วัดบพิตรพิมุขวรวิหาร
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
วัดบพิตรพิมุขวรวิหาร | |
---|---|
วัดบพิตรพิมุข วรวิหาร | |
ชื่อสามัญ | วัดบพิตรพิมุขวรวิหาร |
ที่ตั้ง | ถนนจักรวรรดิ แขวงจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร 10100 |
ประเภท | พระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร[1] |
นิกาย | เถรวาท มหานิกาย |
พระประธาน | พระสัมพุทธบพิตร |
พระพุทธรูปสำคัญ | หลวงพ่อยิ้ม,พระศิลาอู่ทอง |
เจ้าอาวาส | พระพรหมวชิรานุวัตร(อาทร อินทปัญโญ ป.ธ.๙) |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
วัดบพิตรพิมุข เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิด วรวิหาร ตั้งอยู่ที่เลขที่ 266 ถนนจักรวรรดิ แขวง จักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร
- วัดบพิตรพิมุขวรวิหาร เดิมมีชื่อว่า วัดเชิงเลน หรือ วัดตีนเลน มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ประมาณ พ.ศ.2328 สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์ กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข (วังหลัง) พระราชนัดดา ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่แล้วถวายเป็นพระอารามหลวงแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระองค์ได้ทรงพระราชทานนามวัดนี้ว่า "วัดบพิตรพิมุข" เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่กรมพระราชวังบวรสถานพิมุขพระองค์นี้
- วัดบพิตรพิมุขได้รับการสมโภช พร้อมกับการสมโภชพระมหานคร สมโภชวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และสมโภชอารามอื่น ๆ แต่เนื่องจากอิฐและปูนหายากทั้งยังต้องนำมาใช้ในการสร้างพระนคร และพระราชวังที่สำคัญกว่าก็ยังไม่เพียงพอ ปรากฏว่าถาวรวัตถุที่ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งนั้นอยู่ได้ไม่นานต้องรื้อแก้ไขและสร้างใหม่ทั้งหมดในรัชกาลที่ ๓
คลังภาพ
[แก้]-
พระสัมพุทธบพิตร พระประธานในพระอุโบสถ
-
พระเจดีย์
-
พระพุทธรูปปางลีลา หน้าพระอุโบสถ
-
หมู่พระพุทธรูปในพระวิหาร
-
หลวงพ่อยิ้ม ในพระวิหาร
-
พระศิลาอู่ทอง
-
จิตรกรรมฝาผนังรูปฤๅษีดัดตนบนบานประตูพระวิหาร
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงธรรมการ แผนกกรมสังฆการี เรื่อง จัดระเบียบพระอารามหลวง, เล่ม ๓๒, ตอน ๐ ก, ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๘, หน้า ๒๘๔