หม่อมเจ้าวิมวาทิตย์ รพีพัฒน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หม่อมเจ้าวิมวาทิตย์ รพีพัฒน์
ปลัดกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476 – 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478
ก่อนหน้าหม่อมเจ้าสกลวรรณากร วรวรรณ
ถัดไปพลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (กระแส ประวาหะนาวิน)
ประสูติ25 ธันวาคม พ.ศ. 2445
สิ้นชีพิตักษัย29 ธันวาคม พ.ศ. 2501 (56 ปี)
พระราชทานเพลิง16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502
สุสานวัดเทพศิรินทราวาส
ชายาหม่อมเจ้าวินิตา กิติยากร
บุตรหม่อมราชวงศ์วิภากร รพีพัฒน์
ราชวงศ์จักรี
ราชสกุลรพีพัฒน์
พระบิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
พระมารดาหม่อมอ่อน รพีพัฒน์ ณ อยุธยา

มหาอำมาตย์ตรี[1] หม่อมเจ้าวิมวาทิตย์ รพีพัฒน์ (25 ธันวาคม พ.ศ. 2445 - 29 ธันวาคม พ.ศ. 2501) เป็นพระโอรสใพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ประสูติแต่หม่อมอ่อน รพีพัฒน์ ณ อยุธยา มีโสทรภราดาและโสทรภคินี 10 องค์ และมีขนิษฐาต่างพระมารดา 2 องค์

หม่อมเจ้าวิมวาทิตย์ ได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ ได้รับประกาศนียบัตรชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แล้วจึงได้เสด็จไปศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ โดยเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในปี พ.ศ. 2464 สำเร็จการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ 2 และสอบได้เป็นเนติบัณฑิตอังกฤษ

หม่อมเจ้าวิมวาทิตย์ ทรงรับราชการกระทรวงการคลัง ตำแหน่งอธิบดีกรมที่ดิน ปลัดทูลฉลองกระทรวงเกษตรพาณิชยการ[2] อธิบดีกรมสรรพากร อธิบดีกรมโลหกิจ (พ.ศ. 2475 - 2476) ปลัดกระทรวงพาณิชย์[3] (ดำรงตำแหน่ง เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2476) และในปี พ.ศ. 2490 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น อธิบดีกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง[4]

หม่อมเจ้าวิมวาทิตย์ ประทับอยู่ที่ตำหนักหลังใหญ่บริเวณปากซอยชิดลม ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลชิดลม[5] เป็นนักกีฬาแข่งม้า และเข้าสังคม เป็นสมาชิกวงลายคราม วงดนตรีในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

หม่อมเจ้าวิมวาทิตย์เสกสมรสกับหม่อมเจ้าวินิตา รพีพัฒน์ (ราชสกุลเดิม กิติยากร; พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ) มีโอรสคนเดียว คือ

เมื่อ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระผนวชเมื่อปี พ.ศ. 2499 หม่อมเจ้าวิมวาทิตย์ได้ผนวชตามเสด็จด้วย จากนั้นไม่นานหม่อมเจ้าวิมวาทิตย์ประชวรด้วยพระโรคมะเร็ง และสิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2501 สิริชันษา 56 ปี มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 ณ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร

พระยศ[แก้]

  • 20 ตุลาคม พ.ศ. 2468 รองอำมาตย์เอก[6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

พงศาวลี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานยศ, เล่ม ๔๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๕๔, ๖ กันยายน ๒๔๗๔
  2. ประกาศย้ายข้าราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 50 หน้า 335
  3. รายพระนามและรายนามปลัดกระทรวงพาณิชย์http://www.ops.moc.go.th/download/pdf/61-NameListOPS011061.pdf เก็บถาวร 2021-07-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. เรื่อง แต่งตั้งอธิบดีกรมศุลกากร ตอนที่ 60 เล่ม 64 ราชกิจจานุเบกษา 9 ธันวาคม 2490
  5. 5.0 5.1 กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
  6. พระราชทานยศ
  7. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตอนที่ 71 เล่ม 65 ราชกิจจานุเบกษา 7 ธันวาคม 2491
  8. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตอนที่ 25 เล่ม 67 ราชกิจจานุเบกษา 2 พฤษภาคม 2493
  9. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 46 หน้า 2925 วันที่ 1 ธันวาคม 2472