ข้ามไปเนื้อหา

สถานีรถไฟอุบลราชธานี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถานีรถไฟอุบลราชธานี
สถานีรถไฟอุบลราชธานี
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนรถไฟ ตำบลวารินชำราบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
ผู้ให้บริการการรถไฟแห่งประเทศไทย
ผู้บริหารกระทรวงคมนาคม
สาย
ชานชาลา2
ทางวิ่ง5
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างระดับดิน
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานี2290 (อน.)
ประเภทสถานีรถไฟชั้น 1
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ1 เมษายน พ.ศ. 2473; 94 ปีก่อน (2473-04-01)
ชื่อเดิมวารินทร์
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า การรถไฟแห่งประเทศไทย สถานีต่อไป
บุ่งหวาย สายตะวันออกเฉียงเหนือ สถานีปลายทาง
อุบลราชธานี
Ubon Ratchathani
กิโลเมตรที่ 575.10
บุ่งหวาย
Bung Wai
−566.20 กม.
ดูเพิ่ม: รายชื่อสถานีรถไฟ สายตะวันออกเฉียงเหนือ
ที่ตั้ง
แผนที่

สถานีรถไฟอุบลราชธานี เป็นสถานีรถไฟชั้น 1 ตั้งอยู่ที่ถนนรถไฟ ตำบลวารินชำราบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี อยู่ห่างจากสถานีรถไฟกรุงเทพเป็นระยะทาง 575 กิโลเมตร เดิมชื่อสถานีวารินทร์ เป็นสถานีสุดท้ายของเส้นทางรถไฟสายอีสานใต้

ความเป็นมาและความสำคัญ

[แก้]

การก่อสร้างรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือมีเหตุผล 2 ประการ คือ เหตุผลด้านเศรษฐกิจและด้านความมั่นคงของประเทศ กล่าวคือ ช่วยอำนวยความสะดวกรวดเร็วในหารขนส่งผู้คนและสินค้าระหว่างเมืองหลวง


กับภาคอีสาน ส่วนด้านความมั่นคงนั้น ด้วยเวลานั้นฝรั่งเศสได้ครอบครองเพื่อนบ้านที่ติดกับไทย คือ ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ฝรั่งเศสได้แสดงท่าทีและพฤติกรรมที่คุกคามไทยหลายครั้ง นำมาสู่ความขัดแย้ง จนกระทั่งไทยต้องเสียดินแดนสิบสองจุไทให้แก่ฝรั่งเศสใน พ.ศ.2431 จากเหตุการณ์นี้ส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฝรั่งเศสเสื่อมลงตามลำดับ ทำให้ประเทศไทยจำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาความเป็นไปได้และความเหมาะสมในการสร้างทางรถไฟและนำมาสู่การก่อสร้างทางรถไฟสายภาคตะวันออกเฉียงเหนือในเวลาต่อมา

การก่อสร้างเส้นทางรถไฟจากนครราชสีมา-อุบลราชธานี

[แก้]

การก่อสร้างเส้นทางรถไฟมาถึงจังหวัดอุบลราชธานีนั้น เกิดขึ้นหลังจากการก่อสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพ-นครราชสีมาแล้วเสร็จและเปิดการเดินรถ ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2443 จนถึงปี พ.ศ. 2460 จึงได้เริ่มทำการก่อสร้างทางรถไฟต่อไปยังสถานีอุบลราชธานี โดยเป็นทางกว้าง 1.00 เมตร เพื่อให้สอดคล้องกับ ขนาดทางรถไฟจากกรุงเทพ – นครราชสีมา ซึ่งเดิมได้วางเอาไว้ขนาดกว้าง 1.435 เมตร และอยู่ในระหว่างการปรับเปลี่ยนให้มีความกว้าง 1.00 เมตร เท่ากับเส้นทางสายใต้

เป็นคนไทย ไม่มีชาวต่างด้าว กรมรถไฟหลวงยังคงได้รับความร่วมมือจากกองทหารช่างให้มาช่วยทำการวางรางจากสถานีนครราชสีมาผ่านสถานีชุมทางถนนจิระถึงสถานีท่าช้าง รวมระยะทาง 21 กิโลเมตร เปิดการเดินรถได้เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465 เป็นต้นมา การก่อสร้างได้ดำเนินต่อไป และสามารถเปิดการเดินรถได้ เป็นช่วง ๆ ตามลำดับ ดังต่อไปนี้

  • 1 เมษายน พ.ศ. 2468 เปิดเดินรถจาก สถานีท่าช้าง ถึง สถานีบุรีรัมย์ ระยะทาง 91 กิโลเมตร
  • 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2469 เปิดเดินรถจาก สถานีบุรีรัมย์ ถึง สถานีสุรินทร์ ระยะทาง 44 กิโลเมตร
  • 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 เปิดเดินรถจาก สถานีสุรินทร์ ถึง สถานีห้วยทับทัน ระยะทาง 61 กิโลเมตร
  • 1 สิงหาคม พ.ศ. 2471 เปิดเดินรถจาก สถานีห้วยทับทัน ถึง สถานีศรีสะเกษ ระยะทาง 34 กิโลเมตร
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2473 เปิดเดินรถจาก สถานีศรีสะเกษ ถึง สถานีอุบลราชธานี ระยะทาง 61 กิโลเมตร

รวมระยะทางทั้งหมดจากนครราชสีมา – อุบลราชธานี 312 กิโลเมตร ใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างเส้นทางรถไฟจากกรุงเทพ-สถานีอุบลราชธานี ทั้งหมด 39 ปี (พ.ศ.2434-2473) ระยะทางรวม 575 กิโลเมตร และเนื่องจากสถานีปลายทางที่อุบลราชธานีนี้ อยู่ในเขตอำเภอวารินชำราบ ห่างจากฝั่งแม่น้ำมูล กรมรถไฟจึงได้วางทางแยกจากสถานีบุ่งหวาย ระยะทาง 7 กิโลเมตร ไปยังสถานีโพธิ์มูลซึ่งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำมูล เพื่อความสะดวกในการรับส่งสินค้า ที่มาจากทางเรือในแม่น้ำมูล

ผลของการสร้างทางรถไฟสายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ประเทศไทยเกิดความเปลี่ยนแปลงทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม รถไฟกลายเป็นสิ่งมหัศจรรย์สำหรับการคมนาคม มีผู้คนเดินทางไปต่างพื้นที่มากขึ้น รวมทั้งปริมาณและประเภทสินค้าที่เข้าและออกจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือก็เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน จังหวัดหรือพื้นที่ที่เป็นทางผ่านกลายเป็นเส้นทางสำคัญในการขนส่งและกระจายสินค้า วิถีชีวิตของผู้คนอีสานเปลี่ยนแปลงจากการทำเกษตรเพื่อบริโภคในครัวเรือนกลายเป็นการผลิตเพื่อขาย และมีอาชีพใหม่ ๆ เกิดขึ้นด้วยเช่นกัน

แต่เดิม สถานีรถไฟอุบลราชธานีนั้นมีชื่อว่า “สถานีวารินทร์” เนื่องจากตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอวารินชำราบ จนถึงปี พ.ศ.2485 จึงได้เปลี่ยนชื่อจากสถานีวารินทร์ เป็น “สถานีอุบลราชธานี” จนถึงปัจจุบัน

สถานีรถไฟอุบลราชธานีนั้นมีเรื่องราวที่น่าสนใจให้ย้อนระลึกถึงบทบาทและความสำคัญในอดีตที่นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ อย่างในภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะพื้นที่อีสานตอนใต้ และยังคงความสำคัญอยู่จนถึงปัจจุบัน

ตารางเวลาเดินรถ

[แก้]

เที่ยวขึ้น

[แก้]
ขบวนรถ ต้นทาง อุบลราชธานี ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ร145 กรุงเทพอภิวัฒน์ 15.50 03:35 อุบลราชธานี 03.15 งดเดินรถ
ร139 กรุงเทพอภิวัฒน์ 19.25 06:15 อุบลราชธานี 06.15
ดพ23 กรุงเทพอภิวัฒน์ 21.05 06:35 อุบลราชธานี 06.35
ด67 กรุงเทพอภิวัฒน์ 21.30 07:50 อุบลราชธานี 07.50 งดเดินรถ
ท425 ลำชี 05.30 08:30 อุบลราชธานี 08.30
ร141 กรุงเทพอภิวัฒน์ 23.05 10:20 อุบลราชธานี 10.20
ท421 นครราชสีมา 06.10 12:15 อุบลราชธานี 12.15
ดพ21 กรุงเทพอภิวัฒน์ 06.10 14:00 อุบลราชธานี 14.00
ท419 นครราชสีมา 11.15 16:45 อุบลราชธานี 16.45
ร135 กรุงเทพอภิวัฒน์ 07.10 18:00 อุบลราชธานี 18.00
ด71 กรุงเทพอภิวัฒน์ 10.35 19:50 อุบลราชธานี 19.50
ท427 นครราชสีมา 14.20 20:15 อุบลราชธานี 20.15
หมายเหตุขบวนรถ: = สายเหนือ / = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / = สายใต้ / = สายตะวันออก / = สายแม่กลอง
ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า

เที่ยวล่อง

[แก้]
ขบวนรถ ต้นทาง อุบลราชธานี ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ด72 อุบลราชธานี 05.40 05:40 กรุงเทพอภิวัฒน์ 14.30
ร136 อุบลราชธานี 07.00 07:00 กรุงเทพอภิวัฒน์ 17.55
ร146 อุบลราชธานี 09.30 09:30 กรุงเทพอภิวัฒน์ 20.45 งดเดินรถ
ท426 อุบลราชธานี 12.35 12:35 นครราชสีมา 18.25
ดพ22 อุบลราชธานี 14.50 14:50 กรุงเทพอภิวัฒน์ 22.35
ท422 อุบลราชธานี 15.15 15:15 ลำชี 18.15
ร142 อุบลราชธานี 17.35 17:35 กรุงเทพอภิวัฒน์ 04.10
ท420 อุบลราชธานี 18.10 18:10 ลำชี 21.10
ดพ24 อุบลราชธานี 19.00 19:00 กรุงเทพอภิวัฒน์ 04.50
ด68 อุบลราชธานี 19.30 19:30 กรุงเทพอภิวัฒน์ 06.40 งดเดินรถ
ร140 อุบลราชธานี 20.30 20:30 กรุงเทพอภิวัฒน์ 07.10
ท428 อุบลราชธานี 06.20 6:20 นครราชสีมา 11.45
หมายเหตุขบวนรถ: = สายเหนือ / = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / = สายใต้ / = สายตะวันออก / = สายแม่กลอง
ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า

อ้างอิง

[แก้]
  • "สถานีรถไฟอุบลราชธานี". Esanpedia. 2016-09-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-12-11. สืบค้นเมื่อ 2022-06-08.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]