ปักกิ่ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก กรุงปักกิ่ง)
ปักกิ่ง

北京

เป่ย์จิง
北京市 • นครปักกิ่ง
แผนที่
ที่ตั้งของนครปักกิ่งในประเทศจีน
ที่ตั้งของนครปักกิ่งในประเทศจีน
พิกัด (เสาธง จัตุรัสเทียนอันเหมิน): 39°54′24″N 116°23′51″E / 39.90667°N 116.39750°E / 39.90667; 116.39750พิกัดภูมิศาสตร์: 39°54′24″N 116°23′51″E / 39.90667°N 116.39750°E / 39.90667; 116.39750
ประเทศ จีน
ก่อตั้ง1045 ปีก่อนคริสต์ศักราช
ผู้ก่อตั้งราชวงศ์โจว (ราชวงศ์โจวตะวันตก)
ที่ตั้งที่ทำการเขตทงโจว
เขตการปกครอง
 – ระดับอำเภอ
 – ระดับตำบล

16 เขต
343 เมืองและแขวง
การปกครอง
 • ประเภทนครปกครองโดยตรง
 • องค์กรสภาประชาชนแห่งนครปักกิ่ง
 • CPC SecretaryYin Li
 • ประธานสภาLi Wei
 • นายกเทศมนตรียิน หย่ง
 • ประธาน CPPCCWei Xiaodong
 • ตัวแทนสภาประชาชนแห่งชาติ54 เขต
พื้นที่[1]
 • นคร16,410.5 ตร.กม. (6,336.1 ตร.ไมล์)
 • พื้นดิน16,410.5 ตร.กม. (6,336.1 ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง16,410.5 ตร.กม. (6,336.1 ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล12,796.5 ตร.กม. (4,940.8 ตร.ไมล์)
ความสูง43.5 เมตร (142.7 ฟุต)
ความสูงจุดสูงสุด (หลิงชาน)2,303 เมตร (7,556 ฟุต)
ประชากร
 (2020 census)[2]
 • นคร21,893,095 คน
 • ความหนาแน่น1,300 คน/ตร.กม. (3,500 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง21,893,095 คน
 • ความหนาแน่นเขตเมือง1,300 คน/ตร.กม. (3,500 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล22,366,547 คน
 • ความหนาแน่นรวมปริมณฑล1,700 คน/ตร.กม. (4,500 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับในประเทศจีนประชากร: ที่ 27;
ความหนาแน่น: ที่ 4
กลุ่มชาติพันธุ์หลัก
 • ฮั่น95%
 • แมนจู2%
 • หุย2%
 • มองโกล0.3%
 • อื่น ๆ0.7%
เขตเวลาUTC+08:00 (เวลามาตรฐานจีน)
รหัสไปรษณีย์100000–102629
รหัสพื้นที่10
รหัส ISO 3166CN-BJ
GDP[3]2021
 - เฉลี่ย4.03 ล้านล้านเหรินหมินปี้
634.38 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (เฉลี่ย)
[4]
965.73 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (หุ้นส่วนมหาชน-เอกชน)[5]
 – ต่อหัว184,075 เหรินหมินปี้
28,975 ดอลลาร์สหรัฐ (เฉลี่ย)[4]
44,110 ดอลลาร์สหรัฐ (หุ้นส่วนมหาชน-เอกชน)[6]
 – การเติบโตเพิ่มขึ้น 8.5%
เอชดีไอ (2019)0.904[7] (ที่ 1) – สูงมาก
ตัวอักษรหน้าป้ายทะเบียน京A, C, E, F, H, J, K, L, M, N, P, Q, Y
京B (แท็กซี่)
京G (นอกเขตนคร)
京O, D (ตำรวจและเจ้าหน้าที่)
อักษรย่อBJ / (jīng)
ภูมิอากาศDwa
เว็บไซต์beijing.gov.cn
english.beijing.gov.cn
สัญลักษณ์
ดอกไม้China rose (Rosa chinensis)
เบญจมาศ (Chrysanthemum morifolium)
ต้นไม้Chinese arborvitae (Platycladus orientalis)
Pagoda tree (Sophora japonica)
ปักกิ่ง
"ปักกิ่ง" ในอักษรจีนแบบทั่วไป
ภาษาจีน北京
ฮั่นยฺหวี่พินอินBěijīng
ไปรษณีย์Peking[หมายเหตุ 1]
Peiping (1368–1403;
1928–1937; 1945–1949)
ความหมายตามตัวอักษร"เมืองหลวงทางทิศเหนือ"

ปักกิ่ง ในภาษากวางตุ้ง (จีน: 北京; ยฺหวิดเพ็ง: Bākgìng) หรือ เป่ยจิง[หมายเหตุ 2] ในภาษาจีนกลาง (พินอิน: เกี่ยวกับเสียงนี้ Běijīng ) เป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีชื่อย่อว่า จิง ตั้งอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ ที่ราบหวาเป่ย์ ชื่อแรกเริ่มคือ จี้ (薊) สมัยวสันตสารท (春秋) และสมัยรณรัฐ (战国)เป็นเมืองหลวงของแคว้นเยียน สมัยราชวงศ์เหลียว เป็นเมืองหลวงรอง ชื่อ เยียนจิง เป็นเมืองหลวงของจีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์จิน หยวน หมิง ชิงจนถึง สาธารณรัฐจีน เคยใช้ชื่อจงตู ต้าตู เป่ย์ผิงและเป่ย์จิง โดยมีชื่อเรียกทั้งหมดกว่า 60 ชื่อ [8] เริ่มตั้งเป็นเมืองตั้งแต่ปี 1928 ปัจจุบัน แบ่งเป็น 16 เขตและ 2 อำเภอ เป็นนครที่ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง พื้นที่ทั่วกรุงปักกิ่งมีถึง 16,800 ตารางกิโลเมตร ถึงสิ้นปี ค.ศ. 2017 ทั่วกรุงเปย์จิงมีประชากร 21,107,000 คน[9] กรุงปักกิ่งเป็นศูนย์การเมือง วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ การศึกษาและเขตชุมทางการคมนาคมทั่วประเทศจีนและก็เป็นเมืองท่อง เที่ยวที่มีชื่อดังทั้งในประเทศจีนและในโลก แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญมีกำแพงเมืองจีน พระราชวังโบราณ หอสักการะฟ้าเทียนถัน สุสานหลวงราชวงศ์หมิง วังพักร้อนอี๋เหอหยวนและภูเขาเซียงซาน เป็นต้น ปัจจุบันปักกิ่งเป็นเขตการปกครองพิเศษแบบมหานคร 1 ใน 4 แห่งของจีน ซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากับมณฑลหลังจากปักกิ่งได้รับการจัดตั้งเป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี 1949 โดยเฉพาะหลังจากสมัย 80 ศตวรรษที่ 20 เมืองปักกิ่งได้พัฒนาอย่างรวดเร็วอย่างเหลือเชื่อ มีการเปลี่ยนแปลงจากหน้ามือเป็นหลังมือ ปัจจุบันนี้ปักกิ่งมีถนนที่สลับกัน ตึกสูง ๆ โดยไม่เพียงแต่รักษาสภาพเมืองโบราณ และยังแสดงถึงสภาพเมืองที่ทันสมัย กลายเป็นเมืองใหญ่ของโลก

ปักกิ่งเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่ ปักกิ่งเป็นศูนย์กลางทางการปกครอง การศึกษา การขนส่ง และวัฒนธรรมจีน ในขณะที่ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจนั้นจะอยู่ที่เซี่ยงไฮ้และฮ่องกง

ปักกิ่งเป็น 1 ใน 4 เมืองหลวงเก่าของจีน และได้รับเลือกให้จัดการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 อีกด้วย มหานครปักกิ่งเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน นับแต่ สมัยราชวงศ์หยวน สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน เป็นศูนย์กลางทางการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมของจีน ปักกิ่งมีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์มากมาย เช่น จัตุรัสเทียนอันเหมิน กำแพงเมืองจีน พระราชวังฤดูร้อน พระราชวังต้องห้าม เป็นต้น มีประวัติความเป็นมา เริ่ม ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ซึ่งมี การขุดค้นพบกะโหลก มนุษย์ปักกิ่งตามหลักฐานที่พิสูจน์ได้ปักกิ่งมีความเจริญ รุ่งเรืองมานับแต่ คริสศตวรรษที่ 13 ในปี พ.ศ. 1964 (ค.ศ. 1421) จักรพรรดิหย่งเล่อ ได้ทำการก่อสร้างและออกแบบผังเมืองใหม่และย้ายฐานราชการชั่วคราวในขณะนั้นจาก เมืองหนานจิงมายัง เป่ย์จิง หรือปักกิ่งในปัจจุบัน

ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาปักกิ่งถูกยกสถานะเป็นเมืองสำคัญระดับโลกเป็นศูนย์กลางทางการปกครองการค้า การลงทุนที่สำคัญที่สุดของประเทศจีนในแต่ละปีมีชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาติดต่อการค้าท่องเที่ยว ศึกษาเป็นจำนวนมากประชาชนชาวปักกิ่งมีสภาพความเป็นอยู่และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมทั้งได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากตะวันตกมากขึ้นด้วย

ที่มาของชื่อ[แก้]

กรุงปักกิ่ง มีชื่อเมืองหลายชื่อ คำว่า ปักกิ่ง หรือ เป่ย์จิงหมายถึง เมืองหลวงทางทิศเหนือ (มาจากอักษรจีน ที่แปลว่าเหนือ และ ที่แปลว่าเมืองหลวง) กรุงปักกิ่ง ใช้ตัวย่อภาษาอังกฤษคือ BJ

ประวัติศาสตร์[แก้]

ปักกิ่ง มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 3,000 ปี เป็นเมืองหลวงโบราณของจีน ตั้งแต่สมัยราชวงศ์เหลียว ราชวงศ์จิน ราชวงศ์หยวน ราชวงศ์หมิง และราชวงศ์ชิง รวม 5 ราชวงศ์ และเมื่อสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี 2492 (ค.ศ. 1949) ก็ได้ตั้งให้ปักกิ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศ

ตาม หลักฐานทางประวัติศาสตร์ พื้นที่กรุงปักกิ่งในปัจจุบัน เมื่อ 110 ปีก่อนคริสตกาลเป็นที่ตั้งของอาณาจักรจี้กั๋ว ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ซีโจว ต่อมาเมื่อถึงกลางของราชวงศ์ชุนชิว (770 – 476 ปีก่อนคริสตกาล) อาณาจักรเยียนกั๋วได้รวมอาณาจักรจี้กั๋วเข้าไว้ด้วยกัน หลังจากนั้นอาณาจักรฉินกั๋วก็ได้ตีเอาจี้กั๋วมาเป็นของตนเมื่อ 226 ปีก่อนคริสตกาล ถึงปี 2024 (ค.ศ. 1481) อาณาจักรจี้กั๋วกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของเมืองหลวงของแคว้นเหลียวซึ่งก่อตั้ง ขึ้นโดยชนชาติชี่ตัน และตั้งชื่อใหม่ว่าหนานจิง หรือเยียนจิง

ในเวลาต่อมาได้มีการสถาปนาราชวงศ์จิน และได้ย้ายเมืองหลวง มาอยู่ที่แย่นจิงในปี 2239 (ค.ศ. 1696) โดยเปลี่ยนชื่อเรียกเป็น จงตู ต่อมาราชวงศ์จินถูกรุกรานโดยชาวมองโกล จึงได้ย้ายเมืองหลวงไปที่เปี้ยนจิง (เมืองไคฟง มณฑลเหอหนานในปัจจุบัน) หลังจากนั้น ราชวงศ์หยวนก็ได้สถาปนาขึ้นภายใต้การปกครองของชาวมองโกล และตั้งให้ปักกิ่งเป็นเมืองหลวงในปี 2353 (ค.ศ. 1810) จากนั้นปักกิ่งก็ถูกตั้งให้เป็นเมืองหลวงเรื่อยมาในสมัยราชวงศ์หมิง และชิง จนถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2492 เมื่อจีนเปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีน ก็ได้กำหนดให้ปักกิ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศจนถึงปัจจุบัน โบราณสถานในปักกิ่งที่ตกทอดสืบต่อมาและมีปรากฏให้เห็นจนถึงทุกวันนี้มีมาก มาย เช่น พระราชวังต้องห้าม กำแพงเมืองจีน หอบูชาฟ้า พระราชวังฤดูร้อน สุสานสิบสามกษัตริย์ เป็นต้น สถานที่เหล่านี้ล้วนเป็นมรดกทางประศาสตร์อันสำคัญทั้งของจีนและของโลก

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

มหานครปักกิ่งมีพื้นที่ติดต่อดังนี้

ภูมิอากาศ[แก้]

ข้อมูลภูมิอากาศของปักกิ่ง
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 12.9
(55.2)
19.8
(67.6)
26.4
(79.5)
33.0
(91.4)
38.3
(100.9)
40.6
(105.1)
41.9
(107.4)
36.1
(97)
34.4
(93.9)
29.8
(85.6)
22.0
(71.6)
19.5
(67.1)
42.6
(108.7)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 1.8
(35.2)
5.0
(41)
11.6
(52.9)
20.3
(68.5)
26.0
(78.8)
30.2
(86.4)
30.9
(87.6)
29.7
(85.5)
25.8
(78.4)
19.1
(66.4)
10.1
(50.2)
3.7
(38.7)
17.9
(64.2)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) −8.4
(16.9)
−5.6
(21.9)
0.4
(32.7)
7.9
(46.2)
13.6
(56.5)
18.8
(65.8)
22.0
(71.6)
20.8
(69.4)
14.8
(58.6)
7.9
(46.2)
0.0
(32)
−5.8
(21.6)
7.2
(45)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) −18.3
(-0.9)
−27.4
(-17.3)
−15.0
(5)
−3.2
(26.2)
2.5
(36.5)
9.8
(49.6)
15.3
(59.5)
11.4
(52.5)
3.7
(38.7)
-3.5
(25.7)
-12.5
(9.5)
-18.5
(-1.3)
−27.4
(−17.3)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 2.7
(0.106)
4.9
(0.193)
8.3
(0.327)
21.2
(0.835)
34.2
(1.346)
78.1
(3.075)
185.2
(7.291)
159.7
(6.287)
45.5
(1.791)
21.8
(0.858)
7.4
(0.291)
2.8
(0.11)
571.8
(22.512)
ความชื้นร้อยละ 44 44 46 46 53 61 75 77 68 61 57 49 56.8
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 0.1 mm) 1.8 2.3 3.3 4.3 5.8 9.7 13.6 12.0 7.6 5.0 3.5 1.7 70.6
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 194.1 194.7 231.8 251.9 283.4 261.4 212.4 220.9 232.1 222.1 185.3 180.7 2,670.8
แหล่งที่มา: China Meteorological Administration [10], all-time extreme temperature[11]

ประชากร[แก้]

กรุงปักกิ่งมีประชากรทั้งสิ้น 21,707,000 คน[12](ข้อมูลเมื่อเดือน มกราคม ค.ศ.2021)

การขนส่ง[แก้]

รถไฟใต้ดินปักกิ่ง

กรุงปักกิ่ง มีการจัดการขนส่งมวลชน เช่น รถไฟใต้ดินปักกิ่ง เริ่มก่อสร้างทางรถไฟใต้ดินเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1965 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1969 และเปิดบริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 1971 โดยมีสถานีรถไฟทั้งหมด 370 แห่งและมีระยะทางทั้งหมด 608 กิโลเมตร (ข้อมูลจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ.2017 )

การศึกษา[แก้]

ปักกิ่ง ถือว่าเป็นศูนย์กลางการศึกษาของประเทศจีน โดยมีสถาบันการศึกษาชั้นนำกว่า 70 แห่ง และสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์กว่า 4,000 แห่ง[13]

ห้องแสดงภาพ[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. ยืมจากภาษาฝรั่งเศส "Pékin"
  2. เสียงสระเอ ไม่ใช่สระเออ

อ้างอิง[แก้]

  1. "Doing Business in China – Survey". Ministry of Commerce of the People's Republic of China. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 May 2014. สืบค้นเมื่อ 5 August 2013.
  2. "Communiqué of the Seventh National Population Census (No. 3)". National Bureau of Statistics of China. 11 May 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 May 2021. สืบค้นเมื่อ 11 May 2021.
  3. "政府工作报告-2022年1月6日在北京市第十五届人民代表大会第五次会议上-政府工作报告解读-北京市发展和改革委员会". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 January 2022. สืบค้นเมื่อ 23 January 2022.
  4. 4.0 4.1 "CN¥6.3527 per dollar (according to International Monetary Fund on January 2022 publication)". IMF. สืบค้นเมื่อ 20 January 2022.
  5. "World Economic Outlook (WEO) database". International Monetary Fund. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 November 2020. สืบค้นเมื่อ 2 April 2022.
  6. "CN¥4.173 per Int'l. dollar (according to International Monetary Fund in October 2021 publication)". IMF. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 November 2020. สืบค้นเมื่อ 20 January 2022.
  7. "Subnational Human Development Index". Global Data Lab China. 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 September 2018. สืบค้นเมื่อ 9 April 2020.
  8. รู้ไหม ปักกิ่งเป็นเมืองที่มีหลายชื่อที่สุดในโลก (CRI)
  9. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-08. สืบค้นเมื่อ 2018-02-13.
  10. "中国地面国际交换站气候标准值月值数据集(1971-2000年)" (ภาษาจีน). China Meteorological Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-16. สืบค้นเมื่อ 2010-05-04.
  11. "Extreme Temperatures Around the World". สืบค้นเมื่อ 2013-02-21.
  12. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-23. สืบค้นเมื่อ 2018-02-21.
  13. อักษรศรี (อติสุธาโภชน์) พานิชสาส์น ,เศรษฐกิจจีน หน้า 291

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]