ข้ามไปเนื้อหา

อำเภอวังสะพุง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอวังสะพุง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Wang Saphung
สนามกีฬาอำเภอวังสะพุง
สนามกีฬาอำเภอวังสะพุง
คำขวัญ: 
วังสะพุงแดนเกจิอาจารย์ ต้นตำนานเมืองเซไล
เสมาหินทรายเลื่องชื่อ นามระบือศูนย์ศิลป์สิรินธร
แผนที่จังหวัดเลย เน้นอำเภอวังสะพุง
แผนที่จังหวัดเลย เน้นอำเภอวังสะพุง
พิกัด: 17°18′6″N 101°46′6″E / 17.30167°N 101.76833°E / 17.30167; 101.76833
ประเทศ ไทย
จังหวัดเลย
พื้นที่
 • ทั้งหมด1,145.0 ตร.กม. (442.1 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด111,116 คน
 • ความหนาแน่น97.05 คน/ตร.กม. (251.4 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 42130
รหัสภูมิศาสตร์4209
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอวังสะพุง ถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2016 ตำบลวังสะพุง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย 42130
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
สัตว์ป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง ตั้งอยู่ในบริเวณท้องที่อำเภอวังสะพุง อำเภอภูเรือ อำเภอด่านซ้าย และอำเภอภูหลวง

วังสะพุง เป็นอำเภอในจังหวัดเลย

ศูนย์ศิลป์สิรินธร เป็นชื่อที่ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในบริเวณโรงเรียนศรีสงครามวิทยา

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

อำเภอวังสะพุงมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้

ประวัติ

[แก้]

ท่านเจ้าพระยาศรีสงคราม รณฤทธิ์ (เจ้าพ่อศรีสงคราม) ได้เดินทางมากับนายโส เดินทางขึ้นตแม่น้ำเลยไป จนมาถึงวังน้ำวนจึงได้หยุดพัก และที่ตรงวังน้ำวนนั้นมีต้นสะพุงต้นหนึ่งใหญ่ประมาณ 7 คน กางแขนโอบรอบได้พอดี ตรงที่มีต้นสะพุงต้นใหญ่อยู่นั้น ปัจจุบันนี้คือเป็นที่ตั้งของวัดศรีชมชื่น ท่านเจ้าพระยาศรีสงคราม รณฤทธิ์ ได้ปรึกษากับนายพรานโสว่าตรงนี้ร่มรื่นดี สมควรจะตั้งหลักแหล่งอยู่ตรงนี้ เพราะว่าตามที่เดินผ่านมาแรมวัน แรมคืน แรมเดือนนั้นไม่เห็นตรงไหนที่จะร่มรื่นน่าอยู่เหมือนกับที่ต้นสะพุงใหญ่อยู่ ทั้งสองท่านก็ลงความเห็นกันว่าเหมาะสมที่จะตั้งเป็นบ้านเมืองได้ ก็ได้มาตั้งหลักฐานอยู่ที่ศาลเจ้าพ่อศรีสงคราม ชื่อของบ้านวังสะพุงได้มีคำบอกเล่าสืบกันมาว่าเป็นการรวมกันของคำว่า "วัง" รวมกับคำว่า "สะพุง" ซึ่งเป็นชื่อของต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่งที่ขึ้นอยู่ใกล้บริเวณวังน้ำวนนั้นจึงเรียกว่า "บ้านวังสะพุง"

วังสะพุงเดิมแบ่งการปกครองออกเป็น 2 แขวงโดยยึดถือลำน้ำปวนเป็นเส้นแบ่งเขต ทางฝั่งตะวันตกของลำน้ำปวนขึ้นอยู่กับเมืองหล่มศักดิ์ ในมณฑลพิษณุโลก ส่วนฝั่งตะวันออกของลำน้ำปวนขึ้นอยู่กับเมืองกมุทธาไสย ต่อมาปรากฏว่าแขวงทั้งสองมีพลเมืองหนาแน่นขึ้น ในปี พ.ศ. 2440 ทางราชการจึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอมีชื่อว่า "อำเภอวังสะพุง" โดยให้อยู่ในความปกครองของเมืองหล่มสัก ต่อมาในปี พ.ศ. 2450 ได้มีการจัดแบ่งเขตการปกครองใหม่ อำเภอวังสะพุง จึงถูกโอนมาขึ้นอยู่ในความปกครองของจังหวัดเลย จนถึงปัจจุบัน

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

อำเภอวังสะพุงแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 10 ตำบล 144 หมู่บ้าน ได้แก่

1. วังสะพุง (Wang Saphung) 14 หมู่บ้าน 6. ผาน้อย (Pha Noi) 21 หมู่บ้าน
2. ทรายขาว (Sai Khao) 20 หมู่บ้าน 7. ผาบิ้ง (Pha Bing) 6 หมู่บ้าน
3. หนองหญ้าปล้อง (Nong Ya Plong) 20 หมู่บ้าน 8. เขาหลวง (Khao Luang) 13 หมู่บ้าน
4. หนองงิ้ว (Nong Ngio) 9 หมู่บ้าน 9. โคกขมิ้น (Khok Khamin) 20 หมู่บ้าน
5. ปากปวน (Pak Puan) 12 หมู่บ้าน 10. ศรีสงคราม (Si Songkhram) 11 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ท้องที่อำเภอวังสะพุงประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองวังสะพุง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลวังสะพุงและตำบลศรีสงคราม
  • เทศบาลตำบลปากปวน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากปวนทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลศรีสงคราม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีสงคราม (นอกเขตเทศบาลเมืองวังสะพุง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวังสะพุง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังสะพุง (นอกเขตเทศบาลเมืองวังสะพุง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทรายขาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทรายขาวทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองหญ้าปล้อง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองหญ้าปล้องทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองงิ้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองงิ้วทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลผาน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลผาน้อยทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลผาบิ้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลผาบิ้งทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเขาหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาหลวงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโคกขมิ้น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกขมิ้นทั้งตำบล

ทำเนียบรายนามนายอำเภอวังสะพุง

[แก้]
ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 หลวงราชภักดี (พิกุล) 2441-2442
2 หลวงภักดีณรงค์ (ท่า) 2442-2443
3 หลวงภักดีอักษร (เทียม) 2443-2445
4 ขุนพิพัฒนกิจนุศาสตร์ (บัวรส) 2445-2448
5 หลวงพินิจอักษร (เทียม) 2448-2450
6 ขุนพิพัฒนสพุงเขต (คำพัน มงคลวัฒน์) 2450-2457
7 หลวงบรรหารอรรถคดี 2457-2460
8 หลวงวิจิตรคุณสาร (โต๊ะ พลวิเศษ) 2460-2465
9 นายถวิล เจียรมานพ 2465-2466
10 หลวงพิศาลสารกิจ 2466-2469
11 หลวงภูมิพิริการ 2470-2476
12 นายทิพย์ กฤษมานิต 2476-2481
13 ขุนอารักษ์ ธุระราษฎร์(กำปั่น เณรโต) 2481-2482
14 นายประสาน วสุวัติ 2482-2486
15 นายแคล้ว โกศลวรรธนะ 2486-2488
16 นายสุเทพ สุธรรมมา 2488-2489
17 นายประยูร จามิกร 2489-2489
18 ขุนพระยาประสาท (แก้วทองพัสสา) 2490-2490
19 นายบุญชัย สอนอิ่มศาสตร์ 2491-2495
20 นายเชาว์ พงศ์ประดิษฐ์ 2495-2496
21 นายคม จันทบาตร 2496-2497
22 นายพิชัย ศรีอุทัย 2497-2499
23 นายต่วน ไกรศรีวรรธนะ 2499-2501
24 นายประเสริฐ รัตนารมย์ 2501-2502
25 ร.ต.ต.สุข ศรีเพ็ญ 2502-2508
26 นายสุริยัน ตันตวสี 2508-2510
27 นายฤทัย ชิวรัตน์ 2510-2512
28 นายอภัย หล้าสุวงษ์ 2512-2514
29 พ.ต.สีห์พนม วรสาร 2514-2517
30 นายกวี บำเพ็ญบุตร 2517-2518
31 นายพิชัย ยุวนิช 2518-2519
32 ร.ต.ไมตรี บุญณะ 2519-2521
33 นายวีรเทพ หาญณรงค์ 2521-2523
34 นายประสพ สุจริตจันทร์ 2523-2527
35 นายจีรศักดิ์ เกษียนบุตร 2527-2531
36 ร.อ.คุณมี รัตนปริญญา 2531-2532
37 นายธวัช เสถียรนาม 2532-2535
38 นายวิชา ทัพธง 2535-2539
39 นายชีวิต แก้ววัฒนะ 2539-2542
40 นายสมศักดิ์ นันทศักดิ์ศิริ 2542-2543
41 นายเทพ บูรมิ 2543-2547
42 นายเริงชัย ไชยวัฒน์ 2547-2550
43 นายเสน่ห์ นนทะโชติ 2550-2554
44 นายธนพล จันทรนิมิ 2554- 2554
45 นายโสภณ สุวรรณรัตน์ 2554 - 2558
46 นายวิสา ยัญญลกษณ์ 2558 - 2559
47 นายอนุพงศ์ คำภูแก้ว 2559 - ปัจจุบัน

อ้างอิง

[แก้]