จอห์น เคนดรูว์
เซอร์ จอห์น คาวเดอรี เคนดรูว์ | |
---|---|
![]() | |
เกิด | 24 มีนาคม ค.ศ. 1917 ออกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ |
เสียชีวิต | 23 สิงหาคม ค.ศ. 1997 (80 ปี) เคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ |
สัญชาติ | อังกฤษ |
สาขา | ผลิกศาสตร์, ชีวเคมี |
สถาบันที่ทำงาน | กองทัพอากาศแห่งสหราชอาณาจักร |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ |
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอก | มักซ์ เพอรุตซ์ |
งานที่เป็นที่รู้จัก | โปรตีนที่มีฮีม |
รางวัลที่ได้รับ | รางวัลโนเบลสาขาเคมี (ค.ศ. 1962) เหรียญรอยัล (ค.ศ. 1965) |

เซอร์ จอห์น คาวเดอรี เคนดรูว์ (อังกฤษ: Sir John Cowdery Kendrew; 24 มีนาคม ค.ศ. 1917 – 23 สิงหาคม ค.ศ. 1997) เป็นนักผลิกศาสตร์และนักเคมีชาวอังกฤษ เกิดที่เมืองออกซฟอร์ด เขาเป็นบุตรของวิลฟอร์ด จอร์จ เคนดรูว์ ศาสตราจารย์ด้านภูมิอากาศวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดกับเอเวลีน เมย์ เกรแฮม แซนด์เบิร์ก นักประวัติศาสตร์ศิลป์[1] เคนดรูว์เรียนที่โรงเรียนดรากอนและวิทยาลัยคลิฟตัน ก่อนจะเรียนต่อด้านเคมีที่วิทยาลัยทรินิตี มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขาทำงานร่วมกับกองทัพอากาศแห่งสหราชอาณาจักร[2] และเริ่มสนใจการศึกษาโปรตีน
ในปี ค.ศ. 1945 เคนดรูว์ร่วมงานกับมักซ์ เพอรุตซ์ นักอณูชีววิทยาที่ห้องปฏิบัติการคาเวนดิชในเคมบริดจ์และเริ่มศึกษาเฮโมโกลบินในแกะ ต่อมาในปี ค.ศ. 1962 เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีร่วมกับเพอรุตซ์ จากผลงานการศึกษาโครงสร้างของโปรตีนด้วยการฉายรังสีเอกซ์[3] หลังจากนั้นเคนดรูว์ได้ร่วมก่อตั้งองค์การอณูชีววิทยายุโรป (European Molecular Biology Organization) และวารสารอณูชีววิทยา (Journal of Molecular Biology) ในช่วงบั้นปลายชีวิต เขาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยเซนต์จอห์นของมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด[4] และเสียชีวิตที่เมืองเคมบริดจ์ในปี ค.ศ. 1997
อ้างอิง[แก้]
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ จอห์น เคนดรูว์
- Obituary: Sir John Kendrew | The Independent