ลำน้ำโพง

พิกัด: 15°19′14″N 105°30′29″E / 15.320556°N 105.508056°E / 15.320556; 105.508056
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลำน้ำโพง
ระบบอุทกวิทยา
แอ่งสมุทรมหาสมุทรแปซิฟิก
ระบบแม่น้ำระบบแม่น้ำโขง
ลุ่มน้ำประธานลุ่มน้ำมูล
ชื่อแหล่งน้ำลำน้ำโพง
ข้อมูลทั่วไป
ความยาว106 กม.
ต้นน้ำภูด่านฮัง
ที่ตั้งของต้นน้ำบ้านโพง ตำบลห้องแซง อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร
ท้ายน้ำลำเซบาย
ที่ตั้งของท้ายน้ำบ้านกุดสำโรง ตำบลศรีฐาน อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร

ลำน้ำโพง เป็นลำน้ำสาขาของลำเซบาย ซึ่งอยู่ในลุ่มแม่น้ำมูลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ความยาว 100 กิโลเมตร พื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 765.69 ตร.กม. หรือคิดเป็น 478,554 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดยโสธร และบางส่วนของจังหวัดร้อยเอ็ด

เส้นทางแม่น้ำ[แก้]

ลำน้ำโพง มีต้นกำเนิดจากภูด่านฮัง บ้านโพง ตำบลห้องแซง อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร ไหลผ่านอำเภอไทยเจริญ อำเภอกุดชุม อำเภอเมืองยโสธร อำเภอป่าติ้ว และไหลไปรวมกับลำเซบายที่บ้านกุดสำโรง ตำบลศรีฐาน อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร มีความยาวประมาณ 106 กิโลเมตร ซึ่งใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่[1]

แหล่งกักเก็บน้ำที่สำคัญในลุ่มน้ำ[แก้]

ตั้งอยู่ที่บ้านศรีแก้ว ตำบลศรีแก้ว อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระราชทานพระราชดำริ เมื่อปี พ.ศ. 2530 เพื่อช่วยเหลือราษฎรและพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างต่อเนื่อง จึงเกิดโครงการน้ำพระทัยจากในหลวง หรือ โครงการอีสานเขียว กรมชลประทานจึงกำหนดโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยโพงตอนบน ไว้ในแผนเร่งรัดก่อสร้างโครงการชลประทานขนาดกลางอีสานเขียว

ต่อมาในปี พ.ศ. 2553 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตร โครงการสาธิตการเกษตรแบบผสมผสาน มูลนิธิชัยพัฒนา บ้านกุดแห่ ตำบลกุดแห่ อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร จึงมีพระราชดำริให้จัดหาน้ำเพิ่มเติมให้กับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านศรีสวัสดิ์ เพื่อใช้ทำการเกษตรและใช้ในกิจกรรมของโรงเรียน และให้จัดหาน้ำให้ราษฎรบ้านศรีสวัสดิ์ จึงดำเนินการตรวจสอบพื้นที่เพื่อก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยโพงตอนบน และในปี พ.ศ. 2557-2559 มีการก่อสร้างทำนบดินพร้อมอาคารประกอบ สามารถเก็บกักน้ำได้ 12.4 ล้านลูกบาศก์เมตร ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้างระบบส่งน้ำ เมื่อการดำเนินการแล้วเสร็จจะสามารถส่งน้ำสนับสนุนพื้นที่เพาะปลูกได้ 5,900 ไร่ และพื้นที่เพาะปลูกพืชไร่ในฤดูแล้ง ประมาณ 700 ไร่

ลำน้ำสาขา[แก้]

  1. ห้วยหินฮาว
  2. ห้วยโพงโพด
  3. ห้วยสองคอน
  4. ห้วยกระโดก
  5. ห้วยแดง
  6. ห้วยกอย
  7. ห้วยบ่อแก
  8. กุดกะเหลิบ
  9. ห้วยโสกน้ำขาว
  10. ห้วยแก้ง
  11. ห้วยไผ่
  12. ห้วยฝา
  13. ห้วยกอย

อ้างอิง[แก้]

[2] [3] [4]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

15°19′14″N 105°30′29″E / 15.320556°N 105.508056°E / 15.320556; 105.508056

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-02. สืบค้นเมื่อ 2019-05-20.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-21. สืบค้นเมื่อ 2019-05-20.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-11. สืบค้นเมื่อ 2019-05-20.
  4. https://saiparinyanaja.wordpress.com/%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3-%E0%B8%A2%E0%B9%82%E0%B8%AA%E0%B8%98%E0%B8%A3/