เขตบัญชาการนังนัง
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
เขตบัญชาการนังนัง 낙랑군(樂浪郡) | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
108 ก่อนคริสต์ศักราช–ค.ศ. 313 | |||||||||
สถานะ | หน่วยการปกครองของราชวงศ์ฮั่น
| ||||||||
เมืองหลวง | แขวงโชซอน (朝鮮縣, 조선현) | ||||||||
การปกครอง | สมบูรณาญาสิทธิราชย์ | ||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | ยุคก่อนสามอาณาจักร | ||||||||
• ก่อตั้ง | 108 ก่อนคริสต์ศักราช | ||||||||
• สิ้นสุด | ค.ศ. 313 | ||||||||
ประชากร | |||||||||
• | 300,000 | ||||||||
|
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ |
---|
ประวัติศาสตร์เกาหลี |
เส้นเวลา |
สถานีย่อยประเทศเกาหลี |
เขตบัญชาการนังนัง (เกาหลี: 낙랑군; ฮันจา: 樂浪郡 พ.ศ. 436 - ค.ศ. 313) เดิมเป็นส่วนมณฑลหนึ่งของอาณาจักรโชซอนโบราณ ภายหลังที่อาณาจักรโชซอนโบราณถูกราชวงศ์ฮั่นของจีนโจมตี พื้นที่เขตนังนังจึงกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของราชวงศ์ฮั่นในฐานะหนึ่งในสี่เขตบัญชาการฮั่น (ฮันซากุน) และล่มสลายเมื่ออาณาจักรโกรยอโบราณได้เข้ามาครอบครองพื้นที่ฮันซากุนหลังจากที่ประชากรของเขตนังนังได้อพยพออกจากพื้นที่ไปยังเขตพื้นที่ของรัฐเฉียนเยียน (前燕) ในช่วงปี ค.ศ. 313 หรือในยุคสิบหกรัฐ
การตีความใหม่
[แก้]ด้านนักประวัติศาสตร์เกาหลีหลายคนได้ตีความประวัติศาสตร์ซึ่งอ้างอิงจากพงศาวดารสามอาณาจักรหรือ ซัมกุก ซากี โดยอ้างว่าแผ่นดินส่วนนี้ไม่ได้อยู่ภายใต้การปกครองของฮั่นหรือส่วนหนึ่งของฮันซากุน แต่เป็นอาณาจักรอิสระนามว่า อาณาจักรนักรัง (樂浪國) ภายใต้การปกครองของพระเจ้าแชรี (崔理, 최리) และเขตบัญชาการนังนังที่มีอยู่ก่อนแล้วไม่ได้กินพื้นที่เข้ามาถึงคาบสมุทรเกาหลี โดยเป็นการอ้างที่มุ่งเน้นเพื่อปฏิเสธอิทธิพลของจีนโบราณที่เข้ามามีอิทธิพลเหนือคาบสมุทรเกาหลีในช่วงราชวงศ์ฮั่น[1]
เนื้อหาจากซัมกุกซากี
[แก้]พระเจ้าแชรี (ชอยรี) ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์หลังจากประกาศเอกราชจากราชวงศ์ฮั่นและได้เจริญสัมพันธไมตรีกับราชวงศ์ฮั่น อาณาจักรแพกเจ และจักรวรรดิโกคูรยอ โดยให้เมืองจินยางเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรนังนังพร้อมกับสร้างพระราชวังจินยางขึ้น แล้วสถาปนาองค์ราชินีสองพระองค์คือ พระนางฮาซู ตระกูล โม และพระนางจาชิล ตระกูลวัง ในปี ค.ศ. 18
ตำนานเล่าว่าในสมัยพระเจ้าแชรี มีกลองศักดิ์สิทธิ์ที่เทพดันกุนได้ประทานให้แก่อาณาจักรนังนังนามว่า กลองจามยองโก เมื่อใดที่มีข้าศึกมารุกราน กลองจะดังขึ้นเอง พระเจ้าแชรีได้สถาปนาองค์หญิงลาฮี พระธิดาของพระองค์ขึ้นเป็นองค์หญิงรัชทายาท แล้วพระราชทานพระนามใหม่ว่า องค์หญิงนังนัง จนกลายเป็นตำนานพื้นบ้านของผู้คนบนคาบสมุทรเกาหลีที่ได้กล่าวขานเกี่ยวกับความรักระหว่างองค์ชายโฮดงแห่งโคกูรยอและองค์หญิงนังนัง โดยองค์ชายโฮดงได้ใช้ความรักกล่อมให้องค์หญิงนังนังทำลายกลองจามยองโก ครั้นปราศจากกลองศักดิ์สิทธิ์ กองทัพโคกูรยอจึงได้บุกเข้าอาณาจักรนังนัง และเหล่าทหารของนังนังก็ไม่ได้เตรียมตัวรับข้าศึกเพราะไม่ได้ยินเสียงกลอง เมื่อองค์หญิงนังนังเลือกความรักส่วนตัวมาก่อนบ้านเมือง พระเจ้าแชรีจึงสังหารพระธิดาของพระองค์เอง ก่อนจะยอมศิโรราบต่ออาณาจักรโคกูรยอในปี ค.ศ. 32. [2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 매국사학의 몸통들아, 공개토론장으로 나와라!. ngonews. 2015-12-24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-19.
{{cite book}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) 요서 vs 평양… 한무제가 세운 낙랑군 위치 놓고 열띤 토론. Segye Ilbo. 2016-08-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-13.{{cite book}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) "갈석산 동쪽 요서도 고조선 땅" vs "고고학 증거와 불일치". The Dong-a Ilbo. 2016-08-22. สืบค้นเมื่อ 2017-04-14. - ↑ An Introduction to Classical Korean Literature: From Hyangga to Pʻansori.