พริสตีนา
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
พริสตีนา | |
---|---|
นครและเทศบาล | |
แอลเบเนีย: Prishtina, Prishtinë เซอร์เบีย: Приштина, Priština | |
ทิวนครพริสตีนา; กอดเดสออนเดอะโธรน; อนุสรณ์นิวบอร์น; พิพิธภัณฑ์คอซอวอ; หอนาฬิกา; เกรตฮานาม and มัสยิดอิมปีเรียล; จัตุรัสสกานเดร์เบก | |
พิกัด: 42°40′N 21°10′E / 42.667°N 21.167°E | |
ประเทศ | คอซอวอ |
เขต | พริสตีนา |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | Shpend Ahmeti (PSD) |
พื้นที่ | |
• นครและเทศบาล | 572 ตร.กม. (221 ตร.ไมล์) |
• เขตเมือง | 30.3 ตร.กม. (11.7 ตร.ไมล์) |
• รวมปริมณฑล | 30.3 ตร.กม. (11.7 ตร.ไมล์) |
ความสูง | 652 เมตร (2,139 ฟุต) |
ประชากร (2015) | |
• อันดับ | 1 |
• นครและเทศบาล | 204,725 |
เขตเวลา | UTC+1 (เวลายุโรปกลาง) |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC+2 (เวลาฤดูร้อนยุโรปกลาง) |
ZIP code | 10.000 |
รหัสพื้นที่ | +383 (0)38 |
ทะเบียนพาหนะ | 01 |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ |
พริสตีนา[1] (อังกฤษ: Pristina,[2] UK: /ˈpriːʃtɪnə, prɪʃˈtiːnə/,[3] US: /ˈprɪʃtɪnə, -nɑː/;[4][5] แอลเบเนีย: Prishtina หรือ Prishtinë; เซอร์เบีย: Приштина / Priština) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศคอซอวอ ประชากรในนครมีทั้งสิ้น 204,721 คน (ค.ศ. 2016) ส่วนใหญ่เป็นชาวแอลเบเนีย ทำให้พริสตีนากลายเป็นนครที่มีผู้พูดภาษาแอลเบเนียมากเป็นอันดับที่สองของโลก รองจากเมืองหลวงของประเทศแอลเบเนียอย่างติรานา[6][7] ในเชิงภูมิศาสตร์ นครตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ โดยตั้งอยู่ใกล้กับภูเขากอลยัก
ในช่วงยุคหินเก่า พื้นที่ของพริสตีนาในปัจจุบันมีความเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมวินชา โดยเป็นถิ่นฐานของชาวอิลลีรีและชาวโรมันในสมัยคลาสสิก พระราชาบาร์ดิลลิสได้รวบรวมเผ่าพันธุ์ต่าง ๆ มาไว้ที่พริสตีนาในช่วง 400 ปีก่อนคริสตกาล และได้ก่อตั้งอาณาจักรดาร์ดาเนียน[8][9][10] มรดกสมัยคลาสสิกที่ยังคงพบเห็นในปัจจุบัน อาทิ เมืองโบราณอัลปีอานา ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นหนึ่งในเมืองโบราณที่สำคัญของโรมันในแถบคาบสมุทรบอลข่าน ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5–9 พื้นที่นี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ต่อมาในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 9 ได้เปลี่ยนไปอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1 ต่อมาในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 11 พื้นที่นี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดบัลแกเรียภายใต้การปกครองของจักรวรรดิไบแซนไทน์อีกครั้ง และในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 11 ถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 13 พื้นที่ได้ถูกชิงไปอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิบัลแกเรียที่ 2 อยู่บ่อยครั้ง
ปลายยุคกลาง พริสตีนากลายเป็นเมืองที่สำคัญของเซอร์เบีย และเป็นที่ตั้งของของตำหนักของกษัตริย์หลายพระองค์ นับตั้งแต่สเตฟาน มิลูติน, สเตฟาน ยูรอส ที่ 3, สเตฟาน ดูซัน, สเตฟาน ยูรอส ที่ 5 และวุก บรันคอวิช[11] ต่อมาในช่วงที่จักรวรรดิออตโตมันครอบครองบอลข่าน พริสตีนากลายเป็นแหล่งแร่และศูนย์กลางการค้าที่สำคัญเนื่องจากมีที่ตั้งใกล้กับเมืองเหมืองแร่อย่างนอวอบราโด และมีสินค้าที่สำคัญอย่างขนแพะ หนังแพะ และดินปืน[12] มัสยิดแห่งแรกของพริสตีนาถูกสร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ภายใต้การปกครองของเซอร์เบีย[13]
พริสตีนาเป็นศูนย์กลางทางการขนส่งที่สำคัญของคอซอวอ ทั้งทางอากาศ ราง และถนน ท่าอากาศยานนานาชาติพริสตีนาเป็นท่าอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ทางด่วนและมอเตอร์เวย์มีหลายสาย ได้แก่ สายอาร์ 6, อาร์ 7 และอาร์ 7.1 ซึ่งเชื่อมต่อไปยังประเทศแอลเบเนียและประเทศมาซิโดเนียเหนือ
พริสตีนาเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเงิน การเมือง และการค้าของประเทศ นครแห่งนี้เป็นที่ตั้งของที่ทำการรัฐบาลคอซอวอ ซึ่งเป็นเป็นที่ทำการของประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรีคอซอวอ และสมาชิกรัฐสภา พริสตีนาได้สถาปนาเป็นเมืองฝาแฝดกับนครอังการาในประเทศตุรกี[14] และติรานาในประเทศแอลเบเนีย[15][16]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
- ↑ "Define Pristina". Dictionary.com. สืบค้นเมื่อ 28 October 2013.
- ↑ "Pristina". Collins English Dictionary. HarperCollins. สืบค้นเมื่อ 15 May 2019.
- ↑ "Priština"[ลิงก์เสีย] (US) and "Priština". Oxford Dictionaries UK English Dictionary. Oxford University Press. n.d. สืบค้นเมื่อ 15 May 2019.
- ↑ "Pristina". The American Heritage Dictionary of the English Language (5th ed.). HarperCollins. สืบค้นเมื่อ 15 May 2019.
- ↑ Prishtina Development Plan Document: http://prishtinaonline.com/uploads/prishtina_pzhk_2012-2022_shqip%20(1).pdf
- ↑ Official gov't census: http://esk.rks-gov.net/rekos2011/repository/docs/REKOS%20LEAFLET%20ALB%20FINAL.pdf เก็บถาวร 2011-11-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ [1], The Cambridge ancient history: The fourth century B.C. Volume 6 of The Cambridge ancient history, Iorwerth Eiddon Stephen Edwards, ISBN 0-521-85073-8, ISBN 978-0-521-85073-5, Authors: D. M. Lewis, John Boardman, Editors: D. M. Lewis, John Boardman, Edition 2, Publisher: Cambridge University Press, 1994 ISBN 0-521-23348-8, ISBN 978-0-521-23348-4.
- ↑ Adams, Douglas Q. (1997). James P. Mallory (บ.ก.). Encyclopedia of Indo-European Culture. Fitzroy Dearborn. ISBN 978-1-884964-98-5.
- ↑ Wilson, Nigel Guy (2006). Encyclopedia Of Ancient Greece. Taylor & Francis Group. ISBN 978-0-415-97334-2.
- ↑ Zadruga, Srpska Književna (1913). Izdanja. p. 265.
- ↑ Warrander, Gail; Verena Knaus (2010). Kosovo. Bradt Travel Guides Ltd, UK. p. 85. ISBN 978-1-84162-331-3.
- ↑ Warrander, Gail; Verena Knaus (2010). Kosovo. Bradt Travel Guides Ltd, UK. p. 86. ISBN 978-1-84162-331-3.
- ↑ "Kardeş Kentleri Listesi ve 5 Mayıs Avrupa Günü Kutlaması [via WaybackMachine.com]" (ภาษาตุรกี). Ankara Büyükşehir Belediyesi - Tüm Hakları Saklıdır. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 January 2009. สืบค้นเมื่อ 2013-07-21.
- ↑ "Twinning Cities: International Relations" (PDF). Municipality of Tirana. www.tirana.gov.al. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-10. สืบค้นเมื่อ 2009-06-23.
- ↑ Twinning Cities: International Relations. Municipality of Tirana. www.tirana.gov.al. Retrieved on 2008-01-25.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 22 (11 ed.). 1911. p. 361.
- Pristina In Your Pocket city guide
- University of Pristina
- Pristina Airport
- Pristina Bus Timetables and Maps