บรรดาศักดิ์อังกฤษ
ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
ฐานันดรศักดิ์ยุโรป |
---|
![]() |
จักรพรรดิ / ไคเซอร์ / ซาร์ |
กษัตริย์สูงสุด / มหาราช |
กษัตริย์ / ราชินีนาถ |
อาร์ชดยุก / เซซาเรวิช |
แกรนด์พรินซ์ แกรนด์ดยุก |
เจ้าผู้คัดเลือก / เจ้าชาย / เจ้าหญิง / มกุฏราชกุมาร / อินฟันเต / โดแฟ็ง |
ดยุก |
เฟือสท์ |
มาร์ควิส / มาร์คกราฟ / ลันท์กราฟ / ฟัลทซ์กราฟ |
เคานต์ / เอิร์ล / กราฟ / บวร์คกราฟ |
ไวเคานต์ / วีดาม |
บารอน / ไฟรแฮร์ |
บารอเนต / อัศวินจักรวรรดิ |
อัศวิน / เดม / เซอร์ / แซร์ / มาดาม / ลอร์ด / เลดี |
เอ็สไควร์ / เอดเลอร์ / สุภาพบุรุษ / ยุงเคอร์ |
Ministerialis |
บรรดาศักดิ์อังกฤษ (อังกฤษ: Peerage of England) ประกอบด้วยบรรดาศักดิ์ขุนนางอังกฤษที่พระราชทานให้ในสมัยของราชอาณาจักรอังกฤษช่วงก่อนสมัยพระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1707 ซึ่งในปีนั้นอังกฤษและสกอตแลนด์ได้รวมกันเป็นสหราชอาณาจักร
ขุนนางอังกฤษสามารถแบ่งได้สองประเภทหลักๆ ได้แก่ขุนนางสืบตระกูล (Hereditary Peer) กับขุนนางตลอดชีพ (Life Peer) ขุนนางอังกฤษประกอบไปด้วยบรรดาศักดิ์ห้าชั้นเรียงจากสูงไปต่ำดังนี้
- ดยุก (Duke) สตรีเรียก ดัชเชส (Duchess)
- มาร์ควิส (Marquess) สตรีเรียก มาร์เชอเนส (Marchioness)
- เอิร์ล (Earl) สตรีเรียก เคาน์เตส (Countess)
- ไวเคานต์ (Viscount) สตรีเรียก ไวเคาน์เตส (Viscountess)
- บารอน (Baron) สตรีเรียก บารอเนส (Baroness)
นอกจากนี้ยังมีการแต่งตั้งอภิชน (Aristocrat) อันเป็นชนชั้นสูงที่มิใช่ขุนนาง ได้แก่ ตำแหน่งอัศวิน (Knight) ซึ่งมีคำนำหน้าว่าเซอร์ และตำแหน่งบารอเนต (Baronet) ซึ่งมีคำนำหน้าว่าลอร์ด โดยถือว่าบารอเนตอยู่สูงกว่าอัศวินทั้งปวง[1]
อภิสิทธิ์[แก้]
ในอดีต ขุนนางจะมีอภิสิทธิ์บางประการ อภิสิทธิ์เหล่านี้ไม่มีผลในปัจจุบันแล้ว[1] ได้แก่:
- สิทธิที่จะถูกไต่สวนในศาลสจวตใหญ่ ตุลาการในศาลนี้ล้วนเป็นขุนนางด้วยกัน
- สิทธิที่จะเข้าเฝ้าพระเจ้าแผ่นดิน
- สิทธิที่จะได้รับความคุ้มกันจากการถูกจับกุมในคดีแพ่ง
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 ชาคริต ชุ่มวัฒนะ (2561). ระดับชั้นและบรรดาศักดิ์ขุนนางอังกฤษ. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 40(1): 158-179