รายนามประมุขแห่งรัฐยูโกสลาเวีย
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
บทความนี้แสดงรายนามประมุขแห่งรัฐยูโกสลาเวีย โดยเริ่มต้นตั้งแต่การสถาปนาราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีนใน ค.ศ. 1918 จนกระทั่งการล่มสลายของสหภาพรัฐเซอร์เบียและมอนเตเนโกรใน ค.ศ. 2006 ซึ่งถือเป็นจุดจบของการรวมชาติยูโกสลาเวียอย่างสมบูรณ์[1][2][3]
ราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน (ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็น "ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย" ใน ค.ศ. 1929) เป็นรัฐราชาธิปไตยแบบสืบสันตติวงศ์ภายใต้การนำของราชวงศ์คาราจอร์เจวิชตั้งแต่ ค.ศ. 1918 จนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ภายหลังสงครามยุติลง สหพันธ์สาธารณรัฐประชาชนยูโกสลาเวียภายใต้การนำของอีวาน รีบาร์ ผู้ซึ่งเป็นประธานสูงสุดแห่งสมัชชาแห่งชาติ (โฆษกรัฐสภา) และหลังจากนั้นโดยประธานาธิบดียอซีป บรอซ ตีโต ตั้งแต่ ค.ศ. 1953 จนกระทั่งการอสัญกรรมของเขาใน ค.ศ. 1980[4] ซึ่งหลังจากนั้นมาตำแหน่งประธานาธิบดียูโกสลาเวียได้ถูกกำหนดให้เป็นแบบประมุขแห่งรัฐรวมกลุ่ม (collective head of state)[5] โดยมีการผลัดเปลี่ยนกันระหว่างหมู่ตัวแทนของแต่ละสาธารณรัฐและจังหวัดปกครองตนเอง อย่างไรก็ตาม จนถึง ค.ศ. 1990 ตำแหน่งของประธานสันนิบาตคอมมิวนิสต์แห่งยูโกสลาเวียมักเป็นตำแหน่งที่มีอำนาจสูงที่สุด และในปีเดียวกันนั้น มีการนำระบบหลายพรรคมาใช้ แต่ประมุขแห่งรัฐยังคงหมุนเวียนกันในหมู่ผู้แทนที่ได้รับการแต่งตั้งจากสาธารณรัฐและจังหวัดปกครองตนเอง จนกระทั่งการล่มสลายของยูโกสลาเวียในสองปีต่อมา
ราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน (ค.ศ. 1918—1929)
[แก้]ตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม ค.ศ. 1915 ถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 ราชอาณาจักรเซอร์เบีย (เซอร์เบีย: Краљевина Србија) ถูกยึดครองโดยจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีและบัลแกเรีย (ในความเป็นจริงแล้วการปลดปล่อยดินแดนดำเนินการตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม ค.ศ. 1917) ระหว่างการถูกยึดครองนั้น พระเจ้าปีเตอร์ที่ 1 แห่งคาราจอร์เจวิช ทรงตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นอยู่ที่คอร์ฟูของกรีซ ซึ่งในวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1917 หัวหน้ารัฐบาลเซอร์เบียนีโคลา ปาชิช และประธานคณะกรรมการยูโกสลาฟประจำกรุงลอนดอนอานเต ตรุมบิช ได้ลงนามในปฏิญญาว่าด้วยการการรวมเซอร์เบียและดินแดนสลาฟใต้ของออสเตรีย-ฮังการีให้เป็นรัฐเดียวเมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ภายใต้การอุปถัมภ์ของราชวงศ์คาราจอร์เจวิชแห่งเซอร์เบีย เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 1917 คณะกรรมการรวมชาติมอนเตเนโกรในกรุงปารีสร้องขอเข้าร่วมในปฏิญญาด้วย ในวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1918 ราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน (บอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบีย: Краљевина Срба, Хрвата и Словенаца / Kraljevina Srba, Hrvata i Slovenaca, สโลวีเนีย: Kraljevina Srbov, Hrvatov in Slovencev) ได้รับการจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยพระมหากษัตริย์เซอร์เบียปีเตอร์ที่ 1 ได้รับการสถาปนาเป็น "พระมหากษัตริย์แห่งปวงชนชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน (บอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบีย: краљ Срба, Хрвата и Словенаца / kralj Srba, Hrvata i Slovenaca) แต่เนื่องจากพระองค์ทรงมีพระพลานามัยที่ไม่แข็งแรง พระองค์จึงทรงมอบพระราชอำนาจให้แก่มกุฎราชกุมารอเล็กซานเดอร์แห่งคาราจอร์เจวิช[6][7][8] เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม ค.ศ. 1918 รัฐแห่งชาวสโลวีน โครแอต และเซิร์บ (บอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบีย: Država Slovenaca, Hrvata i Srba; Држава Словенаца, Хрвата и Срба, สโลวีเนีย: Država Slovencev, Hrvatov in Srbov) ซึ่งก่อตั้งขึ้นจากรวมตัวกันของดินแดนสลาฟใต้ภายหลังการล่มสลายของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี (ราชอาณาจักรโครเอเชีย–สลาโวเนีย ราชอาณาจักรแดลเมเชีย บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา และคาร์นีโอลา) ในวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1918 ได้ขอเข้าร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับราชอาณาจักร[9][10] รัฐบาลเซอร์เบียของปาชิชยังคงเป็นรัฐบาลชั่วคราวของราชอาณาจักรใหม่ต่อไป จนกระทั่งสโตจาน โปรติช ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานสภารัฐมนตรีคนแรก (บอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบีย: Председник министарског савета / Predsjednik ministarskog vijeća)[11] ในวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1921 ซึ่งตรงกับวันวีดอฟดาน ทางสภาร่างรัฐธรรมนูญได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่[12] ซึ่งบังคับใช้จนกระทั่งการสถาปนาระบอบเผด็จการราชวงศ์ของกษัตริย์อเล็กซานเดอร์เมื่อวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1929[13] และในวันที่ 3 ตุลาคม พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ทรงประกาศใช้กฎหมาย "ว่าด้วยชื่อและการแบ่งเขตการปกครองของราชอาณาจักร" ซึ่งมีผลใช้บังคับในวันต่อมา ทำให้ประเทศถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย" นับตั้งแต่นั้นมา (แม้ว่าก่อนหน้านั้นจะมีการใช้ชื่อ "ยูโกสลาเวีย" กันอย่างแพร่หลายอยู่แล้ว แต่ยังคงไม่เป็นทางการ)[1]
พระนาม | รูปภาพ | การดำรงตำแหน่ง | ราชวงศ์ | พระอิสริยยศ | |
---|---|---|---|---|---|
เริ่มต้น | สิ้นสุด | ||||
ปีเตอร์ที่ 1 (1844—1921) Петар I (Petar I) |
1 ธันวาคม ค.ศ. 1918 | 16 สิงหาคม ค.ศ. 1921[a] | คาราจอร์เจวิช Карађорђевићи (Karađorđevići) |
พระมหากษัตริย์แห่งปวงชน ชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน[b] краљ Срба, Хрвата и Словенаца (kralj Srba, Hrvata i Slovenaca) | |
อเล็กซานเดอร์ (1888—1934) Александар I (Aleksandar I) |
1 ธันวาคม ค.ศ. 1918 | 16 สิงหาคม ค.ศ. 1921 | มกุฎราชกุมาร และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์[c] престолонаследник и регент (prestolonaslednik i regent) | ||
16 สิงหาคม ค.ศ. 1921 | 4 ตุลาคม ค.ศ. 1929[d] | พระมหากษัตริย์แห่งปวงชน ชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน[e] краљ Срба, Хрвата и Словенаца (kralj Srba, Hrvata i Slovenaca") |
ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย (ค.ศ. 1929—1945)
[แก้]
|
เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1929 กษัตริย์อเล็กซานเดอร์ทรงประกาศใช้กฎหมาย "ว่าด้วยชื่อและการแบ่งเขตการปกครองของราชอาณาจักร" ซึ่งมีผลใช้บังคับในวันต่อมา ทำให้ประเทศถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย" (บอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบีย: Краљевина Југославија / Kraljevina Jugoslavija, สโลวีเนีย: Kraljevina Jugoslavija)[1] และมีการแบ่งการปกครองเป็นแบบบาโนวีนา (banovina) โดยยึดตามองค์ประกอบของชาติพันธุ์เป็นหลัก[14]
รัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือที่รู้จักกันว่า "รัฐธรรมนูญเดือนกันยายน" (เซอร์เบีย: Септембарски устав) ได้ประกาศใช้ตามพระราชประสงค์ของกษัตริย์อเล็กซานเดอร์เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1931 ซึ่งถือเป็นยุติระบอบเผด็จการโดยราชวงศ์อย่างเป็นทางการ รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีผลบังคับใช้จนกระทั่งการก่อตั้งสหพันธ์สาธารณรัฐประชาชนยูโกสลาเวียเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1945[15][16] ภายหลังการลอบปลงพระชนม์กษัตริย์อเล็กซานเดอร์ในมาร์แซย์เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม ค.ศ. 1934 เจ้าชายปอล คาราจอร์เจวิชได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (ซึ่งมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าคณะผู้สำเร็จราชการภายใต้มกุฎราชกุมารปีเตอร์ที่ 2) เจ้าชายปอลทรงดำเนินนโยบายสู่การสร้างสายสัมพันธ์กับเยอรมนีและอิตาลี[17][18] กองกำลังทางการเมืองที่โดดเด่นในช่วงเวลานี้คือสหภาพมูลวิวัติยูโกสลาฟ ซึ่งมีอุดมการณ์ที่คล้ายคลึงกับลัทธิฟาสซิสต์[19] รัฐบาลที่นำโดยดรากีชา ซเวตโควิช ได้ลงนามในกติกาสัญญาไตรภาคีเมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1941[20] ทว่าในอีกสองวันต่อมารัฐบาลและเจ้าชายปอลถูกโค่นอำนาจเนื่องจากเกิดการรัฐประหาร คณะรัฐประหารได้มอบพระราชอำนาจและประกาศบรรลุนิติภาวะแด่กษัตริย์ปีเตอร์ที่ 2 พร้อมทั้งจัดตั้งรัฐบาลที่นำโดยนายพลดูชัน ซีมอวิช[21][22]
ในวันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 1941 กองกำลังเยอรมันและอักษะเข้าโจมตียูโกสลาเวียและแบ่งแยกดินแดนของประเทศในช่วงการบุกครองยูโกสลาเวีย ซึ่งในวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1941 คณะรัฐบาลพร้อมด้วยกษัตริย์ปีเตอร์ที่ 2 เสด็จลี้ภัยออกประเทศและจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นอยู่ที่ลอนดอนตลอดช่วงสงคราม[23]
พระนาม | รูปภาพ | การดำรงตำแหน่ง | ราชวงศ์ | พระอิสริยยศ | |
---|---|---|---|---|---|
เริ่มต้น | สิ้นสุด | ||||
อเล็กซานเดอร์ (1888—1934) Александар I (Aleksandar I) |
4 ตุลาคม ค.ศ. 1929 | 9 ตุลาคม ค.ศ. 1934[f] | คาราจอร์เจวิช Карађорђевићи (Karađorđevići) |
พระมหากษัตริย์ยูโกสลาเวีย[g] краљ Југославије (kralj Jugoslavije) | |
ปีเตอร์ที่ 2 (1923—1970) Петар II (Petra II) |
9 ตุลาคม ค.ศ. 1934 | 15 เมษายน ค.ศ. 1941[h] | พระมหากษัตริย์ยูโกสลาเวีย[i] краљ Југославије (kralj Jugoslavije) | ||
นีโคลา อูซูโนวิช (1873—1954) Никола Узуновић (Nikola Uzunović) |
9 ตุลาคม ค.ศ. 1934[j] | 11 ตุลาคม ค.ศ. 1934[k] | พรรคยูโกสลาฟแห่งชาติ | ประธานสภารัฐมนตรี Председник министарског савета (Predsjednik ministarskog vijeća) | |
เจ้าชายปอล คาราจอร์เจวิช (1893—1976) Павле Карађорђевић (Pavle Karađorđević) |
9 ตุลาคม ค.ศ. 1934[l] | 27 มีนาคม ค.ศ. 1941[m] | คาราจอร์เจวิช Карађорђевићи (Karađorđevići) |
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ краљевски намесник (kraljevski namesnik) | |
อีโว เปโรวิช (1882—1958) Иво Перовић (Ivo Perović) |
อิสระ | ||||
ราเดนโค สตานโควิช (1880—1956) Раденко Станковић (Radenko Stanković) |
No. | ประมุขแห่งรัฐ | ช่วงอายุ | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | พรรค | ผู้แทน | หมายเหตุ | ||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ประธานสภาผู้บริหารแห่งสภาประชาชาติ 1945–1953 | |||||||||
N/A | อีวาน รีบาร์ | 1881–1968 | 29 ธันวาคม 1945 | 14 มกราคม 1953 | พรรคคอมมิวนิสต์แห่งยูโกสลาเวีย (party renamed) |
N/A | The office of the President of the Presidium of the Yugoslav National Assembly (the Parliament) was the office of the head of state 1945–1953. The Communist Party of Yugoslavia was reorganized and renamed into the สันนิบาตคอมมิวนิสต์แห่งยูโกสลาเวีย on November 2, 1952. | ||
สันนิบาตคอมมิวนิสต์แห่งยูโกสลาเวีย (party renamed) | |||||||||
ประธานาธิบดี 1953–1980 | |||||||||
1 | ยอซีป บรอซ ตีโต | 1892–1980 | 14 มกราคม 1953 | 4 พฤษภาคม 1980 | สันนิบาตคอมมิวนิสต์แห่งยูโกสลาเวีย | N/A | Office of the President of Yugoslavia instituted in 1953. Josip Broz Tito declared president for life in 1974. Office of President of the Presidency instituted to take effect upon Broz's death. | ||
ประธานสภาประธานาธิบดี 1980–1992 | |||||||||
1 | ลาซาร์ โคลิเซฟสกี้ | 1914–2000 | 4 พฤษภาคม 1980 | 15 พฤษภาคม 1980 | สันนิบาตคอมมิวนิสต์แห่งยูโกสลาเวีย | มาซิโดเนีย | ประธานประมุขแห่งรัฐรวม รับช่วงต่อภายหลังการมรณกรรมของตีโต ฐานะขณะนั้นเป็นรองประธานาธิบดี | ||
2 | ซวิเจติน มิยาโตวิช | 1913–1993 | 15 พฤษภาคม 1980 | 15 พฤษภาคม 1981 | สันนิบาตคอมมิวนิสต์แห่งยูโกสลาเวีย | บอสนียและเฮอร์เซโกวีนา | ประธานประมุขแห่งรัฐรวม | ||
3 | เซอร์เก ไครเยอร์ | 1914–2001 | 15 พฤษภาคม 1981 | 15 พฤษภาคม 1982 | สันนิบาตคอมมิวนิสต์แห่งยูโกสลาเวีย | สโลวีเนีย | ประธานประมุขแห่งรัฐรวม | ||
4 | เปตาร์ สตัมโบลิช | 1912–2007 | 15 พฤษภาคม 1982 | 15 พฤษภาคม 1983 | สันนิบาตคอมมิวนิสต์แห่งยูโกสลาเวีย | เซอร์เบีย | ประธานประมุขแห่งรัฐรวม | ||
5 | มิกา สปิลจัก | 1916–2007 | 15 พฤษภาคม 1983 | 15 พฤษภาคม 1984 | สันนิบาตคอมมิวนิสต์แห่งยูโกสลาเวีย | โครเอเชีย | ประธานประมุขแห่งรัฐรวม | ||
6 | วาเซลิน ดูราโนวิช | 1925–1997 | 15 พฤษภาคม 1984 | 15 พฤษภาคม 1985 | สันนิบาตคอมมิวนิสต์แห่งยูโกสลาเวีย | มอนเตรเนโกร | ประธานประมุขแห่งรัฐรวม | ||
7 | ราโดวาน วลาจโควิช | 1922–2001 | 15 พฤษภาคม 1985 | 15 พฤษภาคม 1986 | สันนิบาตคอมมิวนิสต์แห่งยูโกสลาเวีย | จังหวัดสังคมนิยมอิสระวอยวอดีนา | ประธานประมุขแห่งรัฐรวม | ||
8 | ซีนาน ฮาซานิ | 1922–2010 | 15 พฤษภาคม 1986 | 15 พฤษภาคม 1987 | สันนิบาตคอมมิวนิสต์แห่งยูโกสลาเวีย | จังหวัดสังคมนิยมอิสระคอซอวอ | ประธานประมุขแห่งรัฐรวม | ||
9 | ลาซาร์ โมจซอฟ | 1920–2011 | 15 พฤษภาคม 1987 | 15 พฤษภาคม 1988 | สันนิบาตคอมมิวนิสต์แห่งยูโกสลาเวีย | มาซิโดเนีย | ประธานประมุขแห่งรัฐรวม | ||
10 | ราอิฟ ดิซดาเรวิช | 1926– | 15 พฤษภาคม 1988 | 15 พฤษภาคม 1989 | สันนิบาตคอมมิวนิสต์แห่งยูโกสลาเวีย | บอสนียและเฮอร์เซโกวีนา | ประธานประมุขแห่งรัฐรวม | ||
11 | จาเนซ เดอร์นอฟเซก | 1950–2008 | 15 พฤษภาคม 1989 | 15 พฤษภาคม 1990 | สันนิบาตคอมมิวนิสต์แห่งยูโกสลาเวีย | สโลวีเนีย | ประธานประมุขแห่งรัฐรวม | ||
12 | โบริสลาฟ โจวิช | 1928– | 15 พฤษภาคม 1990 | 15 พฤษภาคม 1991 | สันนิบาตคอมมิวนิสต์แห่งยูโกสลาเวีย (until January 1990) | Serbia | ประธานประมุขแห่งรัฐรวม สันนิบาตคอมมิวนิสต์แห่งยูโกสลาเวีย dissolved into six separate parties. In Serbia the party was succeeded by the Socialist Party of Serbia. | ||
Socialist Party of Serbia (from January 1990) | |||||||||
N/A | เซจโด บาจราโมวิช (acting) |
1927–1993 | 16 พฤษภาคม 1991 | 30 June 1991 | พรรคสังคมนิยมแห่งเซอร์เบีย | จังหวัดสังคมนิยมอิสระคอซอวอ | รักษาการประธานาธิบดี | ||
13 | สเตฟาน เมสิช | 1934– | 30 June 1991 | 5 December 1991 | สหภาพประชาธิปไตยโครเอเชีย | โครเอเชีย | ประธานประมุขแห่งรัฐรวม ประธานาธิบดียูโกสลาเวียคนสุดท้าย | ||
N/A | บรันโก คอสติช (acting) |
1939– | 5 December 1991 | 15 June 1992 | พรรคประชาธิปไตยสังคมนิยมแห่งมอนเตรเนโกร | มอนเตรเนโกร | รักษาการประธานาธิบดี แต่งตั้งโดยเซอร์เบียและมอนเตรเนโกร |
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ สวรรคตขณะเสวยราชสมบัติ
- ↑ พระปรมาภิไธย "เซอร์เบีย-โครเอเชีย: Његово Величанство краљ Петар I Карађорђевић од СХС / Njegovo Veličanstvo Kralj Petar I Karajorđević od Srba, Hrvata i Slovenaca"
- ↑ พระปรมาภิไธย "เซอร์เบีย-โครเอเชีย: Његово Краљевско Височанство Принц Престолонаследник Александар Карађорђевић од Срба, Хрвата и Словенаца / Njegovo kraljevsko visočanstvo princ prestolonaslednik Aleksandar Karajorđević od Srba, Hrvata i Slovenaca"
- ↑ พระองค์ยังทรงครองราชย์ต่อไปในฐานะ "พระมหากษัตริย์ยูโกสลาเวีย"
- ↑ พระปรมาภิไธย "เซอร์เบีย-โครเอเชีย: Његово Величанство краљ Александар I Карађорђевић од Срба, Хрвата и Словенаца / Njegovo Veličanstvo Kralj Aleksandar I Karajorđević od Srba, Hrvata i Slovenaca
- ↑ ถูกลอบปลงพระชนม์
- ↑ พระปรมาภิไธย "เซอร์เบีย-โครเอเชีย: Његово Величанство витешки краљ Александар I Карађорђевић од Југославије / Njegovo Veličanstvo viteški kralj Aleksandar I Karajorđević od Jugoslavije"
- ↑ พระองค์เสด็จลี้ภัยออกนอกประเทศระหว่างการบุกครองยูโกสลาเวียของฝ่ายอักษะ
- ↑ พระปรมาภิไธย "เซอร์เบีย-โครเอเชีย: Његово Величанство краљ Петар II Карађорђевић од Југославије / Njegovo Veličanstvo kralj Petar II Karajorđević od Jugoslavije"
- ↑ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ภายใต้กษัตริย์ปีเตอร์ที่ 2
- ↑ โอนอำนาจไปยังคณะผู้สำเร็จราชการที่นำโดยเจ้าชายปอล คาราจอร์เจวิช
- ↑ คณะผู้สำเร็จราชการภายใต้กษัตริย์ปีเตอร์ที่ 2 ซึ่งนำโดยเจ้าชายปอล คาราจอร์เจวิช
- ↑ โอนอำนาจไปยังกษัตริย์ปีเตอร์ที่ 2 อันเนื่องมาจากการรัฐประหาร
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "Yugoslavia: Polity Style: 1918—2006". Archontology. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-26.
- ↑ Ramet, Sabrina (2006). The Three Yugoslavias: State-building and Legitimation, 1918—2005. New York, NY: American Council of Learned Societies. p. 817. ISBN 978-0-253-34656-8.
- ↑ "Premijeri (foto galerija)". Arhiv Jugoslavije. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-29.
- ↑ Michael Dobbs (5 May 1980). "President Tito Dies". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 12 August 2021.
- ↑ Michael Dobbs (5 May 1980). "Collective Presidency Follows 35 Years of Rule by One Man". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 12 August 2021.
- ↑ Sotirović, Vladislav. "How Yugoslavia Was Created: The 1917 Corfu Declaration (I)". Oriental Review. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-18.
- ↑ Sotirović, Vladislav. "How Yugoslavia Was Created: The 1917 Corfu Declaration (II)". Oriental Review. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-18.
- ↑ Sotirović, Vladislav. "How Yugoslavia Was Created: The 1917 Corfu Declaration (III)". Oriental Review. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-18.
- ↑ Писарев, Юрий Алексеевич (1992). "Создание Югославского государства в 1918 г.: уроки истории". Новая и новейшая история. p. 27—46. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-29.
- ↑ Mitrović, Andrej (1969). Jugoslavija na konferenciji mira 1919—1920. Beograd: Zavod za izdavanje udžbenika Socijalističke Republike Srbije. p. 276.
- ↑ Љушић, Радош (уредник) (2005). Владе Србије: 1805—2005. Београд: Завод за уџбенике и наставна средства. p. 576. ISBN 978-8-617-13111-9.
- ↑ "Устав Краљевине Срба, Хрвата и Словенаца" (PDF). Moj ustav. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-05-16.
- ↑ Гајић, Јован. "Краљева лична власт". Политика. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-26.
- ↑ Павловић, Марко (2000). Југословенска краљевина прва европска регионална држава (PDF). Vol. 141. Зборник Матице српске за друштвене науке. p. 503—521. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-11-26.
- ↑ Lampe, John (2000). Yugoslavia as History: twice there was a country. Cambridge: Cambridge University Press. p. 233–487. ISBN 978-0-521-77401-7.
- ↑ "Ustav Federativne Narodne Republike Jugoslavije (FNRJ) — 1946". SFRJ-jugoslavija. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-20.
- ↑ Broche, François (1977). Assassinat de Alexandre Ier et Louis Barthou, Marseille, le 9 octobre 1934. Basel: Balland. p. 201. ISBN 978-2-715-80113-4.
- ↑ Касаш, Јована (2013). Кнез Павле Карађорђевић у вртлогу европских збивања: (1934—1941). Нови Сад: Malo Istorijsko Društvo. p. 137. ISBN 978-8-651-50880-9.
- ↑ Payne, Stanley (1995). A history of fascism, 1914—1945. Madison, WI: University of Wisconsin Press. p. 592. ISBN 978-0-299-14874-4.
- ↑ "Protiv pakta i crkva!". Новости. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-26.
- ↑ Miladinović, Ivan. "Malo poznati dokumenti bacaju drugačije svetlo na 27. mart u Beogradu". Новости. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-26.
- ↑ Сотировић, Владислав. "Предрасуде о 25. и 27. марту 1941". Политика. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-26.
- ↑ Pavlowitch, Stevan (1981). Out of Context — The Yugoslav Government in London 1941—1945. Vol. 16. Journal of Contemporary History. p. 89—118.