หม่อมหลวงชโยทิต กฤดากร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หม่อมหลวงชโยทิต กฤดากร
ผู้แทนการค้าไทย
เริ่มดำรงตำแหน่ง
12 ธันวาคม พ.ศ. 2566
(0 ปี 146 วัน)
นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน
ดำรงตำแหน่ง
6 มกราคม พ.ศ. 2565 – 28 มิถุนายน พ.ศ. 2566
(1 ปี 173 วัน)
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ
ดำรงตำแหน่ง
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 – 1 ธันวาคม พ.ศ. 2566
(0 ปี 201 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด18 พฤษภาคม พ.ศ. 2510 (56 ปี)
เขตบางแค กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองรวมไทยสร้างชาติ (2564–ปัจจุบัน)

หม่อมหลวงชโยทิต กฤดากร (เกิด 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2510) ชื่อเล่น "ปืน" เป็นผู้แทนการค้าไทย ในรัฐบาล 2 ชุด คือรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน และรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา[1] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ และหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ พรรครวมไทยสร้างชาติ เป็นบุตรชายของหม่อมราชวงศ์ยงสวาสดิ์ กฤดากร อดีตรองผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ กับท่านผู้หญิงวิยะฎา กฤดากร ณ อยุธยา มีพี่สาว 1 คน คือ หม่อมหลวงปิยาภัสร์ ภิรมย์ภักดี

หม่อมหลวงชโยทิตสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เกียรตินิยมสาขา Economic History จาก University of London เคยดำรงตำแหน่งกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทหลักทรัพย์ เจพีมอร์แกน (ประเทศไทย) ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 จนถึง พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ต่อมา บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้แต่งตั้ง หม่อมหลวงชโยทิต ให้ดำรงตำแหน่งกรรมการแทน ศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล ที่ลาออก[2]

ต่อมาเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2564 บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเกิดจากการควบรวมกิจการระหว่างทีโอที และ กสท โทรคมนาคม ได้แต่งตั้งให้หม่อมหลวงชโยทิตเป็นประธานกรรมการคนแรก[3] และเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี ได้แต่งตั้งให้หม่อมหลวงชโยทิตเป็นหัวหน้าทีมในการติดต่อทาบทามนักลงทุนรายใหญ่ในประเทศ และภาคเอกชนในต่างประเทศ[4]

ในปี พ.ศ. 2565 ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่ผู้แทนการค้าไทย เป็นคนแรกของรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา[5] ในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2566 หม่อมหลวงชโยทิตได้เปิดตัวเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ พร้อมทำหน้าที่เป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจของพรรค เขาลงสมัคร สส. แบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 4 ของพรรคในการเลือกตั้งปีเดียวกัน และได้รับการเลือกตั้ง แต่ต่อมาได้ลาออกจากตำแหน่ง สส. เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม[6] และเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม คณะรัฐมนตรีในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน ได้มีมติแต่งตั้งให้หม่อมหลวงชโยทิตเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี และกลับมาทำหน้าที่ผู้แทนการค้าไทยอีกครั้ง[7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. แต่งตั้ง “ม.ล.ชโยทิต กฤดากร” เป็นที่ปรึกษานายกฯ ทำหน้าที่ผู้แทนการค้าไทย
  2. “ครน.” เห็นชอบตั้ง “ม.ล.ชโยทิต กฤดากร” นั่งกรรมการ PTT มีผล 16 ธ.ค.63
  3. "CAT ควบรวม TOT เสร็จเปลี่ยนเป็น NT ตั้งเป้า 64 ติด 1 ใน 3 บริษัทโทรคมนาคมไทย". ไทยรัฐ. 2021-01-07. สืบค้นเมื่อ 2021-01-07.
  4. ‘สุพัฒนพงษ์’ ทำแผนกระตุ้นลงทุนส่งนายกฯ – ตั้ง ม.ล.ชโยทิต กฤดากร หัวหน้าทีมติดต่อนักลงทุน
  5. ครม.ตั้ง "ม.ล.ชโยทิต กฤดากร " เป็นผู้แทนการค้าไทย ดึงลงทุนจากต่างประเทศ
  6. "ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เลื่อน 'เกชา ศักดิ์สมบูรณ์' ขึ้นส.ส.รทสช.แทน ม.ล.ชโยทิต". มติชน. 6 ธันวาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. "ครม.แต่งตั้ง"ม.ล.ชโยทิต กฤดากร"ทำหน้าที่ผู้แทนการค้าไทย". ผู้จัดการออนไลน์. 12 ธันวาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๔, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]