ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ความสัมพันธ์ไทย–เยอรมนี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Narutzy (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 113: บรรทัด 113:
{{ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทย}}
{{ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทย}}


[[หมวดหมู่:ความสัมพันธ์เยอรมนี–ไทย]]
[[หมวดหมู่:ความสัมพันธ์เยอรมนี–ไทย| ]]
[[หมวดหมู่:ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทย]]
[[หมวดหมู่:ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทย]]
[[หมวดหมู่:ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของเยอรมนี]]
[[หมวดหมู่:ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของเยอรมนี]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:51, 10 มกราคม 2564

ความสัมพันธ์เยอรมนี–ไทย
Map indicating location of Germany and Thailand

เยอรมนี

ไทย
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์และประธานาธิบดีไฮน์ริช ลึพเคอ ระหว่างการเสด็จเยือนประเทศเยอรมนี พ.ศ. 2503

ความสัมพันธ์เยอรมนี-ไทย เป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเยอรมนีกับประเทศไทย ที่เริ่มต้นอย่างเป็นทางการตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[1] ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเยือนยุโรปใน พ.ศ. 2440 และ พ.ศ. 2450 รวมทั้งโอรสหลายพระองค์ต่างทรงรับการศึกษาที่ประเทศเยอรมนี ดังเช่น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ผู้สำเร็จราชการในสมัยนั้น ที่ทรงอภิเษกสมรสกับสตรีชาวเยอรมัน[2]

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้เอง ที่มีชาวต่างชาติรวมถึงชาวเยอรมันที่เดินทางมายังประเทศสยามเพื่อนำความรู้มาพัฒนาประเทศให้ทันสมัย ทั้งทางรถไฟ การไปรษณีย์โทรเลขต่างได้รับการสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญชาวเยอรมัน รวมถึงพระเจนดุริยางค์ หรือชื่อเดิม ปีเตอร์ ไฟท์ เป็นบุตรของชาวเยอรมันที่อพยพมาอาศัยอยู่ในประเทศไทย เป็นผู้ประพันธ์ทำนองเพลงชาติไทย[2]

ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศนี้ยังคงมีมาโดยตลอด โครงการที่รัฐบาลเยอรมันให้ความสำคัญ คือการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ดังเช่น การวิจัยการสืบพันธุ์ของช้างเอเชีย โดยมีการขอยืมช้างไทยไปวิจัยศึกษาที่สวนสัตว์ในโคโลญ อันเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการและวิทยาศาสตร์ระหว่างสองประเทศ[3]

การเปรียบเทียบ

เยอรมนี สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ไทย ราชอาณาจักรไทย
ตราแผ่นดิน
ธงชาติ เยอรมนี ไทย
ประชากร 83,019,200 คน 68,863,514 คน
พื้นที่ 357,578 ตร.กม. (138,062 ตร.ไมล์) 513,120 ตร.กม. (198,120 ตร.ไมล์)
ความหนาแน่น 232 คน/ตร.กม. (600.9 คน/ตร.ไมล์) 132.1 คน/ตร.กม. (342.1 คน/ตร.ไมล์)
เมืองหลวง เบอร์ลิน กรุงเทพมหานคร
เมืองที่ใหญ่ที่สุด เบอร์ลิน – 3,748,148 คน (เขตปริมณฑล 6,004,857 คน) กรุงเทพมหานคร – 8,305,218 คน (เขตปริมณฑล 10,624,700 คน)
การปกครอง สหพันธรัฐประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ประมุขแห่งรัฐ ประธานาธิบดี: ฟรังค์-วัลเทอร์ ชไตน์ไมเออร์ พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
หัวหน้ารัฐบาล นายกรัฐมนตรี: อังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรี: ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ภาษาราชการ ภาษาเยอรมัน ภาษาไทย
ศาสนาหลัก
กลุ่มชาติพันธุ์
จีดีพี (ราคาตลาด) 4.117 ล้านล้านดอลลาร์ (ต่อหัว 49,692 ดอลลาร์) 516 พันล้านดอลลาร์ (ต่อหัว 7,607 ดอลลาร์)
ค่าใช้จ่ายทางทหาร 43.9 พันล้านดอลลาร์ 5.69 พันล้านดอลลาร์

ความสัมพันธ์ทางการทูต

ในสมัยที่เยอรมนียังคงแยกเป็นรัฐเสรีหลายรัฐ ได้มีรัฐสำคัญอย่างปรัสเซียที่จัดตั้งจัดตั้งคณะทูตสันถวไมตรีแห่งปรัสเซียมายังสยาม โดยมีหัวหน้าคณะทูตคือ เคานท์ ซู ออยเลนบวร์ก พร้อมคณะ ซึ่งประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์กับชาวเยอรมันผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ โดยเดินทางมาถึงสยาม ณ วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2405 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

การเจรจาการค้าพระราชไมตรี ด้านการค้าและการเดินเรือระหว่างสองประเทศเริ่มขึ้นในวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2406 โดยมีเจ้าฟ้ากรมหลวงวงศาธิราชสนิท เป็นหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทย ซึ่งทางปรัสเซียไม่มีนโยบายล่าอาณานิคมในแถบเอเชียอาคเนย์ การเจรจาเสร็จสิ้นและลงนามสัญญา ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2406 โดยสัญญาระบุถึงการปฏิบัติไมตรีต่อกัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2422 ได้มีการตั้งสถานทูตไทย ณ กรุงเบอร์ลิน และ พ.ศ. 2431 ได้มีการเลื่อนระดับสถานกงสุลเยอรมนีขึ้นเป็นสถานอัครราชทูตเยอรมนี ณ กรุงเทพมหานคร[1]

อ้างอิง

หนังสืออ่านเพิ่ม