องค์การระดับภูมิภาค
องค์การระดับภูมิภาค (อังกฤษ: regional organization: RO) ถือเป็นองค์การระหว่างประเทศ (IO) ในมิติหนึ่ง เนื่องจากองค์การเหล่านี้เกิดมาจากการรวมสมาชิกภาพในระดับนานาชาติและครอบคลุมไปถึงหน่วยงานทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ทำงานอยู่เหนือรัฐชาติรัฐใดรัฐหนึ่ง อย่างไรก็ตาม การเป็นสมาชิกขององค์การเหล่านี้มีคุณสมบัติและลักษณะที่บ่งบอกเขตหรือตามแนวการแบ่งเขตทางภูมิศาสตร์ที่ถูกกำหนดเอาไว้อย่างเด่นชัด เช่น ทวีป หรือภูมิรัฐศาสตร์ เช่น กลุ่มเศรษฐกิจ ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมความร่วมมือและการบูรณาการทั้งในด้านของการเมืองและเศรษฐกิจ หรือการเจรจาระหว่างรัฐหรือหน่วยงานภายในขอบเขตทางภูมิศาสตร์หรือภูมิรัฐศาสตร์
ทั้งสองรูปแบบสะท้อนแสดงให้เห็นถึงรูปแบบของการพัฒนาและความเป็นมาในอดีตซึ่งได้รับการส่งเสริมมาตั้งแต่ช่วงหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ตลอดจนการแพร่กระจายของกลุ่มองค์การต่าง ๆในโลกยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมทำไมคุณสมบัติหรือลักษณะของสถาบันหรือองค์การจึงแตกต่างกัน ตั้งแต่ในระดับความร่วมมือแบบหลวม ๆ ไปจนถึงความร่วมมือในระดับภูมิภาคอย่างเป็นทางการ[1] โดยองค์การระดับภูมิภาคส่วนใหญ่มักจะทำงานร่วมกับองค์การพหุภาคีที่มีชื่อเสียง เช่น สหประชาชาติ[2] ซึ่งแม้ว่าในหลายกรณีองค์การระดับภูมิภาคจะถูกเรียกกันง่าย ๆ ว่าเป็นองค์การระหว่างประเทศ แต่ในหลายครั้งก็ควรจะใช้คำว่าองค์การระดับภูมิภาค เพื่อเน้นย้ำถึงขอบเขตที่ชัดเจนมากขึ้นของสมาชิกภายในกลุ่ม
ตัวอย่างขององค์การระดับภูมิภาค ได้แก่ สหภาพแอฟริกา (AU), สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN), สันนิบาตอาหรับ (AL), สหภาพอาหรับมาเกร็บ (AMU), ประชาคมแคริบเบียน (CARICOM), สภายุโรป (CoE), สหภาพเศรษฐกิจยูเรเชีย (EAEU), สหภาพยุโรป (EU), สมาคมเอเชียใต้เพื่อความร่วมมือระดับภูมิภาค (SAARC), องค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ (SCO), องค์การที่ปรึกษากฎหมายแห่งเอเชียและแอฟริกา (AALCO), สหภาพเมดิเตอร์เรเนียน (UfM), สหภาพประชาชาติอเมริกาใต้ (USAN)
ดูเพิ่ม
[แก้]- องค์การระหว่างประเทศ
- รายชื่อองค์การระดับภูมิภาคเรียงตามจำนวนประชากร
- การรวมกลุ่มระดับภูมิภาค
- สหภาพเหนือชาติ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Spandler, Kilian (2018). Regional Organizations in International Society: ASEAN, the EU and the Politics of Normative Arguing. Palgrave Macmillan. ISBN 978-3-319-96895-7.
- ↑ United Nations. "Cooperation with regional organizations", in Annual Report of the Secretary-General on the work of the Organization 1995, ch. 4
บรรณานุกรม
[แก้]- Tanja A. Börzel and Thomas Risse (2016), The Oxford Handbook of Comparative Regionalism. Oxford: Oxford University Press.
- Rodrigo Tavares (2009), Regional Security: The Capacity of International Organizations. London and New York: Routledge.