นายกเมืองพัทยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นายกเมืองพัทยา
ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน
ปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์

ตั้งแต่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2565[1]
ผู้แต่งตั้งการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน
วาระ4 ปี
(ติดต่อกันได้ไม่เกิน 2 วาระ)
ผู้ประเดิมตำแหน่งพลเรือเอก สถาปน์ เกยานนท์
สถาปนา23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521
เว็บไซต์[1]

นายกเมืองพัทยา เป็นตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายบริหารของเขตปกครองพิเศษ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ เมืองพัทยา เขตปกครองพิเศษในพื้นที่จังหวัดชลบุรี มีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปี

การเลือกตั้งและคุณสมบัติ[แก้]

การเลือกตั้ง[แก้]

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 มาตรา 41[2] ระบุว่า "ให้เมืองพัทยามีนายกเมืองพัทยาคนหนึ่งซึ่งเลือกตั้งโดยราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเมืองพัทยา การเลือกตั้งนายกเมืองพัทยาให้กระทำโดยวิธีออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ หลักเกณฑ์และวิธีการสมัครรับเลือกตั้งและการเลือกตั้งนายกเมืองพัทยา ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น"

คุณสมบัติ[แก้]

ผู้มีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกเมืองพัทยาต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

  1. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
  2. มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
  3. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
  4. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเมืองพัทยาเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า หนึ่งปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง หรือเป็นผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเมืองพัทยาในวันสมัคร รับเลือกตั้งและได้เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดิน หรือกฎหมายว่าด้วยภาษี บำรุงท้องที่ ให้เมืองพัทยาในปีที่สมัครหรือในปีก่อนปีที่สมัครหนึ่งปี

อำนาจหน้าที่ของนายกเมืองพัทยา[แก้]

ตามกฎหมายปัจจุบันคือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542[3] ในมาตรา 48 กำหนดให้นายกเมืองพัทยา มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

  1. กำหนดนโยบายและรับผิดชอบในการบริหารราชการของเมืองพัทยาให้เป็นไป ตามกฎหมาย ข้อบัญญัติ และนโยบาย
  2. สั่ง อนุญาต และอนุมัติเกี่ยวกับราชการของเมืองพัทยา
  3. แต่งตั้งและถอดถอนรองนายกเมืองพัทยา เลขานุการนายกเมืองพัทยา ผู้ช่วย เลขานุการนายกเมืองพัทยา ประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษาหรือคณะที่ปรึกษา
  4. วางระเบียบเพื่อให้งานของเมืองพัทยาเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
  5. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี หรือผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย หรือตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของนายกเมืองพัทยาหรือนายกเทศมนตรีหรือคณะเทศมนตรี

รายชื่อนายกเมืองพัทยา[แก้]

ลำดับ รูป รายชื่อ เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ ที่มา
1 พลเรือเอก สถาปน์ เกยานนท์ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523 การเลือกกันเองจากสภาเมืองพัทยา
2 อนุศักดิ์ รอดบุญมี 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 การเลือกกันเองจากสภาเมืองพัทยา
3 โสภณ เพ็ชรตระกูล 26 มีนาคม พ.ศ. 2528 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2532 การเลือกกันเองจากสภาเมืองพัทยา
4 สุชัย รวยริน 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2532 15 มีนาคม พ.ศ. 2534 การเลือกกันเองจากสภาเมืองพัทยา
5 อนุพงษ์ อุดมรัตน์กูลชัย 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 การเลือกกันเองจากสภาเมืองพัทยา
6 ไพรัช สุทธิธำรงสวัสดิ์ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 การเลือกกันเองจากสภาเมืองพัทยา
7 นิรันดร์ วัฒนศาสตร์สาธร 27 มีนาคม พ.ศ. 2547 26 มีนาคม พ.ศ. 2551 การเลือกตั้ง พ.ศ. 2547
8 อิทธิพล คุณปลื้ม 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 16 มิถุนายน พ.ศ. 2559 การเลือกตั้ง พ.ศ. 2551 และ พ.ศ. 2555
10 พลตำรวจตรี อนันต์ เจริญชาศรี[4] 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 25 กันยายน พ.ศ. 2561 การแต่งตั้ง
11 สนธยา คุณปลื้ม[5] 25 กันยายน พ.ศ. 2561 25 มีนาคม พ.ศ. 2565[6] การแต่งตั้ง
12 ปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 ปัจจุบัน การเลือกตั้ง พ.ศ. 2565

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Bhattarada (2022-03-24). "สนธยา คุณปลื้ม ลาออกนายกพัทยา ย้ำยังเล่นการเมือง". ประชาชาติธุรกิจ.
  2. "พรบ.เมืองพัทยา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-04. สืบค้นเมื่อ 2015-04-11.
  3. พ.ร.บ ระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 มาตราที่ 41-53
  4. คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๖/๒๕๖๐ เรื่อง แต่งตั้งนายกเมืองพัทยา
  5. คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๕/๒๕๖๑ เรื่อง การแก้ไขปัญหาการบริหารราชการเมืองพัทยา
  6. Bhattarada (2022-03-24). "สนธยา คุณปลื้ม ลาออกนายกพัทยา ย้ำยังเล่นการเมือง". ประชาชาติธุรกิจ.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]