อายุให้ความยินยอมทางเพศ
อายุให้ความยินยอม (อังกฤษ: age of consent) หมายถึงอายุของบุคคลซึ่งเมื่อถึงวัยดังกล่าวแล้ว กฎหมายก็อนุญาตให้ร่วมประเวณีหรือถูกกระทำทางเพศได้นับแต่นั้นเป็นต้นไป ซึ่งไม่พึงสับสนกับนิติภาวะและอายุที่อยู่ในเกณฑ์สมรสได้
อายุที่ยอมให้มีการร่วมประเวณีได้ ย่อมแตกต่างกันไปตามแต่ละรัฐนั้น ๆ จะกำหนด ทั้งนี้ ค่ามัธยฐานของการกำหนดดังกล่าวอยู่ที่อายุระหว่างสิบสี่ถึงสิบหกปี อายุน้อยสุดที่มีกำหนดไว้คือตั้งแต่สิบสองปี ส่วนมากสุดได้แก่ยี่สิบเอ็ดปี
ประเทศไทยมิได้กำหนดอายุให้ความยินยอมไว้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ดี ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 และมาตรา 279 บัญญัติห้ามมิให้กระทำชำเราหรือกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไม่ว่าจะหญิงหรือชาย ที่ไม่ใช่ภรรยาหรือสามีของตน[1][2] แต่ว่า การนำพาผู้เยาว์อายุระหว่าง 15-18 ปีไปเพื่อการอนาจาร ผิดกฎหมายมาตรา 283 ทวิ ไม่ว่าผู้นั้นจะยินยอมหรือไม่[2] นอกจากนั้นแล้ว การพรากผู้เยาว์อายุระหว่าง 15-18 ปีไปเพื่อการอนาจาร แม้ว่าผู้เยาว์จะยินยอมพร้อมใจ ก็ยังผิดกฎหมายอาญา มาตรา 319 อีกด้วย[3] ดังที่พบในคดีฟ้องร้องต่อแด๊ก บิ๊กแอส (นายเอกรัตน์ วงศ์ฉลาด) ที่ต่อมาศาลอุทธรณ์ยกฟ้องฐานสำคัญผิด[4][5]
ประวัติ
[แก้]- อายุให้ความยินยอม ได้ปรับขึ้นจาก 13 ปีไปเป็น 15 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 279 ซึ่งแก้ไขล่าสุดในปีพ.ศ. 2530[6]
- ใน พ.ศ. 2540 ได้กำหนดเพิ่มเติมว่า ในกรณีเป็นการพาไปเพื่อการอนาจาร ผู้อายุเกินกว่า 15 ปี แต่ยังไม่ถึง 18 ปี ก็ยังไม่อาจให้ความยินยอมที่มีผลทางกฎหมายได้ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 283 ทวิ[2]
อายุที่รับรู้ยินยอมในกฎหมายอาญาไทย
[แก้]- ในกรณีที่เด็กหญิงอายุกว่า 13 ปีแต่ไม่เกิน 15 ปี โดยที่เด็กหญิงยินยอมและศาลได้อนุญาตให้สมรสกันนั้น ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษตามมาตรา 277 ซึ่งส่วนนี้ได้แก้ไขเพิ่มเติมในฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2530)[6]
- ในกรณีที่เป็นการค้าประเวณี อายุที่รับรู้ยินยอมคือ 18 ปี โดยตามมาตรา 282 และ 283 ระบุว่าการพาไปทำอนาจารไม่ว่าจะยินยอมหรือไม่นั้น ถือเป็นความผิด ซึ่งส่วนนี้ได้แก้ไขเพิ่มเติมในฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2540)[7]
อายุที่รับรู้ยินยอมในทวีปเอเซีย
[แก้]อินโดนีเซีย
[แก้]ในอินโดนีเซีย อายุที่รับรู้ยินยอมคือ 19 ปีสำหรับผู้ชาย และ 16 ปีสำหรับผู้หญิง
อิหร่าน
[แก้]ในอิหร่าน อายุที่รับรู้ยินยอมคือ 17 ปีสำหรับผู้ชาย และ 14 ปีสำหรับผู้หญิง การแต่งงานเพศเดียวกัน หรือการร่วมเพศระหว่างเพศเดียวกันนั้น ถือว่าเป็นความผิด และมีโทษประหารชีวิต
ญี่ปุ่น
[แก้]ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2023 ได้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาญี่ปุ่นเพื่อเพิ่มอายุให้ความยินยอมจาก 13 ปีเป็น 16 ปีเป็นครั้งแรกในรอบ 116 ปี แม้จังหวัดทุกจังหวัดของญี่ปุ่นจะกำหนดอายุที่รับรู้ยินยอมไว้ที่ 18 ปีแล้วก็ตาม การแก้ไขในครั้งนี้จะทำให้เหยื่อไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ว่าตนได้ต่อต้านการกระทำนั้นผ่านการทำร้ายหรือการขู่ในการฟ้องร้องผู้กระทำผิด รวมทั้งทำให้การฟ้องร้องง่ายขึ้นเพราะเหยื่อไม่ได้ยินยอมในการมีเพศสัมพันธ์ มีข้อยกเว้นข้อหนึ่งคือ การที่ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับบุคคลที่มีอายุ 13 ถึง 15 ปีนั้นจะสามารถถูกลงโทษได้ ผู้นั้นต้องมีอายุมากกว่าผู้กระทำอย่างน้อย 5 ปี รวมทั้งอายุความในการฟ้องร้องผู้กระทำผิดจะถูกเพิ่มจาก 10 เป็น 15 ปี[8][9]
ฟิลิปปินส์
[แก้]ในฟิลิปปินส์ อายุให้ความยินยอมคือ 18 ปีทั้งผู้ชายและผู้หญิง อย่างไรก็ตามไม่มีการเข้มงวดเรื่องนี้
ออสเตรเลีย
[แก้]ในออสเตรเลีย อายุให้ความยินยอมคือ 17 ปีทั้งผู้ชายและผู้หญิง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Thailand Laws covering sexual activity เก็บถาวร 2007-01-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ)
- ↑ 2.0 2.1 2.2 "ประมวลกฎหมายอาญา - ลักษณะ 9 ความผิดเกี่ยวกับเพศ". thethailaw.com. สืบค้นเมื่อ 2016-04-21.
- ↑ "พรากผู้เยาว์". Longdo Law. 2010-02-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-11.
- ↑ "ศาลยกฟ้อง แด๊ก บิ๊กแอส คดีพรากผู้เยาว์แล้ว". Kapook Highlight News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-19. สืบค้นเมื่อ 2016-04-21.
- ↑ ""แด๊ก บิ๊กแอส"โล่ง! ศาลยกฟ้องพรากผู้เยาว์". ไทยรัฐ. 2011-08-26. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-09.
- ↑ 6.0 6.1 แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 8)
- ↑ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 14)
- ↑ "Japan raises age of consent from 13 to 16 in reform of sex crimes law". The Guardian. 16 June 2023. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 June 2023. สืบค้นเมื่อ 16 June 2023.
- ↑ "Japan redefines rape and raises age of consent in landmark move". BBC. 16 June 2023. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 June 2023. สืบค้นเมื่อ 16 June 2023.