กบฏนักมวย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กบฏนักมวย

ภาพบน: ปืนใหญ่จากกองทัพรัสเซีย ทำลายประตูเมืองปักกิ่ง
ภาพล่าง: กองทัพสหรัฐ บุกเข้าประตูเมืองกรุงปักกิ่ง
วันที่12 พ.ย. 1899 - 7 ก.ย. 1901
สถานที่
จีนตอนเหนือ
ผล พันธมิตรแปดชาติชนะ
คู่สงคราม

พันธมิตรแปดชาติ

กลุ่มนักมวย


ราชวงศ์ชิง จักรวรรดิชิง
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
จักรวรรดิรัสเซีย เยฟเกนี อเล็กเซเยฟ
จักรวรรดิรัสเซีย นีโคไล ลีเนวิช
สหราชอาณาจักร เซอร์ เอ็ดวาร์ด เซย์มัวร์
สหราชอาณาจักร คลูด แมคโดนัลด์
สหราชอาณาจักร อัลเฟรด กาเซลี
จักรวรรดิเยอรมัน อัลเฟรท ฟ็อน วัลเดอร์เซ
ญี่ปุ่น ฟุกุชิมะ ยะซุมะซะ
สหรัฐ แอดนา ซาฟฟี

เฉา ฟู่เทียน


ราชวงศ์ชิง พระพันปีหลวงฉือสี่
ราชวงศ์ชิง เจ้าชายตวนที่ 2
ราชวงศ์ชิง หรงลู่

ราชวงศ์ชิง จาง ซวิน
กำลัง
50,255 กำลังผสม
จักรวรรดิรัสเซีย 100,000 ทหารรัสเซีย
100,000-300,000 กบฏนักมวย
10,000 ชาวมุสลิม
ราชวงศ์ชิง 100,000 กองกำลังหลวง
ความสูญเสีย
ทหาร 2,500 คน
ชาวต่างชาติ 526 คน
ชาวคริสต์จีนจำนวนนับพันคน
กลุ่มนักมวย "ทั้งหมด"
ทหารกองกำลังหลวง 20,000 คน
100,000 – 300,000 นักมวย
หมายเหตุ: มีพลเรือนเสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้มากกว่า 18,952 คนและหรงลู่ไม่เห็นด้วยจึงพิทักษ์ชาวต่างชาติ

กบฏนักมวย (อังกฤษ: Boxer Rebellion, จีนตัวย่อ: 义和团起义; จีนตัวเต็ม: 義和團起義; พินอิน: Yìhétuán Yùndòng, อี้เหอถวน ย้วนต้ง) หรือเรียกกันต่าง ๆ ว่า การก่อการกำเริบของนักมวย ขบวนการอี้เหอถ้วน หรือศึกพันธมิตรแปดชาติ เป็นการก่อกำเริบต่อต้านชาวต่างชาติ ต่อต้านชาวคริสเตียน และต่อต้านจักรวรรดินิยมอย่างรุนแรงในจีน ระหว่างปี ค.ศ. 1899 และ ค.ศ. 1901 ตลอดจนถึงช่วงปลายราชวงศ์ชิงโดยกองทหารอาสาสมัครในความชอบธรรม(อี้เหอช่วน) เป็นที่รู้จักกันในภาษาอังกฤษว่า บ็อกเซอร์หรือแปลว่า นักมวย เพราะสมาชิกเหล่านั้นเคยฝึกศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวแบบจีน ซึ่งในสมัยนั้นเรียกว่า มวยจีน

ภายหลังสงครามจีน-ญี่ปุ่น ปี ค.ศ. 1895 พวกชาวบ้านในภาคเหนือของจีนต่างเกรงกลัวการขยายอิทธิพลของต่างชาติและไม่พอใจการขยายสิทธิพิเศษให้กับเหล่ามิชชันนารีคริสเตียน ซึ่งใช้พวกเขาเพื่อสนับสนุนผู้ติดตามของพวกเขา ด้วยภัยแล้งที่รุนแรง ความรุนแรงได้แผ่ขยายไปทั่วมณฑลซานตงและที่ราบจีนตอนเหนือ ได้เข้าทำลายทรัพย์สินต่างชาติ เข้าโจมตีหรือสังหารเหล่ามิชชันนารีคริสเตียนและคริสเตียนชาวจีน ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1900 นักสู้มวยที่มีความเชื่อว่า พวกเขาอยู่ยงคงกระพันต้านทานจากอาวุธของต่างชาติ รวมตัวกันที่เป่ย์จิงด้วยคำขวัญว่า "สนับสนุนรัฐบาลชิงและขจัดชาวต่างชาติให้หมดสิ้นไป" นักการทูต มิชชันนารี ทหาร และชาวคริสเตียนบางส่วนได้พากันลี้ภัยเข้าไปอยู่ในเขตพื้นที่สถานอัครราชทูต และถูกล้อมเป็นเวลา 55 วันโดยกองทัพจักรวรรดิจีนและนักมวย

พันธมิตรแปดชาติ ได้แก่ อเมริกา ออสเตรีย-ฮังการี บริติช ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี ญี่ปุ่น และรัสเซียได้เข้ารุกรานจีนเพื่อคลายวงล้อม ฉือสี่ไท่โฮ่วทรงลังเลพระทัยในตอนแรก แต่กลับตัดสินพระทัยที่จะสนับสนุนแก่พวกนักมวย และเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน ทรงออกพระราชกฤษฎีกาประกาศสงครามกับชาติมหาอำนาจผู้รุกราน พวกข้าราชการจีนที่ถูกแบ่งแยกระหว่างผู้สนับสนุนนักมวยและผู้ที่ต้องการเจรจาไกล่เกลี่ยประนีประนอม ภายใต้การนำโดยอ๋องชิง ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพจีน แม่ทัพชาวแมนจูนามว่า หรงลู่(จุงลู่) ซึ่งต่อมาได้กล่าวอ้างว่า เขาทำเพื่อปกป้องชาวต่างชาติ เจ้าหน้าที่ในมณฑลทางใต้ก็เพิกเฉยต่อพระบรมราชโองการของจักรพรรดิในการต่อสู้รบกับชาวต่างชาติ

พันธมิตรแปดชาติ ภายหลังช่วงแรกได้ถูกหันหลังกลับโดยกองทัพจักรวรรดิจีนและกองทหารอาสาสมัครนักมวย ได้นำกองกำลังติดอาวุธ 20,000 นายเข้ามายังจีน สามารถเอาชนะกองทัพจักรวรรดิในเทียนจิน และเคลื่อนทัพมาถึงเป่ยจิ่ง เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ซึ่งได้คลายการล้อมสถานอัครราชทูต เกิดการปล้นสะดมภายในเมืองหลวงและชนบทโดยรอบอย่างไร้การควบคุม รวมทั้งมีการประหารชีวิตผู้ต้องสงสัยโดยสรุปว่าเป็นนักมวย พิธีสารนักมวย เมื่อวันที่ 7 กันยายน ค.ศ. 1901 ให้มีการประหารชีวิตข้าราชการที่ให้การสนับสนุนแก่พวกนักมวย จัดหาเสบียงอาหารให้แก่กองทหารต่างชาติที่เข้าประจำการในเป่ยจิ่ง และจ่ายด้วยเงินประมาณ 450 ล้านตำลึงจีน หรือประมาณสิบล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ ราคาเงินในปี ค.ศ. 2018 และมากกว่ารายได้ภาษีประจำปีของรัฐบาล เพื่อชดใช้ค่าเสียหายตลอด 39 ปีข้างหน้าแก่แปดประเทศที่เกี่ยวข้อง

ชนวนเหตุ[แก้]

กบฏนักมวยได้เกิดขึ้นในเมืองชานตงในปี ค.ศ. 1898 และเริ่มตอบโต้ชาวเยอรมันในชิงเต่าและจับกุมชาวอังกฤษในเวยไห่แต่ก็พ่ายแพ้กับกองกำลังนานาชาติ ความอ่อนแอของจีนได้แสดงให้เห็นหลังจากแพ้สงครามจีน-ญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1895 และความวุ่นวายก็เกิดขึ้นที่หมู่บ้านเล็ก ๆ แห่งหนึ่งในเมืองชานตงเนื่องจากปัญหาที่ดินของวัดพุทธและโบสถ์คริสต์โรมันคาทอลิก มิชชันนารีจึงร้องเรียนว่าที่ดินผืนนี้เป็นของตนมาแต่เดิมแล้ว การที่มีการสร้างโบสถ์ในที่ดินผืนนี้ทำให้ชาวบ้านไม่พอใจอย่างมาก จึงทำลายโบสถ์และก่อกบฏนักมวยขึ้น

การจลาจลในจีน[แก้]

เริ่มจากกรณีเรื่องที่ดินของวัดในการสร้างโบสถ์โรมันคาทอลิก เนื่องจากฝ่ายมิชชันนารีอ้างว่าที่ดินเป็นของตนตั้งแต่สมัยจักรพรรดิคังซีแล้วแต่ได้ถูกทิ้งร้างไปนาน ชาวบ้านในท้องถิ่นรู้สึกว่าข้อเรียกร้องไม่เป็นธรรมกับตนเพราะเดิมเป็นวัดประจำหมู่บ้านแต่ต้องมาสร้างโบสถ์ในวัดแทนที่จึงเกิดจลาจล โดยชาวบ้านได้จับมิชชันนารีเป็นตัวประกันและทำลายโบสถ์นั้นเสีย

เนื่องจากจีนแพ้สงครามจีน-ญี่ปุ่น จักรพรรดิกวางสูจึงทรงทำการปฏิรูปร้อยวัน ทำให้พระนางซูสีไทเฮาทรงเข้ายึดพระราชอำนาจแล้วนำจักรพรรดิกวางสูขังไว้ และร่วมมือกับกบฏนักมวยซึ่งมีความคิดอนุรักษนิยมเช่นเดียวกับพระนาง จนประมาณเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1900 กบฏนักมวยได้ต่อสู้กับกองกำลังนานาชาติในเมืองเทียนจินและกรุงปักกิ่ง ทางสถานทูตสหราชอาณาจักร, ฝรั่งเศส, เบลเยี่ยม, เนเธอร์แลนด์, สหรัฐอเมริกา, รัสเซีย และญี่ปุ่น ที่อยู่ในสถานทูตในกรุงปักกิ่ง ได้นำกำลังมาปิดล้อมพระราชวังต้องห้าม การกระทำเช่นนี้ทำให้กบฏนักมวยสังหารบาทหลวงชาวเยอรมันชื่อ Clemens von Ketteler ในวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1900 พระนางซูสีไทเฮาประกาศสงครามกับชาวต่างชาติในวันต่อมาเพื่อเป็นการต่อต้านอำนาจของชาวต่างชาติ แต่พวกข้าหลวงตามหัวเมืองกลับปฏิเสธสงครามและพวกปัญญาชนในเมืองเซี่ยงไฮ้ก็ยังได้ให้ความช่วยเหลือข้าหลวงในภาคตะวันออกเฉียงใต้ของจีนที่ต่อต้านการประกาศสงครามด้วย

กบฏนักมวยในเมืองเทียนจิน

ส่วนกองกำลังนานาชาติได้ทำการป้องกันบริเวณสถานทูตของตนจากการโอบล้อมจากกบฏนักมวยภายใต้คำสั่งของบาทหลวงชาวอังกฤษ เรื่องราวเกิดขึ้นเมื่อกบฏนักมวยบุกเข้าไปในกรุงปักกิ่งได้สังหารชาวจีนที่เป็นคริสเตียนกว่าหนึ่งหมื่นคนและจับกุมชาวต่างชาติไปเป็นเชลยจำนวนมาก เรื่องการจลาจลจำนวนมากได้ลงในหนังสือพิมพ์ทั้งในจีน ญี่ปุ่น ยุโรปและอเมริกาจำนวนมาก แต่เชลยทั้งหมดก็ถูกปลดปล่อยโดยกองกำลังนานาชาติในที่สุด

กองกำลังนานาชาติ[แก้]

ภาพพิมพ์แกะไม้ญี่ปุ่นสมัยเมจิ แสดงเครื่องแบบทหารนานาชาติที่เข้าร่วมปราบกบฏนักมวยพร้อมธงประจำทัพเรือของตนในปี ค.ศ. 1900 (จากซ้ายไปขวา - แถวบน) อิตาลี, ออสเตรีย-ฮังการี, เยอรมนี, รัสเซีย (แถวล่าง) สหรัฐอเมริกา, ฝรั่งเศส, ญี่ปุ่น, สหราชอาณาจักร

กองกำลังนานาชาติก่อตั้งขึ้นเมื่อทัพเรือ 8 ประเทศรวมตัวกันในชายฝั่งทะเลทางตอนเหนือของจีนในปลายเดือนเมษายน ค.ศ. 1900 จนในวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1900 ได้เรียกร้องสิทธิชาวต่างชาติที่สถานทูตในกรุงปักกิ่งและได้ส่งทหารเรือ 435 นายจาก 5 ประเทศที่ฐานทัพที่ต้ากูไปกรุงปักกิ่ง

การบุกปักกิ่ง[แก้]

การบุกครั้งแรก[แก้]

ในสถานการณ์ที่เลวร้าย กองกำลังนานาชาติที่อยู่บนเรือประมาณ 2,000 คน ภายใต้คำสั่งของนายพลเอ็ดเวิร์ด เซมอร์ ได้ส่งกำลังไปกรุงปักกิ่งโดยการเดินทางจากท่าเรือต้ากูไปเมืองเทียนจินนั้นได้รับความร่วมมืออย่างดีจากข้าหลวงเมืองเทียนจินเป็นอย่างดี แต่การเดินทางจากเทียนจินไปกรุงปักกิ่งนั้นมีการตรวจตราชาวต่างชาติอย่างเข้มงวด อย่างไรก็ตามนายพลเซมอร์ก็ยังเดินหน้าต่อไปและสามารถนำทหารเดินเท้าไปกรุงปักกิ่งสำเร็จจนได้

อย่างไรก็ดี กองทัพของเขาถูกฝ่ายนักมวยล้อมและทางรถไฟหลายสายถูกทำลาย ในที่สุดนายพลเซมอร์จึงตัดสินใจถอยทัพกลับเมืองเทียนจินในวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 1900

การบุกครั้งที่สอง[แก้]

ทหารญี่ปุ่นกับนายพลเซมอร์

หลังจากนายพลเซมอร์ถอยทัพกลับเมืองเทียนจินแล้ว ทางกองกำลังนานาชาติจึงระดมกำลังทหารขึ้นมาใหม่ และในวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1900 กองกำลังนานาชาติได้สร้างป้อมปราการขึ้นใกล้เมืองเทียนจินและท่าเรือต้ากูขึ้น

กองกำลังนานาชาติภายใต้คำสั่งของนายพลอัลเฟรด แกสลี ประมาณ 45,000 คน ประกอบด้วยกำลังจากญี่ปุ่น 20,840 คน รัสเซีย 13,150 คน สหราชอาณาจักร 12,020 คน ฝรั่งเศส 3,520 คน สหรัฐอเมริกา 3,420 คน เยอรมนี 900 คน อิตาลี 80 คน และออสเตรีย-ฮังการี 75 คน ได้ยึดเมืองเทียนจินในวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1900