เอ็น-เทอร์มินัส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รูป tetrapeptide (คือเพปไทด์ที่มีกรดอะมิโนต่อกัน 4 ตัวเช่น Val-Gly-Ser-Ala) (เขียว) แสดงกรดอะมิโน α ข้าง N-terminal (เช่น L-valine) (น้ำเงิน) แสดงกรดอะมิโน α ข้าง C-terminal (เช่น L-alanine) tetrapeptide นี้สามารถเข้ารหัสโดยลำดับเอ็มอาร์เอ็นเอ 5'-GUUGGUAGUGCU-3'

N-terminus (มีคุณศัพท์ว่า N-terminal มีไวพจน์ว่า amino-terminus, NH2-terminus, N-terminal end หรือ amine-terminus) เป็นจุดเริ่มของโปรตีนหรือโพลีเพปไทด์ ชื่อนี้ระบุหมายเอากลุ่มเอมีนอิสระ (-NH2) ซึ่งอยู่ริมสุดข้างหนึ่งของโปรตีน/โพลีเพปไทด์ เพราะว่าภายในเพปไทด์หนึ่ง ๆ กลุ่มเอมีนจะเชื่อมเป็นพันธะกับกลุ่มกรดคาร์บอกซิลิกของกรดอะมิโนอีกตัวหนึ่งโดยต่อกันเป็นลูกโซ่ จึงเหลือกลุ่มกรดคาร์บอกซิลิกซึ่งยังเป็นอิสระที่ข้างหนึ่งของเพปไทด์อันเรียกว่า C-terminus และเหลือกลุ่มเอมีนอีกข้างหนึ่งซึ่งเรียกว่า N-terminus ลำดับเพปไทด์ปกติจะเขียนจากซ้ายไปขวาจากด้าน N-terminus ไปหา C-terminus[1] ซึ่งเป็นลำดับเดียวกับการแปลรหัสที่เกิดขึ้นจริง ๆ คือ เมื่อเซลล์แปลรหัสโปรตีนจากเอ็มอาร์เอ็นเอ ก็จะแปลไปจากด้าน N-terminus สู่ C-terminus โดยจะเพิ่มกรดอะมิโนตัวใหม่เข้าทางด้านกลุ่มกรดคาร์บอกซิลิกที่ยังเป็นอิสระ

ดูเพิ่ม[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. Reusch, William (2013-05-05). "Peptides & Proteins". Michigan State University Department of Chemistry.