ข้ามไปเนื้อหา

พีระศักดิ์ พอจิต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พีระศักดิ์ พอจิต
พีระศักดิ์ ใน พ.ศ. 2557
รองประธานวุฒิสภา
ดำรงตำแหน่ง
8 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 – 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย
ก่อนหน้าอนันต์ อริยะชัยพาณิชย์
ถัดไปศุภชัย สมเจริญ
รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
17 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย
สมาชิกวุฒิสภา
ดำรงตำแหน่ง
11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2567
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด5 พฤษภาคม พ.ศ. 2503 (64 ปี)
อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสพิณทอง พอจิต

พีระศักดิ์ พอจิต (เกิด 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2503) อดีตสมาชิกวุฒิสภา อดีตรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติคนที่ 2 และกรรมการในคณะกรรมการเตรียมการปฏิรูปประเทศ กรรมการในคณะกรรมการเตรียมการยุทธศาสตร์ชาติ กรรมการในคณะกรรมการเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดองตาม คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 3/2560[1] อัยการพิเศษประจำกรมช่วยราชการสำนักงานอัยการจังหวัดอุตรดิตถ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุตรดิตถ์ นักกฎหมายชาวไทย เนติบัณฑิตไทย

ประวัติ

[แก้]

นายพีระศักดิ์ พอจิต ชื่อเล่น "อ๋อง" สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนสูงเม่นชนูปถัมภ์ ศึกษาจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, เนติบัณฑิต สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, คณะศิลปศาสตร์ (ปริญญาโทสาขารัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง ในอดีตทำงานเป็นอัยการพิเศษประจำกรมช่วยราชการสำนักงานอัยการจังหวัดอุตรดิตถ์ ประชาชนในพื้นที่จึงมักเรียกว่า “อัยการอ๋อง” ต่อมาลาออกมาลงสมัคร ส.ว. อุตรดิตถ์ เมื่อปี พ.ศ. 2549 และได้รับชัยชนะ แต่การเลือก ส.ว.ครั้งนั้นล้มเลิกไปเนื่องจากการรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 จึงไปลงสมัครเป็นนักการเมืองท้องถิ่น และได้รับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ช่วงปี พ.ศ. 2551-2555[2] ต่อมาเขาได้ลงสมัครเป็น สว. อุตรดิตถ์ เมื่อ 30 มีนาคม พ.ศ. 2557 โดยได้รับเลือกด้วยคะแนน 101,895 คะแนน[3] และได้รับการเลือกให้ดำรงตำแหน่งรองประธานวุฒิสภาคนที่ 2 เอาชนะ นายจองชัย เที่ยงธรรม ส.ว. สุพรรณบุรี ด้วยคะแนน 89 : 57 เสียง ในวันเดียวกับที่นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย

ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2557 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[4] และเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2557 นายพีระศักดิ์ได้รับเลือกตั้งให้เป็นรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่ 2[5]เขาได้แต่งตั้ง นางสาว พณัศยา พอจิต ลูกสาวของเขา เป็นข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่สอง[6]และลูกชายของเขา นายพิชญุตม์ พอจิต เป็นนายกสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดอุตรดิตถ์

นายพีระศักดิ์ มีความชื่นชอบส่วนตัวคือ ชอบกีฬาฟุตบอลมาก โดยมีตำแหน่งเป็นอดีตนายกสมาคมกีฬาจังหวัดอุตรดิตถ์ และอดีตประธานสโมสรฟุตบอลจังหวัดอุตรดิตถ์ ในระดับดิวิชัน 2 โซนภาคเหนือ และเป็นผู้สนับสนุนนอตทิงแฮมฟอเรสต์ สโมสรฟุตบอลที่มีชื่อเสียงและเกียรติประวัติยาวนานของอังกฤษ โดยมักจะสวมชุดแข่งของนอตทิงแฮมฟอเรสต์ลงแข่งเสมอ ๆ ในการแข่งขันที่เจ้าตัวเข้าร่วม โดยสนับสนุนมาตั้งแต่ยุคทศวรรษที่ 70 ซึ่งเป็นช่วงที่สโมสรประสำเร็จ[7] [8]

นายพีระศักดิ์ เป็นนักการเมืองที่มีความใกล้ชิดกับพรรคประชาธิปัตย์[9]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 3/2560
  2. คอลัมภ์พีระศักดิ์ พอจิต จากเว็บไซต์หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 เวลา 08:48 น. สืบค้นวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557
  3. คอลัมภ์รู้จัก อัยการอ๋อง พีระศักดิ์ พอจิต ผู้โค่น ทนายจองชัย คว้าเก้าอี้รองปธ.วุฒิฯ จากเว็บไซต์มติชนออนไลน์ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 เวลา 11:15:26 น. สืบค้นวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557
  4. ประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ใช้เว็บไซค์ของวุฒิสภา), 1 สิงหาคม 2557
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งประธานและรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  6. ผู้ช่วยเลขานุการรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่สอง
  7. อุปนันท์, เลิศวุฒิ (2016-10-11). "ดาวซัลโว". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 2017-01-29.
  8. ""พีระศักดิ์ พอจิต" รองประธาน สนช. บ้าบอล-ซี้บังยี". ผู้จัดการออนไลน์. 2014-08-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-11. สืบค้นเมื่อ 2017-01-29.
  9. ศึกเลือกตั้งส.ว.เหนือ ใต้ร่มเงา'เรดโซน' : รายงาน
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๑ ข หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗ เก็บถาวร 2015-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑ ข หน้า ๑๐, ๑๒ มกราคม ๒๕๕๔

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]