ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศัลยศาสตร์ออร์โทพีดิกส์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Xipponk (คุย | ส่วนร่วม)
correct the numbering
บรรทัด 54: บรรทัด 54:
* [http://ortho1.md.kku.ac.th/?database=1 ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น]
* [http://ortho1.md.kku.ac.th/?database=1 ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น]
* [http://medinfo.psu.ac.th/pr/ortho/ ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์และกายภาพบำบัด คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์]
* [http://medinfo.psu.ac.th/pr/ortho/ ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์และกายภาพบำบัด คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์]
* [http://www.med.nu.ac.th/2008/department/Index-main.php?depart=10 ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร]
* [http://www.med.nu.ac.th/dpMed/2015/?mod=informations&dep=13 ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร]


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:43, 1 สิงหาคม 2560

ภาพต้นไม้บนหน้าปกหนังสือ Orthopaedia ของนิโกลาส์ แอนดรี หรือที่รู้จักว่า ต้นไม้ของแอนดรี (Andry tree) นิยมใช้เป็นสัญลักษณ์สากลของวิชาออร์โทพีดิกส์

ศัลยศาสตร์ออร์โทพีดิกส์[1] หรือ ออร์โทพีดิกส์ (อังกฤษ: Orthopedic surgery, Orthopaedic surgery, Orthopedics, Orthopaedics) (โดยทั่วไปมักสะกดว่า ออร์โธปิดิกส์ หรือ ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์) เป็นสาขาวิชาหนึ่งของวิชาศัลยศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับกระดูก ข้อ เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งในประเทศไทยแบ่งสาขาวิชาย่อยดังนี้

  1. อุบัติเหตุทางกระดูกและข้อ
  2. ศัลยกรรมข้อสะโพกและข้อเข่า
  3. โรคของมือและจุลยศัลยกรรม
  4. โรคของการบาดเจ็บทางกีฬา
  5. โรคของเท้าและข้อเท้า
  6. โรคเนื้องอกของกระดูกและเนื้อเยื่ออ่อน
  7. โรคของกระดูกสันหลัง
  8. โรคกระดูกและข้อในเด็ก
  9. โรคทางเมตาบอลิซึมของกระดูก

ศัลยแพทย์ออร์โทพีดิกส์

ศัลยแพทย์ออร์โทพีดิกส์ (อังกฤษ: Orthopaedic Surgeons, Orthopaedists) (โดยทั่วไปมักสะกดว่า แพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์) เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง โดยทำการวินิจฉัยและดูแลรักษาด้วยการให้ยาหรือการผ่าตัดในความผิดปกติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระดูก ข้อ เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อต่างๆ ของร่างกาย ในภาษาไทยมีชื่อเรียกศัลยแพทย์ออร์โทพีดิกส์หลากหลายชื่อ เช่น "ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ" "แพทย์กระดูกและข้อ" "หมอกระดูก" หรือในวงการแพทย์ในประเทศไทยเรียกสั้นๆ ว่า "หมอออร์โธฯ"

ศัลยแพทย์ออร์โทพีดิกส์ในประเทศไทยต้องสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต และสำเร็จการศึกษาแพทย์ประจำบ้านด้านศัลยศาสตร์ออร์โทพีดิกส์แล้วได้ผ่านการสอบเพื่อวุฒิบัตรและหนังสืออนุมัติเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาศัลยศาสตร์ออร์โธปีดิกส์ ซึ่งในประเทศไทยออกให้โดยของแพทยสภา

ประวัติศัลยแพทย์ออร์โทพีดิกส์ในประเทศไทย

ก่อนที่ประเทศไทยจะมีศัลยแพทย์ออร์โทพีดิกส์นั้น การรักษาทางการแพทย์สมัยใหม่ที่เกี่ยวข้องกับกระดูกและข้อต่างๆ จะทำโดย ศัลยแพทย์ทั่วไป ร่วมกับอายุรแพทย์ ประเทศไทยเริ่มมีการฝึกอบรมศัลยแพทย์ออร์โทพีดิกส์แห่งแรกที่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล[2] จากนั้นจึงมีโรงเรียนแพทย์อื่นๆ ทำการฝึกอบรมศัลยแพทย์ออร์โทพีดิกส์ตามมา

สถาบันที่เปิดฝึกอบรมศัลยแพทย์ออร์โทพีดิกส์

ในปี พ.ศ. 2553 มีสถาบันที่เปิดฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาออร์โทพีดิกส์ที่แพทยสภารับรอง 16 สถาบัน[3] ดังต่อไปนี้

คุณสมบัติของผู้เข้าฝึกอบรม

  • จบการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยในประเทศไทย หรือจากสถาบันต่างประเทศที่แพทยสภารับรอง
  • หลังจบการศึกษาจะต้องผ่านการเพิ่มพูนทักษะตามข้อกำหนดตามที่แพทยสภากำหนด

ภาควิชาออร์โทพีดิกส์ในคณะแพทยศาสตร์ต่างๆ ของประเทศไทย

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น