ธีระ สลักเพชร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธีระ สลักเพชร
ธีระ ในปี พ.ศ. 2553
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
ดำรงตำแหน่ง
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553
นายกรัฐมนตรีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ก่อนหน้านายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล
ถัดไปนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500 (66 ปี)
ตราด ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์
คู่สมรสแพทย์หญิงกรพินธุ์ สุดโต

นายธีระ สลักเพชร (9 พฤศจิกายน 2500 - ) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ และ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตราด หลายสมัย

ประวัติ[แก้]

นายธีระ สลักเพชร เป็นบุตรของ นายเพียรพาสน์ และนางยุพิน สลักเพชร มีพี่น้องทั้งหมดรวม 4 คน คือ 1. นายพงศธร สลักเพชร 2. นายพิจารณ์ สลักเพชร 3. นางนิศารัตน์ เกิดศักดิ์สิทธิ์

จบมัธยมศึกษาจาก โรงเรียนบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี) จบปริญญาตรี สาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อปี พ.ศ. 2526 และปี พ.ศ. 2535 ได้ปริญญาโท วิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

นายธีระ สลักเพชร สมรสกับ แพทย์หญิงกรพินธุ์ สุดโต เมื่อเดือน กันยายน พ.ศ. 2550 มีบุตรสาว 1 คน คือ เบญพิชา สลักเพชร เกิดวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2553

การเมือง[แก้]

นายธีระ สลักเพชร เข้าสู่วงการเมือง ได้เป็น ส.ส. สมัยแรกเมื่อ ปี พ.ศ. 2539 โดยลงสมัครที่จังหวัดตราด และเป็น ส.ส.ผูกขาด ของจังหวัดตราด ที่ชนะการเลือกตั้งมาโดยตลอดทุกครั้งที่ลงสมัคร แม้แต่ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2548 ซึ่งพรรคไทยรักไทยครองพื้นที่ ระยอง จันทบุรี และตราด นายธีระ ยังคงเป็น ส.ส.ประชาธิปัตย์ คนเดียวที่สามารถชนะการเลือกตั้งใน 3 จังหวัดดังกล่าว

นายธีระ สลักเพชร มีประสบการณ์ทำงานเป็น รองประธานคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว และ ประธานกรรมาธิการการสาธารณสุขสภาผู้แทนราษฎร ของสภาผู้แทนราษฎร และในฝ่ายบริหารเคยดำรงตำแหน่ง เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

ในการเลือกตั้งวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 นายธีระ ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. จังหวัดตราด ชนะการเลือกตั้งได้คะแนนเป็นอันดับ 1 รวม 62,160 คะแนน ทิ้งห่าง นายนฤปนาถ สว่างไสว ผู้สมัครจากพรรคพลังประชาชน ที่ได้ 34,163 คะแนน อย่างขาดลอย

ภายหลังการจัดตั้ง รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ทำให้ พรรคประชาธิปัตย์ มีสถานะเป็นพรรคฝ่ายค้านพรรคเดียวในสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์จึงประกาศจัดตั้ง คณะรัฐมนตรีเงา หรือ ครม.เงา ขึ้น เพื่อติดตามตรวจสอบ และเสนอแนะการบริหารงานของรัฐบาล ตามรูปแบบที่มีในต่างประเทศ นายธีระ สลักเพชร ได้รับเลือกจากทางพรรคให้ทำหน้าที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเงา[1]

เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 พรรคประชาธิปัตย์ได้จัดการประชุมใหญ่วิสามัญประจำปี เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ตามข้อบังคับพรรค และ นายธีระ สลักเพชร ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์

ในการจัดตั้งรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์ช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 นายธีระ สลักเพชร ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และพ้นจากตำแหน่งเมื่อมีการปรับคณะรัฐมนตรีเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2553[2] และได้รับการแต่งตั้งจากพรรคประชาธิปัตย์ให้เป็นรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมเงาอีกครั้งหนึ่ง ในปี พ.ศ. 2554[3]

เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดตราดในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[4]

ตำแหน่งทางการเมือง

  • กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์
  • รองประธานคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว สภาผู้แทนราษฎร
  • ประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร
  • เลขานุการ รมช. กระทรวงศึกษาธิการ (ดร.วิชัย ตันศิริ)
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2553)

ประวัติการลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.[แก้]

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "เว็บไซต์ ครม.เงา พรรคประชาธิปัตย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-25. สืบค้นเมื่อ 2021-08-16.
  2. ราชกิจจานุเบกษา http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2553/E/072/1.PDF
  3. คณะรัฐมนตรีเงา (พรรคประชาธิปัตย์)
  4. พลวุฒิ สงสกุล (19 Sep 2018). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 Feb 2019.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๒, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า ธีระ สลักเพชร ถัดไป
วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (ครม. 59)
(20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 - 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553)
นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ