ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ธงชาติกรีซ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
LaaknorBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: nn:Det greske flagget
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 11: บรรทัด 11:
| Proportion = 2:3
| Proportion = 2:3
| Adoption = [[22 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2521]] (ใช้เป็นธงนาวี พ.ศ. 2365 - 2371, ใช้เป็นธงเรือทะเล พ.ศ. 2371 - 2512, ใช้เป็นธงชาติ พ.ศ. 2512 - 2513และตั้งแต่ พ.ศ. 2521 เป็นต้นมา)
| Adoption = [[22 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2521]] (ใช้เป็นธงนาวี พ.ศ. 2365 - 2371, ใช้เป็นธงเรือทะเล พ.ศ. 2371 - 2512, ใช้เป็นธงชาติ พ.ศ. 2512 - 2513และตั้งแต่ พ.ศ. 2521 เป็นต้นมา)
| Design = ธงพื้นแถบแนวนอนสีน้ำเงินสลับขาว 9 แถบ มีรูปกางเขนสีขาวในชข่องสี่เหลี่ยมสีน้ำเงินที่มุมธงบนด้านคันธง
| Design = ธงพื้นแถบแนวนอนสีน้ำเงินสลับขาว 9 แถบ มีรูปกางเขนสีขาวในช่องสี่เหลี่ยมสีน้ำเงินที่มุมธงบนด้านคันธง
| Designer =
| Designer =
| Type =
| Type =
|Designer =
| Image2 = Flag of Greece (1828-1978).svg
| Nickname2 = ธงชาติกรีซในงานพิธีการ (บนแผ่นดิน)
| Use2 = 100000
| Symbol2 = {{FIAV|historical}}
| Proportion2 = 2:3
| Adoption2 = [[พ.ศ. 2365]]
|Design2 = ธงพื้นสีน้ำเงิน ภายในมีกากบาทสีขาว<ref>{{cite web |url=http://www.flaggenlexikon.de/fgriech.htm |title=Griechenland |accessdate=2007-05-17 |author=Volker Preuß|coauthors= }} {{de}}</ref>
| Image3 = Standard of the President of Greece.svg
| Nickname3 = ธงประจำตำแหน่งประธานาธิบดี
| Proportion3 = 1:1
| Adoption3 = [[พ.ศ. 2518]]
|Design3 = ธงพื้นสีนำ้เงิน กลางธงมี[[ตราแผ่นดินของกรีซ]]
}}
}}

'''[[ธงชาติ]][[กรีซ]]''' ({{lang-el|''Σημαία της Ελλάδος''}}, โดยทั่วไปนิยมเรียกว่า ''Γαλανόλευκη'' หรือ ''Κυανόλευκη'' แปลว่า "ธงน้ำเงิน-ขาว") เป็นธง[[สี่เหลี่ยมผืนผ้า]] พื้นธงเป็นแถบริ้ว[[สีน้ำเงิน]]สลับ[[ขาว]]รวมทั้งหมด 9 แถบ ที่มุมธงบนด้านคันธงเป็นรูป[[สี่เหลี่ยมจัตุรัส]]สีน้ำเงิน กว้างยาวเป็น 5 ใน 9 ส่วนของความกว้างธง ภายในมีรูปกางเขนสีขาวมีปลายจดขอบสีน้ำเงิน กางเขนดังกล่าวนี้หมายถึง[[ศาสนาคริสต์]][[นิกายกรีกออร์โธดอกซ์]]ซึ่งเป็น[[ศาสนาประจำชาติ]] ส่วนแถบสีน้ำเงินสลับขาว 9 แถบนั้น โดยทั่วไปชาวกรีกหมายถึงพยางค์ 9 พยางค์ในประโยค[[ภาษากรีก]]ที่ว่า "Ελευθερία ή Θάνατος" (อ่านว่า "เอ-เลฟ-เท-ริ-อา-อิ-ทา-นา-ทอส" ("E-lef-the-ri-a i Tha-na-tos") แปลว่า [[เสรีภาพ]]หรือ[[ความตาย]]) โดยแถบสีน้ำเงิน 5 แถบหมายถึง 5 พยางค์แรก ส่วนแถบสีขาว 4 แถบ หมายถึง 4 พยางค์สุดท้ายของประโยคดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกทฤษฎีหนึ่งกล่าวว่า แถบทั้ง 9 แถบนี้หมายถึงเทพธิดามิวเซส (Muses) ผู้เป็นเทพแห่งศิลปวิทยาการต่างๆ ทั้ง 9 องค์ ในตำนานกรีกโบราณ<ref>[http://web.archive.org/web/20070402084632/http://www.army.gr/n/g/publications/articles/GreekFlag0/GreekFlag1/ ''Η καθιέρωση της ελληνικής σημαίας.'' (เว็บไซต์กองทัพสาธารณรัฐเฮลเลนิก)]</ref> สำหรับสัดส่วนธงอย่างเป็นทางการนั้นกว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน<ref name=presidency>[http://www.presidency.gr/en/shmaia.htm ''ธงชาติกรีซ'' (เว็บไซต์สำนักงานประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเฮลเลนิก)]</ref>
'''[[ธงชาติ]][[กรีซ]]''' ({{lang-el|''Σημαία της Ελλάδος''}}, โดยทั่วไปนิยมเรียกว่า ''Γαλανόλευκη'' หรือ ''Κυανόλευκη'' แปลว่า "ธงน้ำเงิน-ขาว") เป็นธง[[สี่เหลี่ยมผืนผ้า]] พื้นธงเป็นแถบริ้ว[[สีน้ำเงิน]]สลับ[[ขาว]]รวมทั้งหมด 9 แถบ ที่มุมธงบนด้านคันธงเป็นรูป[[สี่เหลี่ยมจัตุรัส]]สีน้ำเงิน กว้างยาวเป็น 5 ใน 9 ส่วนของความกว้างธง ภายในมีรูปกางเขนสีขาวมีปลายจดขอบสีน้ำเงิน กางเขนดังกล่าวนี้หมายถึง[[ศาสนาคริสต์]][[นิกายกรีกออร์โธดอกซ์]]ซึ่งเป็น[[ศาสนาประจำชาติ]] ส่วนแถบสีน้ำเงินสลับขาว 9 แถบนั้น โดยทั่วไปชาวกรีกหมายถึงพยางค์ 9 พยางค์ในประโยค[[ภาษากรีก]]ที่ว่า "Ελευθερία ή Θάνατος" (อ่านว่า "เอ-เลฟ-เท-ริ-อา-อิ-ทา-นา-ทอส" ("E-lef-the-ri-a i Tha-na-tos") แปลว่า [[เสรีภาพ]]หรือ[[ความตาย]]) โดยแถบสีน้ำเงิน 5 แถบหมายถึง 5 พยางค์แรก ส่วนแถบสีขาว 4 แถบ หมายถึง 4 พยางค์สุดท้ายของประโยคดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกทฤษฎีหนึ่งกล่าวว่า แถบทั้ง 9 แถบนี้หมายถึงเทพธิดามิวเซส (Muses) ผู้เป็นเทพแห่งศิลปวิทยาการต่างๆ ทั้ง 9 องค์ ในตำนานกรีกโบราณ<ref>[http://web.archive.org/web/20070402084632/http://www.army.gr/n/g/publications/articles/GreekFlag0/GreekFlag1/ ''Η καθιέρωση της ελληνικής σημαίας.'' (เว็บไซต์กองทัพสาธารณรัฐเฮลเลนิก)]</ref> สำหรับสัดส่วนธงอย่างเป็นทางการนั้นกว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน<ref name=presidency>[http://www.presidency.gr/en/shmaia.htm ''ธงชาติกรีซ'' (เว็บไซต์สำนักงานประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเฮลเลนิก)]</ref>


อนึ่ง สีน้ำเงินและสีขาวที่ใช้ในธงนี้มีการตีความความหมายต่างๆ อยู่มาก บ้างก็ว่าหมายถึงสีของ[[ท้องฟ้า]]และ[[น้ำทะเล]]ในประเทศนี้ บ้างก็ว่าเป็นสีของเครื่องแต่งกายชาวกรีกตามธรรมเนียมโบราณ ทั้งนี้ ระดับของสีน้ำเงินในธงชาตินี้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้วหลายครั้ง โดยแบบสีที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเริ่มใช้มาตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2513]]
อนึ่ง สีน้ำเงินและสีขาวที่ใช้ในธงนี้มีการตีความความหมายต่างๆ อยู่มาก บ้างก็ว่าหมายถึงสีของ[[ท้องฟ้า]]และ[[น้ำทะเล]]ในประเทศนี้ บ้างก็ว่าเป็นสีของเครื่องแต่งกายชาวกรีกตามธรรมเนียมโบราณ ทั้งนี้ ระดับของสีน้ำเงินในธงชาตินี้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้วหลายครั้ง โดยแบบสีที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเริ่มใช้มาตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2513]]


รูปแบบธงดังที่ปรากฏในปัจจุบันนี้ เป็นแบบธงที่ได้รับการรับรองจากที่ประชุมรัฐสภาแห่งชาติของกรีซครั้งแรก ณ เมืองเอปิเดารุส (The First National Assembly at Epidaurus) เมื่อวันที่ [[13 มกราคม]] [[พ.ศ. 2365]]
รูปแบบธงดังที่ปรากฏในปัจจุบันนี้ เป็นแบบธงที่ได้รับการรับรองจากที่ประชุมรัฐสภาแห่งชาติของกรีซครั้งแรก ณ เมืองเอปิเดารุส (The First National Assembly at Epidaurus) เมื่อวันที่ [[13 มกราคม]] [[พ.ศ. 2365]]<ref>{{cite web |url=http://www.flaggenlexikon.de/fgriech.htm |title=Griechenland|accessdate=2004-11-03 |author=Volker Preuß|coauthors= }} {{de}}</ref>


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==
บรรทัด 46: บรรทัด 60:
ไฟล์:Greek flag (black).svg|ธงของหัวหน้ากองทหารกรีกไม่ทราบหน่วยระหว่างการปฏิวัติ
ไฟล์:Greek flag (black).svg|ธงของหัวหน้ากองทหารกรีกไม่ทราบหน่วยระหว่างการปฏิวัติ
ไฟล์:Flag of Greece (1821).svg|ธงซึ่งปรากฏอย่างแพร่หลายนับตั้งแต่ ค.ศ. 1769 จนถึงช่วงสงครามประกาศเอกราช
ไฟล์:Flag of Greece (1821).svg|ธงซึ่งปรากฏอย่างแพร่หลายนับตั้งแต่ ค.ศ. 1769 จนถึงช่วงสงครามประกาศเอกราช
ไฟล์:Miaoulis flag.svg|ธงราชนาวีแบบแรกของกรีซ (ค.ศ. 1822 - 1828) โดย[http://en.wikipedia.org/wiki/Talk:Flag_of_Greece#Original_flag_of_the_merchant_marine Dubious - discuss] </small>
ไฟล์:Areios Pagos Anatolikis Ellados.svg|<small>ธงของรัฐบาลท้องถิ่นแห่งหนึ่งซึ่งเรียกตนเองว่า "อาเรโอปากัสแห่งกรีซภาคพื้นทวีปฝ่ายตะวันออก" ([[:en:Areopagus of Eastern Continental Greece|Areopagus of Eastern Continental Greece]]) </small>
ไฟล์:Areios Pagos Anatolikis Ellados.svg|<small>ธงของรัฐบาลท้องถิ่นแห่งหนึ่งซึ่งเรียกตนเองว่า "อาเรโอปากัสแห่งกรีซภาคพื้นทวีปฝ่ายตะวันออก" ([[:en:Areopagus of Eastern Continental Greece|Areopagus of Eastern Continental Greece]]) </small>
ไฟล์:Mani Flag (Greece).svg|ธงของชาวมานิโอต ([[:en:Maniots|Maniots]])
ไฟล์:Mani Flag (Greece).svg|ธงของชาวมานิโอต ([[:en:Maniots|Maniots]])
บรรทัด 104: บรรทัด 119:


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==
{{Reflist}}
{{Reflist|}}


== แหล่งข้อมูลอื่น ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:12, 6 มิถุนายน 2554

ธงชาติกรีซ
ชื่ออื่น ๆΣημαία της Ελλάδος (ธงชาติกรีซ), Γαλανόλευκη, Κυανόλευκη (ธงน้ำเงิน - ขาว)
การใช้ธงชาติ ensign
สัดส่วนธง2:3
ประกาศใช้22 ธันวาคม พ.ศ. 2521 (ใช้เป็นธงนาวี พ.ศ. 2365 - 2371, ใช้เป็นธงเรือทะเล พ.ศ. 2371 - 2512, ใช้เป็นธงชาติ พ.ศ. 2512 - 2513และตั้งแต่ พ.ศ. 2521 เป็นต้นมา)
ลักษณะธงพื้นแถบแนวนอนสีน้ำเงินสลับขาว 9 แถบ มีรูปกางเขนสีขาวในช่องสี่เหลี่ยมสีน้ำเงินที่มุมธงบนด้านคันธง
ธงชาติกรีซในงานพิธีการ (บนแผ่นดิน)
การใช้ธงพลเรือน Small vexillological symbol or pictogram in black and white showing the different uses of the flag
สัดส่วนธง2:3
ประกาศใช้พ.ศ. 2365
ลักษณะธงพื้นสีน้ำเงิน ภายในมีกากบาทสีขาว[1]
ธงประจำตำแหน่งประธานาธิบดี
สัดส่วนธง1:1
ประกาศใช้พ.ศ. 2518
ลักษณะธงพื้นสีนำ้เงิน กลางธงมีตราแผ่นดินของกรีซ

ธงชาติกรีซ ([Σημαία της Ελλάδος] ข้อผิดพลาด: {{Lang-xx}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ), โดยทั่วไปนิยมเรียกว่า Γαλανόλευκη หรือ Κυανόλευκη แปลว่า "ธงน้ำเงิน-ขาว") เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นธงเป็นแถบริ้วสีน้ำเงินสลับขาวรวมทั้งหมด 9 แถบ ที่มุมธงบนด้านคันธงเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีน้ำเงิน กว้างยาวเป็น 5 ใน 9 ส่วนของความกว้างธง ภายในมีรูปกางเขนสีขาวมีปลายจดขอบสีน้ำเงิน กางเขนดังกล่าวนี้หมายถึงศาสนาคริสต์นิกายกรีกออร์โธดอกซ์ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติ ส่วนแถบสีน้ำเงินสลับขาว 9 แถบนั้น โดยทั่วไปชาวกรีกหมายถึงพยางค์ 9 พยางค์ในประโยคภาษากรีกที่ว่า "Ελευθερία ή Θάνατος" (อ่านว่า "เอ-เลฟ-เท-ริ-อา-อิ-ทา-นา-ทอส" ("E-lef-the-ri-a i Tha-na-tos") แปลว่า เสรีภาพหรือความตาย) โดยแถบสีน้ำเงิน 5 แถบหมายถึง 5 พยางค์แรก ส่วนแถบสีขาว 4 แถบ หมายถึง 4 พยางค์สุดท้ายของประโยคดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกทฤษฎีหนึ่งกล่าวว่า แถบทั้ง 9 แถบนี้หมายถึงเทพธิดามิวเซส (Muses) ผู้เป็นเทพแห่งศิลปวิทยาการต่างๆ ทั้ง 9 องค์ ในตำนานกรีกโบราณ[2] สำหรับสัดส่วนธงอย่างเป็นทางการนั้นกว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน[3]

อนึ่ง สีน้ำเงินและสีขาวที่ใช้ในธงนี้มีการตีความความหมายต่างๆ อยู่มาก บ้างก็ว่าหมายถึงสีของท้องฟ้าและน้ำทะเลในประเทศนี้ บ้างก็ว่าเป็นสีของเครื่องแต่งกายชาวกรีกตามธรรมเนียมโบราณ ทั้งนี้ ระดับของสีน้ำเงินในธงชาตินี้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้วหลายครั้ง โดยแบบสีที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเริ่มใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513

รูปแบบธงดังที่ปรากฏในปัจจุบันนี้ เป็นแบบธงที่ได้รับการรับรองจากที่ประชุมรัฐสภาแห่งชาติของกรีซครั้งแรก ณ เมืองเอปิเดารุส (The First National Assembly at Epidaurus) เมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2365[4]

ประวัติ

ธงของกรีกสมัยโบราณและยุคจักรวรรดิไบแซนไทน์

รูปกางเขนเป็นสัญลักษณ์ที่พบได้บ่อยที่สุดในตราสัญลักษณ์ของจักรวรรดิไบแซนไทน์ แบบธงดังปรากฏข้างบนนี้ เป็นแบบธงแบบเดียวที่ได้รับการยืนยันว่าเป็นธงของจักรวรรดิไบแซนไทน์จริง ปรากฏการใช้ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 สมัยราชวงศ์พาไลโอโลโกส (House of Palaiologos) ซึ่งเป็นราชวงศ์สุดท้ายที่ปกครองจักรวรรดิ[5]

สมัยจักรวรรดิออตโตมาน

ยุคสงครามประกาศเอกราช

มุขนายกเยอรมานอสแห่งปาทราสทำพิธีเสกธงให้กับกองทัพกบฏชาวกรีกที่มหาวิหารแห่งอาเกีย ลาฟรา (Agia Lavra), ค.ศ. 1821.[7][8]

ในช่วงก่อนหน้าและตอนต้นของสงครามประกาศเอกราชกรีซ (ค.ศ. 1821–1829) ได้ปรากฏการออกแบบ การเสนอ และการใช้ธงต่างโดยปัญญาชนชาวกรีกจำนวนมากที่ในยุโรป, บรรดาผู้นำท้องถิ่น และสภาท้องถิ่นต่างๆ ของกรีซ นอกจากการใช้ธงที่มีรูปกางเขนแล้ว ธงอื่นๆ จำนวนมากมักใช้รูปนักบุญในคริสต์ศาสนา, รูปนกฟินิกซ์, (สัญลักษณ์การกำเนิดใหม่ของชาติกรีซ), คำขวัญต่าง เช่น เสรีภาพหรือความตาย ("Ελευθερία ή Θάνατος") หรือรูปสัญลักษณ์ที่คล้ายกับขวานมัดหวาย (fasces) ของสมาคมฟิลิกี เอเทเรอา (Philiki Etaireia) ซึ่งเป็นสมาคมลับที่อยู่เบื้องหลังในการลุกขึ้นสู้ต่อต้านจักรวรรดิออตโตมานครั้งนี้

การยอมรับธงชาติกรีซสมัยใหม่

พัฒนาการของธงชาติกรีซสมัยใหม่

หลังการสถาปนาราชอาณาจักรกรีซในปี ค.ศ. 1832 พระเจ้าออตโตแห่งราชวงศ์วิตเตลสบาค กษัตริย์พระองค์ใหม่ ได้ทรงเพิ่มตราประจำพระองค์ไว้ที่กลางรูปกางเขนขาวในธงของกองทัพทั้งฝ่ายทหารบกและฝ่ายทหารเรือ ตราดังกล่าวเป็นตราอาร์มลวดลายตารางแบบอาร์มของรัฐบาเยิร์นประดับมงกุฎ ซึ่งบ่งบอกถึงปฐมวงศ์แห่งกษัตริย์พระองค์นั้น[3] ต่อมาเพื่อพระเจ้าออตโตได้ทรงสละราชสมบัติในปี ค.ศ. 1862 ตราอาร์มดังกล่าวได้ถูกเอาออกจากธง คงเหลือแต่เพียงรูปมงกุฎกษัตริย์เพียงอย่างเดียวเมื่อกษัตริย์พระองค์ใหม่ คือ พระเจ้าจอร์จที่ 1 แห่งกรีซ ซึ่งเป็นเจ้าชายเดนมาร์ก ได้เสด็จมายังกรีซเพื่อรับราชสมบัติแทนพระเจ้าแผ่นดินองค์เดิม

ธงชาติกรีซปัจจุบัน

แบบการสร้างธงชาติกรีซ

ในปี ค.ศ. 1978 แบบธงชาติกรีซซึ่งเป็นแบบที่เคยใช้สำหรับเรือเดินทะเล (sea flag) ได้รับการรับรองให้เป็นแบบธงชาติกรีซโดยส่วนรวมทั้งหมดเพียงแบบเดียว โดยกำหนดสัดส่วนธงไว้ที่กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน [9] ธงดังกล่าวนี้ ใช้ทั้งบนแผ่นดินและในทะเลทั้งหมด และใช้เป็นทั้งธงนาวีของกองทัพเรือและธงเรือพลเรือน ทดแทนแบบธงอื่นไ ที่ใช้ในหน้าที่อย่างเดียวกันในยุคก่อนหน้าทั้งหมด ซึ่งการใช้ธงชาตินั้นได้ห้ามการทำเครื่องหมายสัญลักษณ์หรือข้อความใดๆ ปรากฏในธงเป็นอันขาด อย่างไรก็ตาม โทนสีของสีฟ้า/สีน้ำเงินที่ใช้ในธงไม่ได้มีการบัญญัติไว้ชัดเจน ทำให้ในทางปฏิบัติปรากฏธงชาติกรีซที่มีโทนสีหลากหลายตั้งแต่สีฟ้าอ่อนไปจนถึงสีน้ำเงินเข้ม สำหรับวันธงชาติกรีซได้กำหนดไว้ตรงกับวันที่ 27 ตุลาคม ของทุกปี

ธงชาติสำหรับใช้บนแผ่นดินแบบเดิมยังคงมีการชักไว้ ณ อาคารรัฐสภาเก่า ในกรุงเอเธนส์ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์แห่งชาติของกรีซ และประชาชนบางส่วนยังนิยมประดับธงนี้ในลักษณะไม่เป็นทางการ

ธงทหาร

ธงชัยของทหารบกและทหารอากาศ

ธงชัยของทหารบกและทหารอากาศแห่งประเทศกรีซเป็นธงรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส พื้นสีฟ้า พาดทับด้วยกางเขนแบบกรีกสีขาว ที่ใจกลางรูปกางเขนมีรูปของนักบุญจอร์จสำหรับธงชัยของทหารบก ส่วนธงชัยของทหารอากาศจะใช้รูปของอัครเทวดามิคาเอล[3]

ธงดังกล่าวนี้เป็นธงสำหรับใช้โดยกองทหารราบ ทหารยานเกราะ และหน่วยรบพิเศษ ซึ่งอยู่ในระดับกองพันและระดับกรม, โรงเรียนการทหารเอเวลปีดอน (Evelpidon Military Academy) และกองทหารรักษาการณ์ของประธานาธิบดี ในยามเข้าสู้รบหรือในการสวนสนาม[10] อย่างไรก็ตาม การนำธงชัยเข้ารบในสมรภูมิด้วยนั้นไม่เป็นที่นิยมตามวิธีการรบที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

ธงนาวี ธงเรือพลเรือน และธงในราชการทหารเรือ

ธงนาวีและธงเรือพลเรือนของกรีซที่ใช้อยู่ในปัจจุบันใช้ธงแบบเดียวกับธงชาติกรีซ

รูปลักษณ์ของธงกางเขนขาวบนพื้นสีฟ้าปรากฏการใช้อยู่ในธงฉานของกองทัพเรือกรีซ และในเป็นแบบพื้นฐานสำหรับธงหมายยศต่างๆ ของกองทัพเรือกรีซ ธงเหล่านี้ปรากฏความบรรยายอยู่ในหมวด 21 มาตรา 2101-2130 ของข้องบังคับทหารเรือของกรีซ ธงฉานของกรีซนั้น นอกจากจะใช้บนเรือรบของกองทัพเรือแล้ว ยังใช้สำหรับเรือยามฝั่งของประเทศกรีซด้วยอีกหน่วยหนึ่ง

หน่วยทหารในกองทัพเรือกรีกและหน่วยย่อยของกองเรือยามฝั่งในการเดินสวนนามจะใช้ธงนาวีเป็นเครื่องหมายแทนการใช้ธงชัยประจำหน่วย[11]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. Volker Preuß. "Griechenland". สืบค้นเมื่อ 2007-05-17. {{cite web}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |coauthors= (help) (เยอรมัน)
  2. Η καθιέρωση της ελληνικής σημαίας. (เว็บไซต์กองทัพสาธารณรัฐเฮลเลนิก)
  3. 3.0 3.1 3.2 ธงชาติกรีซ (เว็บไซต์สำนักงานประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเฮลเลนิก)
  4. Volker Preuß. "Griechenland". สืบค้นเมื่อ 2004-11-03. {{cite web}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |coauthors= (help) (เยอรมัน)
  5. Ottfried Neubecker, Heraldry - Sources, Symbols and Meaning, pp.106, Tiger Books International (Twickenham), 1997.
  6. http://www.rbvex.it/cretasamo.html
  7. "Greek Independence Day". www.britannica.com. สืบค้นเมื่อ 2009-09-09. The Greek revolt was precipitated on March 25, 1821, when Bishop Germanos of Patras raised the flag of revolution over the Monastery of Agia Lavra in the Peloponnese. The cry “Freedom or Death” became the motto of the revolution. The Greeks experienced early successes on the battlefield, including the capture of Athens in June 1822, but infighting ensued.
  8. Frazee, Charles A. (1969). The Orthodox Church and independent Greece, 1821-1852. CUP Archive. pp. 18–20. ISBN 0521072476. On 25 March, Germanos gave the revolution its great symbol when he raised a banner with the cross on it at the monastery of Ayia Lavra.
  9. Law 851/21-12-1978 On the national Flag, War Flags and the Distinguishing Flag of the President of the Republic, Gazette issue A-233/1978.
  10. O. Zotiadis (2001). "Decorations of War Flags (กรีก: Τιμητικές διακρίσεις πολεμικών σημαιών)". Military Review. Hellenic Army General Staff. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  11. Presidential Decree 348 /17-4-1980, On the war flags of the Armed Forces and the Gendarmerie Corps, Gazette issue A-98/1980.

แหล่งข้อมูลอื่น