ข้ามไปเนื้อหา

ภรรยาของมุฮัมมัด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
"มารดาแห่งศรัทธาชน"

ภรรยาของมุฮัมมัด
أمهات المؤمنين
คู่สมรส
ชื่อแต่งงาน
เคาะดีญะฮ์595–619
เซาดะฮ์619–632
อาอิชะฮ์623–632
ฮัฟเศาะฮ์625–632
ซัยนับ บินต์ คุซัยมะฮ์625–626
ฮินด์625–632
ซัยนับ บินต์ ญะหช์627–632
ญุวัยรียะฮ์628–632
ร็อมละฮ์628–632
เศาะฟียะฮ์629–632
มัยมูนะฮ์629–632
ร็อยฮานะฮ์[a] 627–631
มาริยะฮ์[b] 628–632
บุตร
ครอบครัวอะฮ์ลุลบัยต์

มีสตรีสิบเอ็ดคนที่ได้รับการยืนยันว่าแต่งงานกับมุฮัมมัด ผู้ก่อตั้งศาสนาอิสลาม มุสลิมให้เกียรติบรรดาสตรีเหล่านั้นด้วยการเรียกแต่ละคนด้วยตำแหน่ง อุมมุลมุอ์มินีน (อาหรับ: أم ٱلْمُؤْمِنِين‎, แปลว่า มารดาแห่งศรัทธาชน) ซึ่งมาจากโองการ 33:6 ของอัลกุรอาน[2]

มุฮัมมัดแต่งงานครั้งแรกกับเคาะดีญะฮ์ บินต์ คุวัยลิดใน ค.ศ. 595 ตอนที่ท่านอายุ 25 ปี ส่วนเธอมีอายุ 28 หรือ 41 ปี และยังคงเป็นภรรยาคนเดียวจนกระทั่งเธอเสียชีวิตใน ค.ศ. 619 (ปีแห่งความเศร้าโศก) สิ้นสุดการแต่งงานที่มีระยะเวลา 24 ปี[3] หลังจากเคาะดีญะฮ์แล้ว มุฮัมมัดแต่งงานกับสตรี 10 คน: เซาดะฮ์ บินติ ซัมอะฮ์ใน ค.ศ. 619; อาอิชะฮ์ บินต์ อะบีบักร์ใน ค.ศ. 623; ฮัฟเศาะฮ์ บินต์ อุมัร, ซัยนับ บินต์ คุซัยมะฮ์ กับฮินด์ บินต์ อะบีอุมัยยะฮ์ใน ค.ศ. 625; ซัยนับ บินต์ ญะหช์ใน ค.ศ. 627; ญุวัยรียะฮ์ บินต์ อัลฮาริษกับร็อมละฮ์ บินต์ อะบีซุฟยาน อิบน์ ฮัรบ์ใน ค.ศ. 628 และเศาะฟียะฮ์ บินต์ ฮุยัยกับมัยมูนะฮ์ บินต์ อัลฮาริษใน ค.ศ. 629 นอกจากนี้ สถานะของร็อยฮานะฮ์ บินต์ ซัยด์กับมาริยะฮ์ บินต์ ชัมอูนยังเป็นที่พิพาท เนื่องจากนักวิชาการมุสลิมหลายคนมีความขัดแย้งว่าพวกเธอเป็นภรรยาหรืออยู่กินด้วยกันโดยไม่ได้สมรส สตรีทั้งหมดเคยเป็นหม้ายหรือถูกหย่า (ยกเว้นอาอิชะฮ์) มุมมองทั่วไประบุว่ามุฮัมมัดมีลูก 7 คน (ลูกชาย 3 คนกับลูกสาว 4 คน) และทั้งหมดมาจากเคาะดีญะฮ์ในช่วง ค.ศ. 598 ถึง 611 หรือ 615 ยกเว้นลูกชายเพียงคนเดียวที่มาจากมาริยะฮ์ใน ค.ศ. 630 (ลูกคนที่ 7) แต่ไม่มีลูกชายคนใดมีชีวิตถึงวัยผู้ใหญ่

วัตถุประสงค์

[แก้]

เคาะดีญะฮ์ ภรรยาคนแรกของมุฮัมมัด เคยเป็นนายจ้างและผู้หญิงที่มีฐานะร่ำรวย ซึ่งมีรายงานว่าสนับสนุนท่านทั้งทางการเงินและทางอารมณ์ และเธอกลายเป็นบุคคลแรกที่นับถือศาสนาอิสลามหลังจากที่ท่านเริ่มเผยแผ่ศาสนา[4][5] ทั้งอายุและประวัติการแต่งงานของเธอในขณะที่เธอแต่งงานกับมุฮัมมัดในวัย 25 ปียังไม่ชัดเจน เธออาจมีอายุ 28 หรือ 41 ปี และอาจเคยเป็นพรหมจารีหรือไม่ โดยการมีตัวตนของลูก ๆ ก่อนหน้าก็เป็นประเด็นพิพาท ถึงกระนั้น การแต่งงานครั้งนี้ถือเป็นการแต่งงานที่สำคัญที่สุดตามรายงานทั้งหมด โดยมีลูก 6 คนจากลูกทั้งหมด 7 คนถือกำเนิดจากเคาะดีญะฮ์ และทั้งคู่ยังคงเป็นคู่สมรสคนเดียวตลอดที่อยู่ด้วยกัน 24 ปี[6] การเสียชีวิตของเคาะดีญะฮ์ใน ค.ศ. 619 ด้วยอายุ 52 หรือ 65 ปี ทำให้การแต่งงานในครั้งแรดสิ้นสุดลง และทำให้การมีคู่สมรสคนเดียวของมุฮัมมัดที่ขณะนัั้นอายุ 49 ปี สิ้นสุดด้วย ก่อนการอพยพไปยังมะดีนะฮ์ ท่านเริ่มมีภรรยามากกว่าหนึ่งคน อย่างไรก็ตาม ท่านไม่มีภรรยาเป็นชาวมะดีนะฮ์ คาดว่าอาจเป็นเพราะพวกเขาไม่ยอมรับการอนุมัติในการแต่งงานกับผู้หญิงหลายคนกับการตัดสิทธิ์ในการรับมรดกของอิสลาม[7] แม้ว่ามุสลิมถูกจำกัดให้มีภรรยาได้แค่ 4 คนในเวลาเดียวกัน[8] มุฮัมมัดได้รับข้อยกเว้นจากกฏนี้ และได้รับอนุญาตให้มีภรรยาได้ไม่จำกัดจำนวนเนื่องในสถานะศาสนทูตของอัลลอฮ์[9] นอกจากนี้ ภรรยาของมุฮัมมัดถูกสั่งห้ามไม่ให้แแต่งงานใหม่หลังจากที่ท่านเสียชีวิต บุรุษทั้งหมดที่มีชีวิตร่วมสมัยได้รับคำเตือนอย่างเคร่งครัดว่าห้ามพยายามแต่งงานกับหญิงหม้ายเหล่านี้ โดยอัลกุรอานจัดให้เจตนาเช่นนี้เป็น "ความผิดที่ยิ่งใหญ่ในสายตาของอัลลอฮ์"[10]

วิลเลียม มอนต์โกเมอรี วัตต์ นักวิชาการชาวสกอต ระบุว่า การแต่งงานทั้งหมดของมุฮัมมัดมีการเสริมสร้างความสัมพันธ์ฉันมิตรทางการเมืองและอยู่บนพื้นฐานของวัฒนธรรมอาหรับ[11] จอห์น เอสโปซิโต ศาสตราจารย์ชาวอเมริกัน ชี้ให้เห็นว่าการแต่งงานของมุฮัมมัดในบางครั้งมุ่งเป้าไปที่การหาเลี้ยงชีพให้กับหญิงหม้าย[12] เขาสังเกตุว่าการแต่งงานใหม่เป็นเรื่องยากสำหรับผู้หญิงเหล่านี้ในสังคมอาหรับ ซึ่งมุ่งเน้นในเรื่องความเป็นพรหมจารีและความบริสุทธิ์ทางเพศของผู้หญิงมากเกินไป[13] ฟรานซิส เอ็ดเวิร์ด ปีเตอร์ส นักวิชาการชาวอเมริกัน กล่าวว่าเป็นการยากที่จะสรุปเกี่ยวกับการแต่งงานของมุฮัมมัดในแบบกว้าง ๆ หลายคนแต่งงานในเชิงการเมือง บ้างก็เห็นอกเห็นใจ และบ้างเป็นเรื่องของหัวใจ[14] จอห์น วิกเตอร์ โทแลน นักประวัติศาสตร์ชาวอเมริกัน เขียนว่า การแต่งงานของมุฮัมมัดส่วนใหญ่เป็นความพยายามที่จะสร้างพันธมิตรทางการเมือง[5]

ดังนั้น เป้าหมายการแต่งงานของมุฮัมมัดจึงอธิบายได้เป็น:[15]

  1. สร้างความผูกพันในครอบครัวระหว่างท่านกับผู้ติดตามของท่าน (มุฮัมมัดแต่งงานกับลูกสาวของอะบูบักร์กับอุมัร ส่วนอุษมานกับอะลีแต่งงานกับลูกสาวของท่าน ทำให้ท่านสร้างความผูกพันในครอบครัวกับเคาะลีฟะฮ์รอชิดูนทั้งหมด)
  2. เผยแผ่ศาสนาอิสลามด้วยการรวมชนเผ่าและตระกูลในอาระเบียที่แตกต่างกันผ่านการแต่งงาน

คำนิยาม

[แก้]

"มารดาแห่งศรัทธาชน" เป็นศัพท์ที่ภรรยาของมุฮัมมัดแต่ละคนได้รับ โดยมีที่มาจากกุรอาน 33:6 ความว่า: "นะบีนั้นเป็นผู้ใกล้ชิดกับบรรดาผู้ศรัทธายิ่งกว่าตัวของพวกเขาเอง และบรรดาภริยาของเขา (นะบี) คือมารดาของพวกเขา..."[2]

ชีวิตครอบครัว

[แก้]

มุฮัมมัดและครอบครัวของท่านอาศัยอยู่ในบ้านขนาดเล็กติดกับมัสยิดที่มะดีนะฮ์ บ้านแต่ละหลังกว้าง 6-7 คืบ (1.7 เมตร) กับยาว 10 คืบ (2.3 เมตร) และความสูงของเพดานเทียบเท่ากับความสูงเฉลี่บของคนยืน มีการใช้ผ้าห่มเป็นผ้าม่านกั้นประตู[16]

แม้ว่าภรรยาของมุฮัมมัดมีสถานะพิเศษในบรรดามุสลิมยุคแรก ท่านไม่อนุญาตให้พวกเธอใช้สถานะของท่านในฐานะศาสนทูตเพื่อรับการปฏิบัติเป็นพิเศษต่อสาธารณชน[17]

อ้างอิง

[แก้]
  1. หญิงชาวยิวที่เป็นหม้ายและถูกนำตัวเป็นผู้อยู่กินด้วยกันโดยไม่ได้สมรสหลังการล้อมบะนูกุร็อยเซาะฮ์ใน ค.ศ. 627; มุสลิมบางคนนับเป็นภรรยา[1]
  2. หญิงชาวอียิปต์ เธอกับซีรีน บินต์ ชัมอูนถูกหมั้นกับมุฮัมมัด ในฐานะของขวัญจากอัลมุเกากิส ผู้ว่าการอียิปต์ใน ค.ศ. 628 สถานะว่าเธอเป็นภรรยาหรืออยู่กินด้วยกันโดยไม่ได้สมรสนั้นยังไม่เป็นที่กระจ่าง[1]
  1. 1.0 1.1 Bennett, Clinton, บ.ก. (1998). In Search of Muhammad. A&C Black. p. 251. ISBN 9780304704019.
  2. 2.0 2.1 Aleem, Shamim (2007). "12. Mothers of Believers". Prophet Muhammad(s) and His Family. AuthorHouse. p. 85. ISBN 978-1-4343-2357-6.
  3. Mubārakfūrī, Ṣafī al-Raḥmān (2002). The Sealed Nectar: Biography of the Noble Prophet (ภาษาอังกฤษ). Darussalam. ISBN 978-9960-899-55-8.
  4. Lapidus 2012, p. 184.
  5. 5.0 5.1 John Victor Tolan. Saracens: Islam in the Medieval European Imagination. Columbia University Press. p. 29.
  6. Francois-Cerrah, Myriam (17 September 2012). "The truth about Muhammad and Aisha". theguardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-10. สืบค้นเมื่อ 17 September 2012.
  7. Phipps 1999, p. 141.
  8. Journal of Arabic and Religious Studies (ภาษาอังกฤษ). Department of Religions, University of Ilorin. 1986. p. 25.
  9. Phipps 1999, p. 142.
  10. Rinehart 2019, The Domestic Roles of Wife, Mother, and Sex Slave.
  11. Watt (1956), p. 287
  12. Esposito (1998), pp. 16–18.
  13. John Esposito. Islam: The Straight Path. Oxford University Press. pp. 17–18.
  14. F.E. Peters (2003). p. 84
  15. E. Phipps, William (1999). Muhammad and Jesus: A Comparison of the Prophets and Their Teachings. Continuum. p. 142. ISBN 978-0826412072.
  16. Numani, p. 259-60
  17. Ramadan (2007), p. 168-9

บรรณานุกรม

[แก้]

ภรรยาของมุฮัมมัด

[แก้]

สตรีในศาสนาอิสลาม

[แก้]

ทั่วไป

[แก้]