เฟรเดอริก แซงเงอร์
เฟรเดอริก แซงเงอร์ | |
---|---|
เกิด | 13 สิงหาคม ค.ศ. 1918 เรนด์คัมบ์ กลอสเตอร์เชอร์ ประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักร |
เสียชีวิต | 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013 เคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักร[1] | (95 ปี)
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (PhD) |
มีชื่อเสียงจาก | |
รางวัล |
|
อาชีพทางวิทยาศาสตร์ | |
สาขา | ชีวเคมี |
สถาบันที่ทำงาน | |
วิทยานิพนธ์ | The metabolism of the amino acid lysine in the animal body (1943) |
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอก | อัลแบร์ท น็อยเบอร์เกอร์[2] |
ลูกศิษย์ในระดับปริญญาเอก |
เฟรเดอริก แซงเงอร์ OM CH CBE FRS FAA (อังกฤษ: Frederick Sanger; /ˈsæŋər/; 13 สิงหาคม ค.ศ. 1918 – 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013) เป็นนักชีวเคมีชาวอังกฤษผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีสองครั้งเป็นคนแรก (คนที่สองได้แก่คาร์ล แบร์รี ชาร์เพลส ในขณะที่อีกคนหนึ่งที่ได้รับรางวัลโนเบลสองครั้งในสาขาเดียวกันได้แก่จอห์น บาร์ดีนในสาขาฟิสิกส์)[4] และเป็นหนึ่งในห้าคนที่ได้รับรางวัลโนเบลสองครั้ง ใน ค.ศ. 1958 เขาได้รับรางวัลจากการวิเคราะห์หาโครงสร้างของโปรตีนหลายชนิด ที่สำคัญที่สุดได้แก่อินซูลิน และใน ค.ศ. 1980 เขาได้รับรางวัลกึ่งหนึ่งร่วมกับวอลเทอร์ กิลเบิร์ตจากการคิดค้นวิธีการหาลำดับดีเอ็นเอ
ชีวิตวัยเด็กและการศึกษา
[แก้]เฟรเดอริก แซงเงอร์เกิดเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม ค.ศ. 1918 ที่หมู่บ้านเรนด์คัมบ์ในเทศมณฑลกลอสเตอร์เชอร์ ประเทศอังกฤษ เป็นบุตรคนที่สองของเฟรเดอริก แซงเงอร์ ผู้พ่อซึ่งเป็นแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปและซิเซลี แซงเงอร์ (นามสกุลเดิม ครูว์ดสัน)[5] เขามีพี่น้องสามคน ได้แก่ทีโอดอร์ พี่ชายซึ่งแก่กว่าเขาหนึ่งปี ตัวเขาเอง และแมรี (เมย์) น้องสาวซึ่งอ่อนกว่าเขาห้าปี[6] พ่อของเขาเคยเป็นแพทย์มิชชันนารีของคริสตจักรนิกายแองกลิคันผู้ซึ่งเคยเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจในประเทศจีนแต่ต้องเดินทางกลับเนื่องจากปัญหาสุขภาพ โดยใน ค.ศ. 1916 เฟรเดอริกผู้พ่ออายุได้ 40 ปี สมรสกับซิเซลีซึ่งอ่อนกว่าสี่ปี หลังจากที่ทีโอดอร์และเฟรเดอริกผู้ลูกเกิดแล้ว เฟรเดอริกผู้พ่อได้เปลี่ยนไปนับถือนิกายเควกเกอร์และเลี้ยงดูลูกของเขาตามแบบฉบับเควกเกอร์ ในขณะที่ซิเซลีเป็นธิดาของคหบดีผู้ผลิตฝ้าย ครอบครัวของเธอนับถือนิกายเควกเกอร์เช่นกัน แต่ตัวเธอเองไม่ได้นับถือนิกายนี้[6]
เมื่อเฟรเดอริก แซงเงอร์ผู้ลูกอายุได้ห้าขวบ ครอบครัวของเขาได้ย้ายไปอยู่ที่หมู่บ้านแทนเวิร์ท-อิน-อาร์เดินในเทศมณฑลวอริกเชอร์ ครอบครัวแซงเงอร์ค่อนข้างมีฐานะและได้จ้างครูสอนพิเศษ (governess) มาสอนที่บ้าน ใน ค.ศ. 1927 เมื่อแซงเงอร์อายุได้เก้าขวบ พ่อแม่ของเขาได้ส่งเขาไปเรียนที่โรงเรียนดาวส์ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำในในเทศมณฑลเฮริฟอร์ดเชอร์ของนิกายเควกเกอร์ใกล้กับเมืองมัลเวิร์น (ซึ่งตั้งอยู่ในเทศมณฑลวุร์สเตอร์เชอร์) พี่ชายของเขาเข้าเรียนที่โรงเรียนเดียวกันแต่อยู่ชั้นสูงกว่าหนึ่งปี ใน ค.ศ. 1932 เมื่อแซงเงอร์อายุได้ 14 ปี เขาถูกส่งไปเรียนที่โรงเรียนไบรอันสตันในเทศมณฑลดอร์เซต โรงเรียนนี้ใช้ระบบดอลตันซึ่งเป็นระบบการศึกษาที่เปิดเสรีกว่า ซึ่งตัวแซงเงอร์เองก็ชอบระบบนี้ เขาชอบครูที่โรงเรียนและชอบวิชาสายวิทยาศาสตร์เป็นพิเศษ[6] แซงเงอร์สามารถจบการศึกษาได้ก่อนกำหนดหนึ่งปี ทำให้ในปีสุดท้ายแซงเงอร์ใช้เวลาส่วนใหญ่ทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับครูสอนเคมี เจฟฟรีย์ ออร์ดิช ผู้ซึ่งจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์และเคยเป็นนักวิจัยในห้องปฏิบัติการคาเวนดิช การทดลองร่วมกับครูออร์ดิชทำให้แซงเงอร์เปลี่ยนความสนใจจากการนั่งเรียนในหนังสือ และจุดประกายให้แซงเงอร์เลือกที่จะทำงานเป็นนักวิทยาศาสตร์[7] ใน ค.ศ. 1935 ก่อนที่แซงเงอร์จะเข้าเรียนมหาวิทยาลัย เขาได้เป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนไปยังชูเลอชล็อสซาเลิมในเมืองซาเลิม รัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค ประเทศเยอรมนี โรงเรียนดังกล่าวมุ่งเน้นด้านกีฬามากกว่าวิชาการ ทำให้แซงเงอร์เข้าใจเนื้อหาในห้องเรียนดีกว่าเพื่อนนักเรียนคนอื่น เขาตกใจอย่างมากเมื่อพบว่าการเรียนในแต่ละวันที่ชูเลอชล็อสซาเลิมเริ่มต้นด้วยการอ่านเนื้อหาจากหนังสือไมน์คัมพฟ์ ตามด้วยการคารวะแบบนาซี[8]
แซงเงอร์เข้าเรียนที่ วิทยาลัยเซนต์จอนส์ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ใน ค.ศ. 1936 เพื่อศึกษาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ซึ่งเป็นวิทยาลัยเดียวกับที่พ่อของเขาเข้าเรียน แซงเงอร์เลือกเรียนฟิสิกส์ เคมี ชีวเคมี และคณิตศาสตร์ในการเรียนแบบไทรพอส (Tripos) ส่วนที่หนึ่ง ซึ่งเขาประสบปัญหาในการเรียนวิชาฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ ในชั้นปีที่สองเขาเปลี่ยนจากฟิสิกส์เป็นสรีรวิทยา เขาสำเร็จการศึกษาไทรพอสส่วนที่หนึ่งในเวลาสามปี ในส่วนที่สองเขาเรียนชีวเคมีและจบการศึกษาด้วยเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง ภาควิชาชีวเคมีในขณะนั้นเพิ่งก่อตั้งได้ไม่นานนัก โดยผู้ก่อตั้งได้แก่เฟรเดอริก กาวแลนด์ ฮ็อปกินส์ และมีคณาจารย์คนสำคัญได้แก่มัลคอล์ม ดิกสัน, โจเซฟ นีดัม และเออร์เนสต์ บอลด์วิน[6] พ่อแม่ของเขาเสียชีวิตจากโรคมะเร็งในช่วงสองปีแรกของเขาที่เคมบริดจ์ พ่อของเขาเสียชีวิตเมื่ออายุได้ 60 ปีส่วนแม่เสียชีวิตเมื่ออายุ 58 ปี แซงเงอร์ในช่วงเรียนปริญญาตรีนั้นได้รับอิทธิพลจากพื้นฐานครอบครัวที่นับถือนิกายเควกเกอร์ ความคิดของเขาเป็นแบบสันตินิยม และเขาเป็นสมาชิกขององค์การพีซเพลดจ์ยูเนียน (Peace Pledge Union) เขาพบกับโจแอน โฮว์ ผู้ซึ่งสมรสกับเขาในเวลาต่อมาขณะร่วมกิจกรรมกับกลุ่มนักวิทยาศาสตร์เคมบริดจ์ต่อต้านสงคราม (Cambridge Scientists Anti-War Group) ในขณะนั้นเธอเรียนเศรษฐศาสตร์ที่วิทยาลัยนิวนัมในมหาวิทยาลัยเดียวกัน ทั้งสองหมั้นกันขณะที่แซงเงอร์เรียนไทรพอสส่วนที่สองและสมรสในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1940 หลังจากที่เขาจบการศึกษาปริญญาตรี หลังจบการศึกษามุมมองของแซงเงอร์เริ่มเปลี่ยนไปจากนิกายเควกเกอร์โดยเริ่มเบี่ยงเบนไปทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น สองสิ่งจากนิกายเควกเกอร์ที่เขายังคงยึดถือได้แก่ความจริงและการเคารพทุกชีวิต[9] แซงเงอร์ลงทะเบียนเป็นผู้คัดค้านโดยอ้างมโนธรรมเพื่อขอปฏิเสธการเกณฑ์ทหารในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ในระหว่างนั้นแซงเงอร์เข้าฝึกงานช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมที่ศูนย์เควกเกอร์สไปซ์แลนส์ในเทศมณฑลเดวอน และเขาทำงานเป็นผู้ช่วยพยาบาลเป็นเวลาสั้น ๆ[6]
แซงเงอร์เริ่มเรียนปริญญาเอกในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1940 โดยมีที่ปรึกษาได้แก่นอร์แมน พีรี หัวข้อวิจัยของแซงเงอร์ได้แก่การค้นหาโปรตีนที่รับประทานได้จากหญ้า อย่างไรก็ตาม เพียงหนึ่งเดือนเศษหลังจากนั้นพีรีย้ายออกจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ไปรับตำแหน่งอื่น ทำให้อัลแบร์ท น็อยเบอร์เกอร์เข้ารับเป็นที่ปรึกษาของแซงเงอร์แทน[6] แซงเงอร์เปลี่ยนหัวข้อวิจัยเป็นการศึกษากระบวนการเมแทบอลิซึมของกรดอะมิโนไลซีน[10] และปัญหาเกี่ยวกับไนโตรเจนในมันฝรั่ง[11] หัวเรื่องวิทยานิพนธ์ของเขาคือ "The metabolism of the amino acid lysine in the animal body" โดยมีกรรมการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ได้แก่ชาลส์ ฮาริงตันและอัลเบิร์ต ชิบนอลล์ เขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกใน ค.ศ. 1943[6]
ผลงานด้านวิทยาศาสตร์
[แก้]การหาลำดับกรดอะมิโนในอินซูลิน
[แก้]น็อยเบอร์เกอร์ย้ายไปประจำที่สถาบันแห่งชาติเพื่อการวิจัยทางการแพทย์ในกรุงลอนดอน แต่แซงเงอร์เลือกที่จะอยู่ที่เคมบริดจ์ต่อ ใน ค.ศ. 1943 แซงเงอร์เข้ากลุ่มวิจัยของชาลส์ ชิบนอลล์ นักเคมีโปรตีนผู้ซึ่งเพิ่งเข้ารับตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาชีวเคมี[12] ชิบนอลล์ได้เริ่มงานบางส่วนในการหาลำดับกรดอะมิโนในอินซูลินจากวัว[13] และเสนอให้แซงเงอร์ดูหมู่อะมิโนในโปรตีน อินซูลินสามารถหาซื้อได้จากร้านขายยาในสหราชอาณาจักร และเป็นโปรตีนบริสุทธิ์ไม่กี่ชนิดที่สามารถหาซื้อได้ แซงเงอร์ออกทุนสำหรับวิจัยเองในช่วงแรกก่อนที่จะได้รับทุนสนับสนุนจากสภาการวิจัยทางการแพทย์จนถึง ค.ศ. 1944 และระหว่าง ค.ศ. 1944 และ 1951 เขาได้รับทุนจากกองทุนวิจัยทางการแพทย์อนุสรณ์ไบท์[5]
ความสำเร็จสำคัญประการแรกของแซงเงอร์ได้แก่การหาลำดับกรดอะมิโนทั้งหมดภายในสายพอลิเพปไทด์สองสายของอินซูลินจากวัว (เอและบี) โดยสายเอทำสำเร็จใน ค.ศ. 1952 ส่วนสายบีสำเร็จก่อนหน้านั้นหนึ่งปี[14][15] ก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าโครงสร้างของโปรตีนนั้นไม่เป็นระเบียบ อย่างไรก็ตาม แซงเงอร์พิสูจน์ว่ามีโครงสร้างและองค์ประกอบทางเคมีที่ชัดเจน[6]
ในการหาลำดับกรดอะมิโน แซงเงอร์ใช้เทคนิคโครมาโทกราฟีแบบแบ่งส่วนซึ่งพัฒนาโดยริชาร์ด ลอว์เรนซ์ มิลลิงตัน ซินจ์และอาร์เชอร์ มาร์ติน แซงเงอร์ใช้ 1-ฟลูออโร-2,4-ไดไนโตรเบนซีน (ซึ่งต่อมาเรียกว่า "รีเอเจนต์ของแซงเงอร์" ชื่ออื่น ๆ ได้แก่ "ฟลูออโรไดไนโตรเบนซีน" หรือเอฟดีเอ็นบี) ซึ่งใช้ได้ผลดีในการติดฉลากเอ็น-เทอร์มินัสของเพปไทด์[16] จากนั้นจึงไฮโดรไลส์บางส่วนเพื่อให้อินซูลินกลายเป็นเพปไทด์สายสั้น ๆ โดยใช้กรดไฮโดรคลอริกหรือเอนไซม์เช่นทริปซิน เพปไทด์ผสมที่ได้หลังจากนั้นถูกนำไปแยกในสองทิศทางบนกระดาษกรอง โดยครั้งแรกใช้อิเล็กโตรโฟรีซิสก่อนจะใช้โครมาโทกราฟีเพื่อแยกต่อในทิศทางตั้งฉากกับครั้งแรก สายเพปไทด์ต่างชนิดกันซึ่งถูกตรวจจับโดยใช้นินไฮดรินจะเคลื่อนที่ไปยังบริเวณต่าง ๆ บนกระดาษ ทำให้เกิดเป็นรูปแบบที่แซงเงอร์เรียกว่า "ลายนิ้วมือ" สายเพปไทด์จากเอ็น-เทอร์มินัสซึ่งถูกติดฉลากโดยเอฟดีเอ็นบีจะปรากฏให้เห็นเป็นสีเหลือง และกรดอะมิโนที่เอ็น-เทอร์มินัสสามารถวิเคราะห์หาได้จากการไฮโดรไลซิสสายเพปไทด์ให้เป็นกรดอะมิโนทั้งหมดและดูว่ากรดอะมิโนใดที่กลายเป็นอนุพันธ์เอฟดีเอ็นบี[6]
แซงเงอร์ใช้กระบวนการดังกล่าวซ้ำ ๆ โดยเปลี่ยนวิธีการไฮโดรไลซิสบางส่วนในช่วงแรก ข้อมูลที่ได้จากกระบวนการดังกล่าวนี้สามารถนำไปประกอบกันเป็นสำดับกรดอะมิโนที่สมบูรณ์ได้ ในท้ายที่สุด เนื่องจากอินซูลินสายเอและสายบีจะไม่ออกฤทธิ์ในทางสรีรวิทยาถ้าไม่มีพันธะไดซัลไฟด์สามพันธะ (สองพันธะระหว่างสายเอและสายบี และอีกหนึ่งพันธะภายในสายเอ) แซงเงอร์และคณะสามารถสรุปโครงสร้างของอินซูลินอย่างสมบูรณ์ใน ค.ศ. 1955[17][18] ข้อสรุปของแซงเงอร์ได้แก่สายพอลิเพปไทด์ทั้งสองสายของอินซูลินมีลำดับกรดอะมิโนที่ชัดเจนและแน่นอน และสามารถขยายต่อไปยังโปรตีนชนดอื่น ๆ ได้ ซึ่งเป็นผลงานที่ทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีครั้งแรกใน ค.ศ. 1958[19] การค้นพบนี้มีส่วนสำคัญให้ฟรานซิส คริกพัฒนาแนวคิดสำหรับโครงสร้างของดีเอ็นเอ[20]
การหาลำดับอาร์เอ็นเอ
[แก้]แซงเงอร์เป็นสมาชิกของนักวิจัยภายนอกประจำสภาการวิจัยทางการแพทย์ ตั้งแต่ ค.ศ. 1951[5] และต่อมาเมื่อสภาการวิจัยทางการแพทย์ได้สถาปนาห้องปฏิบัติการชีววิทยาโมเลกุลใน ค.ศ. 1962 แซงเงอร์ได้ย้ายห้องปฏิบัติการจากภาควิชาชีวเคมีไปยังชั้นบนสุดของอาคารห้องปฏิบัติการดังกล่าว และเขาขึ้นดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกเคมีโปรตีน[6] แต่ก่อนที่เขาจะย้ายไปนั้นเขาเริ่มสนใจความเป็นไปได้ในการหาลำดับอาร์เอ็นเอและเริ่มพัฒนาวิธีการแยกชิ้นส่วนของไรโบนิวคลีโอไทด์โดยใช้เอนไซม์นิวคลีเอส[20]
อุปสรรคสำคัญในการทำงานนี้มาจากการหาแหล่งอาร์เอ็นเอที่บริสุทธิ์พอที่จะวิเคราะห์ได้ ใน ค.ศ. 1964 แซงเงอร์และเชลด์ มาร์กเคอร์ค้นพบฟอร์มิลเมไทโอนีนทีอาร์เอ็นเอซึ่งเริ่มการสังเคราะห์โปรตีนในแบคทีเรีย[21] อย่างไรก็ตาม ผู้ที่สามารถหาลำดับทีอาร์เอ็นเอได้สำเร็จไม่ใช่แซงเงอร์แต่เป็นรอเบิร์ต ดับเบิลยู. ฮอลลีย์และคณะจากมหาวิทยาลัยคอร์เนลซึ่งเผยแพร่ลำดับของไรโบนิวคลีโอไทด์ 77 โมเลกุลที่ประกอบกันเป็นอะลานีนทีอาร์เอ็นเอจาก Saccharomyces cerevisiae ใน ค.ศ. 1965[22] ใน ค.ศ. 1967 กลุ่มวิจัยของแซงเงอร์สามารถวิเคราะห์หาลำดับนิวคลีโอไทด์ของ 5S ไรโบโซมอล อาร์เอ็นเอ จาก Escherichia coli ซึ่งมีนิวคลีโอไทด์จำนวน 120 โมเลกุล[23]
การหาลำดับดีเอ็นเอ
[แก้]แซงเงอร์ได้เปลี่ยนไปวิจัยหาลำดับดีเอ็นเอซึ่งใช้เทคนิคที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เขาศึกษาวิธีการต่าง ๆ เพื่อใช้เอนไซม์ดีเอ็นเอพอลิเมอเรส I จากเชื้อ อี. โคไล เพื่อคัดลอกดีเอ็นเอสายเดี่ยว[24] ใน ค.ศ. 1975 แซงเงอร์ร่วมกับอลัน คูลสัน ได้ตีพิมพ์ผลงานหาลำดับดีเอ็นเอโดยใช้เอนไซม์ดีเอ็นเอพอลิเมอเรสและนิวคลีโอไทด์ที่ติดฉลากกัมมันตรังสี ซึ่งแซงเงอร์เรียกว่าเทคนิค "บวกและลบ"[25][26] กระบวนการดังกล่าวใช้สองวิธีที่เกี่ยวข้องกันเพื่อสังเคราะห์โอลิโกนิวคลีโอไทด์สายสั้นที่มีปลาย 3' ระบุชัดเจน ซึ่งสามารถนำไปแยกโดยวิธีอิเล็กโตรโฟรีซิสโดยใช้เจลพอลิอะคริลาไมด์ก่อนนำไปวิเคราะห์ด้วยการถ่ายภาพรังสีต่อไป กระบวนการดังกล่าวนี้สามารถหาลำดับนิวคลีโอไทด์ได้ถึง 80 นิวคลีโอไทด์ในครั้งเดียว และถือเป็นการปรับปรุงจากเดิมอย่างมาก แต่ก็ยังเป็นวิธีที่ต้องทำงานอย่างหนัก อย่างไรก็ตาม กลุ่มของแซงเงอร์สามารถหาลำดับในแบคเทอริโอเฟจΦX174 ซึ่งมีจำนวน 5,386 นิวคลีโอไทด์ได้เกือบทั้งหมด[27] ซึ่งเป็นการทำจีโนมดีเอ็นเอเป็นครั้งแรก พวกเขายังค้นพบว่าบริเวณในการสังเคราะห์โปรตีนสามารถซ้อนทับกันได้[3]
ใน ค.ศ. 1977 แซงเงอร์และคณะนำเสนอการใช้อนุพันธ์ไดดีออกซีในการหยุดการสังเคราะห์สายดีเอ็นเอซึ่งเรียกว่า "วิธีแซงเงอร์"[26][28] ซึ่งเป็นการค้นพบที่สำคัญและสามารถหาลำดับภายในสายดีเอ็นเอที่ยาวได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ซึ่งทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีอีกครั้งใน ค.ศ. 1980 ร่วมกับวอลเทอร์ กิลเบิร์ตและพอล เบิร์ก[29] แซงเงอร์และคณะใช้วิธีการนี้ในการหาลำดับของดีเอ็นเอของไมโทคอนเดรียในมนุษย์ (16,569 คู่เบส)[30] และของแลมบ์ดาเฟจ (48,502 คู่เบส)[31] วิธีแซงเงอร์นี้ได้นำไปใช้ในการทำจีโนมมนุษย์[32]
นักศึกษาปริญญาเอก
[แก้]ในช่วงที่แซงเงอร์เป็นนักวิจัยนั้น เขาเป็นที่ปรึกษาให้กับนักศึกษาปริญญาเอกมากกว่าสิบคน ซึ่งสองคนในนั้นได้รับรางวัลโนเบลในเวลาต่อมา นักศึกษาคนแรกของเขาคือรอดนีย์ พอร์เทอร์ซึ่งเข้าร่วมกลุ่มวิจัยใน ค.ศ. 1947[3] พอร์เทอร์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ใน ค.ศ. 1972 ร่วมกับเจอรัลด์ เอเดิลมันจากผลงานการหาโครงสร้างทางเคมีของแอนติบอดี[33] เอลิซาเบธ แบล็กเบิร์นเป็นนักศึกษาปริญญาเอกในกลุ่มวิจัยของแซงเงอร์ระหว่าง ค.ศ. 1971 และ 1974[3][34] เธอได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ใน ค.ศ. 2009 ร่วมกับแครอล ดับเบิลยู. ไกรเดอร์และแจ็ก ดับเบิลยู. ชุสตัก จากผลงานในการศึกษาเทโลเมียร์และเอนไซม์เทโลเมอเรส[35]
กฎของแซงเงอร์
[แก้]กฎของแซงเงอร์มีใจความว่า
... anytime you get technical development that’s two to threefold or more efficient, accurate, cheaper, a whole range of experiments opens up.[36]
ซึ่งแปลเป็นไทยได้ว่า
... เมื่อใดก็ตามที่คุณพัฒนาเทคนิคที่มีประสิทธิภาพกว่าเดิม แม่นยำกว่าเดิม ถูกกว่าเดิมประมาณสองหรือสามเท่า ก็จะเปิดโอกาสให้มีการทดลองใหม่ ๆ หลายร้อยหลายพันอย่าง
กฎนี้ไม่ควรสับสนกับกฎของเทร์เรนซ์ แซงเงอร์ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ซึ่งมีที่มาจากกฎของเอร์กกี โอยา นักวิทยาการคอมพิวเตอร์ชาวฟินแลนด์
รางวัลและการเชิดชูเกียรติ
[แก้]แซงเงอร์เป็นเพียงหนึ่งในสองคนเท่านั้นที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีสองครั้ง (อีกคนได้แก่คาร์ล แบร์รี ชาร์เพลสใน ค.ศ. 2001 และ 2022) และเป็นเพียงหนึ่งในห้าคนที่ได้รับรางวัลโนเบลสองครั้ง อีกสามคนที่เหลือได้แก่มารี กูว์รี (สาขาฟิสิกส์ใน ค.ศ. 1903 และสาขาเคมีใน ค.ศ. 1911) ไลนัส พอลิง (สาขาเคมีใน ค.ศ. 1954 และสาขาสันติภาพใน ค.ศ. 1962) และจอห์น บาร์ดีน (สาขาฟิสิกส์สองครั้งใน ค.ศ. 1956 และ ค.ศ. 1972)[4]
สถาบันเวลล์คัมแซงเงอร์ ตั้งชื่อตามแซงเงอร์เพื่อให้เกียรติแก่เขา[3]
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]การสมรสและครอบครัว
[แก้]แซงเงอร์สมรสกับมาร์กาเรต โจแอน โฮว์ (คนละคนกับมาร์กาเรต แซงเงอร์ นักเคลื่อนไหวด้านการคุมกำเนิดในสหรัฐ) ใน ค.ศ. 1940 เธอเสียชีวิตใน ค.ศ. 2012 พวกเขามีบุตรด้วยกันสามคน ได้แก่รอบิน (เกิด ค.ศ. 1943) พีเทอร์ (เกิด ค.ศ. 1946) และแซลลี (เกิด ค.ศ. 1960)[5] แซงเงอร์กล่าวว่าภรรยาของเขา "มีส่วนสำคัญที่สุดในงานของเขาโดยการดูแลทุกคนในบ้านให้มีความสุข"[37]
ชีวิตหลังเกษียณ
[แก้]แซงเงอร์เกษียณใน ค.ศ. 1983 ขณะที่เขาอายุได้ 65 ปี และย้ายไปอยู่บ้าน "ฟาร์เลส์" ในหมู่บ้านสวอฟฟัมบุลเบ็กชานเมืองเคมบริดจ์ในเทศมณฑลเคมบริดจ์เชอร์[3]
ใน ค.ศ. 1992 กองทุนเวลล์คัมและสภาการวิจัยทางการแพทย์ได้ก่อตั้งศูนย์แซงเงอร์ (ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นสถาบันเวลล์คัมแซงเงอร์) ตามชื่อของเขา[38] ศูนย์ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของวิทยาเขตจีโนมเวลล์คัมในหมู่บ้านฮิงซ์ตัน ใกล้กับบ้านของแซงเงอร์ จอห์น ซัลส์ตัน ผู้ก่อตั้งศูนย์แซงเงอร์และประธานศูนย์คนแรกได้ขออนุญาตใช้ชื่อแซงเงอร์เป็นชื่อศูนย์ แซงเงอร์ยินยอมแต่กำชับว่า "ทำให้ดี ๆ นะ"[38] แซงเงอร์เดินทางไปเปิดศูนย์ด้วยตัวเองเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1993 ซึ่งในขณะนั้นศูนย์แซงเงอร์ยังมีนักวิจัยประจำไม่ถึง 50 คน แต่ต่อมาได้มีบทบาทสำคัญในโครงการจีโนมมนุษย์[38] และกลายมาเป็นสถาบันวิจัยด้านจีโนมที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก
แซงเงอร์กล่าวว่าเขาไม่พบหลักฐานใด ๆ ว่าพระเจ้ามีจริง เขาจึงกลายมาเป็นนักอไญยนิยม[39] ในบทสัมภาษณ์ลงในหนังสือพิมพ์ เดอะไทมส์ ใน ค.ศ. 2000 แซงเงอร์กล่าวว่า "พ่อผมเป็นเควกเกอร์ที่เคร่ง และผมก็โตมาแบบเควกเกอร์ และสำหรับพวกเขา ความจริงคือสิ่งที่สำคัญมาก ผมเบี่ยงเบนไปจากความเชื่อเหล่านั้น แน่นอนว่าข้อหนึ่งก็คือค้นหาความจริง แต่การค้นหาความจริงก็ต้องมีหลักฐาน ต่อให้ผมอยากจะเชื่อในพระเจ้า ผมก็ทำได้ยากอยู่ดี ผมต้องการข้อพิสูจน์"[40]
เขาปฏิเสธบรรดาศักดิ์อัศวินเนื่องจากเขาไม่ต้องการถูกเรียกว่า "เซอร์" โดยกล่าวว่า "พอเป็นอัศวินแล้วคุณก็แตกต่างจากคนอื่นใช่ไหมล่ะ และผมก็ไม่อยากจะแตกต่างจากคนอื่น" ใน ค.ศ. 1986 เขายอมรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์คุณธรรมซึ่งมีสมาชิกได้เพียง 24 คนที่ยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น[37][39][40]
ใน ค.ศ. 2007 สมาคมชีวเคมีแห่งสหราชอาณาจักรได้รับทุนจากกองทุนเวลล์คัมเพื่อจัดเก็บรักษาสมุดบันทึก 35 เล่มของแซงเงอร์ที่จดบันทึกการวิจัยตั้งแต่ ค.ศ. 1944 จนถึง ค.ศ. 1983 นิตยสาร ไซเอินซ์ ซึ่งรายงานข่าวนี้ได้รายงานด้วยว่าแซงเงอร์ผู้ซึ่งเป็น "คนที่ปลีกตัวจากชื่อเสียงมากที่สุดเท่าที่คุณอยากจะพบ" ในขณะนั้นใช้ชีวิตทำสวนที่บ้านในเทศมณฑลเคมบริดจ์เชอร์[41]
แซงเงอร์เสียชีวิตขณะหลับที่โรงพยาบาลแอดเดินบรุกส์ในเคมบริดจ์เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013[37][42] ในบทความระลึกถึง แซงเงอร์บรรยายตัวเขาเองว่าเป็น "ชายคนหนึ่งที่ทำโน่นนี่เรื่อยเปื่อยในแล็บ"[43] และ "ไม่ค่อยเก่งในทางวิชาการ"[44]
ผลงานตีพิมพ์ที่สำคัญ
[แก้]- Neuberger, A.; Sanger, F. (1942), "The nitrogen of the potato", Biochemical Journal, 36 (7–9): 662–671, doi:10.1042/bj0360662, PMC 1266851, PMID 16747571.
- Neuberger, A.; Sanger, F. (1944), "The metabolism of lysine", Biochemical Journal, 38 (1): 119–125, doi:10.1042/bj0380119, PMC 1258037, PMID 16747737.
- Sanger, F. (1945), "The free amino groups of insulin", Biochemical Journal, 39 (5): 507–515, doi:10.1042/bj0390507, PMC 1258275, PMID 16747948.
- Sanger, F. (1947), "Oxidation of insulin by performic acid", Nature, 160 (4061): 295–296, Bibcode:1947Natur.160..295S, doi:10.1038/160295b0, PMID 20344639, S2CID 4127677.
- Porter, R.R.; Sanger, F. (1948), "The free amino groups of haemoglobins", Biochemical Journal, 42 (2): 287–294, doi:10.1042/bj0420287, PMC 1258669, PMID 16748281.
- Sanger, F. (1949a), "Fractionation of oxidized insulin", Biochemical Journal, 44 (1): 126–128, doi:10.1042/bj0440126, PMC 1274818, PMID 16748471.
- Sanger, F. (1949b), "The terminal peptides of insulin", Biochemical Journal, 45 (5): 563–574, doi:10.1042/bj0450563, PMC 1275055, PMID 15396627.
- Sanger, F.; Tuppy, H. (1951a), "The amino-acid sequence in the phenylalanyl chain of insulin. 1. The identification of lower peptides from partial hydrolysates", Biochemical Journal, 49 (4): 463–481, doi:10.1042/bj0490463, PMC 1197535, PMID 14886310.
- Sanger, F.; Tuppy, H. (1951b), "The amino-acid sequence in the phenylalanyl chain of insulin. 2. The investigation of peptides from enzymic hydrolysates", Biochemical Journal, 49 (4): 481–490, doi:10.1042/bj0490481, PMC 1197536, PMID 14886311.
- Sanger, F.; Thompson, E.O.P. (1953a), "The amino-acid sequence in the glycyl chain of insulin. 1. The identification of lower peptides from partial hydrolysates", Biochemical Journal, 53 (3): 353–366, doi:10.1042/bj0530353, PMC 1198157, PMID 13032078.
- Sanger, F.; Thompson, E.O.P. (1953b), "The amino-acid sequence in the glycyl chain of insulin. 2. The investigation of peptides from enzymic hydrolysates", Biochemical Journal, 53 (3): 366–374, doi:10.1042/bj0530366, PMC 1198158, PMID 13032079.
- Sanger, F.; Thompson, E.O.P.; Kitai, R. (1955), "The amide groups of insulin", Biochemical Journal, 59 (3): 509–518, doi:10.1042/bj0590509, PMC 1216278, PMID 14363129.
- Ryle, A.P.; Sanger, F.; Smith, L.F.; Kitai, R. (1955), "The disulphide bonds of insulin", Biochemical Journal, 60 (4): 541–556, doi:10.1042/bj0600541, PMC 1216151, PMID 13249947.
- Brown, H.; Sanger, F.; Kitai, R. (1955), "The structure of pig and sheep insulins", Biochemical Journal, 60 (4): 556–565, doi:10.1042/bj0600556, PMC 1216152, PMID 13249948.
- Sanger, F. (1959), "Chemistry of Insulin: determination of the structure of insulin opens the way to greater understanding of life processes", Science, 129 (3359): 1340–1344, Bibcode:1959Sci...129.1340G, doi:10.1126/science.129.3359.1340, PMID 13658959.
- Milstein, C.; Sanger, F. (1961), "An amino acid sequence in the active centre of phosphoglucomutase", Biochemical Journal, 79 (3): 456–469, doi:10.1042/bj0790456, PMC 1205670, PMID 13771000.
- Marcker, K.; Sanger, F. (1964), "N-formyl-methionyl-S-RNA", Journal of Molecular Biology, 8 (6): 835–840, doi:10.1016/S0022-2836(64)80164-9, PMID 14187409.
- Sanger, F.; Brownlee, G.G.; Barrell, B.G. (1965), "A two-dimensional fractionation procedure for radioactive nucleotides", Journal of Molecular Biology, 13 (2): 373–398, doi:10.1016/S0022-2836(65)80104-8, PMID 5325727.
- Brownlee, G.G.; Sanger, F.; Barrell, B.G. (1967), "Nucleotide sequence of 5S-ribosomal RNA from Escherichia coli", Nature, 215 (5102): 735–736, Bibcode:1967Natur.215..735B, doi:10.1038/215735a0, PMID 4862513, S2CID 4270186.
- Brownlee, G.G.; Sanger, F. (1967), "Nucleotide sequences from the low molecular weight ribosomal RNA of Escherichia coli", Journal of Molecular Biology, 23 (3): 337–353, doi:10.1016/S0022-2836(67)80109-8, PMID 4291728.
- Brownlee, G.G.; Sanger, F.; Barrell, B.G. (1968), "The sequence of 5S ribosomal ribonucleic acid", Journal of Molecular Biology, 34 (3): 379–412, doi:10.1016/0022-2836(68)90168-X, PMID 4938553.
- Adams, J.M.; Jeppesen, P.G.; Sanger, F.; Barrell, B.G. (1969), "Nucleotide sequence from the coat protein cistron of R17 bacteriophage RNA", Nature, 223 (5210): 1009–1014, Bibcode:1969Natur.223.1009A, doi:10.1038/2231009a0, PMID 5811898, S2CID 4152602.
- Barrell, B.G.; Sanger, F. (1969), "The sequence of phenylalanine tRNA from E. coli", FEBS Letters, 3 (4): 275–278, doi:10.1016/0014-5793(69)80157-2, PMID 11947028, S2CID 34155866.
- Jeppesen, P.G.; Barrell, B.G.; Sanger, F.; Coulson, A.R. (1972), "Nucleotide sequences of two fragments from the coat-protein cistron of bacteriophage R17 ribonucleic acid", Biochemical Journal, 128 (5): 993–1006, doi:10.1042/bj1280993h, PMC 1173988, PMID 4566195.
- Sanger, F.; Donelson, J.E.; Coulson, A.R.; Kössel, H.; Fischer, D. (1973), "Use of DNA Polymerase I Primed by a Synthetic Oligonucleotide to Determine a Nucleotide Sequence in Phage f1 DNA", Proceedings of the National Academy of Sciences USA, 70 (4): 1209–1213, Bibcode:1973PNAS...70.1209S, doi:10.1073/pnas.70.4.1209, PMC 433459, PMID 4577794.
- Sanger, F.; Coulson, A.R. (1975), "A rapid method for determining sequences in DNA by primed synthesis with DNA polymerase", Journal of Molecular Biology, 94 (3): 441–448, doi:10.1016/0022-2836(75)90213-2, PMID 1100841.
- Sanger, F.; Nicklen, S.; Coulson, A.R. (1977), "DNA sequencing with chain-terminating inhibitors", Proceedings of the National Academy of Sciences USA, 74 (12): 5463–5467, Bibcode:1977PNAS...74.5463S, doi:10.1073/pnas.74.12.5463, PMC 431765, PMID 271968. According to the Institute for Scientific Information (ISI) database, by October 2010 this paper had been cited over 64,000 times.
- Sanger, F.; Air, G.M.; Barrell, B.G.; Brown, N.L.; Coulson, A.R.; Fiddes, C.A.; Hutchinson, C.A.; Slocombe, P.M.; Smith, M. (1977), "Nucleotide sequence of bacteriophage φX174 DNA", Nature, 265 (5596): 687–695, Bibcode:1977Natur.265..687S, doi:10.1038/265687a0, PMID 870828, S2CID 4206886.
- Sanger, F.; Coulson, A.R. (1978), "The use of thin acrylamide gels for DNA sequencing", FEBS Letters, 87 (1): 107–110, doi:10.1016/0014-5793(78)80145-8, PMID 631324, S2CID 1620755.
- Sanger, F.; Coulson, A.R.; Barrell, B.G.; Smith, A.J.; Roe, B.A. (1980), "Cloning in single-stranded bacteriophage as an aid to rapid DNA sequencing", Journal of Molecular Biology, 143 (2): 161–178, doi:10.1016/0022-2836(80)90196-5, PMID 6260957.
- Anderson, S.; Bankier, A.T.; Barrell, B.G.; De Bruijn, M.H.; Coulson, A.R.; Drouin, J.; Eperon, I.C.; Nierlich, D.P.; Roe, B.A.; Sanger, F.; Schreier, P.H.; Smith, A.J.; Staden, R.; Young, I.G. (1981), "Sequence and organization of the human mitochondrial genome", Nature, 290 (5806): 457–465, Bibcode:1981Natur.290..457A, doi:10.1038/290457a0, PMID 7219534, S2CID 4355527.
- Anderson, S.; De Bruijn, M.H.; Coulson, A.R.; Eperon, I.C.; Sanger, F.; Young, I.G. (1982), "Complete sequence of bovine mitochondrial DNA. Conserved features of the mammalian mitochondrial genome", Journal of Molecular Biology, 156 (4): 683–717, doi:10.1016/0022-2836(82)90137-1, PMID 7120390.
- Sanger, F.; Coulson, A.R.; Hong, G.F.; Hill, D.F.; Petersen, G.B. (1982), "Nucleotide sequence of bacteriophage λ DNA", Journal of Molecular Biology, 162 (4): 729–773, doi:10.1016/0022-2836(82)90546-0, PMID 6221115.
- Sanger, F. (1988), "Sequences, sequences, and sequences", Annual Review of Biochemistry, 57: 1–28, doi:10.1146/annurev.bi.57.070188.000245, PMID 2460023.
อ้างอิง
[แก้]แหล่งอ้างอิงแทรกในบทความ
[แก้]- ↑ "Seven days: 22–28 November 2013". Nature. 503 (7477): 442–443. 2013. Bibcode:2013Natur.503..442.. doi:10.1038/503442a.
- ↑ Allen, A.K.; Muir, H.M. (2001). "Albert Neuberger. 15 April 1908 – 14 August 1996". Biographical Memoirs of Fellows of the Royal Society. 47: 369–382. doi:10.1098/rsbm.2001.0021. JSTOR 770373. PMID 15124648. S2CID 72943723.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 Brownlee, George G. (2015). "Frederick Sanger CBE CH OM. 13 August 1918 – 19 November 2013". Biographical Memoirs of Fellows of the Royal Society. 61: 437–466. doi:10.1098/rsbm.2015.0013.
- ↑ 4.0 4.1 "Nobel Prize Facts". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ 1 September 2015.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 "The Nobel Prize in Chemistry 1958: Frederick Sanger – biography". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ 10 August 2020.
- ↑ 6.00 6.01 6.02 6.03 6.04 6.05 6.06 6.07 6.08 6.09 "A Life of Research on the Sequences of Proteins and Nucleic Acids: Fred Sanger in conversation with George Brownlee". Biochemical Society, Edina – Film & Sound Online. 9 October 1992. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 March 2014. สืบค้นเมื่อ 29 April 2013.. Subscription required. A 200 min interview divided into 44 segments. Notes give the content of each segment. [ลิงก์เสีย]
- ↑ Marks, Lara. "Sanger's early life: From the cradle to the laboratory". The path to DNA sequencing: The life and work of Fred Sanger. What is Biotechnology. สืบค้นเมื่อ 1 September 2015.
- ↑ Jeffers, Joe S. (2017). Frederick Sanger Two-Time Nobel Laureate in Chemistry. Springer International Publishing.
- ↑ "The Nobel Prize in Chemistry 1980".
- ↑ Sanger, Frederick (1944). The metabolism of the amino acid lysine in the animal body (วิทยานิพนธ์ PhD). University of Cambridge. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-17. สืบค้นเมื่อ 2022-10-11.
- ↑ Neuberger & Sanger 1942; Neuberger & Sanger 1944
- ↑ "Frederick Sanger, Ph.D. Biography and Interview". www.achievement.org. American Academy of Achievement.
- ↑ Chibnall, A. C. (1942). "Bakerian Lecture: Amino-Acid Analysis and the Structure of Proteins" (PDF). Proceedings of the Royal Society B: Biological Sciences. 131 (863): 136–160. Bibcode:1942RSPSB.131..136C. doi:10.1098/rspb.1942.0021. S2CID 85124201. Section on insulin starts on page 153.
- ↑ Sanger & Tuppy 1951a; Sanger & Tuppy 1951b; Sanger & Thompson 1953a; Sanger & Thompson 1953b
- ↑ Sanger, F. (1958), Nobel lecture: The chemistry of insulin (PDF), Nobelprize.org, สืบค้นเมื่อ 18 October 2010. Sanger's Nobel lecture was also published in Science: Sanger 1959
- ↑ Marks, Lara. "Sequencing proteins: Insulin". The path to DNA sequencing: The life and work of Fred Sanger. What is Biotechnology. สืบค้นเมื่อ 1 September 2015.
- ↑ Ryle et al. 1955.
- ↑ Stretton, A.O. (2002). "The first sequence. Fred Sanger and insulin". Genetics. 162 (2): 527–532. doi:10.1093/genetics/162.2.527. PMC 1462286. PMID 12399368.
- ↑ "The Nobel Prize in Chemistry 1958: Frederick Sanger". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ 8 October 2010.
- ↑ 20.0 20.1 Marks, Lara. "The path to sequencing nucleic acids". The path to DNA sequencing: The life and work of Fred Sanger. What is Biotechnology. สืบค้นเมื่อ 1 September 2015.
- ↑ Marcker & Sanger 1964
- ↑ Holley, R. W.; Apgar, J.; Everett, G. A.; Madison, J. T.; Marquisee, M.; Merrill, S. H.; Penswick, J. R.; Zamir, A. (1965). "Structure of a Ribonucleic Acid". Science. 147 (3664): 1462–1465. Bibcode:1965Sci...147.1462H. doi:10.1126/science.147.3664.1462. PMID 14263761. S2CID 40989800.
- ↑ Brownlee, Sanger & Barrell 1967; Brownlee, Sanger & Barrell 1968
- ↑ Sanger et al. 1973
- ↑ Sanger & Coulson 1975
- ↑ 26.0 26.1 Sanger, F. (1980). "Nobel lecture: Determination of nucleotide sequences in DNA" (PDF). Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ 15 September 2019.
- ↑ Sanger et al. 1977
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อNicklen
- ↑ "The Nobel Prize in Chemistry 1980: Paul Berg, Walter Gilbert, Frederick Sanger". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ 8 October 2010.
- ↑ Anderson et al. 1981
- ↑ Sanger et al. 1982
- ↑ Walker, John (2014). "Frederick Sanger (1918–2013) Double Nobel-prizewinning genomics pioneer". Nature. 505 (7481): 27. Bibcode:2014Natur.505...27W. doi:10.1038/505027a. PMID 24380948.
- ↑ "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1972". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ 1 September 2015.
- ↑ Blackburn, E. H. (1974). Sequence studies on bacteriophage ØX174 DNA by transcription (วิทยานิพนธ์ PhD). University of Cambridge. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2022-10-11.
- ↑ "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 2009". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ 1 September 2015.
- ↑ "Schlessinger, David" (PDF). National Human Genome Research Institute (NHGRI, genome.gov). March 2018.
- ↑ 37.0 37.1 37.2 "Frederick Sanger, OM". The Telegraph. 20 November 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2022. สืบค้นเมื่อ 20 November 2013.
- ↑ 38.0 38.1 38.2 "Frederick Sanger". Wellcome Trust Sanger Institute. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 เมษายน 2011. สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2010.
- ↑ 39.0 39.1 Hargittai, István (April 1999). "Interview: Frederick Sanger". The Chemical Intelligencer. New York: Springer-Verlag. 4 (2): 6–11.. This interview, which took place on 16 September 1997, was republished in Hargittai, István (2002). "Chapter 5: Frederick Sanger". Candid science II: conversations with famous biomedical scientists. London: Imperial College Press. pp. 73–83. ISBN 978-1-86094-288-4.
- ↑ 40.0 40.1 Ahuja, Anjana (12 January 2000). "The double Nobel laureate who began the book of life". The Times. London. p. 40. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 December 2008. สืบค้นเมื่อ 18 October 2010 – โดยทาง warwick.ac.uk.
- ↑ Bhattachjee, Yudhijit, บ.ก. (2007). "Newsmakers: A Life in Science". Science. 317 (5840): 879. doi:10.1126/science.317.5840.879e. S2CID 220092058.
- ↑ "Frederick Sanger: Nobel Prize winner dies at 95". BBC.co.uk. 20 November 2013. สืบค้นเมื่อ 20 November 2013.
- ↑ "Frederick Sanger: Unassuming British biochemist whose pivotal and far-reaching discoveries made him one of a handful of double Nobel prizewinners". The Times. London. 21 November 2013. p. 63.
- ↑ "Frederick Sanger's achievements cannot be overstated". The Conversation. 21 November 2013.
แหล่งอ้างอิงเพิ่มเติม
[แก้]- Brownlee, George G. (2014). Fred Sanger, double Nobel laureate: a biography. Cambridge, UK: Cambridge University Press. ISBN 978-1-107-08334-9. Chapters 4-6 contain the 1992 interview that the author conducted with Sanger.
- Finch, John (2008), A Nobel Fellow on every floor: a history of the Medical Research Council Laboratory of Molecular Biology, Cambridge: Medical Research Council, ISBN 978-1-84046-940-0.
- García-Sancho, Miguel (2010). "A new insight into Sanger's development of sequencing: from proteins to DNA, 1943–1977" (PDF). Journal of the History of Biology. 43 (2): 265–323. doi:10.1007/s10739-009-9184-1. hdl:20.500.11820/e4febe48-772a-4f47-a1c5-a5ca89505367. PMID 20665230. S2CID 1134280.
- Sanger, F.; Dowding, M. (1996), Selected Papers of Frederick Sanger: with commentaries, Singapore: World Scientific, ISBN 978-981-02-2430-1.
- Interviews with Nobel Prize–winning scientists: Dr Frederick Sanger, British Broadcasting Corporation, c. 1985. Interviewed by Lewis Wolpert. Duration 1 hour.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- The Sanger Institute
- About the 1958 Nobel Prize
- About the 1980 Nobel Prize
- Fred Sanger 2001 Video Documentary by The Vega Science Trust
- ภาพเหมือนของ เฟรเดอริก แซงเงอร์ ที่หอศิลป์ภาพเหมือนแห่งชาติ
- Frederick Sanger interviewed by Alan Macfarlane, 24 August 2007 (video), also available on วิดีโอ ที่ยูทูบ. Duration 57 minutes.
- Frederick Sanger archive collection – Wellcome Library finding aid for the digitised collection.
- เฟรเดอริก แซงเงอร์ ที่ Nobelprize.org
- บทความที่มีลิงก์เสียตั้งแต่March 2019
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2461
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2556
- นักชีวเคมีชาวอังกฤษ
- ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี
- ผู้ได้รับรางวัลโนเบลมากกว่าหนึ่งครั้ง
- ชาวอังกฤษผู้ได้รับรางวัลโนเบล
- บุคคลจากเทศมณฑลกลอสเตอร์เชอร์
- บุคคลจากเทศมณฑลวอริกเชอร์
- บุคคลจากเทศมณฑลเคมบริดจ์เชอร์
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ซีบีอี
- ภาคีสมาชิกราชสมาคมแห่งลอนดอน