ผลต่างระหว่างรุ่นของ "90377 เซดนา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Boom1221 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Boom1221 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 74: บรรทัด 74:


ไมก์ บราวน์ และทีมงานของเขาสนับสนุนสมมติฐานที่ว่าเซดนาถูกเหวี่ยงมาให้อยู่ในวงโคจรปัจจุบันด้วยดาวฤกษ์จาก[[กระจุกดาวเปิด]]ของดวงอาทิตย์ ให้เหตุผลด้วยว่าจุดที่ไกลที่สุดของเซดนาที่ประมาณ 1,000 AU ซึ่งใกล้มากเมื่อเทียบกับจุดที่ไกลที่สุดของดาวหางคาบยาวทั้งหลาย ไม่ไกลเพียงพอที่จะได้รับผลกระทบจากดาวฤกษ์ที่โคจรผ่านมา ณ ตำแหน่งปัจจุบันจากดวงอาทิตย์ พวกเขาเสนอว่าวงโคจรของเซดนาสามารถถูกอธิบายได้ดีที่สุดด้วยการที่ดวงอาทิตย์กำเนิดในกระจุกดาวเปิดของดาวฤกษ์จำนวนมากที่ค่อย ๆ แยกจากกันไปตามเวลา<ref name="Mike"/><ref name="Brown2004AAS205"/><ref name="PlanetarySociety"/> สมมติฐานนั้นยังถูกทำให้ก้าวหน้าต่อโดยทั้ง[[อาเลสซานโดร มอร์บีเดลลี]] และ [[สกอตต์ เจย์ เคนยอน]]<ref name="Morbidelli2004"/><ref name="Kenyon2004"/> แบบจำลองคอมพิวเตอร์โดย[[ฮูลิโอ เอ. เฟร์นันเดซ]]และเอเดรียน บรูนีนี เสนอว่าการโคจรผ่านของดาวฤกษ์แรกเกิดหลายครั้งในกระจุกดาวเปิดแบบนั้นอาจทำให้วัตถุต่าง ๆ ถูกดึงจนมีวงโคจรแบบเซดนา<ref name="Mike"/> การศึกษาของมอร์บีเดลลีและ[[ฮาโรลด์ เอฟ. เลวิสัน|เลวิสัน]]เสนอว่าคำอธิบายที่เป็นไปได้มากที่สุดเกี่ยวกับวงโคจรของเซดนา คือ มันต้องเคยถูกรบกวนจากดาวฤกษ์อีกดวงหนึ่งในระยะใกล้ (ประมาณ 800 AU) ใน 100 ร้อยล้านปีแรกหรือมากกว่านั้นจากตอนที่ระบบสุริยะกำเนิดขึ้น<ref name="Morbidelli2004"/><ref name="challenge"/>
ไมก์ บราวน์ และทีมงานของเขาสนับสนุนสมมติฐานที่ว่าเซดนาถูกเหวี่ยงมาให้อยู่ในวงโคจรปัจจุบันด้วยดาวฤกษ์จาก[[กระจุกดาวเปิด]]ของดวงอาทิตย์ ให้เหตุผลด้วยว่าจุดที่ไกลที่สุดของเซดนาที่ประมาณ 1,000 AU ซึ่งใกล้มากเมื่อเทียบกับจุดที่ไกลที่สุดของดาวหางคาบยาวทั้งหลาย ไม่ไกลเพียงพอที่จะได้รับผลกระทบจากดาวฤกษ์ที่โคจรผ่านมา ณ ตำแหน่งปัจจุบันจากดวงอาทิตย์ พวกเขาเสนอว่าวงโคจรของเซดนาสามารถถูกอธิบายได้ดีที่สุดด้วยการที่ดวงอาทิตย์กำเนิดในกระจุกดาวเปิดของดาวฤกษ์จำนวนมากที่ค่อย ๆ แยกจากกันไปตามเวลา<ref name="Mike"/><ref name="Brown2004AAS205"/><ref name="PlanetarySociety"/> สมมติฐานนั้นยังถูกทำให้ก้าวหน้าต่อโดยทั้ง[[อาเลสซานโดร มอร์บีเดลลี]] และ [[สกอตต์ เจย์ เคนยอน]]<ref name="Morbidelli2004"/><ref name="Kenyon2004"/> แบบจำลองคอมพิวเตอร์โดย[[ฮูลิโอ เอ. เฟร์นันเดซ]]และเอเดรียน บรูนีนี เสนอว่าการโคจรผ่านของดาวฤกษ์แรกเกิดหลายครั้งในกระจุกดาวเปิดแบบนั้นอาจทำให้วัตถุต่าง ๆ ถูกดึงจนมีวงโคจรแบบเซดนา<ref name="Mike"/> การศึกษาของมอร์บีเดลลีและ[[ฮาโรลด์ เอฟ. เลวิสัน|เลวิสัน]]เสนอว่าคำอธิบายที่เป็นไปได้มากที่สุดเกี่ยวกับวงโคจรของเซดนา คือ มันต้องเคยถูกรบกวนจากดาวฤกษ์อีกดวงหนึ่งในระยะใกล้ (ประมาณ 800 AU) ใน 100 ร้อยล้านปีแรกหรือมากกว่านั้นจากตอนที่ระบบสุริยะกำเนิดขึ้น<ref name="Morbidelli2004"/><ref name="challenge"/>

{{TNO imagemap}}


สมมติฐาน[[วัตถุพ้นดาวเนปจูน]]นั้นก้าวหน้าไปในหลากหลายรูปแบบโดยนักดาราศาสตร์จำนวนหนึ่ง รวมทั้ง รอดนีย์ โกเมส และปาทรึก ลือกาวกา สมมติฐานรูปแบบหนึ่งมีการรบกวนของวงโคจรเซดนาโดยวัตถุสมมติขนาดเท่าดาวเคราะห์ในเมฆฮิลล์เข้ามาเกี่ยวข้อง แบบจำลองล่าสุดแสดงให้เห็นว่าลักษณะการโคจรของเซดนาสามารถอธิบายได้ด้วยการรบกวนจากวัตถุมวลเท่าดาวเนปจูน ณ ตำแหน่ง 2,000 AU หรือน้อยกว่า วัตถุมวลเท่าดาวพฤหัสบดี ณ ตำแหน่ง 5,000 AU หรือแม้กระทั่งวัตถุมวลเท่าโลก ณ ตำแหน่ง 1,000 AU<ref name="PlanetarySociety"/><ref name="Gomez2006"/> แบบจำลองคอมพิวเตอร์โดยปาทรึก ลือกาวกา เสนอว่าวงโคจรของเซดนาอาจเป็นผลมาจากวัตถุขนาดประมาณโลกที่ถูกเหวี่ยงออกมาข้างนอกโดยดาวเนปจูนในช่วงเริ่มแรกของระบบสุริยะ และขณะนี้ก็อยู่ในวงโคจรที่ถูกยืดออกไปในช่วงระหว่าง 80 และ 170 AU จากดวงอาทิตย์<ref name="lykawka"/> การสำรวจท้องฟ้าหลายครั้งของไมก์ บราวน์ตรวจไม่พบวัตถุขนาดเท่าโลกใด ๆ ในช่วงระยะทางถึงประมาณ 100 AU เป็นไปได้ว่าวัตถุนั้นอาจหลุดออกไปนอกระบบสุริยะหลังจากการก่อตัวของเมฆออร์ตชั้นใน<ref name="sisters"/>
สมมติฐาน[[วัตถุพ้นดาวเนปจูน]]นั้นก้าวหน้าไปในหลากหลายรูปแบบโดยนักดาราศาสตร์จำนวนหนึ่ง รวมทั้ง รอดนีย์ โกเมส และปาทรึก ลือกาวกา สมมติฐานรูปแบบหนึ่งมีการรบกวนของวงโคจรเซดนาโดยวัตถุสมมติขนาดเท่าดาวเคราะห์ในเมฆฮิลล์เข้ามาเกี่ยวข้อง แบบจำลองล่าสุดแสดงให้เห็นว่าลักษณะการโคจรของเซดนาสามารถอธิบายได้ด้วยการรบกวนจากวัตถุมวลเท่าดาวเนปจูน ณ ตำแหน่ง 2,000 AU หรือน้อยกว่า วัตถุมวลเท่าดาวพฤหัสบดี ณ ตำแหน่ง 5,000 AU หรือแม้กระทั่งวัตถุมวลเท่าโลก ณ ตำแหน่ง 1,000 AU<ref name="PlanetarySociety"/><ref name="Gomez2006"/> แบบจำลองคอมพิวเตอร์โดยปาทรึก ลือกาวกา เสนอว่าวงโคจรของเซดนาอาจเป็นผลมาจากวัตถุขนาดประมาณโลกที่ถูกเหวี่ยงออกมาข้างนอกโดยดาวเนปจูนในช่วงเริ่มแรกของระบบสุริยะ และขณะนี้ก็อยู่ในวงโคจรที่ถูกยืดออกไปในช่วงระหว่าง 80 และ 170 AU จากดวงอาทิตย์<ref name="lykawka"/> การสำรวจท้องฟ้าหลายครั้งของไมก์ บราวน์ตรวจไม่พบวัตถุขนาดเท่าโลกใด ๆ ในช่วงระยะทางถึงประมาณ 100 AU เป็นไปได้ว่าวัตถุนั้นอาจหลุดออกไปนอกระบบสุริยะหลังจากการก่อตัวของเมฆออร์ตชั้นใน<ref name="sisters"/>


คอนสแตนติน บาตีกิน นักวิจัยคัลเทก และไมก์ บราวน์ได้ตั้งสมมติฐานไว้ถึงการมีตัวตนของดาวเคราะห์ยักษ์ในระบบสุริยะชั้นนอก มีชื่อเล่นว่า [[ดาวเคราะห์เก้า]] ดาวเคราะห์ดวงนี้อาจมีมวลมากกว่าโลก 10 เท่า มีวงโคจรที่เยื้องมาก ๆ และมีระยะทางเฉลี่ยจากดวงอาทิตย์ประมาณ 20 เท่าของดาวเนปจูน (ซึ่งโคจรที่ระยะทางเฉลี่ยที่ 30.1 หน่วยดาราศาสตร์ (4.50 × 10<sup>9</sup> กิโลเมตร)) คาบการโคจรอาจอยู่ที่ 10,000 ถึง 20,000 ปี การมีตัวตนของดาวเคราะห์ดวงนี้ถูกสมมติขึ้นโดยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และแบบจำลองคอมพิวเตอร์ แต่มันยังไม่ถูกสังเกตได้โดยตรง มันอาจอธิบายลักษณะวงโคจรของกลุ่มของวัตถุที่รวมไปถึงเซดนา<ref>{{cite journal|last1=Batygin|first1=Konstantin|last2=Brown|first2=Michael E.|title=Evidence for a Distant Giant Planet in the Solar System|journal=The Astronomical Journal|date=2016|volume=151|issue=2|page=22|doi=10.3847/0004-6256/151/2/22|arxiv=1601.05438|bibcode=2016AJ....151...22B}}</ref><ref>{{cite web|last=Fesenmaier|first=Kimm|title=Caltech Researchers Find Evidence of a Real Ninth Planet|url=http://www.caltech.edu/news/caltech-researchers-find-evidence-real-ninth-planet-49523|accessdate=13 September 2017}}</ref>
{{โครงส่วน}}

มันถูกเสนอว่าวงโคจรของเซดนานั้นเป็นผลมาจากอิทธิพลของดาวคู่ขนาดใหญ่ของดวงอาทิตย์ อยู่ห่างออกไปหลายพันหน่วยดาราศาสตร์ ดาวคู่สมมติหนึ่ง คือ [[เนเมซิส (ดาวฤกษ์สมมติ)|เนเมซิส]] [[ระบบดาวคู่|ดาวคู่]]มืดของดวงอาทิตย์ที่ถูกเสนอว่ามีส่วนเกี่ยวข้องที่ทำให้มีการพุ่งชนของดาวหางอันทำให้เกิด[[การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่]]บนโลก ร่องรอยการพุ่งชนบนดวงจันทร์ และองค์ประกอบวงโคจรที่คล้าย ๆ กันของดาวหางคาบยาวจำนวนมาก<ref name="Gomez2006"/><ref name="Cruttenden"/> ไม่มีหลักฐานโดยตรงเกี่ยวกับเนเมซิสเลย และหลักฐานหลายอย่าง เช่น จำนวนหลุมอุกกาบาต ทำให้การมีตัวตนของดาวดวงนั้นกลายเป็นข้อกังขา<ref name="Hills1984" /><ref name="Planck-NemesisMyth"/> [[จอห์น เจ. มัลทีส]] และ[[ดาเนียล พี. วิทไมร์]] ผู้ที่เสนอความเป็นไปได้ของดาวคู่ดวงอาทิตย์มาอย่างยาวนาน ได้เสนอว่าวัตถุมวล 5 เท่าของดาวพฤหัสบดีที่อยู่ออกไปประมาณ 7,850 AU จากดวงอาทิตย์ อาจทำให้วัตถุหนึ่งมีวงโคจรแบบเซดนา<ref name="Matese2006"/>

มอร์บีเดลลีและ[[สกอตต์ เจย์ เคนยอน|เคนยอน]]ยังเสนออีกว่าเซดนาอาจไม่ได้กำเนิดในระบบสุริยะ แต่ถูกจับโดยดวงอาทิตย์จาก[[ระบบดาวเคราะห์]]อื่นที่โคจรผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบของ[[ดาวแคระน้ำตาล]]ที่มีมวล 1/20 เท่า[[มวลดวงอาทิตย์|ของดวงอาทิตย์]]<ref name="Morbidelli2004" /><ref name="Kenyon2004" /><ref>{{cite web|url=http://www.scientificamerican.com/article/sun-accused-of-stealing-planetary-objects-from-another-star/|title=Sun Accused of Stealing Planetary Objects from Another Star|author=Ken Croswell|work=Scientific American}}</ref><ref>{{cite web|url=https://www.newscientist.com/article/dn27757-grand-theft-sedna-how-the-sun-might-have-stolen-a-mini-planet/|title=Grand Theft Sedna: how the sun might have stolen a mini-planet|author=Govert Schilling|work=New Scientist}}</ref>


== ประชากร ==
== ประชากร ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:41, 28 กุมภาพันธ์ 2562

เซดนา

เซดนาถ่ายจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล
การค้นพบ [1]
ค้นพบโดย:ไมเคิล บราวน์
แชด ทรูจีโล
ดาวิด ราบิโนวิตซ์
ค้นพบเมื่อ:14 พฤศจิกายน 2546
ชื่อตามระบบ MPC:(90377) เซดนา
ชื่ออื่น ๆ:2003 VB12
ลักษณะของวงโคจร[2]
ต้นยุคอ้างอิง 13 มกราคม 2559 (JD 2457400.5)
ระยะจุดไกล
ดวงอาทิตย์ที่สุด
:
≈ 936 AU (Q)[3]
1.4×1011 km
5.4 วันแสง
ระยะจุดใกล้
ดวงอาทิตย์ที่สุด
:
76.0917±0.0087 AU (q)
1.1423×1010 km
กึ่งแกนเอก:506.8 AU[4][3]
7.573×1010 km
ความเยื้องศูนย์กลาง:0.85491±0.00029
คาบดาราคติ:≈ 11400 yr[3][a]
อัตราเร็วเฉลี่ย
ในวงโคจร
:
1.04 กิโลเมตร/วินาที
มุมกวาดเฉลี่ย:358.163°±0.0054°
ความเอียง:11.92872° (i)
ลองจิจูด
ของจุดโหนดขึ้น
:
144.546° (Ω)
มุมของจุด
ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด
:
311.29°±0.014° (ω)
ลักษณะทางกายภาพ
มิติ:995±80 km
(แบบจำลองเทอร์โมฟิสิกส์)
1060±100 km
(std. thermal model)[7]
คาบการหมุน
รอบตัวเอง
:
10.273 ชม. (0.4280 วัน)
อัตราส่วนสะท้อน:0.32±0.06[7]
อุณหภูมิ:≈ 12 K (see note)
ชนิดสเปกตรัม:(แดง) B−V=1.24; V−R=0.78[8]
โชติมาตรปรากฏ:21.1[9]
20.5 (จุดที่ใกล้ที่สุด)[10]
โชติมาตรสัมบูรณ์:1.83±0.05[7]
1.6[2]

90377 เซดนา (อังกฤษ: Sedna, ออกเสียง: /ˈsɛdnə/) เป็นดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ในบริเวณส่วนนอกของระบบสุริยะ ในปี พ.ศ. 2558 เซดนาอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 86 หน่วยดาราศาสตร์ (1.29 × 1010 กิโลเมตร) ซึ่งอยู่ห่างออกไปมากกว่าดาวเนปจูนเกือบสามเท่า กระบวนการสเปกโทรสโกปีได้ให้ผลออกมาว่าพื้นผิวของเซดนามีลักษณะคล้ายกับวัตถุพ้นดาวเนปจูนอื่นๆ บางดวง โดยประกอบด้วยน้ำ มีเทน และไนโตรเจนแข็งกับโทลีนเป็นส่วนใหญ่ ผิวของดาวเป็นหนึ่งในผิวดาวที่มีสีแดงมากที่สุด เซดนาเป็นวัตถุที่เหมือนจะเป็นดาวเคราะห์แคระ ท่ามกลางบรรดาวัตถุพ้นดาวเนปจูนทั้งแปดที่ใหญ่ที่สุด เซดนาเป็นวัตถุเดียวที่ไม่พบดาวบริวาร[11][12]

วงโคจรส่วนใหญ่ของเซดนาอยู่ไกลออกจากดวงอาทิตย์ไปมากกว่าตำแหน่งปัจจุบัน ซึ่งคาดว่าตำแหน่งที่ไกลจากดวงอาทิตย์มากที่สุดจะอยู่ห่างออกไปถึง 937 หน่วยดาราศาสตร์[3] (31 เท่าของระยะของดาวเนปจูน) ทำให้มันเป็นวัตถุหนึ่งที่ไกลที่สุดในระบบสุริยะ นอกเหนือจากดาวหางคาบยาว[b][c]

เซดนามีวงโคจรที่ยาวและยืดเป็นพิเศษ ทำให้มันต้องใช้ระยะเวลากว่า 11,400 ปีถึงจะโคจรครบหนึ่งรอบ และที่ตำแหน่งใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด คือ 76 หน่วยดาราศาสตร์ จะช่วยให้เราสามารถศึกษาต้นกำเนิดของมันได้ ศูนย์ดาวเคราะห์น้อยได้จัดเซดนาให้อยู่ในแถบหินกระจาย ซึ่งเป็นกลุ่มของวัตถุที่มีวงโคจรยืดยาวออกไปไกลเนื่องด้วยแรงโน้มถ่วงจากดาวเนปจูน ถึงกระนั้น การจัดให้เซดนาอยู่ในแถบหินกระจายก็ยังเป็นข้อถกเถียง เพราะตำแหน่งที่ใกล้ที่สุดของเซดนา ก็ยังคงอยู่ห่างจากดาวเนปจูนออกไปมากเกินกว่าที่จะมีผลกระทบต่อกันได้ ทำให้นักดาราศาสตร์บางคนเชื่อว่าเซดนาเป็นวัตถุหนึ่งในเมฆออร์ตชั้นใน แต่บางคนก็เชื่อว่าเซดนามีวงโคจรที่ยืดยาวแบบนี้เนื่องด้วยดาวฤกษ์ที่เฉียดผ่านเข้ามาใกล้ บางทีอาจเป็นหนึ่งในดาวของกระจุกดาวของดวงอาทิตย์ตอนเกิด (กระจุกดาวเปิด) หรือมันอาจถูกจับยึดโดยระบบดาวเคราะห์อื่น สมมติฐานอีกอย่างหนึ่งเสนอว่า วงโคจรของมันได้รับผลกระทบจากดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ดวงหนึ่งที่พ้นวงโคจรดาวเนปจูน[14]

ไมเคิล บราวน์ นักดาราศาสตร์ผู้ค้นพบเซดนาและดาวเคราะห์แคระอีริส เฮาเมอา และมาคีมาคี คิดว่าเซดนาเป็นวัตถุพ้นดาวเนปจูนในปัจจุบันที่สำคัญที่สุดในทางวิทยาศาสตร์ เพราะว่าการทำความเข้าใจในวงโคจรที่ไม่เสถียรของมัน จะทำให้เราเข้าใจการวิวัฒนาการของระบบสุริยะในช่วงแรกมากขึ้น[15][16]

ประวัติ

การค้นพบ

เซดนา (หรือในชื่อเก่า คือ 2003 VB12) ถูกค้นพบโดย ไมเคิล อี. บราวน์, แชด ทรูคีโล และ เดวิด แรบินโนวิตซ์ เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 การค้นพบเป็นส่วนหนึ่งของการสำรวจซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2544 ด้วยกล้องโทรทรรศน์ซามูเอลออสชิน ที่หอดูดาวพาโลมาร์ ใกล้กับแซนดีเอโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ใช้กล้องความชัด 160 เมกะพิกเซลของเยล ในวันนั้นวัตถุถูกตรวจพบว่าเคลื่อนที่ไปได้ 4.6 ลิปดา โดยใช้เวลา 3.1 ชั่วโมงเมื่อเทียบกับดาวฤกษ์ ซึ่งทำให้ประมาณได้ว่าวัตถุนั้นอยู่ห่างออกไปประมาณ 100 หน่วยดาราศาสตร์ การสำรวจต่อมาโดยใช้กล้องโทรทรรศน์สมาร์ทที่หอดูดาวนานาชาติ-อเมริกันเซร์โรโตโลโล ในประเทศชิลี พร้อมกับใช้กล้องโทรทรรศน์จากฮาวาย พบว่าวัตถุนั้นเคลื่อนที่ไปตามวงโคจรที่เยื้องมาก ภายหลังวัตถุนั้นถูกกลับมาตรวจสอบอีกครั้งผ่านภาพเก่าๆ ที่ถูกถ่ายได้โดยกล้องโทรทรรศน์ซามูเอลออสชิน และภาพจากสมาคมการตามหาดาวเคราะห์น้อยใกล้โลก ตำแหน่งในอดีตจากภาพเหล่านี้ ช่วยให้คำนวณหาวงโคจรของดาวดวงนี้ได้ดียิ่งขึ้น[14]

การตั้งชื่อ

ไมก์ บราวน์ ได้เสนอชื่อเซดนา ซึ่งตั้งตามเทพีแห่งท้องทะเลของชาวอินุต ผู้ซึ่งอาศัยอยู่ ณ ก้นของมหาสมุทรอาร์กติก[17] เนื่องจากวัตถุที่ค้นพบใหม่นั้นมีอุณหภูมิพื้นผิวต่ำมาก ไมเคิล บราวน์ยังเสนอต่อศูนย์ดาวเคราะห์น้อยของสหพันธ์ดาราศาสตร์สากลว่าวัตถุใดๆที่จะถูกค้นพบในอนาคต ถ้าอยู่ในบริเวณเดียวกับเซดนา ควรตั้งชื่อตามสิ่งที่อยู่ในเทพปกรณัมอาร์กติก[17] ทีมผู้ค้นพบได้ตีพิมพ์ชื่อเซดนา ก่อนที่มันจะได้รับชื่ออย่างเป็นทางการเสียอีก[18] ไบรอัน มาร์สเดน ผู้อำนวยการศูนย์ดาวเคราะห์น้อย กล่าวว่าการทำเช่นนี้เป็นการละเมิดพิธีสาร และอาจมีนักดาราศาสตร์ของสหพันธ์ดาราศาสตร์สากลโต้แย้งได้[19] ถึงกระนั้น ไม่มีข้อคัดค้านใดๆ ต่อชื่อนี้เลย และไม่มีชื่ออื่นที่ถูกเสนอขึ้นมา ในที่สุดการประชุมของคณะกรรมการร่างชื่อวัตถุขนาดเล็กก็ยอมรับชื่อ "เซดนา" ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2547[20] และยังถือว่า ในกรณีที่น่าสนใจเดียวกันนี้ ยังอาจอนุญาตให้มีการตั้งชื่อก่อนที่จะได้รับชื่ออย่างเป็นทางการ[18]

วงโคจรและการโคจร

The orbit of Sedna lies well beyond these objects, and extends many times their distances from the Sun
วงโคจรของเซดนาเมื่อเทียบกับวงโคจรของวัตถุระบบสุริยะชั้นนอก (ภาพจากด้านบนและด้านข้าง วงโคจรดาวพลูโตเป็นสีม่วงและวงโคจรดาวเนปจูนเป็นสีน้ำเงิน)

เซดนาเป็นวัตถุที่มีคาบการโคจรที่ยาวที่สุดในระบบสุริยะ[c] ซึ่งคำนวณแล้ว อยู่ที่ 11,400 ปี[3][a] วงโคจรของมันมีความเยื้องสูงมาก ด้วยระยะห่างจากดวงอาทิตย์ไกลที่สุดอยู่ที่ 937 หน่วยดาราศาสตร์[3] และใกล้ที่สุดอยู่ที่ 76 หน่วยดาราศาสตร์ โดยตำแหน่งที่ใกล้ที่สุดของเซดนา อยู่ไกลกว่าของวัตถุอื่นๆในระบบสุริยะ จนกระทั่งการค้นพบ 2012 VP113[21][22] เมื่อเซดนาถูกค้นพบนั้น มันอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 89.6 หน่วยดาราศาสตร์ และกำลังเคลื่อนที่เข้าใกล้จุดใกล้ดวงอาทิตย์ และกลายเป็นวัตถุที่ไกลที่สุดในระบบสุริยะเท่าที่สำรวจพบ ภายหลัง อีริสได้ถูกตรวจพบโดยวิธีเดียวกันที่ระยะห่าง 97 หน่วยดาราศาสตร์จากดวงอาทิตย์ มีเพียงดาวหางคาบยาวบางดวงเท่านั้นที่มีคาบโคจรมากกว่าของเซดนา และยากต่อการค้นพบมาก เว้นแต่มันจะเคลื่อนเข้ามาในระบบสุริยะชั้นใน ถึงแม้ว่าเซดนาจะอยู่ ณ ตำแหน่งที่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในช่วงกลางปี พ.ศ. 2619[10][d] ดวงอาทิตย์ที่ปรากฏบนเซดนานั้น ก็ยังคงมีขนาดเท่าปลายเข็ม ซึ่งสว่างกว่าดวงจันทร์ตอนเต็มดวง 100 เท่า (เมื่อเทียบกับโลกแล้ว ดวงอาทิตย์สว่างกว่าตอนดวงจันทร์เต็มดวง 400,000 เท่า) และดวงอาทิตย์ยังอยู่ไกลเกินกว่าที่จะเห็นรูปร่างได้[23]

เมื่อค้นพบครั้งแรกนั้น เซดนาถูกคาดว่าจะมีคาบหมุนรอบตัวเองที่ยาวมากๆ (20 ถึง 50 วัน)[23] เนื่องจากมันอาจถูกดึงให้หมุนช้าลงโดยระบบดาวเคราะห์บางระบบที่อยู่บริเวณนั้น เช่นเดียวกับ แครอน ดาวบริวารของดาวพลูโต[17] การสำรวจโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลในปี พ.ศ. 2547 ไม่พบอะไรเลย[24][e] และจากผลการสำรวจจากกล้องโทรทรรศน์เอ็มเอ็มที ก็ทำให้คำนวณได้ว่า เซดนาหมุนโดยใช้ระยะเวลาสั้นกว่าที่คาดไว้มาก ประมาณ 10 ชั่วโมง ซึ่งค่อนข้างปกติสำหรับดาวขนาดอย่างเซดนา[26]

ลักษณะทางกายภาพ

เซดนามีความส่องสว่างสัมบูรณ์อยู่ที่ 1.8 โดยประมาณ และถูกประมาณว่าจะมีค่าความสะท้อนแสงอยู่ที่ประมาณ 0.32 จึงให้มันมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1,000 กิโลเมตร[7] ในช่วงเวลาที่มันถูกค้นพบนั้น มันถูกจัดให้เป็นวัตถุที่ส่องสว่างภายในมากที่สุด นับจากดาวพลูโตในปี พ.ศ. 2473 ในปี พ.ศ. 2547 เหล่าผู้ค้นพบได้วางค่าสูงสุดของเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ 1,800 กิโลเมตร สำหรับดาวดวงนี้[28] แต่ในปี พ.ศ. 2550 มันก็ลดลงมาอยู่ที่ 1,600 กิโลเมตร หลักจากที่ได้มีการสังเกตผ่านกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์[29] ในปี พ.ศ. 2555 การวัดจากหอดูดาวอวกาศเฮอร์เชลเสนอว่าเซดนามีเส้นผ่านศูนย์กลาง 995 ± 80 กิโลเมตร ซึ่งจะทำให้มันมีขนาดเล็กกว่าแครอน ดาวบริวารของดาวพลูโต[7] และเนื่องจากเซดนาไม่มีดาวบริวาร การประมาณมวลจึงเป็นไปไม่ได้ นอกจากจะส่งยานอวกาศไปสำรวจที่นั่น ปัจจุบันเซดนาเป็นวัตถุพ้นดาวเนปจูนที่ใหญ่ที่สุดที่ไม่มีดาวบริวาร[12] มีความพยายามในการหาดาวบริวารนั้นเพียงครั้งเดียว[30][31] และคาดการณ์กันว่ามีโอกาสที่ไม่พบดาวบริวารนั้นอยู่ 25%[11][32]

การสังเกตจากกล้องโทรทรรศน์ SMARTS แสดงให้เห็นว่าในระยะแสงที่มองเห็นได้ เซดนาเป็นหนึ่งในวัตถุที่สีแดงที่สุดในระบบสุริยะ ใกล้เคียงกับดาวอังคาร[17] แชด ทรูคีโย และเพื่อนร่วมงานของเขา ได้เสนอว่าสีแดงเข้มของเซดนานั้น เกิดจากผิวของดาวนั้นปกคลุมไปด้วยตะกอนไฮโดรคาร์บอน หรือโทลิน ซึ่งเกิดจากสารประกอบอินทรีย์ที่เล็กกว่าที่สัมผัสกับรังสีอัลตราไวโอเล็ตยาวนาน[33] ผิวของเซดนาเหมือนกันทั้งสีและสเปกตรัมทั่วทั้งดาว ซึ่งอาจเกิดจากการที่เซดนาไม่ค่อยปะทะกับวัตถุอื่นใด ไม่เหมือนกับวัตถุอื่นๆ ที่ใกล้ดวงอาทิตย์กว่า ที่มักจะปะทะกับวัตถุอื่น ซึ่งยังอธิบายถึงแถบน้ำแข็งสว่างบน 8405 แอสโบลัส[33] เซดนาและวัตถุที่อยู่ไกลมากสองชิ้น คือ 2006 SQ372 และ (87269) 2000 OO67 มีสีเดียวกันกับวัตถุดั้งเดิมในแถบไคเปอร์ชั้นนอก และเซนทอร์ 5145 โฟบัส คาดว่าจะเกิดขึ้นในบริเวณเดียวกัน[34]

ทรูคีโลและเพื่อนร่วมงานยังได้วางค่าสูงสุดขององค์ประกอบพื้นผิวของเซดนาอยู่ที่มีเทนแข็ง 60% และน้ำแข็ง 70%[33] การมีอยู่ของมีเทนแข็งยังช่วยสนับสนุนถึงการมีอยู่ของโทลินบนผิวเซดนา โดยเพราะว่ามันเกิดจากการฉายรังสีของมีเทน[35] บารุชชีและเพื่อนร่วมงานของเขาได้เปรียบเทียบสเปกตรัมของเซดนากับไทรทัน และตรวจพบแถบดูดซึมอย่างอ่อนของมีเทนและไนโตรเจนแข็ง จากการสังเกตเหล่านี้ พวกเขาจึงได้เสนอองค์ประกอบผิวดาวเป็น 24% โทลินประเภทไทรทัน 7% คาร์บอนอสัณฐาน 10% ไนโตรเจน 26% เมทานอล และ33% มีเทน[36] การตรวจพบมีเทนและน้ำแข็งถูกยืนยันในปี พ.ศ. 2549 โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์[35] การมีอยู่ของไนโตรเจนบนผิวดาว ทำให้มีการเสนอว่าในช่วงเวลาสั้นๆ เซดนามีชั้นบรรยากาศบางๆ ในช่วงกว่า 200 ปีใกล้กับจุดปลายวงโคจร อุณหภูมิสูงสุดบนเซดนาควรจะถึง 35.6 เคลวิน (-237.6 องศาเซลเซียส) กรเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิระหว่างไนโตรเจนแข็งระยะแอลฟากับระยะบีตาบนไทรทัน ที่ 38 เคลวิน ความดันไอของ N2 ควรจะอยู่ที่ 14 ไมโครบาร์ (1.4 ปาสกาล)[36] ความชันสเปกตรัลสีแดงเข้มของเซดนาแสดงให้เห็นถึงการมีอยู่ของสารประกอบอินทรีย์จำนวนมากบนผิวดาว และแถบการดูดกลืนมีเทนจาง ๆ บ่งบอกว่ามีเทนบนผิวดาวนั้นมีอายุมาก นี่หมายความว่าเซดนานั้นหนาวเกินกว่าที่มีเทนจะระเหยไปจากผิวดาวและตกกลับมาในรูปของหิมะ ซึ่งเกิดขึ้นบนไทรตันและอาจจะบนดาวพลูโตด้วย[35]

แบบจำลองของความร้อนภายในดาวด้วยการสลายตัวกัมมันตรังสีเสนอว่า เซดนาอาจจะมีน้ำเป็นมหาสมุทรใต้ผิวดาว[37]

ต้นกำเนิด

ในรายงานการค้นพบเซดนา ไมก์ บราวน์ และเพื่อนร่วมงานของเขา บรรยายไว้ว่าเซดนาเป็นวัตถุแรกที่อยู่ในบริเวณเมฆออร์ต ซึ่งเป็นเมฆสมมติของดาวหางที่เชื่อกันว่ามีอยู่ไปไกลถึงเกือบหนึ่งปีแสงจากดวงอาทิตย์ พวกเขาสังเกตว่าจุดใกล้ที่สุดของเซดนา (76 AU) นั้นไกลเกินกว่าที่จะถูกกระจายโดยอิทธิพลความโน้มถ่วงจากดาวเนปจูน แตกต่างจากวัตถุแถบหินกระจาย เช่น อีริส[14] เนื่องจากเซดนาอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์เกินกว่าที่คาดไว้สำหรับวัตถุเมฆออร์ต ประกอบกับมีวงโคจรที่เอียงในระนาบใกล้เคียงกับวัตถุอื่นในแถบไคเปอร์และดาวเคราะห์ พวกเขาจึงบรรยายวัตถุค้นพบใหม่ชิ้นนี้เป็น "วัตถุเมฆออร์ตชั้นใน" ซึ่งเริ่มตั้งแต่บริเวณแถบหินกระจายในแถบไคเปอร์ไปจนถึงบริเวณที่เป็นทรงกลมของเมฆออร์ต[38][39]

ถ้าเซดนากำเนิดขึ้นในตำแหน่งปัจจุบัน จานดาวเคราะห์ก่อนเกิดดั้งเดิมของดวงอาทิตย์ต้องแผ่ออกไปไกลถึง 75 AU ในอวกาศ[40] วงโคจรดั้งเดิมของเซดนาก็ต้องเกือบเป็นวงกลมเช่นกัน มิเช่นนั้น การกำเนิดโดยการชนกันจากวัตถุขนาดเล็กกว่าจะเป็นไปไม่ได้ เพราะว่าความเร็วสัมพัทธ์ที่มากระหว่างชิ้นส่วนเล็ก ๆ จะถูกรบกวนเกินไป ดังนั้น เซดนาจะต้องถูกเหวี่ยงมายังวงโคจรปัจจุบันด้วยแรงโน้มถ่วงของวัตถุบางอย่าง[41] ในรายงานแรกของพวกเขานั้น บราวน์ ราบิโนวิตซ์ และเพื่อนร่วมงาน เสนอว่ามีสามตัวเลือกที่เป็นไปได้ที่จะเป็นวัตถุที่มารบกวนนี้ ได้แก่ ดาวเคราะห์ที่ยังไม่ค้นพบที่อยู่ถัดออกไปจากแถบไคเปอร์ ดาวฤกษ์ที่โคจรผ่านมา หรือหนึ่งในดาวฤกษ์แรกเกิดที่ตรึกอยู่กับดวงอาทิตย์ในกระจุกดาวฤกษ์ครั้งที่ดวงอาทิตย์กำเนิดมา[14]

ไมก์ บราวน์ และทีมงานของเขาสนับสนุนสมมติฐานที่ว่าเซดนาถูกเหวี่ยงมาให้อยู่ในวงโคจรปัจจุบันด้วยดาวฤกษ์จากกระจุกดาวเปิดของดวงอาทิตย์ ให้เหตุผลด้วยว่าจุดที่ไกลที่สุดของเซดนาที่ประมาณ 1,000 AU ซึ่งใกล้มากเมื่อเทียบกับจุดที่ไกลที่สุดของดาวหางคาบยาวทั้งหลาย ไม่ไกลเพียงพอที่จะได้รับผลกระทบจากดาวฤกษ์ที่โคจรผ่านมา ณ ตำแหน่งปัจจุบันจากดวงอาทิตย์ พวกเขาเสนอว่าวงโคจรของเซดนาสามารถถูกอธิบายได้ดีที่สุดด้วยการที่ดวงอาทิตย์กำเนิดในกระจุกดาวเปิดของดาวฤกษ์จำนวนมากที่ค่อย ๆ แยกจากกันไปตามเวลา[14][42][43] สมมติฐานนั้นยังถูกทำให้ก้าวหน้าต่อโดยทั้งอาเลสซานโดร มอร์บีเดลลี และ สกอตต์ เจย์ เคนยอน[44][45] แบบจำลองคอมพิวเตอร์โดยฮูลิโอ เอ. เฟร์นันเดซและเอเดรียน บรูนีนี เสนอว่าการโคจรผ่านของดาวฤกษ์แรกเกิดหลายครั้งในกระจุกดาวเปิดแบบนั้นอาจทำให้วัตถุต่าง ๆ ถูกดึงจนมีวงโคจรแบบเซดนา[14] การศึกษาของมอร์บีเดลลีและเลวิสันเสนอว่าคำอธิบายที่เป็นไปได้มากที่สุดเกี่ยวกับวงโคจรของเซดนา คือ มันต้องเคยถูกรบกวนจากดาวฤกษ์อีกดวงหนึ่งในระยะใกล้ (ประมาณ 800 AU) ใน 100 ร้อยล้านปีแรกหรือมากกว่านั้นจากตอนที่ระบบสุริยะกำเนิดขึ้น[44][46]

โลกดิสโนเมียดิสโนเมียอีริสอีริสแครอนแครอนนิกซ์นิกซ์เคอร์เบอรอสเคอร์เบอรอสสติกซ์สติกซ์ไฮดราดาวพลูโตดาวพลูโตมาคีมาคีมาคีมาคีนามากานามากาฮีอีอากาฮีอีอากาเฮาเมอาเฮาเมอาเซดนาเซดนา2007 OR102007 OR10เวย์วอตเวย์วอตควาอัวร์ควาอัวร์แวนธ์แวนธ์ออร์คัสออร์คัสไฟล์:EightTNOs-th.png
ภาพการเปรียบเทียบ ดาวพลูโต, อีริส, มาคีมาคี, เฮาเมอา, เซดนา, 2007 OR10, ควาอัวร์, ออร์คัส, และ โลก.
()

สมมติฐานวัตถุพ้นดาวเนปจูนนั้นก้าวหน้าไปในหลากหลายรูปแบบโดยนักดาราศาสตร์จำนวนหนึ่ง รวมทั้ง รอดนีย์ โกเมส และปาทรึก ลือกาวกา สมมติฐานรูปแบบหนึ่งมีการรบกวนของวงโคจรเซดนาโดยวัตถุสมมติขนาดเท่าดาวเคราะห์ในเมฆฮิลล์เข้ามาเกี่ยวข้อง แบบจำลองล่าสุดแสดงให้เห็นว่าลักษณะการโคจรของเซดนาสามารถอธิบายได้ด้วยการรบกวนจากวัตถุมวลเท่าดาวเนปจูน ณ ตำแหน่ง 2,000 AU หรือน้อยกว่า วัตถุมวลเท่าดาวพฤหัสบดี ณ ตำแหน่ง 5,000 AU หรือแม้กระทั่งวัตถุมวลเท่าโลก ณ ตำแหน่ง 1,000 AU[43][47] แบบจำลองคอมพิวเตอร์โดยปาทรึก ลือกาวกา เสนอว่าวงโคจรของเซดนาอาจเป็นผลมาจากวัตถุขนาดประมาณโลกที่ถูกเหวี่ยงออกมาข้างนอกโดยดาวเนปจูนในช่วงเริ่มแรกของระบบสุริยะ และขณะนี้ก็อยู่ในวงโคจรที่ถูกยืดออกไปในช่วงระหว่าง 80 และ 170 AU จากดวงอาทิตย์[48] การสำรวจท้องฟ้าหลายครั้งของไมก์ บราวน์ตรวจไม่พบวัตถุขนาดเท่าโลกใด ๆ ในช่วงระยะทางถึงประมาณ 100 AU เป็นไปได้ว่าวัตถุนั้นอาจหลุดออกไปนอกระบบสุริยะหลังจากการก่อตัวของเมฆออร์ตชั้นใน[49]

คอนสแตนติน บาตีกิน นักวิจัยคัลเทก และไมก์ บราวน์ได้ตั้งสมมติฐานไว้ถึงการมีตัวตนของดาวเคราะห์ยักษ์ในระบบสุริยะชั้นนอก มีชื่อเล่นว่า ดาวเคราะห์เก้า ดาวเคราะห์ดวงนี้อาจมีมวลมากกว่าโลก 10 เท่า มีวงโคจรที่เยื้องมาก ๆ และมีระยะทางเฉลี่ยจากดวงอาทิตย์ประมาณ 20 เท่าของดาวเนปจูน (ซึ่งโคจรที่ระยะทางเฉลี่ยที่ 30.1 หน่วยดาราศาสตร์ (4.50 × 109 กิโลเมตร)) คาบการโคจรอาจอยู่ที่ 10,000 ถึง 20,000 ปี การมีตัวตนของดาวเคราะห์ดวงนี้ถูกสมมติขึ้นโดยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และแบบจำลองคอมพิวเตอร์ แต่มันยังไม่ถูกสังเกตได้โดยตรง มันอาจอธิบายลักษณะวงโคจรของกลุ่มของวัตถุที่รวมไปถึงเซดนา[50][51]

มันถูกเสนอว่าวงโคจรของเซดนานั้นเป็นผลมาจากอิทธิพลของดาวคู่ขนาดใหญ่ของดวงอาทิตย์ อยู่ห่างออกไปหลายพันหน่วยดาราศาสตร์ ดาวคู่สมมติหนึ่ง คือ เนเมซิส ดาวคู่มืดของดวงอาทิตย์ที่ถูกเสนอว่ามีส่วนเกี่ยวข้องที่ทำให้มีการพุ่งชนของดาวหางอันทำให้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่บนโลก ร่องรอยการพุ่งชนบนดวงจันทร์ และองค์ประกอบวงโคจรที่คล้าย ๆ กันของดาวหางคาบยาวจำนวนมาก[47][52] ไม่มีหลักฐานโดยตรงเกี่ยวกับเนเมซิสเลย และหลักฐานหลายอย่าง เช่น จำนวนหลุมอุกกาบาต ทำให้การมีตัวตนของดาวดวงนั้นกลายเป็นข้อกังขา[53][54] จอห์น เจ. มัลทีส และดาเนียล พี. วิทไมร์ ผู้ที่เสนอความเป็นไปได้ของดาวคู่ดวงอาทิตย์มาอย่างยาวนาน ได้เสนอว่าวัตถุมวล 5 เท่าของดาวพฤหัสบดีที่อยู่ออกไปประมาณ 7,850 AU จากดวงอาทิตย์ อาจทำให้วัตถุหนึ่งมีวงโคจรแบบเซดนา[55]

มอร์บีเดลลีและเคนยอนยังเสนออีกว่าเซดนาอาจไม่ได้กำเนิดในระบบสุริยะ แต่ถูกจับโดยดวงอาทิตย์จากระบบดาวเคราะห์อื่นที่โคจรผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบของดาวแคระน้ำตาลที่มีมวล 1/20 เท่าของดวงอาทิตย์[44][45][56][57]

ประชากร

แนวคิดเกี่ยวกับผิวดาวเซดนาของศิลปิน มีทางช้างเผือก แอนทาเรส ดวงอาทิตย์ และสไปกาอยู่ด้านบน

วงโคจรที่เยื้องอย่างมากของเซดนาหมายความว่า มีโอกาสที่จะตรวจพบมันเพียงแค่ 1 ใน 80 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอาจมีวัตถุขนาดเท่าเซดนา 40–120 ชิ้นอยู่ในบริเวณเดียวกัน เว้นเสียแต่ว่าการค้นพบเซดนาเป็นเรื่องบังเอิญ[14][25] 2000 CR105 วัตถุอีกชิ้นหนึ่งมีวงโคจรที่คล้ายกันกับเซดนาแต่เยื้องน้อยกว่า โดยมีจุดที่ใกล้ที่สุดอยู่ที่ 44.3 AU จุดไกลที่สุดอยู่ที่ 394 AU และมีระยะเวลาการโคจรอยู่ที่ 3,240 ปี ซึ่งอาจจะได้รับผลกระทบในแบบเดียวกันกับเซดนา[44]

แต่ละกลไกที่เสนอมาสำหรับวงโคจรสุดขั้วของเซดนานี้อาจทิ้งร่องรอยที่แตกต่างกันบนโครงสร้างและพลวัตของกลุ่มประชากรใด ๆ ที่กว้างกว่า ถ้าวัตถุพ้นดาวเนปจูนมีส่วนเกี่ยวข้อง วัตถุเหล่านี้ควรมีจุดที่ใกล้ที่สุดในบริเวณเดียวกัน (ประมาณ 80 AU) ถ้าเซดนาถูกจับจากระบบดาวเคราะห์อื่นที่หมุนรอบในทิศทางเดียวกันกับระบบสุริยะ ประชากรทั้งหมดก็จะต้องมีวงโคจรที่เอียงน้อย และมีกึ่งแกนเอกอยู่ในช่วง 100–500 AU ถ้ามันหมุนรอบในทิศทางตรงข้าม ประชากรสองกลุ่มจะเกิดขึ้น ได้แก่กลุ่มที่วงโคจรเอียงน้อยและเอียงมาก การรบกวนจากดาวฤกษ์ที่โคจรผ่านมาอาจทำให้เกิดความหลากหลายในทั้งจุดที่ใกล้ที่สุดและความเอียงของวงโคจร ขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งและมุมที่ดาวดวงนั้นเข้ามา[49]

การได้รับตัวอย่างที่ใหญ่กว่าของวัตถุเหล่านี้อาจช่วยให้ตัดสินใจได้ว่าสถานการณ์แบบใดที่เป็นไปได้มากที่สุด[58] "ผมเรียกเซดนาว่าเป็นฟอสซิลแห่งระบบสุริยะยุคแรกเริ่ม" กล่าวโดยบราวน์ในปี 2549 "ในที่สุด เมื่อฟอสซิลอื่น ๆ ถูกค้นพบ เซดนาจะช่วยบอกกับพวกเราถึงวิธีการเกิดของดวงอาทิตย์และจำนวนดาวที่อยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์ครั้งตอนเกิด"[15] การสำรวจโดยบราวน์ ราบิโนวิตซ์ และเมแกน ชวามบ์ ในปี 2550–2551 ได้พยายามที่จะระบุตำแหน่งของวัตถุกลุ่มสมมติของเซดนาชิ้นอื่น ๆ แม้ว่าการสำรวจนั้นจะจับได้ถึงการเคลื่อนที่ที่ห่างออกไปถึง 1,000 AU และค้นพบดาวเคราะห์แคระที่เป็นไปได้อย่าง 2007 OR10 แต่ก็ไม่พบวัตถุเซดนอยด์ใหม่เลย[58] แบบจำลองต่อมาที่ได้รวมข้อมูลใหม่ ๆ เสนอว่าอาจมีวัตถุขนาดเท่าเซดนาอยู่ประมาณ 40 ชิ้นในบริเวณนั้น โดยวัตถุที่มีความส่องสว่างที่สุดอาจประมาณความส่องสว่างของอีริส (–1.0)[58]

ในปี พ.ศ. 2557 นักดาราศาสตร์ประกาศการค้นพบ 2012 VP113[22] วัตถุขนาดประมาณครึ่งหนึ่งของเซดนาในวงโคจรกว่า 4,200 ปีคล้ายกับวงโคจรของเซดนา และมีจุดที่ใกล้ที่สุดอยู่ภายในระยะของเซดนาที่ประมาณ 80 AU ซึ่งทำให้มีการคาดการณ์ว่ามันอาจจะเป็นหลักฐานของดาวเคราะห์พ้นดาวเนปจูน[59]

การจัดระบบ

เซดนาเมื่อเทียบกับวัตถุโคจรระยะไกลอื่น ๆ [f]

ศูนย์ดาวเคราะห์น้อยซึ่งเป็นหน่วยงานที่จัดระบบวัตถุต่าง ๆ ในระบบสุริยะ ได้จัดให้เซดนาเป็นวัตถุแถบหินกระจาย[60] การจัดนี้เป็นที่สงสัยกันเป็นอย่างมาก และนักดาราศาสตร์จำนวนมากเสนอว่าเซดนาควรจัดอยู่ในหมวดหมู่ใหม่ของวัตถุไกลโพ้น เรียกว่า วัตถุแถบหินกระจายขยาย (Extended scattered disc objects)[61] วัตถุแยกออก[62] วัตถุแยกออกระยะไกล[47] หรือ วัตถุกระจาย–ขยาย ในการจัดระบบอย่างเป็นทางการโดย Deep Ecliptic Survey[63]

การค้นพบเซดนานั้นรื้อฟื้นคำถามที่ว่าเทห์ฟ้าใดควรหรือไม่ควรเป็นดาวเคราะห์ ในวันที่ 15 มีนาคม 2547 บทความเกี่ยวกับเซดนาของสำนักพิมพ์ที่มีชื่อเสียงรายงานว่าดาวเคราะห์ดวงที่สิบถูกค้นพบแล้ว คำถามนี้ถูกตอบโดยนิยามดาวเคราะห์สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล นำมาใช้ในวันที่ 24 สิงหาคม 2549 ซึ่งบอกว่าดาวเคราะห์ต้องไม่มีเทห์ฟ้าอื่นๆ โคจรในบริเวณเดียวกัน เซดนามีค่าสเติร์น–เลวิสันต่ำกว่า 1 โดยประมาณ[g] ดังนั้นมันจึงไม่ถูกพิจารณาว่าไร้ซึ่งเทห์ฟ้าโดยรอบ แม้ว่ายังไม่มีวัตถุอื่นถูกค้นพบในบริเวณเดียวกันนั้น ในการที่จะเป็นดาวเคราะห์แคระ เซดนาจะต้องมีสภาวะสมดุลอุทกสถิต เนื่องจากมันสว่างพอ มันจึงมีขนาดใหญ่พอที่จะรักษาความเป็นทรงกลมได้ เซดนาจึงถูกคาดว่าจะเป็นวัตถุในกรณีนี้[65] และนักดาราศาสตร์หลายคนก็เรียกเซดนาว่าเป็นดาวเคราะห์แคระแล้ว[66][67][68][69][70]

การสำรวจ

เซดนาจะอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดประมาณปี พ.ศ. 2618–2619 การเข้าใกล้ครั้งนี้จะเป็นโอกาสที่จะสำรวจดาว ซึ่งจะไม่มีโอกาสอีกจนกว่า 12,000 ปีข้างหน้า ถึงแม้เซดนาจะมีรายชื่อในเว็บไซต์การสำรวจระบบสุริยะของนาซา[71] แต่ปัจจุบันยังไม่มีแผนการใดๆ เพื่อสำรวจเซดนา[72] มันถูกคำนวณออกมาว่าจะใช้เวลา 24.48 ปี ในการเดินทางจากโลกถึงเซดนา โดยใช้แรงโน้มถ่วงของดาวพฤหัสบดีช่วยเหวี่ยง คาดว่าวันปล่อยยานอาจจะเป็น 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2576 หรือ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2589 เมื่อยานไปถึงเซดนาจะอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 77.27 และ 76.43 หน่วยดาราศาสตร์ ตามลำดับ[73]

ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561 อีธาน ซีเกล นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์ สนับสนุนยานอวกาศสำหรับศึกษาเซดนาที่ตำแหน่งใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดอย่างเปิดเผย ซีเกลกล่าวว่าเซดนาเป็นเป้าหมายที่น่าดึงดูด เนื่องจากสถานะที่เป็นไปได้ของการเป็นวัตถุเมฆออร์ตชั้นใน เนื่องจากเซดนาใช้ระยะเวลาในการโคจรนาน จึงอาจจะเป็นโอกาสเดียวในหลายสหัสวรรษที่จะได้ศึกษาเซดนา[74] ภารกิจเช่นนี้สามารถทำให้สะดวกขึ้นได้ด้วยเครื่องพ่นไอออน Dual-Stage 4-Grid ที่สามารถย่นเวลาการเดินทางได้อย่างมาก ถ้าให้พลังงานด้วยบางอย่าง เช่น เตาปฏิกรณ์[75]

ดูเพิ่ม

เชิงอรรถ

  1. 1.0 1.1 เมื่อทราบความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจรของวัตถุนี้ จุดเริ่มยุคที่แตกต่างกันให้วิธีแก้ปัญหาที่มีศูนย์กลางที่ดวงอาทิตย์ ไร้การรบกวน และเหมาะสมที่สุดกับปัญหาสองวัตถุของคาบการโคจรที่แตกต่างกัน โดยใช้จุดเริ่มยุค 1990 เซดนามีคาบการโคจรอยู่ที่ 12,100 ปี[5] แต่เมื่อใช้จุดเริ่มยุค 2017 เซดนามีคาบการโคจรอยู่ที่ 10,900 ปี[2] สำหรับวัตถุที่วงโคจรเยื้องมาก พิกัดแบรีเซนเตอร์ของดวงอาทิตย์จะเสถียรมากกว่าพิกัดที่ศูนย์กลางดวงอาทิตย์[6] โดยใช้ JPL Horizons คาบการโคจรอิงตามแบรีเซนเตอร์อยู่ที่ประมาณ 11,400 ปี[3]
  2. ข้อมูลเมื่อ 2014 เซดนาอยู่ที่ประมาณ 86.3 AUจากดวงอาทิตย์[9] อรีส ดาวเคราะห์แคระที่มีมวลมากที่สุด และ 2007 OR10 วัตถุที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะที่ไม่มีชื่อ ขณะนี้อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มากกว่าเซดนาที่ 96.4 AU และ 87.0 AU ตามลำดับ[13] อีริสอยู่ใกล้กับจุดที่ไกลที่สุด (อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มากที่สุด) ขณะที่เซดนากำลังเข้าใกล้จุดที่ใกล้ที่สุดปี 2619 (อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด)[10] เซดนาจะแซงอีริส กลายเป็นวัตถุที่ไกลที่สุดในระบบสุริยะในปี 2657 แต่วัตถุที่อาจเป็นดาวเคราะห์แคระอย่าง 2007 OR10 พึ่งแซงเซดนาไป และจะแซงอีริสในปี 2588[10]
  3. 3.0 3.1 ดาวเคราะห์แคระที่เป็นไปได้อย่าง 2014 FE72 มีคาบการโคจรอยู่ที่ ~90,000 ปี และวัตถุระบบสุริยะขนาดเล็ก เช่น (308933) 2006 SQ372, 2005 VX3, (87269) 2000 OO67, 2002 RN109, 2007 TG422 และดาวหางหลายดวง (เช่น ดาวหางใหญ่แห่งปี พ.ศ. 2120) มีวงโคจรที่ใหญ่กว่าเช่นกัน สำหรับประเภทหลัง เฉพาะ (308933) 2006 SQ372, (87269) 2000 OO67, และ 2007 TG422 มีจุดใกล้ที่สุดอยู่ไกลกว่าวงโคจรดาวพฤหัสบดี ดังนั้นมันจึงถูกถกเถียงกันได้ว่าวัตถุเหล่านี้อาจเป็นดาวหางที่ถูกจัดผิดหมวดหมู่
  4. โปรแกรมที่ระบบการทำงานแตกต่างกัน ก็อาจทำให้ได้ข้อมูลที่แตกต่างกันด้วย โดยใช้ตำแหน่งในปี พ.ศ 2557 ได้ข้อมูลเป็นปี พ.ศ. 2619[2] ถ้าใช้ตำแหน่งในปี พ.ศ. 2533 ได้ข้อมูลเป็น 2479282.9591 (2075-12-11) ข้อมูลเมื่อ 2010 หรือประมาณวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2619[10]
  5. การสำรวจของกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลพบว่าไม่มีดาวดวงใดที่มัวน้อยกว่า 500 เท่าของเซดนาเลย (บราวน์และซูเอร์ 2007).[25]
  6. วัตถุที่มาเปรียบเทียบกับเซดนา ได้แก่ 2015 DB216 (วงโคจรผิด), 2000 OO67, 2004 VN112, 2005 VX3, 2006 SQ372, 2007 TG422, 2007 DA61, 2009 MS9, 2010 GB174, 2010 NV1, 2010 BK118, 2012 DR30, 2012 VP113, 2013 BL76, 2013 AZ60, 2013 RF98, 2015 ER61
  7. ค่าสเติร์น–เลวิสัน (Λ) นิยามขึ้นโดย แอลัน สเติร์นและแฮโรลด์ เอฟ. เลวิสันในปี 2545 จะใช้ตัดสินว่าวัตถุใดมีวงโคจรที่โล่งจากวัตถุขนาดเล็กโดยรอบอื่น ๆ มันถูกนิยามโดยอัตราส่วนของมวลดวงอาทิตย์ (คือมวลของวัตถุหารด้วยมวลของดวงอาทิตย์)ยกกำลังสอง หารด้วยกึ่งแกนเอกของมันยกกำลัง 3/2 คูณด้วยค่าคงตัว 1.7×1016.[64](see equation 4) ถ้าวัตถุนั้นมีค่า Λ มากกว่า 1, แสดงว่าวัตถุนั้นมีวงโคจรที่โล่งจากวัตถุอื่น และอาจถูกพิจารณาถึงความเป็นดาวเคราะห์ โดยใช้มวลโดยประมาณที่สูงเกินจริงของเซดนาที่ 2×1021 กก. ค่า Λ ของเซดนา คือ (2×1021/1.9891×1030)2 / 5193/2 × 1.7×1016 = 1.44×10−6. ซึ่งน้อยกว่า 1 มาก ดังนั้นเซดนาไม่ใช่ดาวเคราะห์ตามนิยามนี้

อ้างอิง

  1. "Discovery Circumstances: Numbered Minor Planets (90001)–(95000)". IAU: Minor Planet Center. สืบค้นเมื่อ 2008-07-23.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "JPL Small-Body Database Browser: 90377 Sedna (2003 VB12)" (2012-10-16 last obs). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 March 2016. สืบค้นเมื่อ 12 April 2016. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 Horizons output. "Barycentric Osculating Orbital Elements for 90377 Sedna (2003 VB12)". สืบค้นเมื่อ 2011-04-30. (Solution using the Solar System Barycenter and barycentric coordinates. Select Ephemeris Type:Elements and Center:@0) (Saved Horizons output file 2011-Feb-04 "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-19. สืบค้นเมื่อ 2012-01-16. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)) In the second pane "PR=" can be found, which gives the orbital period in days (4.15E+06, which is ~11400 Julian years).
  4. Malhotra, Renu; Volk, Kathryn; Wang, Xianyu (2016). "Corralling a distant planet with extreme resonant Kuiper belt objects". The Astrophysical Journal Letters. 824 (2): L22. arXiv:1603.02196. Bibcode:2016ApJ...824L..22M. doi:10.3847/2041-8205/824/2/L22.
  5. Marc W. Buie (2009-11-22). "Orbit Fit and Astrometric record for 90377". Deep Ecliptic Survey. สืบค้นเมื่อ 2006-01-17.
  6. Kaib, Nathan A.; Becker, Andrew C.; Jones, R. Lynne; Puckett, Andrew W.; Bizyaev, Dmitry; Dilday, Benjamin; Frieman, Joshua A.; Oravetz, Daniel J.; Pan, Kaike; Quinn, Thomas; Schneider, Donald P.; Watters, Shannon (2009). "2006 SQ372: A Likely Long-Period Comet from the Inner Oort Cloud". The Astrophysical Journal. 695 (1): 268–275. arXiv:0901.1690. Bibcode:2009ApJ...695..268K. doi:10.1088/0004-637X/695/1/268.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 Pál, A.; Kiss, C.; Müller, T. G.; Santos-Sanz, P.; Vilenius, E.; Szalai, N.; Mommert, M.; Lellouch, E.; Rengel, M.; Hartogh, P.; Protopapa, S.; Stansberry, J.; Ortiz, J. -L.; Duffard, R.; Thirouin, A.; Henry, F.; Delsanti, A. (2012). ""TNOs are Cool": A survey of the trans-Neptunian region. VII. Size and surface characteristics of (90377) Sedna and 2010 EK139". Astronomy & Astrophysics. 541: L6. arXiv:1204.0899. Bibcode:2012A&A...541L...6P. doi:10.1051/0004-6361/201218874.
  8. Stephen C. Tegler (2006-01-26). "Kuiper Belt Object Magnitudes and Surface Colors". Northern Arizona University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-09-01. สืบค้นเมื่อ 2006-11-05. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  9. 9.0 9.1 "AstDys (90377) Sedna Ephemerides". Department of Mathematics, University of Pisa, Italy. สืบค้นเมื่อ 2011-05-05.
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 JPL Horizons On-Line Ephemeris System (2010-07-18). "Horizons Output for Sedna 2076/2114". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-25. สืบค้นเมื่อ 2010-07-18. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help) Horizons
  11. 11.0 11.1 Porter, Simon (2018-03-27). "#TNO2018". Twitter. สืบค้นเมื่อ 2018-03-27.
  12. 12.0 12.1 Lakdawalla, E. (19 October 2016). "DPS/EPSC update: 2007 OR10 has a moon!". The Planetary Society. สืบค้นเมื่อ 2016-10-19.
  13. "AstDys (136199) Eris Ephemerides". Department of Mathematics, University of Pisa, Italy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 June 2011. สืบค้นเมื่อ 2011-05-05. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  14. 14.0 14.1 14.2 14.3 14.4 14.5 14.6 Mike Brown; David Rabinowitz; Chad Trujillo (2004). "Discovery of a Candidate Inner Oort Cloud Planetoid". Astrophysical Journal. 617 (1): 645–649. arXiv:astro-ph/0404456. Bibcode:2004ApJ...617..645B. doi:10.1086/422095.
  15. 15.0 15.1 Cal Fussman (2006). "The Man Who Finds Planets". Discover. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 June 2010. สืบค้นเมื่อ 2010-05-22. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  16. Chang, Kenneth, Ninth Planet May Exist Beyond Pluto, Scientists Report, New York Times, 21 January 2016, page A1
  17. 17.0 17.1 17.2 17.3 Brown, Mike. "Sedna". Caltech. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 July 2010. สืบค้นเมื่อ 2010-07-20. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  18. 18.0 18.1 "MPEC 2004-S73 : Editorial Notice". IAU Minor Planet Center. 2004. สืบค้นเมื่อ 2010-07-18.
  19. Walker, Duncan (2004-03-16). "How do planets get their names?". BBC News. สืบค้นเมื่อ 2010-05-22.
  20. "MPC 52733" (PDF). Minor Planet Center. 2004. สืบค้นเมื่อ 2010-08-30.
  21. Chadwick A. Trujillo; M. E. Brown; D. L. Rabinowitz (2007). "The Surface of Sedna in the Near-infrared". Bulletin of the American Astronomical Society. 39: 510. Bibcode:2007DPS....39.4906T.
  22. 22.0 22.1 Trujillo, Chadwick A.; S. S. Sheppard (2014). "A Sedna-like body with a perihelion of 80 astronomical units". Nature. 507 (7493): 471–474. Bibcode:2014Natur.507..471T. doi:10.1038/nature13156. PMID 24670765.
  23. 23.0 23.1 "Long View from a Lonely Planet". Hubblesite, STScI-2004-14. 2004. สืบค้นเมื่อ 2010-07-21.
  24. "Hubble Observes Planetoid Sedna, Mystery Deepens". Hubblesite, STScI-2004-14. 2004. สืบค้นเมื่อ 2010-08-30.
  25. 25.0 25.1 Michael E. Brown (2008). "The largest Kuiper belt objects". ใน M. Antonietta Barucci; Hermann Boehnhardt; Dale P. Cruikshank (บ.ก.). The Solar System Beyond Neptune (pdf). University of Arizona Press. pp. 335–345. ISBN 978-0-8165-2755-7.
  26. B. Scott Gaudi; Krzysztof Z. Stanek; Joel D. Hartman; Matthew J. Holman; Brian A. McLeod (2005). "On the Rotation Period of (90377) Sedna". The Astrophysical Journal. 629 (1): L49–L52. arXiv:astro-ph/0503673. Bibcode:2005ApJ...629L..49G. doi:10.1086/444355.
  27. 27.0 27.1 "AstDyS-2, Asteroids - Dynamic Site". สืบค้นเมื่อ 2018-12-26. Objects with distance from Sun over 59 AU
  28. W. M. Grundy; K. S. Noll; D. C. Stephens (2005). "Diverse Albedos of Small Trans-Neptunian Objects" (Submitted manuscript). Icarus. Lowell Observatory, Space Telescope Science Institute. 176 (1): 184–191. arXiv:astro-ph/0502229. Bibcode:2005Icar..176..184G. doi:10.1016/j.icarus.2005.01.007.
  29. John Stansberry; Will Grundy; Mike Brown; Dale Cruikshank; John Spencer; David Trilling; Jean-Luc Margot (2008). "Physical Properties of Kuiper Belt and Centaur Objects: Constraints from Spitzer Space Telescope". ใน M. Antonietta Barucci; Hermann Boehnhardt; Dale P. Cruikshank (บ.ก.). The Solar System Beyond Neptune (pdf). University of Arizona Press. pp. 161–179. arXiv:astro-ph/0702538v2. Bibcode:2008ssbn.book..161S. ISBN 978-0-8165-2755-7.
  30. Brown, Michael E. (2004-03-16). "Characterization of a planetary-sized body in the inner Oort cloud - HST Proposal 10041". สืบค้นเมื่อ 2018-03-27.
  31. "Hubble Observes Planetoid Sedna, Mystery Deepens". Space Telescope Science Institute. 2004-04-14. สืบค้นเมื่อ 2018-03-27.
  32. Bannister, Michelle (2018-03-27). "#TNO2018". Twitter. สืบค้นเมื่อ 2018-03-27.
  33. 33.0 33.1 33.2 Trujillo, Chadwick A.; Brown, Michael E.; Rabinowitz, David L.; Geballe, Thomas R. (2005). "Near‐Infrared Surface Properties of the Two Intrinsically Brightest Minor Planets: (90377) Sedna and (90482) Orcus". The Astrophysical Journal. 627 (2): 1057–1065. arXiv:astro-ph/0504280. Bibcode:2005ApJ...627.1057T. doi:10.1086/430337. {{cite journal}}: |ref=harv ไม่ถูกต้อง (help)
  34. Sheppard, Scott S. (2010). "The colors of extreme outer Solar System objects". The Astronomical Journal. 139 (4): 1394–1405. arXiv:1001.3674. Bibcode:2010AJ....139.1394S. doi:10.1088/0004-6256/139/4/1394.
  35. 35.0 35.1 35.2 J. P. Emery; C. M. Dalle Ore; D. P. Cruikshank; Fernández, Y. R.; Trilling, D. E.; Stansberry, J. A. (2007). "Ices on 90377 Sedna: Conformation and compositional constraints" (PDF). Astronomy and Astrophysics. 406 (1): 395–398. Bibcode:2007A&A...466..395E. doi:10.1051/0004-6361:20067021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (pdf)เมื่อ 2010-06-09. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  36. 36.0 36.1 M. A. Barucci; D. P. Cruikshank; E. Dotto; Merlin, F.; Poulet, F.; Dalle Ore, C.; Fornasier, S.; De Bergh, C. (2005). "Is Sedna another Triton?". Astronomy & Astrophysics. 439 (2): L1–L4. Bibcode:2005A&A...439L...1B. doi:10.1051/0004-6361:200500144.
  37. Hussmann, Hauke; Sohl, Frank; Spohn, Tilman (November 2006). "Subsurface oceans and deep interiors of medium-sized outer planet satellites and large trans-neptunian objects" (PDF). Icarus. 185 (1): 258–273. Bibcode:2006Icar..185..258H. doi:10.1016/j.icarus.2006.06.005.
  38. Jewitt, David; Morbidelli, Alessandro; Rauer, Heike (2007). Trans-Neptunian Objects and Comets: Saas-Fee Advanced Course 35. Swiss Society for Astrophysics and Astronomy. Berlin: Springer. p. 86. arXiv:astro-ph/0512256v1. Bibcode:2005astro.ph.12256M. ISBN 978-3-540-71957-1.
  39. Lykawka, Patryk Sofia; Mukai, Tadashi (2007). "Dynamical classification of trans-neptunian objects: Probing their origin, evolution, and interrelation". Icarus. 189 (1): 213–232. Bibcode:2007Icar..189..213L. doi:10.1016/j.icarus.2007.01.001.
  40. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ SternAJ20025
  41. Sheppard, Scott S.; Jewitt, David C. (2005). "Small Bodies in the Outer Solar System" (PDF). Frank N. Bash Symposium. The University of Texas at Austin. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-08-04. สืบค้นเมื่อ 2008-03-25. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |dead-url= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  42. Brown, Michael E. (2004). "Sedna and the birth of the solar system". Bulletin of the American Astronomical Society. 36 (127.04): 1553. Bibcode:2004AAS...20512704B.
  43. 43.0 43.1 "Transneptunian Object 90377 Sedna (formerly known as 2003 VB12)". The Planetary Society. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 November 2009. สืบค้นเมื่อ 2010-01-03. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  44. 44.0 44.1 44.2 44.3 Morbidelli, Alessandro; Levison, Harold F. (2004). "Scenarios for the Origin of the Orbits of the Trans-Neptunian Objects 2000 CR105 and 2003 VB12 (Sedna)". The Astronomical Journal. 128 (5): 2564–2576. arXiv:astro-ph/0403358. Bibcode:2004AJ....128.2564M. doi:10.1086/424617.
  45. 45.0 45.1 Kenyon, Scott J.; Bromley, Benjamin C. (2 December 2004). "Stellar encounters as the origin of distant Solar System objects in highly eccentric orbits" (Submitted manuscript). Nature. 432 (7017): 598–602. arXiv:astro-ph/0412030. Bibcode:2004Natur.432..598K. doi:10.1038/nature03136. PMID 15577903.
  46. "The Challenge of Sedna". Harvard-Smithsonian Center for Astrophysics. สืบค้นเมื่อ 2009-03-26.
  47. 47.0 47.1 47.2 Gomes, Rodney S.; Matese, John J.; Lissauer, Jack J. (2006). "A distant planetary-mass solar companion may have produced distant detached objects". Icarus. 184 (2): 589–601. Bibcode:2006Icar..184..589G. doi:10.1016/j.icarus.2006.05.026. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |last-author-amp= ถูกละเว้น แนะนำ (|name-list-style=) (help)
  48. Lykawka, P. S.; Mukai, T. (2008). "An Outer Planet Beyond Pluto and the Origin of the Trans-Neptunian Belt Architecture". Astronomical Journal. 135 (4): 1161. arXiv:0712.2198. Bibcode:2008AJ....135.1161L. doi:10.1088/0004-6256/135/4/1161.
  49. 49.0 49.1 Schwamb, Megan E. (2007). "Searching for Sedna's Sisters: Exploring the inner Oort cloud" (PDF). Caltech. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-05-12. สืบค้นเมื่อ 2010-08-06. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  50. Batygin, Konstantin; Brown, Michael E. (2016). "Evidence for a Distant Giant Planet in the Solar System". The Astronomical Journal. 151 (2): 22. arXiv:1601.05438. Bibcode:2016AJ....151...22B. doi:10.3847/0004-6256/151/2/22.
  51. Fesenmaier, Kimm. "Caltech Researchers Find Evidence of a Real Ninth Planet". สืบค้นเมื่อ 13 September 2017.
  52. Staff (25 April 2006). "Evidence Mounts For Companion Star To Our Sun". SpaceDaily. สืบค้นเมื่อ 27 November 2009.
  53. Hills, J. G. (1984). "Dynamical constraints on the mass and perihelion distance of Nemesis and the stability of its orbit". Nature. 311 (5987): 636–638. Bibcode:1984Natur.311..636H. doi:10.1038/311636a0.
  54. "Nemesis is a myth". Max Planck Institute. 2011. สืบค้นเมื่อ 2011-08-11.
  55. Matese, John J.; Whitmire, Daniel P.; Lissauer, Jack J. (2006). "A Widebinary Solar Companion as a Possible Origin of Sedna-like Objects". Earth, Moon, and Planets. 97 (3–4): 459–470. Bibcode:2005EM&P...97..459M. doi:10.1007/s11038-006-9078-6. สืบค้นเมื่อ 2010-08-17. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |last-author-amp= ถูกละเว้น แนะนำ (|name-list-style=) (help)
  56. Ken Croswell. "Sun Accused of Stealing Planetary Objects from Another Star". Scientific American.
  57. Govert Schilling. "Grand Theft Sedna: how the sun might have stolen a mini-planet". New Scientist.
  58. 58.0 58.1 58.2 Schwamb, Megan E.; Brown, Michael E.; Rabinowitz, David L. (2009). "A Search for Distant Solar System Bodies in the Region of Sedna". The Astrophysical Journal Letters. 694 (1): L45–L48. arXiv:0901.4173. Bibcode:2009ApJ...694L..45S. doi:10.1088/0004-637X/694/1/L45.
  59. "A new object at the edge of our Solar System discovered". Physorg.com. 26 March 2014.
  60. IAU: Minor Planet Center (2008-07-02). "List of Centaurs and Scattered-Disk Objects". Central Bureau for Astronomical Telegrams, Harvard-Smithsonian Center for Astrophysics. สืบค้นเมื่อ 2008-07-02.
  61. Gladman, Brett J. (2001). "Evidence for an Extended Scattered Disk?". Observatoire de la Cote d'Azur. สืบค้นเมื่อ 2010-07-22.
  62. "The Solar System Beyond The Planets". Solar System Update : Topical and Timely Reviews in Solar System Sciences. Springer-Praxis Ed. 2006. ISBN 978-3-540-26056-1.
  63. Elliot, J. L.; Kern, S. D.; Clancy, K. B.; Gulbis, A. A. S.; Millis, R. L.; Buie, M. W.; Wasserman, L. H.; Chiang, E. I.; Jordan, A. B.; และคณะ (2006). "The Deep Ecliptic Survey: A Search for Kuiper Belt Objects and Centaurs. II. Dynamical Classification, the Kuiper Belt Plane, and the Core Population". The Astronomical Journal. 129 (2): 1117. Bibcode:2005AJ....129.1117E. doi:10.1086/427395.
  64. Stern, S. Alan; Levison, Harold F. (2002). "Regarding the criteria for planethood and proposed planetary classification schemes" (PDF). Highlights of Astronomy. 12: 205–213, as presented at the XXIVth General Assembly of the IAU–2000 [Manchester, UK, 7–18 August 2000]. Bibcode:2002HiA....12..205S. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |last-author-amp= ถูกละเว้น แนะนำ (|name-list-style=) (help)
  65. Brown, Michael E. "The Dwarf Planets". California Institute of Technology, Department of Geological Sciences. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 February 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-02-16. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  66. Barucci, M.; Morea Dalle Ore, C.; Alvarez-Candal, A.; De Bergh, C.; Merlin, F.; Dumas, C.; Cruikshank, D. (2010). "(90377) Sedna: Investigation of surface compositional variation". The Astronomical Journal. 140 (6): 6. Bibcode:2010AJ....140.2095B. doi:10.1088/0004-6256/140/6/2095.
  67. Rabinowitz, Schaefer, Tourtellotte, 2011. "SMARTS Studies of the Composition and Structure of Dwarf Planets". Bulletin of the American Astronomical Society, Vol. 43
  68. Malhotra, 2010. "On the Importance of a Few Dwarf Planets". Bulletin of the American Astronomical Society, Vol. 41
  69. Tancredi, G.; Favre, S. (2008). "Which are the dwarfs in the solar system?" (PDF). Asteroids, Comets, Meteors. สืบค้นเมื่อ 2011-01-05.
  70. Michael E. Brown (Sep 23, 2011). "How many dwarf planets are there in the outer solar system? (updates daily)". California Institute of Technology. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-18. สืบค้นเมื่อ 2011-09-23. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  71. "Solar System Exploration: Multimedia: Gallery". NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-09. สืบค้นเมื่อ 2010-01-03. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  72. "Solar System Exploration: Missions to Dwarf Planets". NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 August 2012. สืบค้นเมื่อ 11 November 2010. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  73. McGranaghan, R.; Sagan, B.; Dove, G.; Tullos, A.; Lyne, J. E.; Emery, J. P. (2011). "A Survey of Mission Opportunities to Trans-Neptunian Objects". Journal of the British Interplanetary Society. 64: 296–303. Bibcode:2011JBIS...64..296M.
  74. Siegel, Ethan. "Is Humanity Ignoring Our First Chance For A Mission To An Oort Cloud Object?". Forbes (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-07-13.
  75. Bramanti, C; Izzo, D; Samaraee, T; Walker, R; Fearn, D (2009-04-01). "Very high delta-V missions to the edge of the solar system and beyond enabled by the dual-stage 4-grid ion thruster concept". Acta Astronautica (ภาษาอังกฤษ). 64 (7–8): 735–744. Bibcode:2009AcAau..64..735B. doi:10.1016/j.actaastro.2008.11.013. ISSN 0094-5765.

อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "2004-E45" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "jpldata 2012 VP113" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "pr200510" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "AstDys2003" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า

อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "SternAJ2005" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า

แหล่งข้อมูลอื่น