พระราชวังต้องห้าม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระราชวังต้องห้าม
Forbidden City
紫禁城
พระราชวังต้องห้ามมองจากเขาจิ่งซาน
พระราชวังต้องห้ามตั้งอยู่ในเขตศูนย์กลางปักกิ่ง
พระราชวังต้องห้าม
ที่ตั้งในเขตศูนย์กลางปักกิ่ง
พระราชวังต้องห้ามตั้งอยู่ในปักกิ่ง
พระราชวังต้องห้าม
พระราชวังต้องห้าม (ปักกิ่ง)
พระราชวังต้องห้ามตั้งอยู่ในประเทศจีน
พระราชวังต้องห้าม
พระราชวังต้องห้าม (ประเทศจีน)
ก่อตั้ง1406–1420
1925 (เป็นพิพิธภัณฑ์สาธารณะ)
ที่ตั้ง4 ถ. จิงซานฟรอนท์, ตงเฉิง, ปักกิ่ง, ประเทศจีน
พิกัดภูมิศาสตร์39°54′57″N 116°23′27″E / 39.91583°N 116.39083°E / 39.91583; 116.39083พิกัดภูมิศาสตร์: 39°54′57″N 116°23′27″E / 39.91583°N 116.39083°E / 39.91583; 116.39083
ประเภทพิพิธภัณฑ์ศิลปะ, พระบรมมหาราชวัง, โบราณสถาน
จำนวนผู้เยี่ยมชม16.7 ล้านคน[1]
ภัณฑารักษ์หวัง ซู่ตง
พื้นที่72 เฮกเตอร์
สร้างเมื่อ1406–1420 (ราชวงศ์หมิง)
สถาปนิกคูอี เจียง
สถาปัตยกรรมสถาปัตยกรรมจีน
เว็บไซต์en.dpm.org.cn (อังกฤษ)
www.dpm.org.cn (จีน)
บางส่วนพระราชวังแห่งราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง ในปักกิ่งและเฉิ่นหยาง
เกณฑ์พิจารณาCultural: i, ii, iii, iv
อ้างอิง439-001
ขึ้นทะเบียน1987 (สมัยที่ 11)
พระราชวังต้องห้าม
upright=0.575 c=紫禁城
"Forbidden City" in Chinese characters
ความหมายตามตัวอักษร"Purple [North Star] Forbidden City"
ชื่อภาษาแมนจู
อักษรแมนจู ᡩᠠᠪᡴᡡᡵᡳ
ᡩᠣᡵᡤᡳ
ᡥᠣᡨᠣᠨ
อักษรโรมันdabkūri dorgi hoton 'Former inner city'
พระราชวังแห่ง
ราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง
ในปักกิ่งและเฉิ่นหยาง *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
ประเทศกรุงปักกิ่ง (พระราชวังต้องห้าม) และ มณฑลเหลียวหนิง (พระราชวังเฉิ่นหยาง)  จีน
ประเภทมรดกโลกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(i) (ii) (iii) (iv)
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2530 (คณะกรรมการสมัยที่ 11)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

พระราชวังต้องห้าม (จีน: 紫禁城; พินอิน: Zǐjìn Chéng จื่อจิ้นเฉิง; อังกฤษ: Forbidden City) หรือพระราชวังกู้กง จากชื่อภาษาจีนสามารถแปลตามตัวอักษรได้ว่า "เมืองต้องห้ามสีม่วง" พระราชวังต้องห้ามตั้งอยู่ใจกลางของกรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของประเทศจีน โดยเป็นพระราชวังหลวงมาตั้งแต่สมัยกลางราชวงศ์หมิงจนถึงราชวงศ์ชิง พระราชวังต้องห้ามยังเป็นที่รู้จักกันในนามของ พิพิธภัณฑ์พระราชวัง (ภาษาจีน: 故宫博物院; พินอิน: Gùgōng Bówùyùan) ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 720,000 ตารางเมตร หรือ 450 ไร่ (0.72 ตร.กม.) อาคาร 980 หลัง[2] พระราชวังต้องห้ามมีห้องทั้งหมด 9,999 ห้อง[3] และมีพระที่นั่ง 75 องค์ หอพระสมุด และห้องลับต่าง ๆ อีกมาก ทั้งยังมีสวน ลานกว้าง และทางเดินเชื่อมกันโดยตลอด มีคูและกำแพงที่สูงถึง 11 เมตร[4] ล้อมรอบ พระราชวังต้องห้ามใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 14 ปี ตั้งแต่ ค.ศ. 1406 จนถึง ค.ศ. 1420

พระราชวังต้องห้ามตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจัตุรัสเทียนอันเหมิน นักท่องเที่ยวสามารถเข้าเยี่ยมชมพระราชวังต้องห้ามได้ผ่านทางจตุรัสนี้ผ่านประตูเทียนอัน บริเวณรอบจัตุรัสเทียนอันเหมินเรียกว่า "อาณาเขตหลวง" มีสถานที่สำคัญรายล้อมอยู่โดยรอบ เช่น มหาศาลาประชาคม ในอดีต พระราชวังแห่งนี้เป็นเขตหวงห้ามไม่ให้ประชาชนเข้า แม้แต่ข้าราชการชั้นสูงก็ยังต้องขออนุญาตเป็นกรณีพิเศษ จึงเป็นเหตุที่เรียกพระราชวังนี้ว่า "พระราชวังต้องห้าม" จักรพรรดิจะประทับอยู่ในพระราชวังแห่งนี้โดยกั้นพระองค์จากโลกภายนอก มีสนมกำนัล ขันที และข้าหลวงคอยรับใช้ คนเหล่านี้ต้องอาศัยอยู่ในนครต้องห้ามตลอดชีวิตเพื่อตอบสนองความสำราญของจักรพรรดิ ในพระราชวังต้องห้ามจะมีวิเสท 6,000 คนคอยประกอบพระกระยาหาร มีสนมกำนัล 9,000 นาง และมีขันที 70,000 คน คอยดูแล

แม้ว่าประเทศจีนจะไม่มีสถาบันพระมหากษัตริย์แล้ว พระราชวังต้องห้ามก็ยังคงเป็นสัญลักษณ์ของประเทศจีน ภาพประตูเทียนอันเหมินยังคงปรากฏอยู่ในตราประจำสาธารณรัฐประชาชนจีน นอกจากนี้ พระราชวังต้องห้ามยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งไม่นานมานี้ทางรัฐบาลจีนได้มีนโยบายจำกัดปริมาณนักท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์สภาพของอาคารและสวนหย่อมไว้

ยูเนสโกได้ประกาศให้พระราชวังต้องห้ามร่วมกับพระราชวังเฉิ่นหยาง เป็นหนึ่งในแหล่งมรดกโลก ในนาม พระราชวังหลวงแห่งราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงในปักกิ่งและเฉิ่นหยาง เมื่อ ค.ศ. 1987

ชื่อ[แก้]

ชื่อ "พระราชวังต้องห้าม" นั้นแปลมาจากชื่อในภาษาจีนว่า จื่อจิ้น เฉิง (จีน: 紫禁城; พินอิน: Zǐjīnchéng แปลตามตัวอักษรได้ว่า "เมือง ต้องห้าม สีม่วง") ชื่อ จื่อจิ้น เฉิง ปรากฏขึ้นอย่างเป็นทางการครั้งแรกในปี ค.ศ. 1576[5] สำหรับในภาษาอังกฤษเรียกพระราชวังนี้ว่า เมืองต้องห้าม (Forbidden City) หรืออีกชื่อหนึ่งคือ พระราชวังต้องห้าม (Forbidden Palace)[6]

ชื่อ จื่อจิ้น เฉิง เป็นชื่อที่มีความสำคัญหลายระดับ คำว่า จื่อ หรือ "สีม่วง" อ้างอิงถึงดาวเหนือ ซึ่งจีนโบราณเรียกดาวดวงนี้ว่า ดาวจื่อเว่ย และในดวงจีนแบบดั้งเดิมถือว่าเป็นสรวงสวรรค์ที่ประทับของเง็กเซียนฮ่องเต้ โดยดาวจื่อเว่ย(ดาวเหนือ)นี้อยู่ตรงกลาง วงล้อมจื่อเว่ย (จีน: 紫微垣; พินอิน: Zǐwēiyuán) โดยมีดาวบริวารต่างๆรายล้อมดาวจื่อเว่ย(ดาวเหนือ)อยู่ภายในวงล้อมดังกล่าว ถือเป็นราชอาณาจักรของเง็กเซียนฮ่องเต้และพระบรมวงศานุวงศ์ของพระองค์ พระราชวังต้องห้ามถือเป็นที่ประทับของจักรพรรดิ (ฮ่องเต้) บนแผ่นดิน ซึ่งเป็นโลกคู่กัน คำว่า จิ้น หรือ "ต้องห้าม" อ้างอิงถึงความจริงที่ว่าไม่มีผู้ใดที่สามารถผ่านเข้าออกพระราชวังได้ โดยมิได้รับพระบรมราชานุญาตจากสมเด็จจักรพรรดิ ส่วนคำว่า เฉิง หมายถึง "เมือง"[7]

ในทุกวันนี้ สถานที่แห่งนี้เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปว่า กู้กง (จีน: 故宫; พินอิน: Gùgōng) ซึ่งหมายถึง "พระราชวังเก่า"[8] ส่วนพิพิธภัณฑ์ที่ตั้งอยู่บนอาคารเหล่านี้รู้จักในชื่อ "พิพิธภัณฑ์พระราชวัง" (จีน: 故宫博物院; พินอิน: Gùgōng Bówùyùan)

ประวัติ[แก้]

ภาพวาดพระราชวังต้องห้ามในสมัยราชวงศ์หมิงเป็นจิตรกรรมแบบราชวงศ์หมิง
ภาพวาดพระราชวังต้องห้ามในหนังสือเยอรมัน The Garden Arbor (ค.ศ. 1853)

เมื่อเจ้าชายจูตี้ พระราชโอรสในสมเด็จพระจักรพรรดิหงอู่เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระจักรพรรดิหย่งเล่อแล้ว พระองค์ทรงโปรดให้ย้ายเมืองหลวงจากหนานจิงไปยังปักกิ่ง การก่อสร้างพระราชวังหลวงได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1406 และต่อมาจึงกลายมาเป็นพระราชวังต้องห้าม[7]

การก่อสร้างดำเนินไปเป็นระยะเวลา 14 ปี และใช้กรรมกรมากกว่าหนึ่งล้านคน[9] วัสดุที่ถูกนำมาใช้ ประกอบด้วย ท่อนไม้ชั้นเยี่ยมจากไม้ Phoebe zhennan (จีน: 楠木; พินอิน: nánmù) ซึ่งพบได้ทางป่าด้านตะวันตกเฉียงใต้ของจีน และหินอ่อนขนาดใหญ่จากเหมืองใกล้กับปักกิ่ง[10] พื้นของตำหนักส่วนใหญ่ถูกปูด้วย "อิฐทองคำ" (จีน: ; พินอิน: jīnzhuān) ซึ่งเป็นอิฐเผาพิเศษจากซูโจว[9]

ตั้งแต่ ค.ศ. 1420 ถึง ค.ศ. 1644 พระราชวังต้องห้ามเป็นศูนย์กลางอำนาจของราชวงศ์หมิง ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1644 พระราชวังแห่งนี้ถูกยึดครองโดยกลุ่มกบฎที่นำโดยหลี่ จื้อเฉิง โดยเขาประกาศตัวเองเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ชุน[11] แต่ไม่ช้าเขาก็ต้องลี้ภัยออกจากพระราชวังต้องห้ามไปก่อนที่กองทัพซึ่งเป็นกองผสมของอดีตผู้บัญชาการอู่ ซานกุ้ยแห่งราชวงศ์หมิงและกองกำลังแมนจู จะเข้ายึดชิงบางส่วนของพระราชวังต้องห้ามคืน[12]

ต่อมาในเดือนตุลาคม กองกำลังแมนจูประสบความสำเร็จอย่างสูงในภาคเหนือของจีน และมีการจัดพระราชพิธีบรมจักรพรรดิยาภิเษกขึ้นที่พระราชวังต้องห้าม ในการประกาศการเสวยราชย์ของสมเด็จพระจักรพรรดิซุ่นจื้อในฐานะทรงปกครองแผ่นดินจีนทั้งหมดภายใต้ราชวงศ์ชิง[13] ราชสำนักชิงมีการเปลี่ยนแปลงชื่อพระตำหนักบางองค์เพื่อเน้น "ความสามัคคี" มากกว่า "ความยิ่งใหญ่"[14] สร้างป้ายชื่อสองภาษา (ภาษาจีนและภาษาแมนจู)[15] และได้นำองค์ประกอบเชมันเข้าสู่พระราชวัง[16]

ใน ค.ศ. 1806 ระหว่างสงครามฝิ่นครั้งที่สอง กองกำลังแองโกล-เฟรนซ์ได้เข้ามายึดครองพระราชวังต้องห้ามและครองไว้จนสิ้นสุดสงคราม[17] ใน ค.ศ. 1900 สมเด็จพระจักรพรรดินีฉือสี่ พระพันปีหลวงทรงลี้ภัยออกจากพระราชวังต้องห้ามในช่วงที่เกิดกบฏนักมวย และทรงปล่อยให้พระราชวังต้องห้ามถูกยึดครองโดยกองกำลังตามอำนาจในสนธิสัญญาจนถึงปีถัดมา[17]

ประตูตงหวาเหมินที่ถูกบูรณะปฏิสังขรณ์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการการบูรณะ 16 ปี

หลังจากที่พระราชวังต้องห้ามแห่งนี้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระจักรพรรดิ 24 พระองค์ ในจำนวนนั้นเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งราชวงศ์หมิง 14 พระองค์ และราชวงศ์ชิง 10 พระองค์ พระราชวังต้องห้ามถูกยุติการเป็นศูนย์กลางทางการเมืองของประเทศจีนลงใน ค.ศ. 1912 พร้อมกับการสละราชสมบัติของสมเด็จพระจักรพรรดิผู่อี๋ จักรพรรดิพระองค์สุดท้ายแห่งมหาจักรวรรดิจีน จากข้อตกลงกับรัฐบาลสาธารณรัฐจีนใหม่ อดีตสมเด็จพระจักรพรรดิผู่อี๋จะยังประทับอยู่ภายในเขตพระราชฐานชั้นในได้ ในขณะที่เขตพระราชฐานชั้นนอกนั้นยกให้ใช้เป็นที่สาธารณะ[18] จนกระทั่งอดีตสมเด็จพระจักรพรรดิผู่อี๋ทรงถูกขับออกจากพระราชวังต้องห้ามภายหลังการรัฐประหารใน ค.ศ. 1924[19] พิพิธภัณฑ์พระราชวังถูกก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1925[20] ใน ค.ศ. 1933 การบุกรุกจีนของญี่ปุ่น ได้บังคับให้ย้ายสมบัติประจำชาติภายในพระราชวังต้องห้ามออกไป[21] ส่วนหนึ่งของสมบัติถูกส่งกลับคืนเมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง[22] แต่อีกส่วนหนึ่งถูกโยกย้ายไปยังไต้หวันใน ค.ศ. 1948 ภายใต้คำสั่งของเจียง ไคเชก เมื่อพรรคก๊กมินตั๋งปราชัยในสงครามกลางเมืองจีน สมบัติที่มีขนาดค่อนข้างเล็กแต่มีคุณภาพสูงถูกเก็บไว้จนถึง ค.ศ. 1965 มันถูกนำมาจัดแสดงแก่สาธารณะอีกครั้ง เป็นสมบัติชิ้นหลักของพิพิธภัณฑ์พระราชวังแห่งชาติในไทเป[23]

หลังจากการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนใน ค.ศ. 1949 ความเสียหายบางประการได้เกิดขึ้นกับพระราชวังต้องห้ามเนื่องจากถูกกวาดล้างในการปฏิวัติที่รวดเร็วเกินไป[24] ในช่วงของการปฏิวัติทางวัฒนธรรม อย่างไรก็ตาม การทำลายล้างอย่างต่อเนื่องได้รับการป้องกันจากนายกรัฐมนตรีโจว เอินไหลด้วยการส่งกองทัพออกไปคุ้มครองป้องกันพระราชวังต้องห้าม[25]

พระราชวังต้องได้รับการประกาศเป็นแหล่งมรดกโลกเมื่อ ค.ศ. 1987 โดยยูเนสโก ในชื่อ "พระราชวังแห่งราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง"[26] เนื่องจากเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญในการพัฒนาของสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมจีน ซึ่งปัจจุบันอยู่ภายใต้การดูแลของพิพิธภัณฑ์พระราชวัง ซึ่งมีการดำเนินโครงการการบูรณะสิบหกปี เพื่อซ่อมแซมและบูรณะอาคารทั้งหมดภายในพระราชวังต้องห้ามให้กลับไปอยู่ในสภาพก่อน ค.ศ. 1912[27]

ในปัจจุบันนี้การแสดงตัวขององค์กรการค้าในพระราชวังต้องห้ามกำลังก่อให้เกิดการโต้แย้ง[28] ร้านสตาร์บัคส์ถูกเปิดเมื่อ ค.ศ. 2000 จุดประกายความรู้สึกไม่เห็นด้วยและในที่สุดก็ถูกปิดร้านในวันที่ 13 กรกฎาคม ค.ศ. 2007[29][30] สื่อจีนยังมีการแจ้งว่ามีร้านขายของที่ระลึก 2 แห่งซึ่งปฏิเสธชาวจีนและยอมรับเงินจากชาวต่างชาติใน ค.ศ. 2006[31]

ในวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 2017 โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ เป็นประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐที่ได้รับการเลี้ยงรับรองอาหารค่ำในพระราชวังต้องห้าม นับตั้งแต่มีการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนมา[32]

โครงสร้างและสถาปัตยกรรม[แก้]

ประตูเสินอู่ ประตูด้านทิศเหนือ มีป้ายตัวอักษรด้านล่างอ่านว่า "พิพิธภัณฑ์พระราชวัง" (故宫博物院)
แปลนของพระราชวังต้องห้าม
- – - เส้นแบ่งโดยประมาณระหว่างเขตพระราชฐานชั้นใน (ด้านเหนือ) และเขตพระราชฐานชั้นนอก (ด้านใต้)

พระราชวังต้องห้ามเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีความกว้างจากเหนือถึงใต้ 961 เมตร และจากตะวันออกถึงตะวันตก 753 เมตร[33][34] ประกอบด้วยอาคารที่หลงเหลืออยู่ 980 องค์ พร้อมด้วยห้อง 8,886 ห้อง[35][36] ซึ่งตามตำนานบอกว่ามีห้องจำนวน 9,999 ห้องรวมถึงห้องขนาดเล็กที่เป็นทางผ่านด้วย[37] ซึ่งจำนวนนี้อยู่บนตำนานปากเปล่าและไม่ได้รับการสนับสนุนจากหลักฐานด้านการสำรวจแต่อย่างใด[38] พระราชวังต้องห้ามถูกออกแบบมาเพื่อเป็นศูนย์กลางทางอำนาจในสมัยโบราณ เป็นกำแพงเมืองแห่งปักกิ่ง พระราชวังนี้ถูกปิดล้อมด้วยพื้นที่ขนาดใหญ่ที่ก่อเป็นกำแพง เรียกว่า นครหลวง (Imperial City) นครหลวงนี้เป็นลำดับชั้นการปิดล้อมจากพระราชวังชั้นใน ไปยังพระราชวังชั้นนอก

พระราชวังต้องห้ามนั้นยังคงมีความสำคัญในโครงการเทศบาลของปักกิ่ง แกนแนวกลาง เหนือ–ใต้ที่เหลืออยู่ในแกนกลางของปักกิ่ง แกนนี้ขยายออกไปทางใต้จนถึงประตูเทียนอันเหมินไปยังจตุรัสเทียนอันเหมิน ซึ่งเป็นลานประชาชนของสาธารณรัฐประชาชนจีน และยาวไปจนถึงประตูหย่งติ้ง ส่วนทางด้านเหนือขยายไปจนถึงเนินเขาจิ่งชาน ถึงหอระฆังและกลอง[39] แกนนี้ไม่ได้ขยายไปในแนวเหนือใต้ตรง ๆ แต่มีความเอียงเล็กน้อยสององศา การศึกษาเชื่อว่าแกนนี้ถูกออกแบบในสมัยราชวงศ์หยวนเพื่อให้สอดคล้องกับแหล่งแซนาดู ซึ่งเป็นเมืองหลวงแห่งอื่นของอาณาจักร[40]

นักวิชาการด้านสถาปัตยกรรมมีความเห็นว่า หากพิจารณาด้านจังหวะการจัดวางอาคารบนเส้นแกนกลาง จะพบว่าแนวคิดเบื้องหลังประตูต้าชิงคือการเลือกใช้วิธีกดลงแล้วค่อยยกขึ้น หรือทำให้ดูเรียบง่ายก่อนแล้วกระตุ้นอารมณ์ภายหลัง ให้ความรู้สึกเหมือนค่อย ๆ ก้าวไปสู่พระราชวังอันยิ่งใหญ่งดงามและน่าเกรงขาม เมื่อคณะทูตจากต่างแดนมาถวายบรรณาการ ตามระเบียบพระราชพิธีจะต้องผ่านประตูต้าชิงเพื่อเข้าไปเฝ้า โดยต้องเดินประมาณ 1,500 เมตร ผ่านทั้ง 5 ประตู ข้ามลานจตุรัสหลายลานไปจนถึงจตุรัสหน้าพระที่นั่งไท่เหอ สิ่งเหล้านี้เป็นอิทธิพลจากคติ "โอรสสวรรค์จะต้องมี 5 ประตู 3 เขตพระราชฐาน" ของพระราชวังตามขนบดั้งเดิมของจีน ซึ่งประกอบไปด้วย 5 ประตู ได้แก่ ประตูเทียนอัน ประตูตวน ประตูอู่ ประตูไท่เหอ และประตูเฉียนชิง และ 3 เขตพระราชฐาน คือ เขตพระราชทานชั้นนอก เขตพระราชฐานชั้นกลาง และเขตพระราชฐานชั้นใน

กำแพงและประตูวัง[แก้]

ประตูอู่เหมิน ทางเข้าด้านหน้าของพระราชวังต้องห้าม โดยมีปีกยื่นออกมาทั้งสองด้าน
ภาพมุมใกล้ของปีกด้านซ้ายของประตูอู่เหมิน
ป้อมตรงมุมของพระราชวังต้องห้าม

พระราชวังต้องห้ามล้อมรอบด้วยกำแพงเมืองสูง 7.9 เมตร[14] และลึก 6 เมตรจาก 52 เมตรของคูเมืองกว้าง กำแพงมีความกว้าง 8.62 เมตรที่บริเวณฐานกำแพง และค่อย ๆ เรียวลงไปจนถึงยอดกำแพง ซึ่งมีความกว้าง 6.66 เมตร[41] กำแพงเหล่านี้ทำหน้าที่ทั้งเป็นกำแพงป้องกันและกำแพงกันดินให้กับพระราชวัง พวกมันถูกสร้างขึ้นมาจากแกนดินอัด และปูผนังด้วยอิฐอบพิเศษสามชั้นในทั้งสองด้าน โดยใช้การฉาบปูนลงไปในร่องเล็ก ๆ[42]

ที่มุมทั้งสี่ของกำแพงเป็นที่ตั้งของป้อม (E) ที่มีหลังคาอันวิจิตรประณีต ซึ่งมีซี่หลังคาจำนวน 72 ซี่ เป็นการคัดลอกแบบของพลับพลาขององค์ชายเติ้งและหอคอยหวางเห้อที่ปรากฏในจิตรกรรมแบบราชสำนักซ่ง[42] ป้อมเหล่านี้เป็นส่วนที่มองเห็นได้ชัดเจนที่สุดของพระราชวังจากราษฎรที่อยู่ภายนอกกำแพง ประเพณีความเชื่อของผู้คนจึงยึดติดกับป้อมเหล่านี้ ตามตำนานหนึ่งกล่าวว่า ช่างฝีมือไม่สามารถจัดวางมุมของป้อมให้เข้ากันได้ หลังจากที่ถูกรื้อถอนเพื่อบูรณะในยุคเริ่มแรกของราชวงศ์ชิง และมันถูกสร้างขึ้นใหม่หลังจากที่มีการแทรกแซงของเซียนช่างไม้ชื่อ หลู่ปัน[14]

กำแพงถูกล้อมรอบด้วยประตูในทุก ๆ ด้าน ประตูที่อยู่ทางใต้สุดคือประตูอู่เหมิน (A)[43] ทางเหนือคือประตูประตูเสินอู่เหมิน (B) ซึ่งหันหน้าเข้าหาสวนจิ่งชาน ทางตะวันออกสุดคือ "ประตูตงหวาเหมิน" (D) และทางตะวันตกสุดคือ "ประตูซีหวาเหมิน (C) ประตูทั้งหมดของพระราชวังต้องห้ามมีการประดับตกแต่งด้วยหมุดประตูทองคำ 9 แถว ยกเว้นประตูตงหวาเหมินที่มีเพียง 8 แถว[44]

ประตูอู่เหมินมีปีกอยู่ทั้งสองข้าง ทำให้เกิดเป็นด้านของสี่เหลี่ยมทั้งสามด้าน[45] ประตูนี้มีช่องประตูทั้งหมดห้าช่อง ช่องประตูตรงกลางเป็นทางเสด็จพระราชดำเนินของสมเด็จพระจักรพรรดิ ซึ่งมีการทำเครื่องหมายด้วยหินซึ่งเป็นแกนกลางของพระราชวังต้องห้ามและนครโบราณปักกิ่ง ตลอดแนวจากประตูจงหวาเหมินทางใต้ไปจนถึงจิ่งชานทางเหนือ มีเพียงฮ่องเต้เท่านั้นที่จะสามารถทรงพระดำเนินหรือทรงนั่งผ่านเส้นทางนี้ได้ ยกเว้นสมเด็จพระจักรพรรดินีในพระราชวโรกาสงานพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส และบัณฑิตที่สอบผ่านการสอบขุนนาง[44]


เขตพระราชฐานชั้นนอก[แก้]

แม่น้ำน้ำสีทอง (The Golden Water River) เป็นกระแสน้ำเทียมที่ไหลไปทั่วพระราชวังต้องห้าม
ประตูไถ่เหอเหมิน
ตำหนักไถ่เหอ
ป้ายชื่อแนวตั้งของตำหนักไถ่เหอ
พลับพลาหงยี่
เพดานของพระตำหนักเจียวไถ่
ภาพใกล้ของด้านขวาของประตูไถ่เหอเหมิน
ถังน้ำสัญลักษณ์ด้านหน้าของตำหนักไถ่เหอ

ตามธรรมเนียม พระราชวังต้องห้ามถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ เขตพระราชฐานชั้นนอก () หรือส่วนหน้า () ประกอบด้วยส่วนทางใต้ ถูกใช้ในวัตถุประสงค์ด้านการพระราชพิธี และเขตพระราชฐานชั้นใน () หรือวังหลัง () ประกอบด้วยส่วนทางเหนือ ถูกใช้เป็นที่ประทับของฮ่องเต้และพระบรมวงศานุวงศ์ และถูกใช้ในการบริหารกิจการรัฐประจำวัน (มีเส้นแบ่งโดยประมาณสีแดงตามแผนผังด้านบนเป็นเส้นแบ่งเขต) โดยทั่วไปแล้ว พระราชวังต้องห้ามมีแกนแนวตั้งเป็นสามแฉก อาคารที่สำคัญที่สุดตั้งอยู่ที่แฉกตรงกลางในแนวเหนือ–ใต้[44]

เมื่อเข้าจากประตูอู่ จะพบกับพื้นที่สี่เหลี่ยมจตุรัสขนาดใหญ่ มีแม่น้ำสีทองที่คดเคี้ยวไหลผ่าน ซึ่งมีสะพานข้ามทั้งหมดห้าสะพาน เมื่อข้ามสะพานไป เบื้องหน้าจะเป็นประตูไท่เหอ (F) ตั้งอยู่ โดยด้านหลังถัดไปจากประตูคือพื้นที่จตุรัสของพระตำหนักไถ่เหอ[46] ซึ่งเป็นพระตำหนักที่ตั้งอยู่บนแท่นหินหยกขาวยกพื้นสูงจากจตุรัสนี้ โดยมีพระตำหนักทั้งหมดสามองค์ตั้งอยู่บนแท่นหินหยกขาว ซึ่งเป็นจุดสนใจของพระราชวังที่ซับซ้อนนี้ ประกอบด้วย (จากด้านทางใต้) พระที่นั่งไท่เหอ (殿) พระที่นั่งจงเหอ (殿) และพระที่นั่งเป่าเหอ (殿)[47]

พระตำหนักไท่เหอ (พระตำหนักอัครบรรสาร) (G) เป็นพระตำหนักที่มีขนาดใหญ่ที่สุด อยู่สูงกว่าปริมณฑลโดยรอบประมาณ 30 เมตรเศษ พระตำหนักนี้เป็นศูนย์กลางพระราชอำนาจขององค์ฮ่องเต้ และเป็นโครงสร้างไม้ที่ใหญ่ที่สุดที่ยังหลงเหลืออยู่ในประเทศจีน มีมุขกว้างเก้ามุขและมุขลึกห้ามุข ซึ่งเลข 9 และ 5 เป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงองค์ฮ่องเต้[48] บนเพดานตรงกลางของพระตำหนักนั้นเป็นช่องทึบที่ถูกตกแต่งอย่างประณีตด้วยมังกรกำลังม้วนตัว ที่ปากของมังกรนั้นห้อยด้วยลูกโลหะทรงกลมปิดทองคำที่ถูกจัดไว้คล้ายกับโคมระย้า เรียกว่า "กระจกซวนหยวน"[49] ในสมัยราชวงศ์หมิง ฮ่องเต้ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างพระตำหนักองค์นี้ขึ้นเพื่อไว้ทรงบริหารราชกิจของประเทศ ต่อมาในสมัยราชวงศ์ชิง ฮ่องเต้เสด็จพระราชดำเนินมายังพระตำหนักนี้บ่อยครั้งขึ้น ทำให้พระตำหนักนี้ถูกใช้งานบ่อยขึ้น และพระตำหนักไถ่เหอนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อการพระราชพิธีเท่านั้น เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีสถาปนา และพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส[50]

พระตำหนักจงเหอ (พระตำหนักมัธยบรรสาร) มีขนาดรองลงมา เป็นพระตำหนักทรงจตุรัส ถูกใช้สำหรับให้ฮ่องเต้ทรงเตรียมพระองค์เอง และเป็นที่สำหรับทรงพักผ่อนในช่วงก่อนและในระหว่างพระราชพิธี[51] ด้านหลังเป็นพระตำหนักเป่าเหอ (พระตำหนักดำรงบรรสาร) ใช้สำหรับฝึกซ้อมการพระราชพิธี และยังถูกใช้เป็นสนามสอบขั้นสุดท้ายของการสอบขุนนางด้วย[52] ทั้งสามพระตำหนักมีพระราชบัลลังก์หลวง ซึ่งพระราชบัลลังก์ที่มีขนาดใหญ่และซับซ้อนที่สุดประดิษฐานอยู่ภายในพระตำหนักไถ่เหอ[53]

บันไดตรงกลางที่ตรงขึ้นสู่แท่นจากด้านเหนือและด้านใต้เป็นบันไดพระราชพิธี เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินของฮ่องเต้ โดยมีรูปแกะสลักนูนต่ำประดับอยู่ บันไดด้านเหนืออยู่ด้านหลังพระตำหนักเป่าเหอ ตัวบันไดแกะสลักขึ้นจากหินชิ้นเดียวขนาดยาว 16.57 เมตร กว้าง 3.07 เมตร และหนา 1.7 เมตร มีน้ำหนัก 200 ตันเศษและเป็นวัตถุแกะสลักขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศจีน[9] บันไดด้านใต้อยู่ด้านหน้าของพระตำหนักไถ่เหอ มีความยาวกว่า แต่ประกอบจากหินสองชิ้นเชื่อมกันด้วยคอนกรีต รอยต่อถูกซ่อนไว้อย่างชาญฉลาดโดยใช้การแกะสลักนูนต่ำที่ทับซ้อนกัน ถูกค้นพบจากการผุพังที่ทำให้ช่องว่างนั้นขยายขึ้นในศตวรรษที่ 20[54]

ด้านใต้ฝั่งตะวันตกและด้านใต้ฝั่งตะวันออกของเขตพระราชฐานชั้นนอกเป็นพระตำหนักอู่หยิง (H) และพระตำหนักเหวินฮวา (J) ซึ่งในอดีตเคยถูกใช้สำหรับฮ่องเต้เสด็จออกรับเหล่ารัฐมนตรีและการเปิดศาล ต่อมาถูกเปลี่ยนเป็นที่ตั้งของโรงพิมพ์ในพระราชวัง อีกพระตำหนักถูกใช้เป็นสถานที่บรรยายพิธีการทางศาสนาโดยนักพรตขงจื้อขั้นสูงที่ได้รับการยกย่อง และต่อมาถูกเปลี่ยนเป็นสำนักงานราชเลขาธิการ สำเนาของหนังสือซื่อคูเฉียนชูถูกเก็บรักษาไว้ที่นี่ ส่วนด้านเหนือฝั่งตะวันออกเป็นหมู่พระที่นั่งหน่านซัน (หมู่พระที่นั่งไตรทักษิณา) () (K) ซึ่งเป็นที่ประทับขององค์รัชทายาท[46]

เขตพระราชทานชั้นกลาง[แก้]

เขตพระราชฐานชั้นใน[แก้]

เขตพระราชฐานชั้นในเป็นส่วนที่แยกออกจากเขตพระราชฐานชั้นนอกโดยลานรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ตั้งฉากกับแกนหลักของพระนครต้องห้าม เป็นที่ประทับขององค์ฮ่องเต้และพระบรมวงศานุวงศ์ของพระองค์ ในสมัยราชวงศ์ชิง สมเด็จพระจักรพรรดิจะทรงประทับและทรงงานเกือบเฉพาะแค่ในเขตพระราชฐานชั้นในเท่านั้น โดยจะเสด็จออกยังเขตพระราชฐานชั้นนอกเพียงแค่เฉพาะในการพระราชพิธีเท่านั้น[55]

องค์ประกอบพระราชฐานฝ่ายในทั้งหมดนี้เป็นที่มาของท้องฟ้าและดินรวมกันเป็นหนึ่ง (พระตำหนักหลัก 2 หลัง เฉียนชิงกงและคุนหนิงกง) ตงอู๋สั่วและซีอู๋สั่ว ตั้งอยู่ฝั่งละ 5 กลุ่ม เป็นสัญลักษณ์ของ 10 กิ่งฟ้า (ธาตุหยาง) ส่วนตงลิ่วกงและซีลิ่งกง ตั้งอยู่ฝั่งละ 6 กลุ่มคือ 12 ก้านดิน (ธาตุหยิน) เป็นสัญลักษณ์ของอักษร "คุน" บนยันต์ 8 ทิศ ก่อให้เกิดภาพของสวรรค์และพื้นดินผสานกันอย่างสมบูรณ์

หมู่พระที่นั่งสามองค์ด้านหลัง[แก้]

ที่ตรงกลางของเขตพระราชฐานชั้นในนั้นมีพระที่นั่งและพระตำหนักรวมสามองค์ (L) ประกอบด้วย (นับจากทางใต้)

ทั้งสามองค์มีขนาดเล็กกว่าในเขตพระราชฐานชั้นนอก โดยพระที่นั่งและพระตำหนักในหมู่พระที่นั่งนี้เป็นที่ประทับอย่างเป็นทางการในสมเด็จพระจักรพรรดิและสมเด็จพระจักรพรรดินี สมเด็จพระจักรพรรดิทรงเป็นสัญลักษณ์ของหยางและสวรรค์ จึงจะทรงประทับอยู่ในพระที่นั่งเฉียนชิง ส่วนสมเด็จพระจักรพรรดินีทรงเป็นสัญลักษณ์ของหยินและโลกมนุษย์ จึงจะทรงประทับอยู่ในพระที่นั่งคุนหนิง ในขณะที่ตรงกลางเป็นพระตำหนักเจียวไถ่ ซึ่งเปรียบเสมือนสถานที่ที่หยินและหยางผสมผสานกันอย่างกลมกลืน[56]

พระราชบัลลังก์ในพระที่นั่งเฉียนชิง
ผนังมังกรเก้าตัวที่ด้านหน้าของพระที่นั่งเฉียนหลง
พระราชอุทยานหลวง

พระที่นั่งเฉียนชิง (พระที่นั่งสุทไธสวรรค์) เป็นพระที่นั่งที่มีชายคาสองชั้น อยู่บนแท่นหินอ่อนสีขาวในระดับเดียวกัน เชื่อมต่อกับประตูเฉียนชิงเหมินทางด้านใต้โดยเป็นทางเดินยกระดับ ในสมัยราชวงศ์หมิง พระที่นั่งองค์นี้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระจักรพรรดิ อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่รัชสมัยของสมเด็จพระจักรพรรดิยงเจิ้งแห่งราชวงศ์ชิงนั้น สมเด็จพระจักรพรรดิเสด็จแปรพระราชฐาน ไปประทับอยู่ที่พระตำหนักหยางซิน (N) ซึ่งเป็นพระตำหนักองค์เล็กทางฝั่งตะวันตกแทน เนื่องจากทรงเคารพและทรงระลึกถึงความทรงจำที่ทรงมีแด่สมเด็จพระจักรพรรดิคังซี[14] พระที่นั่งเฉียนชิงจึงถูกเปลี่ยนเป็นท้องพระโรงแทน[57] บนเพดานของพระที่นั่งมีหีบห้อยประดับอยู่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรูปปั้นมังกรขดตัว เหนือพระราชบัลลังก์มีแผ่นป้ายภาษาจีนความว่า "ความยุติธรรมและเกียรติยศ" (จีน: ; พินอิน: zhèngdàguāngmíng)[58]

พระที่นั่งคุนหนิง (พระที่นั่งโลกาสันติสุข) () เป็นพระที่นั่งที่มีชายคาสองชั้น มีมุขกว้างเก้ามุขและมุขลึกสามมุข ในสมัยราชวงศ์หมิง พระที่นั่งองค์นี้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระจักรพรรดินี ในสมัยราชวงศ์ชิง ส่วนใหญ่ของพระที่นั่งองค์นี้ถูกดัดแปลงเพื่อใช้สำหรับการนมัสการตามความเชื่อในเชมันตามแนวคิดของผู้ปกครองใหม่ซึ่งเป็นชาวแมนจู นับแต่รัชสมัยของสมเด็จพระจักรพรรดิยงเจิ้ง สมเด็จพระจักรพรรดินีก็ทรงแปรพระราชฐานออกจากพระที่นั่งองค์นี้ด้วย อย่างไรก็ตาม ยังมีห้องอยู่สองห้องในพระที่นั่งคุนหนิง ที่ยังถูกเก็บไว้เพื่อให้สมเด็จพระจักรพรรดิทรงใช้ในคืนวันพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส[59]

ระหว่างกลางของทั้งสองพระที่นั่งคือ พระตำหนักเจียวไถ่ (พระตำหนักสหภาพ) เป็นพระตำหนักทรงสี่เหลี่ยมจตุรัส หลังคาทรงปีระมิด เป็นที่เก็บตราประทับหลวง 25 ตราในสมัยราชวงศ์ชิง รวมถึงสิ่งของที่ใช้ในการพระราชพิธีอื่น ๆ ด้วย[60]

ด้านหลังหมู่พระที่นั่งเป็นพระราชอุทยานหลวง (M) เป็นพระราชอุทยานที่มีพื้นที่ค่อนข้างเล็ก มีการออกแบบที่กระชับ แต่ยังคงไว้ซึ่งความเป็นสวนที่ประณีตงดงามและซับซ้อน[61] ทางด้านเหนือของพระราชอุทยานเป็นประตูเสินอู่เหมิน

ทางตะวันตกของหมู่พระที่นั่งเป็น พระตำหนักหยางซิน (พระตำหนักจิตพัฒน์) (N) เดิมเป็นพระที่นั่งองค์รอง แต่กลายมาเป็นที่ประทับและทรงงานของสมเด็จพระจักรพรรดิโดยพฤตินัย ตั้งแต่รัชสมัยของสมเด็จพระจักรพรรดิยงเจิ้ง ในช่วงทศวรรษสุดท้ายของราชวงศ์ชิง สมเด็จพระจักรพรรดินีฉือสี่ พระพันปีหลวง ได้ทรงใช้เขตทางตะวันออกของพระตำหนักองค์นี้ พระตำหนักองค์นี้รายล้อมด้วยสำนักงานกรมความลับทหารและหน่วยงานสำคัญของรัฐบาล[62]

ทางตะวันออกเฉียงเหนือของหมู่พระที่นั่งเป็นที่ตั้งของ พระที่นั่งเฉียนหลง (พระที่นั่งอายุสันติสุข) () (O) เป็นพระที่นั่งที่มีความซับซ้อน สร้างขึ้นโดยสมเด็จพระจักรพรรดิเฉียนหลง โดยทรงโปรดเกล้าฯ จะให้เป็นที่ประทับเมื่อทรงสละราชสมบัติแล้ว พระที่นั่งองค์นี้สะท้อนการสร้างพระราชวังต้องห้ามได้อย่างเหมาะสมและมีการแบ่ง "เขตพระราชฐานชั้นนอก" "เขตพระราชฐานชั้นใน" และพระราชอุทยานกับวัดหลวงอย่างชัดเจน ทางเข้าของพระที่นั่งเฉียนหลงมีกำแพงซึ่งประดับด้วยกระเบื้องเคลือบเป็นลายผนังเก้ามังกร[63] ส่วนนี้ของพระราชวังต้องห้ามถูกบูรณะขึ้นโดยความร่วมมือกันระหว่างพิพิธภัณฑ์พระราชวังและกองทุนอนุสาวรีย์โลก มีกำหนดแล้วเสร็จใน ค.ศ. 2017[64]

เขตพระราชฐานชั้นในคือที่ประทับของพระราชวงศ์ ถนนกลางคือพระตำหนักที่บรรทมหลัก 2 หลัง ของจักรพรรดิและฮองเฮา (เฉียนชิงกงและคุนหนิงกง) ตรงกลางระหว่างพระตำหนัก 2 หลังคือ "พระที่นั่งเจียวไท่เตี้ยน" มีระเบียงล้อมรอบครบครัน ฝั่งตะวันออกและตะวันตกมีหมู่พระตำหนักฝั่งละ 6 หมู่

หมู่พระตำหนักฝั่งตะวันตก[แก้]

เรียกว่า "ซีลิ่วกง" มี 6 ตำหนักดังนี้

  1. ตำหนักไท่จี๋ (ไท่จี๋เตี้ยน) หรือ ตำหนักอัครธุวมณฑล (太極殿)
  2. ตำหนักฉางชุน (ฉางชุนกง)หรือ ตำหนักวสันตนิรันดร์ (長春宮)
  3. ตำหนักเสียนฝู (เสียนฝูกง) หรือ พระที่นั่งสกลสุขสันต์ (咸福宮)
  4. ตำหนักหย่งโช่ว (หย่งโซ่วกง) หรือ ตำหนักอายุนิรันดร์ (永壽宮)
  5. ตำหนักอี้คุน (อี้คุนกง) หรือ ตำหนักโลกาสรรเสริญ (翊坤宮)
  6. ตำหนักฉู่ชิ่ว (ฉู่ซิ่วกง) หรือ ตำหนักธำรงสรรพกัญญา (儲秀宮)

หมู่พระตำหนักฝั่งตะวันออก[แก้]

เรียกว่า "ตงลิ่วกง" มี 6 ตำหนักดังนี้

  1. ตำหนักจิ่งเหริน (จิ่งเหรินกง) หรือ ตำหนักมหากรุณา (景仁宮)
  2. ตำหนักเฉิงเฉียน (เฉิงเฉียนกง) หรือ ตำหนักสวรรค์กรุณา (承乾宮)
  3. ตำหนักจงชุ่ย (จงชุ่ยกง) หรือ ตำหนักสุธไธสม (鐘粹宮)
  4. ตำหนักเหยียนสี่ (เหยียนสี่กง) หรือ ตำหนักเจียรปรีดา (延禧宮)
  5. ตำหนักหย่งเหอ (หย่งเหอกง) หรือ ตำหนักบรรสารนิรันดร์ (永和宮)
  6. ตำหนักจิ่งหยาง (จิ่งหยางกง) หรือ ตำหนักมหาโอภาส (景陽宮)

และถัดไปทางด้านทิศเหนือมีหมู่พระตำหนักอีกฝั่งละ 5 หมู่ มีลักษณะคล้ายกันทุกหลัง มีบ่อน้ำส่วนตัว ตัวอาคารแบ่งออกเป็น 3 ส่วน มีลานกว้างอยู่ส่วนหน้าและส่วนกลาง มีหลังคาแบบอิ้งซาน มุงกระเบื้องสีเหลือง มีการตกแต่งเรียบง่าย ไม่หรูหรา บ่งบอกว่า องค์ชายเหล่านี้ ไม่ค่อยเป็นโปรดปราน หากเป็นองค์ชายรัชทายาทจะประทับที่ ตำหนัก"อี้ชิ่งกง" หรือไม่ก็ประทับกันที่ หมู่พระตำหนัก"หนานซ่านสั่ว"ในเขตพระราชฐานชั้นกลางกับเหล่าองค์ชายที่กำเนิดจากพระสนมชั้นสูง หากองค์ชายมีพระชันษาครบ 15 ปีหรืออภิเษกสมรสแล้ว ต้องออกจากตำหนักไปอยู่นอกวัง แต่สมัยจักรพรรดิคังซียังคงให้รัชทายาทประทับร่วมกับองค์ชายองค์อื่นได้ต่อไป แม้จะมีพระชันษาเกิน 15 ปีแล้วก็ตาม บางรัชสมัยตำหนักเหล่านี้ก็เคยเป็นที่พักของเหล่าพระสนมศักดิ์ต่ำที่มิค่อยมีบทบาทในราชสำนัก

ฝั่งตะวันออก

เรียกว่า "ตงอู๋สั่ว" มี 5 ตำหนัก ได้แก่

  1. หรูอี้ก่วน
  2. โซ่วเย่าฝาง
  3. จิ้งซื่อฝาง เป็นตำหนัก 1 ใน 5 ของ "ตงอู๋สั่ว" ในอดีตเคยเป็นที่ประทับของเหล่าองค์ชายที่ยังไม่มีพระชันษาอายุครบ 15 ปี ส่วนเหล่าพระธิดาเมื่อแรกประสูติก็ให้ประทับรวมกับพระมารดาได้จนกว่าจะหย่านม หลังจากนั้นให้ย้ายไปประทับในหมู่พระตำหนัก "ซีอู๋สั่ว"จนกว่าจะอภิเษกสมรส
  4. ซื่อจื๋อคู่
  5. กู๋ต่งฝาง
ฝั่งตะวันตก

เรียกว่า "ซีอู๋สั่ว" ในอดีตมี 5 ตำหนักเช่นกัน ต่อมาสมัยจักรพรรดิเฉียนหลงเปลี่ยนเป็น หมู่พระตำหนัก "ฉงฮว๋ากง" และ "พระราชอุทยานเจี้ยนฝูกง"


ความเชื่อทางศาสนา[แก้]

รูปแบบลวดลายสวัสติกะและการมีอายุยืน การออกแบบในลักษณะนี้สามารถพบได้ทั่วทั้งพระราชวังต้องห้าม

ความเชื่อทางศาสนาเป็นส่วนสำคัญของชีวิตในราชสำนัก ในราชวงศ์ชิง พระที่นั่งคุนหนิง ถูกใช้เป็นสถานที่ในการพระราชพิธีแบบเชมัน ในขณะเดียวกันศาสนาประจำชนชาติจีนอย่าง เต๋า ก็ยังมีบทบาทสำคัญตลอดทั้งราชวงศ์หมิงและชิง มีศาลเจ้าในลัทธิเต๋าอยู่สองศาล ศาลหนึ่งอยู่ภายในพระราชอุทยานหลวงและอีกศาลหนึ่งอยู่บริเวณส่วนกลางของเขตพระราชฐานชั้นใน[65]

อีกศาสนาหนึ่งในสมัยราชวงศ์ชิงคือศาสนาพุทธ จึงปรากฏวัดและศาลเจ้ากระจายอยู่ทั่วทั้งเขตพระราชฐานชั้นใน รวมถึงศาสนาพุทธแบบทิเบตด้วย พุทธศาสนศาสตร์ยังแพร่หลายไปในการตกแต่งอาคารหลายหลังด้วย[66] ในบรรดาอาคารเหล่านั้น พลับพลาพิรุณมาลา (Pavilion of the Rain of Flowers) เป็นหนึ่งในอาคารที่สำคัญที่สุด ซึ่งเป็นพลับพลาที่ประดิษฐานพระพุทธรูป พุทธสัญลักษณ์ และแมนดาลาจำนวนมาก ซึ่งมีไว้เพื่อการพิธีทางศาสนา[67]

การล้อมรอบ[แก้]

สัญลักษณ์นิยม[แก้]

พระราชวังหลวงซึ่งตกแต่งด้วยจิตรกรรมสี
การตกแต่งหลังคาในวังหลวงด้วยรูปปั้นเครื่องสูงบนสันของหลังคาที่พระตำหนักไถ่เหอ

การออกแบบพระราชวังต้องห้าม จากภาพรวมไปจนถึงรายละเอียดที่เล็กที่สุด ล้วนถูกวางแผนมาอย่างพิถีพิถันเพื่อสะท้อนหลักทางปรัชญาและศาสนา และเหนือสิ่งอื่นใดเพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งพระราชอำนาจของสมเด็จพระจักรพรรดิ มีการตั้งข้อสังเกตการออกแบบสัญลักษณ์บางอย่างประกอบด้วย

  • การใช้สีเหลืองเพื่อสื่อถึงองค์ฮ่องเต้ ดังนั้นเกือบทุกหลังคาในพระราชวังต้องห้ามจะปูด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลือง ยกเว้นเพียงสองอาคารคือ หอพระสมุดที่พลับพลาเหวินยวน () ซึ่งเป็นสีดำ เพราะสีดำมีส่วนเกี่ยวข้องกับธาตุน้ำ เพื่อป้องกันการเกิดอัคคีภัย และที่ที่ประทับขององค์รัชทายาทที่ใช้สีเขียว เพราะเกี่ยวข้องกับธาตุดิน เพื่อการเติบโต[48]
  • พระตำหนักองค์หลักในเขตพระราชฐานชั้นนอกและชั้นในถูกจัดเรียงเป็นกลุ่ม กลุ่มละสามองค์ เป็นรูปทรงของเฉียน เป็นตัวแทนของสวรรค์ ส่วนที่ประทับในเขตพระราชฐานชั้นใน ในแต่ละด้านถูกจัดเป็นกลุ่ม กลุ่มละหกองค์ เป็นรูปทรงของคุน เป็นตัวแทนของโลกมนุษย์[14]
  • สันหลังคาที่ลาดเอียงของอาคารถูกตกแต่งด้วยรูปปั้นเรียงกัน เริ่มต้นจากชายที่ขี่นกอมตะและตามด้วยมังกรแห่งองค์จักรพรรดิ จำนวนของรูปปั้นเป็นตัวแทนของสถานะอาคาร อาคารองค์รองลงมาอาจจะมีรูปปั้น 3 หรือ 5 ตัว ส่วนพระตำหนักไถ่เหอมีรูปปั้น 10 ตัว ซึ่งเป็นพระตำหนักหลังเดียวในประเทศที่ได้รับพระบรมราชานุญาตจากสมเด็จพระจักรพรรดิในขณะนั้น ผลที่ตามมาคือ รูปปั้นตัวที่ 10 เรียกว่า "หั่งชือ" หรือ "อันดับที่สิบ" (จีน: ; พินอิน: Hángshí)[60] และยังเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของพระราชวังต้องห้ามด้วย[68]
  • เค้าโครงของอาคารโบราณถูกวางไว้เพื่อก่อสร้างตามต้นแบบแห่งพิธีกรรม ดังนั้นจึงมีการตั้งวัดหลวงสืบต่อมาจากบรรพบุรุษที่ด้านหน้าของพระราชวัง ส่วนพระคลังหลวงถูกวางไว้บริเวณส่วนหน้าของพระราชวังอันซับซ้อน และส่วนที่ประทับขององค์ฮ่องเต้อยู่ด้านหลัง[69]

เหตุผลที่ได้รับคัดเลือกเป็นมรดกโลก[แก้]

พระราชวังต้องห้ามได้ลงทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 11 เมื่อ ค.ศ. 1987 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และต่อมาใน ค.ศ. 2004 พระราชวังเฉิ่นหยาง พระราชวังพักตากอากาศของสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ชิง ได้ลงทะเบียนร่วมกับพระราชวังต้องห้ามภายใต้ชื่อ "พระราชวังแห่งราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงในปักกิ่งและเฉิ่นหยาง" ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังต่อไปนี้

  • (i) - เป็นตัวแทนในการแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดของมนุษย์
  • (ii) - เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใด ๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
  • (iii) - เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
  • (iv) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

อ้างอิง[แก้]

  1. 故宫2017年接待观众逾1699万人次 创历史新纪录 (ภาษาจีน). 31 December 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 March 2018. สืบค้นเมื่อ 24 March 2018.
  2. 故宫到底有多少间房 [How many rooms in the Forbidden City] (ภาษาจีนตัวย่อ). Singtao Net. 27 กันยายน 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 July 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-07-05.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-14. สืบค้นเมื่อ 2007-06-23.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-29. สืบค้นเมื่อ 2009-07-28.
  5. p26, Barmé, Geremie R (2008). The Forbidden City. Harvard University Press.
  6. See, e.g., Gan, Guo-hui (April 1990). "Perspective of urban land use in Beijing". GeoJournal. 20 (4): 359–364. doi:10.1007/bf00174975.
  7. 7.0 7.1 p. 18, Yu, Zhuoyun (1984). Palaces of the Forbidden City. New York: Viking. ISBN 0-670-53721-7.
  8. "กู้กง" ในความรู้สึกโดยทั่วไปยังสามารถอ้างอิงถึงพระราชวังเก่าทั้งหมดได้ด้วย อีกตัวอย่างที่โดดเด่นคือพระราชวังหลวงเก่า (พระราชวังมุกเดน) ในเฉิ่นหยาง
  9. 9.0 9.1 9.2 p. 15, Yang, Xiagui (2003). The Invisible Palace. Li, Shaobai (photography) ; Chen, Huang (translation). Beijing: Foreign Language Press. ISBN 7-119-03432-4.
  10. China Central Television, The Palace Museum (2005). Gugong: "I. Building the Forbidden City" (Documentary). China: CCTV.
  11. p. 69, Yang (2003)
  12. p. 3734, Wu, Han (1980). 朝鲜李朝实录中的中国史料 (Chinese historical material in the Annals of the Joseon Yi dynasty). Beijing: Zhonghua Book Company. CN / D829.312.
  13. Guo, Muoruo (1944-03-20). "甲申三百年祭 (Commemorating 300th anniversary of the Jia-Sheng Year)". New China Daily (ภาษาจีน).
  14. 14.0 14.1 14.2 14.3 14.4 China Central Television, The Palace Museum (2005). Gugong: "II. Ridgeline of a Prosperous Age" (Documentary). China: CCTV.
  15. "故宫外朝宫殿为何无满文? (Why is there no Manchu on the halls of the Outer Court?)". People Net (ภาษาจีน). 16 มิถุนายน 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 December 2008. สืบค้นเมื่อ 2007-07-12.
  16. Zhou Suqin. "坤宁宫 (Palace of Earthly Tranquility)" (ภาษาจีน). The Palace Museum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 September 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-07-12.
  17. 17.0 17.1 China Central Television, The Palace Museum (2005). Gugong: "XI. Flight of the National Treasures" (Documentary). China: CCTV.
  18. p. 137, Yang (2003)
  19. Yan, Chongnian (2004). "国民—战犯—公民 (National – War criminal – Citizen)". 正说清朝十二帝 (True Stories of the Twelve Qing Emperors) (ภาษาจีน). Beijing: Zhonghua Book Company. ISBN 7-101-04445-X. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 2018-07-19.
  20. Cao Kun (2005-10-06). "故宫X档案: 开院门票 掏五毛钱可劲逛 (Forbidden City X-Files: Opening admission 50 cents)". Beijing Legal Evening (ภาษาจีน). People Net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-19. สืบค้นเมื่อ 2007-07-25.
  21. See map of the evacuation routes at: "National Palace Museum – Tradition & Continuity". National Palace Museum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-17. สืบค้นเมื่อ 2007-05-01.
  22. "National Palace Museum – Tradition & Continuity". National Palace Museum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-17. สืบค้นเมื่อ 2007-05-01.
  23. "三大院长南京说文物 (Three museum directors talk artefacts in Nanjing)". Jiangnan Times (ภาษาจีน). People Net. 19 ตุลาคม 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 ธันวาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2007.
  24. Chen, Jie (2006-02-04). "故宫曾有多种可怕改造方案 (Several horrifying reconstruction proposals had been made for the Forbidden City)". Yangcheng Evening News (ภาษาจีน). Eastday. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-27. สืบค้นเมื่อ 2007-05-01.
  25. Xie, Yinming; Qu, Wanlin (2006-11-07). ""文化大革命"中谁保护了故宫 (Who protected the Forbidden City in the Cultural Revolution?)". CPC Documents (ภาษาจีน). People Net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-19. สืบค้นเมื่อ 2007-07-25.
  26. The Forbidden City was listed as the "Imperial Palace of the Ming and Qing Dynasties" (Official Document). In 2004, Mukden Palace in Shenyang was added as an extension item to the property, which then became known as "Imperial Palaces of the Ming and Qing Dynasties in Beijing and Shenyang": "UNESCO World Heritage List: Imperial Palaces of the Ming and Qing Dynasties in Beijing and Shenyang". สืบค้นเมื่อ 2007-05-04.
  27. Palace Museum. "Forbidden City restoration project website". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 April 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-05-03.
  28. "闾丘露薇:星巴克怎么进的故宫? (Luqiu Luwei: How did Starbucks get into the Forbidden City)" (ภาษาจีน). People Net. 2007-01-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-19. สืบค้นเมื่อ 2007-07-25.; see also the original blog post here [1] (in Chinese).
  29. Mellissa Allison (2007-07-13). "Starbucks closes Forbidden City store". The Seattle Times. สืบค้นเมื่อ 2007-07-14.
  30. Reuters (11 ธันวาคม 2000). "Starbucks brews storm in China's Forbidden City". CNN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 May 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-05-01.
  31. "Two stores inside Forbidden City refuse entry to Chinese nationals" (ภาษาจีน). Xinhua Net. 23 สิงหาคม 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 มกราคม 2009. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2007.
  32. "President Trump granted rare dinner in China's Forbidden City". 8 November 2017.
  33. Lu, Yongxiang (2014). A History of Chinese Science and Technology, Volume 3. New York: Springer. ISBN 3-662-44163-2.
  34. "Advisory Body Evaluation (1987)" (PDF). UNESCO. สืบค้นเมื่อ 2016-02-25.
  35. "Amazing Facts About the Forbidden City". Oakland Museum of California. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 June 2012.
  36. As larger buildings in traditional Chinese architecture are easily and regularly sub-divided into different configurations, the number of rooms in the Forbidden City is traditionally counted in terms of "bays" of rooms, with each bay being the space defined by four structural pillars.
  37. Glueck, Grace (2001-08-31). "ART REVIEW; They Had Expensive Tastes". The New York Times.
  38. China Daily (2007-07-20). "Numbers Inside the Forbidden City". China.org.cn.
  39. "北京确立城市发展脉络 重塑7.8公里中轴线 (Beijing to establish civic development network; Recreating 7.8 km central axis)" (ภาษาจีน). People Net. 2006-05-30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-29. สืบค้นเมื่อ 2007-07-05.
  40. Pan, Feng (2005-03-02). "探秘北京中轴线 (Exploring the mystery of Beijing's Central Axis)". Science Times (ภาษาจีน). Chinese Academy of Sciences. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-11. สืบค้นเมื่อ 2007-10-19.
  41. p. 25, Yang (2003)
  42. 42.0 42.1 p. 32, Yu (1984)
  43. ในทางเทคนิค ประตูเทียนอันเหมินไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังต้องห้าม แต่เป็นประตูของนครหลวง
  44. 44.0 44.1 44.2 p. 25, Yu (1984)
  45. p. 33, Yu (1984)
  46. 46.0 46.1 p. 49, Yu (1984)
  47. p. 48, Yu (1984)
  48. 48.0 48.1 The Palace Museum. "Yin, Yang and the Five Elements in the Forbidden City" (ภาษาจีน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 July 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-07-05.
  49. p. 253, Yu (1984)
  50. The Palace Museum. "太和殿 (Hall of Supreme Harmony)" (ภาษาจีน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 June 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-07-25.
  51. The Palace Museum. "中和殿 (Hall of Central Harmony)" (ภาษาจีน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 May 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-07-25.
  52. The Palace Museum. "保和殿 (Hall of Preserving Harmony)" (ภาษาจีน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 September 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-07-25.
  53. p. 70, Yu (1984)
  54. For an explanation and illustration of the joint, see p. 213, Yu (1984)
  55. p. 73, Yu (1984)
  56. p. 75, Yu (1984)
  57. p. 78, Yu (1984)
  58. p. 51, Yang (2003)
  59. pp. 80–83, Yu (1984)
  60. 60.0 60.1 China Central Television, The Palace Museum (2005). Gugong: "III. Rites under Heaven " (Documentary). China: CCTV.
  61. p. 121, Yu (1984)
  62. p. 87, Yu (1984)
  63. p. 115, Yu (1984)
  64. Powell, Eric. "Restoring an Intimate Splendor" (PDF). World Monuments Fund. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 16 May 2011.
  65. p. 176, Yu (1984)
  66. p. 177, Yu (1984)
  67. pp. 189–193, Yu (1984)
  68. The Palace Museum. "Hall of Supreme Harmony" (ภาษาจีน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 July 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-07-05.
  69. Steinhardt, Nancy Shatzman (Dec 1986). "Why were Chang'an and Beijing so different?". The Journal of the Society of Architectural Historians. 45 (4): 339–357. doi:10.2307/990206. JSTOR 990206.