ภาวะพิษจากเมทานอล
ภาวะพิษจากเมทานอล | |
---|---|
ชื่ออื่น | Methanol poisoning |
โครงสร้างโมเลกุลของเมทานอล | |
สาขาวิชา | เวชศาสตร์ฉุกเฉิน |
อาการ | ความรู้สึกตัวลดลง, การทำงานประสานของร่างกายลดลง, อาเจียน, ปวดท้อง, ลมหายใจมีกลิ่นเฉพาะ[1][2] |
ภาวะแทรกซ้อน | ความบกพร่องทางการมองเห็น, ไตวาย[1] |
สาเหตุ | เมทานอล[1][2] |
วิธีวินิจฉัย | ภาวะเลือดเป็นกรด, ออสโมลาลิตีของพลาสมาเพิ่มสูงขึ้น, ระดับเมทานอลในเลือด[1][2] |
โรคอื่นที่คล้ายกัน | การติดเชื้อ, การได้รับแอลกอฮอล์พิษอื่น ๆ, กลุ่มอาการเซโรโทนิน, ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน[2] |
การรักษา | ยาต้านพิษ, การชำระเลือดผ่านเยื่อ[2] |
ยา | โฟมีพิโซล, เอทานอล[2] |
พยากรณ์โรค | ดีหากได้รับการรักษาทันท่วงที[1] |
ความชุก | 1,700 รายต่อปี (สหรัฐ)[3] |
ภาวะพิษจากเมทานอล[4] (อังกฤษ: Methanol toxicity หรือ methanol poisoning) เป็นพิษจากการได้รับเมทานอล เริ่มแรกจะมีอาการคลื่นไส้ ปวดศีรษะ และปวดท้อง อาจเกิดตาพร่ามัวร่วมด้วย[2] ในระยะยาวอาจส่งผลให้การมองเห็นบกพร่องจากเส้นประสาทตาถูกทำลายโดยกรดฟอร์มิกและไตวาย[1] หากได้รับในปริมาณมากอาจทำให้หมดสติและเสียชีวิต
เมทานอลเป็นแอลกอฮอล์ที่มีสูตรเคมีคือ CH3OH หรือ CH4O ลักษณะเป็นของเหลวไม่มีสี ระเหยง่ายและติดไฟ[5] การเป็นพิษส่วนใหญ่เกิดจากความสับสนกับเอทานอลซึ่งเป็นแอลกอฮอล์ที่ดื่มได้ และการดื่มน้ำยาเช็ดกระจกรถด้วยความไม่ตั้งใจหรือพยายามฆ่าตัวตาย[2] เมื่อมนุษย์รับเมทานอลเข้าไปจะสลายกลายเป็นฟอร์มาลดีไฮด์ด้วยเอนไซม์แอลกอฮอล์ดีไฮโดรจีเนสที่ตับ ก่อนจะแปรสภาพเป็นกรดฟอร์มิกด้วยเอนไซม์แอลดีไฮด์ดีไฮโดรจีเนส[6][7] กลไกความเป็นพิษเกิดได้กับ 2 ระบบได้แก่ ลดการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางเช่นเดียวกับภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษ และเกิดภาวะพร่องออกซิเจนในระดับเซลล์จากกรดฟอร์มิก ส่งผลให้เกิดกรดแล็กติกเพิ่มขึ้นในเลือด นำไปสู่ภาวะเลือดเป็นกรด[8][9] การวินิจฉัยจะใช้วิธีตรวจร่างกายเพื่อดูการหายใจและม่านตา และตรวจเลือดเพื่อหาภาวะเลือดเป็นกรดและระดับออสโมลาลิตีของพลาสมา[1][2] การรักษาจะใช้ยาต้านพิษได้แก่โฟมีพิโซล (fomepizole) หรือเอทานอล[2][10] นอกจากนี้อาจใช้โซเดียมไบคาร์บอเนต กรดโฟลิก และไทอามีนร่วมด้วย[2]
มีการรายงานการเป็นพิษจากเมทานอลครั้งแรก ๆ ในปี ค.ศ. 1856[11] การเป็นพิษพบได้ทั่วไปในประเทศกำลังพัฒนาจากการดื่มแอลกอฮอล์ปนเปื้อน[2] โดยพบมากในเพศชายวัยผู้ใหญ่[3] ในปี ค.ศ. 2013 มีรายงานการเป็นพิษจากเมทานอลประมาณ 1,700 รายในสหรัฐ[3]
การรักษา
[แก้]ภายะพิษสามารถรักษาด้วยการใช้ยา fomepizole หรือการดื่มเอทานอล[6][12][13] ทั้งคู่มีผลให้เกิดการลดลงของแอกอฮอลดีไฮโดรจีเนสในวิถีของเมทานอลผ่านการยับยั้งแบบแข่งขัน เอทานอลซึ่งเป็นองค์ประกอบออกฤทธิ์ในเครื่องดื่มแอลกอฮลจะทำหน้าที่เป็นตัวยับยั้งแข่งขัน (competitive inhibitor) ที่สามารถจับและเพิ่มความเข้มข้นของเอนไซม์ดีไฮโดรจีเนสในตับได้ดีกว่าและมีประสิทธิภาพสูงกว่า จึงส่งผลไม่ให้เมทานอลถูกเมตาบอไลส์ต่อ เมทานอลที่ไม่ถูกเมตาบอไลส์จะถูกขับออกทางไตโดยที่ไม่ต้องเปลี่ยนเป็นสารเมตาไบไลต์ที่เป็นพิษ (ฟอร์มอลดีไฮด์ และ กรดฟอร์มิก) เสียก่อน ในขณะที่แอลกอฮลดีไฮโดรจีเนสจะเเปลี่ยนเอทานอลเป็นอะซีทอลดีไฮด์ที่เป็นพิษต่ำกว่าแทน[6][14] นอกจากนี้อาจมีการรักษาเพิ่มเติมด้วยการใช้โซเดียมไบคาร์บอเนตเพื่อรักษาอาการเมตาบอลิกเอซิดอซิสและการใช้เฮโมไดอะไลซิส หรือ เฮโมไดอะฟิลเตรชั่นเพื่อขับเมทานอลและฟอร์เมตออกจากเลือด[6]นอกจากนี้อาจใช้ กรดฟอลินิก หรือ กรดฟอลิกเพื่อเพิ่มการเมตาบอไลส์กรดฟอร์มิกในร่างกาย[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 Kruse, JA (October 2012). "Methanol and ethylene glycol intoxication". Critical Care Clinics. 28 (4): 661–711. doi:10.1016/j.ccc.2012.07.002. PMID 22998995.
- ↑ 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 Beauchamp, GA; Valento, M (September 2016). "Toxic Alcohol Ingestion: Prompt Recognition And Management In The Emergency Department". Emergency Medicine Practice. 18 (9): 1–20. PMID 27538060.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Ferri, Fred F. (2016). Ferri's Clinical Advisor 2017: 5 Books in 1 (ภาษาอังกฤษ). Elsevier Health Sciences. p. 794. ISBN 9780323448383. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-08.
- ↑ ปรากฏใช้คำนี้ในเอกสารของคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล https://www.rama.mahidol.ac.th/poisoncenter/sites/default/files/public/pdf/books/Antidote_book4-07_Methanol-Poisoning.pdf
- ↑ "Methanol - MSDS" (PDF). SDS Solutions and Translation Services. สืบค้นเมื่อ October 22, 2019.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 Schep LJ, Slaughter RJ, Vale JA, Beasley DM (2009). "A seaman with blindness and confusion". BMJ. 339: b3929. doi:10.1136/bmj.b3929. PMID 19793790. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-08.
- ↑ "ภาวะเป็นพิษจาก methanol". คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. สืบค้นเมื่อ October 22, 2019.
- ↑ Liesivuori J, Savolainen H (September 1991). "Methanol and formic acid toxicity: biochemical mechanisms". Pharmacol. Toxicol. 69 (3): 157–63. doi:10.1111/j.1600-0773.1991.tb01290.x. PMID 1665561.
- ↑ "Methanol: toxicological overview" (PDF). Public Health England. สืบค้นเมื่อ October 22, 2019.
- ↑ Ekins, Brent R.; Rollins, Douglas E.; Duffy, Douglas P.; Gregory, Martin C. (1985). "Standardized Treatment of Severe Methanol Poisoning With Ethanol and Hemodialysis". West J Med. 142 (3): 337–340. สืบค้นเมื่อ October 22, 2019.
- ↑ Clary, John J. (2013). The Toxicology of Methanol (ภาษาอังกฤษ). John Wiley & Sons. p. 3.4.1. ISBN 9781118353103. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-08.
- ↑ Casavant MJ (Jan 2001). "Fomepizole in the treatment of poisoning". Pediatrics. 107 (1): 170–171. doi:10.1542/peds.107.1.170. PMID 11134450. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-06-29.
- ↑ Brent J (May 2009). "Fomepizole for ethylene glycol and methanol poisoning". N Engl J Med. 360 (21): 2216–23. doi:10.1056/NEJMct0806112. PMID 19458366.
- ↑ Voet, Donald, Judith G. Voet, and Charlotte W. Pratt. Fundamentals of Biochemistry: Life at the Molecular Level. 5th ed. Hoboken, NJ: Wiley, 2008. Print
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- "Methanol poisoning outbreaks" (PDF). World Health Organization.