เมลวิน แคลวิน
เมลวิน แคลวิน | |
---|---|
![]() | |
เกิด | เมลวิน เอลลิส แคลวิน 8 เมษายน ค.ศ. 1911 เซนต์พอล รัฐมินนิโซตา สหรัฐอเมริกา |
เสียชีวิต | 8 มกราคม ค.ศ. 1997 เบิร์กลีย์ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา | (85 ปี)
สัญชาติ | อเมริกัน |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมิชิแกน มหาวิทยาลัยมินนิโซตา |
มีชื่อเสียงจาก | วัฏจักรแคลวิน |
รางวัล |
|
อาชีพทางวิทยาศาสตร์ | |
สาขา | ชีวเคมี |
สถาบันที่ทำงาน | |
อาจารย์ที่ปรึกษา | ไมเคิล โพลันยี |
ลูกศิษย์ในระดับปริญญาเอก | ซีริล พอนนัมเพรูมา[2] |
เมลวิน เอลลิส แคลวิน (อังกฤษ: Melvin Ellis Calvin; 8 เมษายน ค.ศ. 1911 – 8 มกราคม ค.ศ. 1997) เป็นนักชีวเคมีชาวอเมริกัน เกิดในครอบครัวชาวยิวที่เมืองเซนต์พอล รัฐมินนิโซตา เป็นบุตรของเอเลียส แคลวินและโรส เฮอร์วิตซ์[3] ต่อมาครอบครัวย้ายไปอยู่ที่เมืองดีทรอยต์ แคลวินเรียนที่โรงเรียนเซ็นทรัลไฮสกูลก่อนจะเรียนจบด้านวิทยาศาสตร์ที่วิทยาลัยเหมืองแร่และเทคโนโลยีมิชิแกน (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมิชิแกนในปัจจุบัน) และเรียนจบปริญญาเอกด้านเคมีจากมหาวิทยาลัยมินนิโซตาในปี ค.ศ. 1935 แคลวินใช้เวลา 4 ปีต่อมาทำงานที่มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ต่อมาแคลวินทำงานที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์และดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านเคมี เขาร่วมงานกับแอนดรูว์ เบนสันและเจมส์ เบสแฮมใช้คาร์บอน-14 ในการศึกษาเส้นทางของคาร์บอนในพืชระหว่างการสังเคราะห์ด้วยแสง โดยเริ่มจากคาร์บอนดูดซึมคาร์บอนไดออกไซด์ก่อนจะเปลี่ยนเป็นคาร์โบไฮเดรตและสารประกอบอินทรีย์อื่น ๆ [4][5] แคลวิน เบนสันและเบสแฮมแสดงให้เห็นว่าปฏิกิริยาระหว่างแสงอาทิตย์และคลอโรฟิลล์ช่วยในการผลิตสารประกอบอินทรีย์ ไม่ใช่คาร์บอนไดออกไซด์อย่างที่เชื่อกัน จากผลงานนี้ทำให้แคลวินได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปี ค.ศ. 1961[6] สองปีต่อมาแคลวินดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านอณูชีววิทยาและร่วมก่อตั้งห้องปฏิบัติการรังสีเบิร์กลีย์[7] ก่อนจะเกษียณในปี ค.ศ. 1980 แคลวินศึกษาพืชน้ำมันเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน[8]
ด้านชีวิตส่วนตัว แคลวินแต่งงานกับมารี เจเนวีฟ เจมเทการ์ดในปี ค.ศ. 1942 มีบุตรด้วยกัน 3 คน[3] แคลวินเสียชีวิตด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวในปี ค.ศ. 1997[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ National Science Foundation – The President's National Medal of Science
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-26. สืบค้นเมื่อ 2016-04-27.
- ↑ 3.0 3.1 "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-19. สืบค้นเมื่อ 2016-04-27.
- ↑ CALVIN, M (1956). "[The photosynthetic cycle.]". Bull. Soc. Chim. Biol. Vol. 38 no. 11 (ตีพิมพ์ December 7, 1956). pp. 1233–44. PMID 13383309
{{cite news}}
: CS1 maint: postscript (ลิงก์) - ↑ BARKER, S A; BASSHAM, J A; CALVIN, M; QUARCK, U C (1956). "Intermediates in the photosynthetic cycle". Biochim. Biophys. Acta. Vol. 21 no. 2 (ตีพิมพ์ Aug 1956). pp. 376–7. doi:10.1016/0006-3002(56)90022-1. PMID 13363921
{{cite news}}
: CS1 maint: postscript (ลิงก์) - ↑ The Nobel Prize in Chemistry 1961 - Nobelprize.org
- ↑ Melvin Calvin - Biographical - Nobelprize.org
- ↑ "Melvin Calvin - Biography.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-07. สืบค้นเมื่อ 2016-04-27.
- ↑ Melvin Calvin - NNDB
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เมลวิน แคลวิน
- Melvin Calvin - National Academy of Sciences
- Melvin Calvin - Encyclopedia.com
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2454
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2540
- นักเคมีชาวอเมริกัน
- ชาวอเมริกันเชื้อสายยิว
- บุคคลจากเซนต์พอล
- ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี
- ชาวอเมริกันผู้ได้รับรางวัลโนเบล
- ภาคีสมาชิกราชสมาคมแห่งลอนดอน
- เสียชีวิตจากภาวะหัวใจล้มเหลว
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมิชิแกน
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยมินนิโซตา
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์