จิ่วไจ้โกว

พิกัด: 33°13′N 103°55′E / 33.217°N 103.917°E / 33.217; 103.917
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

33°13′N 103°55′E / 33.217°N 103.917°E / 33.217; 103.917

พื้นที่ที่มีคุณค่าทางทัศนียภาพและประวัติศาสตร์หุบเขาจิ่วไจ้ *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
น้ำตกธารไข่มุก หนึ่งในน้ำตกหลายระดับชั้นในจิ่วไจ้โกว
ประเทศมณฑลเสฉวน
 จีน
ประเภทมรดกทางธรรมชาติ
เกณฑ์พิจารณา(vii)
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2535 (คณะกรรมการสมัยที่ 16)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก
จิ่วไจ้โกว 九寨沟
ที่ตั้งมณฑลเสฉวน
เมืองใกล้สุดซงพาน
พื้นที่600-720 ตารางกิโลเมตร
จัดตั้ง2521
ผู้เยี่ยมชม1,190,000 (2545)

จิ่วไจ้โกว (จีนตัวย่อ: 九寨沟; จีนตัวเต็ม: 九寨溝; พินอิน: Jiǔzhàigōu, ความหมาย หุบเขาเก้าหมู่บ้าน; ทิเบต: Sicadêgu) เป็นพื้นที่อนุรักษ์ธรรมชาติทางตอนเหนือของมณฑลเสฉวน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน มีชื่อเสียงจากน้ำตกหลายระดับชั้นและทะเลสาบที่มีสีสันงดงาม และได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2535

สภาพทางภูมิศาสตร์[แก้]

จิ่วไจ้โกวตั้งอยู่ทางตอนใต้สุดของเทือกเขาหมินซาน ห่างจากเมืองเฉิงตูไปทางเหนือ 330 กิโลเมตร ถือเป็นส่วนหนึ่งของเทศมณฑล Nanping ในเขตปกครองตนเองชนชาติทิเบตและเชียงอาป้า ทางตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลเสฉวน ใกล้เขตแดนของมณฑลกานซู

บริเวณหุบเขามีพื้นที่อย่างน้อย 240 ตารางกิโลเมตร ขณะที่องค์กรด้านการอนุรักษ์บางแห่งกำหนดให้มีพื้นที่ 600-700 ตารางกิโลเมตร โดยมีพื้นที่กันชนเพิ่มเข้ามา 400 - 600 ตารางกิโลเมตร ระดับความสูงจะแตกต่างไปตามแต่ละพื้นที่ โดยมีทั้งพื้นที่มีมีความสูง 1,998 - 2,140 เมตร (ที่ปากทางเข้าหุบเขาซูเจิ้ง) ไปจนถึง 4,558 - 4,764 เมตร (บนภูเขา Ganzigonggai ที่ส่วนยอดสุดของหุบเขา Zechawa)

สภาพอากาศในหุบเขาจัดว่าหนาวเย็น ตลอดปีมีอุณหภูมิเฉลี่ย 7.2 °C เดือนมกราคม -1 °C และเดือนกรกฎาคม 17 °C ปริมาณน้ำฝนตลอดทั้งปี 661 มิลลิเมตร โดยเป็นปริมาณระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคมราว 80%

ข้อมูลทางประวัติศาสตร์[แก้]

พื้นที่อันห่างไกลแห่งนี้มีชาวทิเบตและเชียงตั้งรกรากอยู่มานานหลายศตวรรษ แต่ไม่ได้มีการสำรวจอย่างเป็นทางการจนกระทั่งปี พ.ศ. 2515 มีการทำธุรกิจตัดไม้อย่างหนักจนถึงปี พ.ศ. 2522 ซึ่งรัฐบาลจีนได้สั่งห้ามกิจการดังกล่าว และประกาศพื้นที่นี้เป็นอุทยานแห่งชาติในปี พ.ศ. 2525 จนกระทั่ง พ.ศ. 2527 จึงได้เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชม โดยการวางกฎระเบียบและสถานที่ต่างๆภายในอุทยานเสร็จสมบูรณ์ใน พ.ศ. 2531 และในปี พ.ศ. 2535 องค์การยูเนสโกได้ประกาศพื้นที่นี้ให้เป็นมรดกโลก และเป็น World Biosphere Reserve ใน พ.ศ. 2540

ตั้งแต่เริ่มเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชม จำนวนนักท่องเที่ยวได้เพิ่มมากขึ้นทุกปี โดยในปีเช่น

  • พ.ศ. 2527 มีนักท่องเที่ยวจำนวน 5,000 คน
  • พ.ศ. 2534 มีนักท่องเที่ยวจำนวน 170,000 คน
  • พ.ศ. 2538 มีนักท่องเที่ยวจำนวน 160,000 คน
  • พ.ศ. 2540 มีนักท่องเที่ยวจำนวน 200,000 คน

โดยเป็นชาวต่างชาติประมาณ 3,000 คน ปี

  • พ.ศ. 2545 มีนักท่องเที่ยวจำนวน 1,190,000 คน
  • พ.ศ. 2547 มีนักท่องเที่ยวเฉลี่ยวันละ 7,000 คน