สะพานกรุงเทพ
สะพานกรุงเทพ | |
---|---|
สะพานกรุงเทพ (ล่าง) | |
เส้นทาง | ถนนมไหสวรรย์ |
ข้าม | แม่น้ำเจ้าพระยา |
ที่ตั้ง | เขตบางคอแหลม (ฝั่งพระนคร) เขตธนบุรี (ฝั่งธนบุรี) |
ชื่อทางการ | สะพานกรุงเทพ |
ผู้ดูแล | กรมทางหลวงชนบท |
รหัส | ส.001 |
เหนือน้ำ | สะพานพระราม 3 |
ท้ายน้ำ | สะพานพระราม 9 |
ข้อมูลจำเพาะ | |
ประเภท | เปิด-ปิดได้ |
วัสดุ | คอนกรีตอัดแรง |
ความยาว | 350.80 เมตร |
ความกว้าง | 17.00 เมตร |
ความสูง | 7.50 เมตร |
จำนวนช่วง | 5 |
ประวัติ | |
วันเริ่มสร้าง | 31 สิงหาคม พ.ศ. 2497 |
วันสร้างเสร็จ | ปลายปี พ.ศ. 2500 |
วันเปิด | 24 มิถุนายน พ.ศ. 2502 |
สะพานกรุงเทพ เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งที่ 3 ต่อจากสะพานพระราม 6 และสะพานพระพุทธยอดฟ้า ถือเป็นสะพานโยกเพียงแห่งเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ยังเปิด-ปิดได้อยู่ เชื่อมระหว่างบริเวณสี่แยกถนนตก เขตบางคอแหลมทางฝั่งพระนคร กับบริเวณสี่แยกบุคคโลในพื้นที่เขตธนบุรีทางฝั่งธนบุรี ใช้ในการคมนาคมทางบกข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาและปิด-เปิด ให้เรือเข้าออก ลักษณะการก่อสร้างเป็นแบบคอนกรีตอัดแรง โดยวิธีการอิสระซึ่งยาวที่สุดในประเทศไทย มีช่องทางจราจร 4 ช่อง ความยาวสะพาน 350.80 เมตร ช่วงกลางน้ำยาว 226 เมตร เริ่มเปิดใช้งานเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2502 ปัจจุบันอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท
ปัจจุบัน สะพานยังเปิด-ปิดเพื่อให้เรือสินค้าที่แล่นเข้าออกเป็นประจำผ่าน แต่เมื่อมีการเปิด-ปิดสะพาน ก็ต้องมีการปิดการจราจร ทำให้เกิดปัญหาจราจรติดขัดเป็นอันมาก อีกทั้งเป็นสะพานที่อายุกว่า 50 ปี ทำให้มีปัญหาด้านกลไกเปิด-ปิดสะพานอยู่บ่อยครั้ง รัฐบาลจึงทุ่มงบสร้างสะพานที่สูงพอให้เรือสินค้าแล่นผ่านได้เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจร สะพานนั้นคือ สะพานพระราม 3
ข้อมูลทั่วไป
[แก้]- วันที่ทำการก่อสร้าง : วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2497 แล้วเสร็จปลายปี พ.ศ. 2500
- วันเปิดการจราจร : วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959)
- บริษัทที่ทำการก่อสร้าง : FUJI CAR MANUFACTURING CO.,LTD.
- ราคาค่าก่อสร้าง : 31,912,500.00 บาท
- แบบของสะพาน : ชนิดเปิด-ปิดได้
- จำนวนช่วงสะพานกลางน้ำ : 5 ช่วง ( 64.00+64.00+60.00+64.00+64.00)
- ความยาวของสะพาน : 350.80 เมตร
- ความสูงจากน้ำทะเลปานกลาง : 7.50 เมตร
- เชิงลาดสะพาน ฝั่งพระนคร : 129.70 เมตร
- เชิงลาดสะพาน ฝั่งธนบุรี : 180.55 เมตร
- รวมความยาวทั้งหมด : 661.05 เมตร
- จำนวนช่องทางวิ่ง : 4 ช่องทางจราจร
- ความกว้างผิวจราจรสะพาน : 12.00 เมตร
- ความกว้างสะพาน : 17.00 เมตร
- ความกว้างทางเท้าแต่ละด้าน : 2.50 เมตร
- ออกแบบรับน้ำหนัก : H-16-44
- น้ำหนักโครงเหล็ก : รวมทั้งพื้นจราจร สำหรับช่วง 64.00 ม. หนัก 440 ตัน
- สำหรับช่วงเปิด-ปิด : หนักข้างละ 200 ตัน
- ระดับคอสะพาน : ฝั่งพระนคร 4.15 ม. ฝั่งธนบุรี 4.15 ม.
- รับน้ำหนักได้ : TRACTOR TRUCK WITH SEMI-TRAILER 29.25 TONS ต่อช่วงสะพาน หรือ 16 TONS TRUCK TRAINS วิ่งสวนกัน 4 คัน และ วิ่งตามกันห่าง 4 ม. น้ำหนักแผ่อีก 400 km/m2
ทัศนียภาพ
[แก้]ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- "KRUNGTHEP BRIDGE". Bureau of Maintenance and Traffic Safety, Ministry of Transport, Thailand. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-28. สืบค้นเมื่อ 2007-11-27.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ฐานข้อมูลโบราณสถาน GIS กรมศิลปากร
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ สะพานกรุงเทพ
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
13°42′02″N 100°29′31″E / 13.700435°N 100.492072°E
สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในปัจจุบัน | |||
---|---|---|---|
เหนือน้ำ สะพานพระราม 3 |
สะพานกรุงเทพ |
ท้ายน้ำ สะพานพระราม 9 |