เจ้าจอมมารดาวาด ในรัชกาลที่ 5

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าจอมมารดาวาด ในรัชกาลที่ 5
เกิด7 มิถุนายน พ.ศ. 2402
เสียชีวิต20 สิงหาคม พ.ศ. 2461 (อายุ 59 ปี)
วังกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน
คู่สมรสพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
บุตรพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน
บิดามารดา
พระนมปริก

เจ้าจอมมารดาวาด (บางแห่งสะกดว่าวาศ) เป็นบาทบริจาริกาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาคนที่ 3 ของนายเสถียรรักษา (เที่ยง) คหบดีเชื้อสายรามัญ กับพระนมปริก (ธิดาพระยาอิศรานุภาพ (ขุนเณรน้อย) กับนางขำ) พระนมเอกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[1]

เจ้าจอมมารดาวาด มีพระเจ้าลูกยาเธอ 1 พระองค์ คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน

อสัญกรรม[แก้]

เจ้าจอมมารดาวาดป่วยเรื้อรังมานาน ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2461 เวลาเที่ยงคืน ณ ตำหนักในวังของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน (ขณะยังดำรงพระยศเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุน) สิริอายุได้ 59 ปี วันต่อมา เวลา 17.00 น. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช เสด็จมาประทานน้ำหลวงอาบศพ เจ้าพนักงานนำศพลงลองใน ตั้งบนชั้นรอง 2 ชั้น ประกอบโกศแปดเหลี่ยม ตั้งฉัตรเบญจา พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม 1 เดือน[2]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

เชิงอรรถ
  1. ราชสกุลวงศ์, หน้า 90
  2. "ข่าวอสัญญกรรม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 35 (0 ง): 1214–1215. 25 สิงหาคม 2461. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จุลจอมเกล้าฝ่ายใน, เล่ม ๒๐ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๖๑๕, ๒๙ พฤศจิกายน ๑๒๒
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายใน, เล่ม ๒๕ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๑๐๑๕, ๒๙ พฤศจิกายน ๑๒๗
บรรณานุกรม
  • กิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมากูร. ๑๐๐ ปีภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในงานพระพุทธชินราชประจำปี วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม รัตนโกสินทรศก ๑๒๓. กรุงเทพฯ : ดำรงวิทยา, 2548. 132 หน้า. ISBN 974-93740-5-3
  • เล็ก พงษ์สมัครไทย. พระญาติ ราชสกุลกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง, พ.ศ. 2549. 160 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-9687-35-3
  • สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. ISBN 978-974-417-594-6