ข้ามไปเนื้อหา

อาลบี

พิกัด: 43°55′44″N 2°08′47″E / 43.9289°N 2.1464°E / 43.9289; 2.1464
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาลบี
ทัศนียภาพของสะพาน ตัวเมืองเก่า และมหาวิหาร
ทัศนียภาพของสะพาน ตัวเมืองเก่า และมหาวิหาร
ตราราชการของอาลบี
ตราอาร์ม
ประเทศฝรั่งเศส
แคว้นอ็อกซีตานี
จังหวัดตาร์น
เขตอาลบี
อำเภออาลบี-1, อาลบี-2, อาลบี-3, อาลบี-4
สหเทศบาลอาลบีฌัว
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรี (2020–2026) Stéphanie Guiraud-Chaumeil[1]
พื้นที่144.26 ตร.กม. (17.09 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (มกราคม ค.ศ. 2018)2
48,993 คน
 • ความหนาแน่น1,100 คน/ตร.กม. (2,900 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+1 (CET)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+2 (CEST)
รหัสอีนเซ/ไปรษณีย์81004 /81000
สูงจากระดับน้ำทะเล130–308 m (427–1,010 ft)
(avg. 169 m หรือ 554 ft)
ชื่อทางการEpiscopal City of Albi
เกณฑ์พิจารณาวัฒนธรรม: iv, v
อ้างอิง1337
ขึ้นทะเบียน2010 (สมัยที่ 34th)
พื้นที่19.47 เฮกตาร์
พื้นที่กันชน64.09 เฮกตาร์

1 ข้อมูลอาณาเขตที่ตามขึ้นทะเบียนไว้โดยไม่รวมทะเลสาบ, หนองน้ำ, ธารน้ำแข็งที่ขนาดใหญ่กว่า 1 ตารางกิโลเมตรตลอดจนปากแม่น้ำ

2 Population without double counting: residents of multiple communes (e.g., students and military personnel) only counted once.
อาลบี *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
วิวแบบพาโนรามา
ประเทศธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(iv) (v)
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2010 (คณะกรรมการสมัยที่ 34)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

อาลบี (ฝรั่งเศสและอุตซิตา: Albi) เป็นเมืองหลัก (Chef-lieu) ของเขตจังหวัดตาร์น แคว้นอ็อกซีตานี ทางภาคใต้ของประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่บนแม่น้ำตาร์น ห่างจากเมืองตูลูซ ประมาณ 85 กิโลเมตร จากทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ

เมืองอาลบี เคยเป็นเมืองที่อยู่ภายใต้การปกครองของอัครมุขนายกแห่งอาลบี ซึ่งอยู่ในมุขมณฑลแห่งอาลบี (Diocese of Albi) เขตเมืองอาลบี ได้แก่ เมืองเก่า ซึ่งในปัจจุบันตั้งอยู่ตรงกลางใจเมือง และบริเวณรอบของมหาวิหารอาลบี ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโก เมื่อปีค.ศ. 2010 ในนาม Espicopal City of Albi (ฝรั่งเศส: Cité épiscopale d'Albi)

การปกครอง

[แก้]

เมืองอาลบีเป็นศูนย์กลางการปกครอง (Chef-lieu) ประกอบด้วยตำบล (Canton) ทั้งหมด 6 ตำบล แบ่งย่อยออกเป็นเทศบาลรวมทั้งสิ้น 18 เทศบาล (Commune)

ประวัติ

[แก้]

ได้มีการค้นพบหลักฐานการตั้งรกรากของมนุษย์สมัยยุคสำริด (ประมาณ 3,000-600 ปีก่อนคริสตกาล) และหลังจากชัยชนะของชาวโรมันต่อชาวกอลในปี 51 ก่อนคริสตกาล เมืองได้ถูกเรียกว่า Civitas Albigensium การขุดค้นทางโบราณคดีไม่พบหลักฐานสมัยโรมันเก่า จึงสันนิษฐานได้ว่าอาลบีจัดเป็นเมืองในยุคโรมันสมัยใหม่

ในปีค.ศ. 1040 ได้มีการขยายตัวเมือง และมีการสร้างสะพาน (สะพานเก่า หรือ Pont Vieux) มีการขยายเมืองใหม่ เนื่องจากการค้าขายระหว่างเมืองทำให้อาลบีเริ่มมีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ อีกทั้งยังมีการเรียกเก็บค่าผ่านทางจากใช้สะพานอีกด้วย

ในปี.ศ. 1208 พระสันตะปาปาและกษัตริย์แห่งฝรั่งเศสได้ร่วมมือกันทำสงครามกับพวกนอกรีต แคทาร์ พื้นที่แถบนั้นประสบความยากลำบากจากสงครามจนต้องถูกผนวกเป็นเมืองขึ้นต่อกษัตริย์ฝรั่งเศส

หลังจากสงครามเสร็จสิ้นลงราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 พระสังฆราชแบร์นาร์ เดอ กัสตาแน ได้สร้างพระราชวังเสร็จ โดยมีลักษณะเป็นป้อมปราการ โดยต่อมาเขาได้สั่งให้มีการสร้างมหาวิหารนักบุญเซซีลีอาตั้งแต่ปีค.ศ. 1282 ในขณะนั้นเป็นยุคที่รุ่งเรืองทางการค้า จากการปลูกต้นคราม พืชที่ใช้สำหรับการย้อมผ้า เพื่อการค้า โดยมีประจักษ์พยานจากความร่ำรวยได้จากบ้านเรือนที่ตกแต่งแบบเรอแนซ็องส์ อาลบีก็ได้เก็บรักษามรดกความสวยงามทางสถาปัตยกรรมตั้งแต่สมัยโบราณมาจนถึงทุกวันนี้

แหล่งท่องเที่ยวสำคัญ

[แก้]

อาลบีเริ่มต้นจากส่วนของมหาวิหารและอาคารพิธีต่าง ๆ อาณาเขตนี้กินพื้นที่กว่า 63 เฮกตาร์ โดยอาคารต่างๆมีลักษณะเด่นคืออิฐสีแดงแบบล็องก์ด็อก อันเป็นสัญลักษณ์ของเมืองอาลบี ตูลูซ และมงโตบ็อง

มหาวิหารอาลบีถือเป็นงานสถาปัตยกรรมกอทิกชั้นเลิศ สร้างราวคริสต์ศตวรรษที่ 13 ถึง 15 โดยมีลักษณะที่โดดเด่นทางการออกแบบอย่างตรงกันข้าม โดยเฉพาะภายนอกที่เป็นป้อมปราการอย่างแข็งแรง และงานตกแต่งภายในอย่างวิจิตรพิสดาร สร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ความศรัทธาในคริสต์ศาสนาภายหลังจากการสงครามกับพวกนอกรีตแคทาร์ ตัววิหารขนาดใหญ่นี้สร้างจากอิฐซึ่งได้ทนทานมานับศตวรรษ ประกอบด้วย ประตูทางเข้า Dominique de Florence หอระฆังสูง 78 เมตร เบญจาคริสต์ที่ตั้งอยู่บริเวณทางเข้า (สร้างราวปี ค.ศ. 1515-1540) ฉากกางเขน เป็นฉากแกะบนหินในแบบกอธิกช่วงปลาย ที่มีผลงานรูปสลักของศิลปินชาวเบอร์กันดีกว่า 200 รูป

อีกหนึ่งสิ่งก่อสร้างที่สำคัญ ที่มาอายุมากกว่าพระราชวังพระสันตะปาปาแห่งอาวีญง คือพระราชวังพระสังฆราช (Palais de la Berbie) ซึ่งในปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์ตูลูซ-โลแทร็ก (Musée Toulouse-Lautrec) ซึ่งเป็นปราสาทที่เก่าแก่และสมบูรณ์ที่สุดในประเทศฝรั่งเศส พระราชวังแห่งนี้สร้างเสร็จราวช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 โดยชื่อเรียกมาจากภาษาอุตซิตา ว่า บิสเบีย (Bisbia) มีความหมายว่า พระสังฆราช

สะพานเก่า (Pont Vieux) ซึ่งยังใช้มาถึงปัจจุบันมีอายุเกือบหนึ่งพันปี โดยแรกสร้างโดยหินในปีค.ศ. 1035 แล้วเสริมด้วยอิฐในภายหลัง มีเสาโค้งจำนวน 8 เสา มีความยาวสะพานรวม 151 เมตร ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 ได้มีการดัดแปลงเพิ่มเติมให้มีลักษณะเป็นป้อมปราการ โดยมีสะพานยกคอยป้องกันการรุกราน

มรดกโลก

[แก้]

องค์การยูเนสโกได้ยกย่องถึงตัวสะพานเก่า (Pont-Vieux) ย่านโบสถ์แซ็ง-ซาลวี (Collégiale Saint-Salvi) ย่านมหาวิหารแบบป้อมปราการ (ปลายศตวรรษที่ 13) ในแบบสถาปัตยกรรมกอทิกชั้นเยี่ยมตามแบบฝรั่งเศสตอนใต้โดยใช้อิฐสีส้มพื้นเมือง พระราชวังพระสังฆราช (Palais de la Berbie) และย่านที่อยู่อาศัยโบราณ ทำให้องค์ประกอบโดยรวมของเมืองแห่งอาลบี มีอัตลักษณ์อันหนึ่งอันเดียวกันที่ไม่เปลี่ยนแปลงในรอบหลายร้อยปี ตั้งแต่ยุคกลางจนถึงปัจจุบัน[2]

ภูมิอากาศ

[แก้]
ข้อมูลภูมิอากาศของอาลบี (เฉลี่ย ค.ศ. 1981–2010)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 19.5
(67.1)
24.7
(76.5)
28.3
(82.9)
29.9
(85.8)
35.1
(95.2)
40.5
(104.9)
40.8
(105.4)
41.4
(106.5)
36.4
(97.5)
31.4
(88.5)
25.3
(77.5)
21.0
(69.8)
41.4
(106.5)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 9.4
(48.9)
11.2
(52.2)
14.7
(58.5)
17.4
(63.3)
21.6
(70.9)
25.5
(77.9)
28.7
(83.7)
28.4
(83.1)
24.7
(76.5)
19.7
(67.5)
13.2
(55.8)
9.8
(49.6)
18.7
(65.7)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 1.4
(34.5)
1.7
(35.1)
3.8
(38.8)
6.2
(43.2)
10.2
(50.4)
13.6
(56.5)
15.8
(60.4)
15.6
(60.1)
12.3
(54.1)
9.5
(49.1)
4.9
(40.8)
2.1
(35.8)
8.1
(46.6)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) -18.6
(-1.5)
-12.0
(10.4)
-9.8
(14.4)
-2.9
(26.8)
-0.2
(31.6)
4.3
(39.7)
6.5
(43.7)
4.9
(40.8)
1.0
(33.8)
-2.7
(27.1)
-9.4
(15.1)
-10.5
(13.1)
−18.6
(−1.5)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 55.9
(2.201)
53.1
(2.091)
51.5
(2.028)
82.0
(3.228)
79.9
(3.146)
64.4
(2.535)
40.6
(1.598)
55.9
(2.201)
57.1
(2.248)
65.4
(2.575)
60.0
(2.362)
65.1
(2.563)
730.9
(28.776)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย 10.2 8.4 8.8 10.2 9.6 7.3 5.1 6.5 6.7 9.1 9.7 10.0 101.7
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 96.6 118.6 177.0 183.6 219.3 244.9 270.6 255.7 213.5 154.1 92.7 86.8 2,113.2
แหล่งที่มา: Météo France[3][4]

ประชากร

[แก้]
ประวัติจำนวนประชากร
ปีประชากร±% p.a.
1793 11,176—    
1800 9,649−2.08%
1806 10,061+0.70%
1821 10,644+0.38%
1831 11,665+0.92%
1836 11,801+0.23%
1841 12,408+1.01%
1846 14,211+2.75%
1851 13,788−0.60%
1856 14,636+1.20%
1861 15,493+1.14%
1866 16,596+1.38%
1872 17,469+0.86%
1876 19,169+2.35%
1881 20,379+1.23%
1886 21,224+0.82%
1891 20,903−0.30%
1896 21,948+0.98%
ปีประชากร±% p.a.
1901 22,571+0.56%
1906 23,303+0.64%
1911 25,100+1.50%
1921 26,628+0.59%
1926 29,015+1.73%
1931 29,351+0.23%
1936 30,293+0.63%
1946 34,342+1.26%
1954 34,693+0.13%
1962 38,709+1.38%
1968 42,930+1.74%
1975 46,162+1.04%
1982 45,947−0.07%
1990 46,579+0.17%
1999 46,274−0.07%
2007 48,889+0.69%
2012 49,231+0.14%
2017 48,970−0.11%
ที่มา: EHESS[5] และ INSEE (1968-2017)[6]

เมืองพี่น้อง

[แก้]

อาลบีเป็นเมืองพี่น้องกับเมืองดังนี้:[7]

ภาพ

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Répertoire national des élus: les maires". data.gouv.fr, Plateforme ouverte des données publiques françaises (ภาษาฝรั่งเศส). 2 December 2020. สืบค้นเมื่อ 12 December 2020.
  2. "Episcopal City of Albi". World Heritage Centre - UNESCO. สืบค้นเมื่อ 20 August 2012.
  3. "Données climatiques de la station de Albi" (ภาษาฝรั่งเศส). Meteo France. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 8 January 2016.
  4. "Climat Midi-Pyrénées" (ภาษาฝรั่งเศส). Meteo France. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-03. สืบค้นเมื่อ 8 January 2016.
  5. Des villages de Cassini aux communes d'aujourd'hui: รายการข้อมูลเทศบาล Albi, EHESS. (ในภาษาฝรั่งเศส)
  6. Population en historique depuis 1968, INSEE
  7. "Albi: Une destination unique" (PDF). albi.fr (ภาษาฝรั่งเศส). Albi. p. 54. สืบค้นเมื่อ 2021-04-20.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]