เพปไทด์
หน้าตา
เพปไทด์ (อังกฤษ: peptide มาจากภาษากรีก πεπτίδια) คือสายพอลิเมอร์ของกรดอะมิโนที่มาเชื่อมต่อกันด้วยพันธะเพปไทด์ ปลายด้านที่มีหมู่อะมิโนเป็นอิสระเรียกว่าปลายเอ็น (N-terminal) ส่วนปลายที่มีหมู่คาร์บอกซิลเป็นอิสระเรียกว่าปลายซี (C-terminal) การเรียกชื่อเพปไทด์จะเรียกตามลำดับกรดอะมิโนจากปลายเอ็นไปหาปลายซี เพปไทด์ขนาดเล็กหลายชนิดมีความสำคัญในสิ่งมีชีวิต เช่น
- ฮอร์โมนหลายชนิดเป็นเพปไทด์ เช่น อินซูลิน กลูคากอน คอร์ติโคโทรฟิน
- แอสปาแตมที่ใช้ให้ความหวานแทนน้ำตาลในอุตสาหกรรมอาหารเป็นเพปไทด์ของแอสพาราจีนกับฟีนิลอะลานีน
- สารพิษจากเห็ด เช่น อะมานิติน (amanitin) เป็นเพปไทด์ เช่นเดียวกับยาปฏิชีวนะอีกหลายชนิด
- เครื่องดื่มบำรุงสมอง ที่ทำมาจากถั่วเหลือง
อ้างอิง
[แก้]- Lehninger, A.L., Nelson, D.L., and Cox, M.M. 1993. Principle of Biochemistry. 2nd ed. New York.: Worth