น้ำทะเล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ข้อมูลจากแผนที่มหาสมุทรโลก แสดงค่าความเค็มในแต่ละพื้นที่

น้ำทะเล เป็นของเหลวที่ได้จากทะเลหรือมหาสมุทร โดยทั่วไปมหาสมุทรทั่วโลกมีความเค็ม (salinity) ประมาณ 3.5% หรือ 35 ส่วนต่อพันส่วน นั่นหมายความว่าในน้ำทะเลทุกๆ 1 กิโลกรัม จะพบเกลืออยู่ 35 กรัม (ส่วนมากจะพบในรูปของไอออนโซเดียมคลอไรด์ (Na+, Cl) ความหนาแน่นเฉลี่ยที่ผิวน้ำของมหาสมุทรอยู่ที่ 1.025 กรัมต่อมิลลิลิตร น้ำทะเลมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำจืด (น้ำจืดมีความหนาแน่นสูงสุดที่ 1.000 กรัมต่อมิลลิลิตร ที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส) เพราะน้ำทะเลมีความหนักของเกลือและ Electrostriction (ไฟฟ้าที่ไม่นำกระแส แต่อยู่ในเรื่องของสนามไฟฟ้า) จุดเยือกแข็งของน้ำทะเลอยู่ที่อุณหภูมิ −2 องศาเซลเซียสหรือ 28.4 องศาฟาเรนไฮต์ นับว่ามากกว่าน้ำจืด [1] ในน้ำทะเลที่มีความเข้มข้น 35 ส่วนต่อพันส่วน (35 ppt)

ความเค็ม[แก้]

ธาตุ ร้อยละ ธาตุ พันละ
ออกซิเจน 85.84 กำมะถัน 0.091
ไฮโดรเจน 10.82 ออกซิเจน 0.04
คลอรีน 1.94 โพแทสเซียม 0.04
โซเดียม 1.08 โบรมีน 0.0067
แมกนีเซียม 0.1292 คาร์บอน 0.0028

ถึงแม้ว่าน้ำทะเลส่วนใหญ่จะมีปริมาณเกลืออยู่ที่ระหว่างร้อยละ 3.1–3.8 แต่น้ำทะเลทั่วโลกก็ไม่ได้เหมือนกัน อาจมีการผสมกับน้ำจืดจากการไหลของแม่น้ำหรือแหล่งน้ำออกสู่ทะเล หรือจากการละลายของธารน้ำแข็ง จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ความเค็มของน้ำทะเลในแต่ละพื้นที่แตกต่างกัน ทะเลเปิดที่มีความเค็มมากที่สุดคือ ทะเลแดง

อ้างอิง[แก้]

  1. หน้า 66–89, ความงามใต้โลกน้ำแข็ง โดย โลรอง บาเลสตา. นิตยสาร National Geographic ฉบับภาษาไทย: ฉบับที่ 192 กรกฎาคม 2560