าวเกี่ยวกับการแสดงว่า "ลักษณะการแสดงที่ดูยังไม่เป็นเนื้อเดียวกันกล่าวคือ สไตล์การแสดงแบบนักแสดงมืออาชีพของสินจัยและทรงสิทธิ์ที่เน้นการใช้เทคนิคที่จัดจ้าน จนถึงการแสดงแบบธรรมชาติของนักแสดงหน้าใหม่อย่างมาริโอ้และพิช ที่เน้นความสมจริงราวกับไม่ได้มีกล้องไปถ่ายพวกเขาอยู่ โดยมีเฌอมาลย์ที่ใช้สไตล์การแสดงแบบกลาง ๆ เป็นตัวเชื่อมการแสดงของทั้งสองฝั่ง"[28]

ในด้านการกำกับภาพ นิตยสารบีเควิจารณ์ไว้ว่า "ภาพยนตร์เรื่องรักแห่งสยามทำได้ไม่ดีเรื่องการกำกับภาพ ผู้กำกับเสนอภาพที่น่าเบื่อด้วยมุมกล้องแบบตรงๆ และการให้แสงที่ไม่แน่นอนจากบ้านถึงโรงเรียน จากสตูดิโอถึงสยามสแควร์ ขาดอารมณ์สื่อและทิศทางของภาพ"[29]

นอกจากนี้รักแห่งสยามยังถูกเปรียบเทียบกับหนังอีกหลายเรื่องที่ใกล้เคียงกันอย่าง Love Actually, มหัศจรรย์แห่งรัก และ กาลครั้งหนึ่งเมื่อเช้านี้ ด้วย[28]

การออกฉายและรายได้

ป้ายภาพยนตร์เรื่องรักแห่งสยาม โรงภาพยนตร์สกาลา เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2550

รักแห่งสยามออกฉายทั่วไปในโรงหนังเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 จากจำนวนโรง 146 โรง โดยทำรายได้ในสัปดาห์แรกทำรายได้ 18.5 ล้านบาท[30] ส่วนรายได้ในสัปดาห์ที่ 2 จากการที่ภาพยนตร์เรื่อง โปงลางสะดิ้ง ลำซิ่งส่ายหน้า เข้าในสัปดาห์นี้ ทำให้รายได้ในสัปดาห์ที่ 2 ของรักแห่งสยาม น้อยลงกว่าการเปิดตัวกว่าครึ่ง แต่ก็ถือว่ากระแสยังดีอยู่ ทำรายได้ไปอีก 7.5 ล้านบาท[31]

นอกจากนี้ กลุ่มผู้ชมที่ชื่นชอบในภาพยนตร์เรื่องนี้ ได้ส่งหนังสือถึง บริษัท สหมงคลฟิล์มฯ เพื่อขอให้นำฟิล์มภาพยนตร์ รักแห่งสยาม มาฉายเป็นรอบพิเศษ ที่โรงภาพยนตร์สกาลา สยามสแควร์ เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ในรอบเวลา 20.00 น. ซึ่งถือเป็นปรากฎการณ์ที่ไม่ค่อยพบเห็นบ่อยครั้งนัก โดยในการฉายภาพยนตร์รอบพิเศษนี้ มีผู้ชมเกือบเต็มความจุของโรง คือ 900 ที่นั่ง[32]

ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังได้จัดฉายในฉบับ “Director Cut” ซึ่งมีความยาวมากกว่าฉบับปกติ ที่ออกฉายตามโรงทั่วไป คือ มีความยาวประมาณ 3 ชั่วโมง 40 นาที จะออกฉายที่โรงภาพยนตร์เฮาส์ อาร์ซีเอ ตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2551[33]

รางวัลที่ได้รับ

รางวัลแรกที่ภาพยนตร์ รักแห่งสยาม ได้รับไปคือรางวัลหนังแห่งปี 2550 จากนิตยสารไบโอสโคปส์ ด้วยเหตุผล "ท้าทายสังคม ทั้งในแง่ประเด็นหนัง การนำเสนอ ที่สะท้อนภาพสังคมไทยในยุคนี้ รวมถึงความกล้าในการทำหนังรักดราม่าความยาวกว่าสองชั่วโมงครึ่ง ที่หาดูได้ยากในตลาดหนังไทยยุคปัจจุบัน"[34] และได้รับรางวัลร่วมกับหนังอีก 3 เรื่อง อย่าง Final Score 365 วัน ตามติดชีวิตเด็กเอ็นท์, มะหมา 4 ขาครับ และแสงศตวรรษ ซึ่งการมอบรางวัลไบโอสโคปอวอร์ดสนี้มีการมอบมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546[22][35]

เพลงประกอบภาพยนตร์

ปกซีดีเพลงประกอบภาพยนตร์ รักแห่งสยาม

อัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง รักแห่งสยาม ออกวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 สังกัดแฮปปี้โฮม ซึ่งได้ผู้กำกับภาพยนตร์ ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล รับตำแหน่งเป็นโปรดิวเซอร์อัลบั้มนี้อีกด้วย ทั้งทำหน้าที่ แต่งเนื้อร้อง ทำนอง ออกแบบการร้อง[36] และขับร้องเองด้วยในเพลง "กันและกัน" และ "Ticket"

และยังมีวงเฉพาะกิจในนาม ออกัส ประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 11 คน[37] นำโดย พิช - วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล หนึ่งในนักแสดงนำของภาพยนตร์และนักร้องนำประจำวง ทำเพลงในสไตล์ป็อปโซล ซึ่งพิชยังมีส่วนในการแต่งเพลง “รู้สึกบ้างไหม”[38] โดยเพลงที่ได้รับการประชาสัมพันธ์ตามคลื่นวิทยุและสถานีโทรทัศน์ดนตรีเพลงแรกคือ “กันและกัน” ร้องโดย คิว-สุวีระ บุญรอด หรือ คิว วงฟลัวร์ มิวสิกวิดีโอถ่ายทำที่สยามสแควร์[39] ซึ่งเพลง “กันและกัน” นี้นอกจากคิวแล้วยังมี พิช ขับร้องในภาพยนตร์ 2 ครั้ง คือในฉากงานเลี้ยง เป็นแบบอคูสติก และในคอนเสิร์ตช่วงท้ายเรื่อง เป็นแบบบันทึกเสียงสดกับวงออกัส และผู้กำกับภาพยนตร์ ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล ขับร้องในฉบับอคูสติก อยู่ในอัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์ และตามมาด้วยซิงเกิ้ลที่ 2 เพลง “เพียงเธอ” เพลงเก่าของสุกัญญา มิเกล ร้องโดยพิช-วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล มิวสิกวิดีโอเพลงนี้ถ่ายทำกันที่โรงภาพยนตร์เฮาส์[40]

สำหรับในภาพยนตร์ ผู้ชมจะได้ฟังเพลง “Ticket” เป็นเพลงแรก โดยเพลงนี้เป็นการเล่าเรื่องว่าเพลงของวงของมิวเพลงนี้ก็กำลังดัง ฮิตติดอันดับและถูกเปิดในคลื่นวิทยุอยู่ ต่อมาเพลง “คืนอันเป็นนิรันดร์’” เป็นเพลงที่เคยใช้ประกอบละครเวทีที่คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเดิมทีขับร้องโดยพิจิกา จิตตะปุตตะ (ลูกหว้า วงดูบาดู) โดยในเวอร์ชันภาพยนตร์ ขับร้องโดย ภาสกร วิรุฬห์ทรัพย์ นักร้องยุวชนยอดเยี่ยมแห่งประเทศไทย ประจำปี 2549 และเป็นหนึ่งในสมาชิกวงออกัส[4]

ส่วนเพลงอื่นๆ ที่ปรากฏในภาพยนตร์ เช่น เพลงจีนชื่อ 明月千里寄相思 (พินอิน: ming yue qian li ji xiang si) (หมิง เยี่ย เชียนหลี่ จี้เซียงสึ) ขับร้องโดย อู๋ อิงอิน (吴莺音) และ Silent Night เป็นต้น

รายชื่อเพลงในอัลบั้ม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 Saeng-Aroon, Vitaya. December 6, 2007.Love in a hot climate, The Nation (Thailand) เรียกดูเมื่อ 13 ธันวาคม 2550 (อังกฤษ)
  2. ธีปนันท์ เพ็ชร์ศรี, รักแห่งสยาม : งดงามและเจ็บปวด โดย ผู้จัดการออนไลน์ 22 พฤศจิกายน 2550 11:43 น.
  3. รักแห่งสยาม siamzone.com
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 รักแห่งสยาม thaicinema
  5. 5.0 5.1 5.2 คลิปสัมภาษณ์นักแสดง ผู้กำกับจากภาพยนตร์เรื่องรักแห่งสยาม part 1 รายการ MTV Fast Forward เมื่อวันที่ 16/11/2550
  6. Q&A ครั้งที่ 66 "รักแห่งสยาม" โดย ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล คืนวันที่ 21 พฤศจิกายน 2550 ณ เซนจูรี่เดอะมูฟวี่พลาซ่า
  7. วารสารมูวีไทม์ ฉบับที่ 354 วันที่ 10-19 ธันวาคม พ.ศ. 2550
  8. “รักแห่งสยาม”นิยามรักบทใหม่ของ“มะเดี่ยว” daradaily.co.th
  9. 9.0 9.1 คลิปสัมภาษณ์นักแสดง ผู้กำกับจากภาพยนตร์เรื่องรักแห่งสยาม part 2 รายการ MTV Fast Forward เมื่อวันที่ 16/11/2550
  10. โตมร ศุขปรีชา, รักแห่งสยาม ความรักของเกย์คาทอลิก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
  11. มะเดี่ยวทึ่ง "พิช"เกิดมาเพื่อบทนี้จริงๆ เด็กผู้มีพรสวรรค์ทางดนตรี ใน “รักแห่งสยาม” msnth.com
  12. คุยกันกับ มาริโอ้ เมาเร่อ msnth.com
  13. 13.0 13.1 13.2 แคแรกเตอร์นักแสดง thaicinema.org
  14. นก-สินจัย กบ-ทรงสิทธิ์ ปลื้มบทพ่อแม่ รักแห่งสยาม sanook.com
  15. "พลอย" ไม่สนบทน้อย ขอทำงานมีคุณภาพ mthai.com
  16. โฉมแรก "รักแห่งสยาม" หนังเรื่องล่าสุดของ "มะเดี่ยว 13 เกมสยอง deknang.com
  17. มะเดี่ยว นำทีม น้องๆ รักแห่งสยาม ประเดิมเวทีใหญ่ แฟตเฟสฯ ครั้งที่ 7 เดินสายโปรโมทหนังและอัลบั้มเต็มตัว
  18. นักแสดงรักแห่งสยาม ทำกระปุกหัวใจรับเงินบริจาคช่วยมูลนิธิเด็กโรคหัวใจฯ mcot.net
  19. ภาพชุดงานเปิดตัวสุดสวิงริงโก้ กับการร้องนำของนักแสดงและทีมงานรักแห่งสยาม
  20. รักแห่งสยาม ryt9.com
  21. 21.0 21.1 เปิดใจจูบแรกของ “พิช” กับผู้ชาย เจ้าตัวย้ำผมไม่ใช่เกย์ โดย ผู้จัดการออนไลน์ 3 ธันวาคม 2550 21:11 น.
  22. 22.0 22.1 22.2 นิตยสารไบโอสโคป ฉบับเดือนธันวาคม พ.ศ. 2550
  23. นิตยสารสตาร์พิกส์ ฉบับที่ 716 วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2550
  24. รักแห่งสยาม เราไม่ได้อยู่เพียงคนเดียวบนโลกใบนี้ โดย ผู้จัดการออนไลน์ 30 พฤศจิกายน 2550 09:17 น.
  25. นันทขว้าง สิรสุนทร, หนังดีๆ ที่ชื่อ 'รักแห่งสยาม' กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
  26. อภินันท์ บุญเรืองพะเนา, ภาพยนตร์:รักแห่งสยาม ‘เจ็บก่อนแล้วค่อยโต’ โดย ผู้จัดการรายสัปดาห์ 6 ธันวาคม 2550 18:28 น.
  27. รักแห่งสยาม อัศจรรย์แห่งรัก thaicinema.org
  28. 28.0 28.1 ไกรวุฒิ จุลพงศธร,คอลัมน์ รักแห่งสยาม: ภาพยนตร์โดย ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล. นิตยสารสารคดี ฉบับเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 หน้า 141-145
  29. นิตยสารบีเค ฉบับวันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2550 คอลัมน์วิจารณ์ภาพยนตร์ โดย Gregoire Glachant หน้า 40 (อังกฤษ)
  30. รักแห่งสยาม คว้าแชมป์สนุกสนาน 18 ล้าน โดย ผู้จัดการออนไลน์ 1 ธันวาคม 2550 04:20 น.
  31. ฮากลิ้ง "โปงลางสะดิ้งฯ" ชัดแชมป์ 30 ล้าน โดย ผู้จัดการออนไลน์ 9 ธันวาคม 2550 11:52 น.
  32. ขอบคุณ ที่รัก...รักแห่งสยาม จาก กองพันรักแห่งสยาม bloggang.com ของทีมงาน กองพันรักแห่งสยาม
  33. ประกาศข่าวรักแห่งสยาม Director Cut houserama.com
  34. รักแห่งสยาม ประเดิมรางวัลแรก หนังไทยแห่งปี kapook.com
  35. วงการหนังไทยพาเหรดรับรางวัล Bioscope Awards mcot.net
  36. นิตยสารแฮมเบอร์เกอร์ ฉบับที่ 113 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 หน้า 166
  37. รักแห่งสยาม - เกร็ดจากภาพยนตร์ siamzone.com
  38. อัลบั้ม เพลงประกอบภาพยนตร์ รักแห่งสยาม siamzone.com
  39. คิว วงฟลัว ทำกล้ากลางสยาม ฉายเดี่ยวถ่ายเอ็มวีเขินสุดๆ dailynews.co.th
  40. “พิช” โรแมนติก เดี่ยวเปียโนเพลงซึ้งในเอ็มวี “เพียงเธอ” ซิงเกิ้ลที่ 2 ของ “รักแห่งสยาม” msnth.com

แหล่งข้อมูลอื่น