ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ป๊อปปี้ ฮิลล์ ร่ำร้องขอปาฏิหาริย์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.2+) (โรบอต: แก้ไขจาก pl:Kokuriko-zaka kara ไปเป็น pl:Makowe wzgórze
MastiBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.3) (โรบอต: แก้ไขจาก mk:Кокурико-зака кара ไปเป็น mk:Од ридот на булките
บรรทัด 256: บรรทัด 256:
[[it:La collina dei papaveri]]
[[it:La collina dei papaveri]]
[[ja:コクリコ坂から#劇場版アニメ]]
[[ja:コクリコ坂から#劇場版アニメ]]
[[mk:Од ридот на булките]]
[[mk:Кокурико-зака кара]]
[[pl:Makowe wzgórze]]
[[pl:Makowe wzgórze]]
[[pt:Kokuriko-zaka Kara]]
[[pt:Kokuriko-zaka Kara]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:01, 27 กุมภาพันธ์ 2556

ป๊อปปี้ ฮิลล์ ร่ำร้องขอปาฏิหาริย์
โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ในประเทศญี่ปุ่น
กำกับโกโร มิยะซะกิ
บทภาพยนตร์ฮะยะโอะ มิยะซะกิ
เคะอิโกะ นิวะ
สร้างจากโคะกุริโกะซะกะ กะระ
โดย เทะสึโอะ ซะยะมะ
ชิซุรุ ทะกะฮะชิ
อำนวยการสร้างโทะชิโอะ ซุซุกิ
นักแสดงนำมะซะมิ นะงะซะวะ
จุนิชิ โอะกะดะ
กำกับภาพอะสึชิ โอะกุอิ
ดนตรีประกอบซะโตะชิ ทะเกะเบะ
บริษัทผู้สร้าง
ผู้จัดจำหน่ายโทโฮ (ญี่ปุ่น)
วอลท์ ดิสนีย์ พิคเจอร์ส (นานาชาติ)
วันฉายญี่ปุ่น 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
ไทย 26 เมษายน พ.ศ. 2555
ความยาว91 นาที
ประเทศ ญี่ปุ่น
ภาษาญี่ปุ่น
ทำเงินทั่วโลก $ 60,034,949 [1]

ป๊อปปี้ ฮิลล์ ร่ำร้องขอปาฏิหาริย์ (ญี่ปุ่น: コクリコ坂からโรมาจิ Kokuriko-zaka Kara อังกฤษ: From Up on Poppy Hill) เป็นอะนิเมะโดยสตูดิโอจิบลิ ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2554 กำกับโดย ฮะยะโอะ มิยะซะกิ ซึ่งออกฉายครั้งแรกในญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ตัวอะนิเมะอ้างอิงจากมังงะ ในชื่อเรื่องเดียวกัน คือโคะกุริโกะซะกะ คะระ (โรมะจิ: Kokurikozaka kara) ซึ่งเขียนโดย เทะสึโอะ ซะยะมะ

เนื้อเรื่อง

ในห้วงเวลาที่ญี่ปุ่นเร่งพัฒนาโตเกียวเพื่อรับมหกรรมโอลิมปิกฤดูร้อน 1964 "มะสึซากิ ยูมิ" เด็กสาววัย 16 ปี ผู้สูญเสียบิดาไปในสงครามเกาหลี อาศัยอยู่ในบ้านโคะกุริโกะ ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองท่าโยะโกะฮะมะ เพื่อระลึกถึงบิดา ทุกเช้าเธอจะชักธงสัญญาณแบบเดียวกันขึ้นที่บ้านของเธอ

ที่โรงเรียนมัธยมปลาย ในขณะที่ยูมิกำลังรับประทานอาหารเที่ยงกับเพื่อน เหล่านักเรียนชายส่วนหนึ่ง ได้ทำการรณรงค์ต่อต้านการรื้อถอนอาคารชมรม "ละติน ควอเตอร์" ซึ่งเป็นอาคารเก่าแก่สถาปัตยกรรมแบบตะวันตก โดยมีนักเรียนชายคนหนึ่ง แสดงออกด้วยการกระโดดจากหลังคาของอาคารเรียนลงไปในบ่อน้ำในบริเวณที่ยูมิและเพื่อนๆนั่งอยู่ เมื่อเห็นดังนั้นยูมิจึงเข้าไปช่วยให้เขาขึ้นมาจากบ่อน้ำ แต่ด้วยสายตาของบรรดานักเรียนต่างจับจ้อง เธอจึงละทิ้งการช่วยเหลือ

จากวีรกรรมของนักเรียนชายคนนั้น ทำให้เป็นข่าวไปทั่วทั้งโรงเรียน เขาคนนั้นชื่อว่า "คาซามะ ชุน" เป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ของโรงเรียน ด้วยการที่น้อง(ลูกพี่ลูกน้อง)ของยูมิอยากได้ลายเซ็นของชุน จึงขอร้องให้ยูมิช่วยไปละติน ควอเตอร์กับเธอเป็นเพื่อน ยูมิไม่อาจปฏิเสธได้ ทั้งสองจึงไปที่ละติด ควอเตอร์ โดยพบว่าภายในละติน ควอเตอร์นั้น มีสภาพที่รกระเกะระกะมาก ผู้คนในละติดควอเตอร์ทั้งหมดล้วยเป็นผู้ชาย โดยในแต่ละชั้นจากทั้งหมดสามชั้นจะประกอบไปด้วยชมรมต่างๆมากมาย อาทิ ชมรมดาราศาสตร์, ชมรมเคมี, ชมรมวรรณกรรมเป็นต้น โดยนักเรียนที่นี่มีความสนใจและทุ่มเทกับงานในชมรมของตนมาก ยูมิได้พบกับชุน และ "มิซูนูมะ ชิโร" ประธานสภานักเรียน หลังจากได้ลายเซ็นแล้ว ชิโรและน้องของยูมิก็ออกไปข้างนอก ชุนได้ขอร้องให้ยูมิช่วยคัดลอกบทความแทนเขา โดยอ้างว่ามือขวาของเขาได้รับบาดเจ็บจากแมว นับแต่นั้นมา ความสนิทสนมระหว่างพวกเขาทั้งสองคนก็เพิ่มมากขึ้น

ต่อมา โรงเรียนได้เปิดสภานัดเรียนให้นักเรียนร่วมอภิปรายเรื่องการรื้อถอนละติน ควอเตอร์ และสร้างอาคารชมรมใหม่แทน โดยนักเรียนส่วนใหญ่ก็มีความคิดเห็นด้วย ที่จะให้มีการรื้อถอนอาคาร ชุนเป็นผู้นำกลุ่มนักเรียนส่วนน้อยในการคัดค้าน เหตุการณ์เริ่มชุนมุนขึ้น แต่ชิโร ประธานนักเรียนได้ให้สัญญาณว่าครูใหญ่กำลังมา ทั้งหมดที่กำลังชุลมุนจึงกลายเป็นสามัคคีกัน และจบด้วยการณ์นั้น

เนื่องจากยูมิอยากช่วยชุนในการพิทักษ์ละติน ควอเตอร์ จึงออกความคิดเห็นว่าควรทำความสะอาด และบูรณะละติน ควอเตอร์เสียใหม่ ต่อมา ยูมิได้ชักชวนเพื่อนๆ มาร่วมกันทำความสะอาดและบูรณะละติน ควอเตอร์ ร่วมกับนักเรียนชายในละติน ควอเตอร์ ในช่วงเวลานั้นเอง ความสัมพันธ์ของทั้งสองคนก็เป็นไปอย่างราบรื่น จนกระทั่งชุนและชิโรได้รับเชิญไปปาร์ตี้ที่บ้านของยูมิ จึงทำให้รู้ว่า ยูมินั้น ที่แท้จริงแล้วเป็นน้องสาวของตนเอง ด้วยการนั้น ชุนจึงจำเป็นต้องลืมความรู้สึกในอดีตทั้งหมด และพยายามออกห่างยูมิ

เพลง

เพลง "สุกียากี้" จากปี ค.ศ. 1961 โดย คีว ซะกะโมะโตะ เป็นเพลงหนึ่งที่แทรกอยู่ในอะนิเมะ[2] เพลงเวอร์ชันเครื่องดนตรีถูกปล่อยออกมาภายหลังในประเทศสหรัฐอเมริกา ภายใต้ชื่อ "Sukiyaki" โดยนักดนตรี Kenny Ball [2] ซึ่งเพลงนี้ได้รับการคัดเลือกสำหรับอะนิเมะ ป๊อปปี้ ฮิลล์ ร่ำร้องขอปาฏิหาริย์ ตั้งแต่เริ่มเตรียมการในปี ค.ศ. 1963

อัลบัมเพลงประกอบอะนิเมะ

From up on Poppy Hill
Soundtrack
หน้าปกอัลบั้ม
ซาวด์แทร็กอัลบั้มโดย

ซะโตะชิ ทะเกะเบะ
โคะอิชิ ซะกะตะ
ยุกิโกะ มะริมุระ
โกะโร มิยะซะกิ
วางตลาด13 กรกฎาคม 2554
ความยาว50:32
ค่ายเพลงTokuma Japan Communications
ลำดับ ชื่อเพลง หมายเหตุ ยาว
1 Breakfast Song เสียงโดย: อะโอะอิ เทะชิมะ 3:04
2 The Morning Way to School 2:21
3 Horseplay 1:03
4 Reminiscence 2:02
5 Fine Girl 0:45
6 Latin Quarter of Paris 2:22
7 Setting Sun from the Clubroom 1:25
8 I Shall Walk Looking Up ทำนอง: ฮะชิได นะกะมุระ
เนื้อร้อง: โระกุซุเกะ เอ
เสียงโดย: คีว ซะกะโมะโตะ
3:11
9 The Flag in the Picture 0:29
10 When a White Flower Blooms ร้องหมู่ 0:57
11 In the Days of First Love เสียงโดย: อะโอะอิ เทะชิมะ 1:29
12 Party 1:50
13 Flow of the Red River ร้องหมู่ 0:43
14 Signal Flag 1:31
15 Canal in Twilight 1:50
16 Spring Cleaning 2:14
17 Reminiscence 2:19
18 Rainy Way Back 1:30
19 Dream 2:51
20 Unity 1:04
21 Escape 0:59
22 Leaden Umi 0:35
23 Confession 1:18
24 Mother - Young Love 3:04
25 Reunion 0:48
26 Welcome to Quartier Latin 1:18
27 Deep Blue Swells ร้องหมู่ 1:14
28 Run to Tomorrow 1:37
29 Summer of Goodbye: From up on Poppy Hill เสียงโดย: อะโอะอิ เทะชิมะ 4:08

การตอบรับ

รายได้

ในช่วงระยะเวลาที่สำรวจ ตั้งแต่วันที่ 16 ถึง 18 กรกฎาคม ค.ศ. 2011 เว็บไซต์ Bunkatsushin.com ได้รายงานว่า ป๊อปปี้ ฮิลล์ ร่ำร้องขอปาฏิหาริย์ มีรายได้มากกว่า 587,337,400 เยน จากการขายตั๋วภาพยนตร์ [3] ซึ่งในช่วงเวลา 3 วันที่กล่าวมานี้ มีผู้ชมภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องนี้แล้วมากกว่า 445,000 คน และจากการสำรวจออนไลน์ พบว่าอัตราส่วนของผู้ชมเพศหญิงต่อผู้ชมเพศชายคือ 57% ต่อ 43% และโดยอายุคือ 34.8% เป็นผู้ชมอายุราวยี่สิบปี 32.6% เป็นผู้ชมที่อายุสามสิบปีขึ้นไป และ 18.9% เป็นผู้ชมที่มีอายุตั้งแต่ 16 ถึง 19 ปี และภาพยนตร์เรื่องนี้มีรายได้มากกว่า 3,000 ล้านเยน ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ 21-22 สิงหาคม ค.ศ. 2011

รางวัล

ปี รางวัล ประเภท ผล
2012 แอนิเมชั่นแห่งปี Japan Academy Prize ครั้งที่ 35 ชนะ
2012 แอนิเมชั่นแห่งปี รางวัลโตเกียวอะนิเมะ ชนะ

อ้างอิง

  1. Box Office Mojo: Overall From Up on Poppy Hill gros avenue
  2. 2.0 2.1 "九ちゃん「上を向いて歩こう」が「コクリコ坂から」挿入歌に" (ภาษาJapanese). Yomiuri Shimbun. 2011-04-26. สืบค้นเมื่อ 2011-09-29.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  3. "WB「ハリー・ポッター~」、今年最高のスタート". Bunkatsushin.com (ภาษาJapanese). eiga.com. 2011-07-29. สืบค้นเมื่อ 2011-08-16.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)

ข้อมูลเพิ่มเติม