พ.ศ. 2455
หน้าตา
พุทธศักราช 2455 (นับแบบใหม่) ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1912 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน
- ปีชวด จัตวาศก จุลศักราช 1274 (วันที่ 15 เมษายน เป็นวันเถลิงศก)
ผู้นำ
[แก้]- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468)
- เจ้าประเทศราช:
- เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่: เจ้าแก้วนวรัฐ
- เจ้าผู้ครองนครลำพูน: เจ้าจักรคำขจรศักดิ์
- เจ้าผู้ครองนครลำปาง: เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต
- เจ้าผู้ครองนครน่าน: พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช
- เจ้าประเทศราช:
เหตุการณ์
[แก้]- 12 กุมภาพันธ์ – จักรพรรดิผู่อี๋ จักรพรรดิพระองค์สุดท้ายของจีน สละราชสมบัติ หลังการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองในจีน
- 21 กุมภาพันธ์ – ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการนับศักราชจากรัตนโกสินทรศกเป็นพุทธศักราชในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว[1][2][3]
- 10 เมษายน – เรือไททานิคได้ออกเดินทาง
- 7 มีนาคม – โรลด์ อามันด์เซน นักสำรวจชาวนอร์เวย์ ประกาศการเดินทางไปถึงขั้วโลกใต้เป็นคนแรก ที่มีขึ้นเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911)
- 30 มีนาคม – โมร็อกโกลงนามในสนธิสัญญาเฟซ ทำให้เป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส
- 1 เมษายน – กบฏ ร.ศ. 130 วางแผนปลงพระชนม์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง
- 14 เมษายน – เรือเดินสมุทรอาร์เอ็มเอส ไททานิก ชนกับภูเขาน้ำแข็งในการเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกครั้งแรก
- 15 เมษายน – เรือเดินสมุทร ไททานิก จมลงในมหาสมุทรแอตแลนติก
- 19 มิถุนายน – เริ่มต้นการทำงานวันละ 8 ชั่วโมงในสหรัฐอเมริกา
- 25 สิงหาคม – พรรคก๊กมินตั๋ง ก่อตั้งขึ้นในจีน
วันเกิด
[แก้]- 2 มกราคม - พูนศุข พนมยงค์ ภริยาของปรีดี พนมยงค์ (ถึงแก่กรรม 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2550)
- 7 มกราคม - ไฮน์ริค ฮาร์เรอร์ นักปีนเขา นักสำรวจ และนักประพันธ์ชาวออสเตรีย (ถึงแก่กรรม 7 มกราคม พ.ศ. 2549)
- 28 กุมภาพันธ์ - เจ้าชายเบร์ติล ดยุกแห่งฮัลลันด์ (สิ้นพระชนม์ 5 มกราคม พ.ศ. 2540)
- 16 มีนาคม - แพต นิกสัน อดีตสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งแห่งสหรัฐอเมริกา ภรรยาของอดีตประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน (ถึงแก่กรรม 22 มิถุนายน พ.ศ. 2536)
- 1 เมษายน - หม่อมเจ้าทองคำเปลว ทองใหญ่ พระโอรสใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม (สิ้นชีพิตักษัย 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2553)
- 15 เมษายน - คิม อิล-ซ็อง อดีตผู้นำคนแรกและประธานาธิบดีตลอดกาลของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) (ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2537)
- 8 พฤษภาคม - ครูทองดี สุจริตกุล นักดนตรีไทย(จะเข้) (เสียชีวิต พ.ศ. 2550)
- 22 พฤษภาคม - เฮอร์เบิร์ต ซี. บราวน์ นักเคมีรางวัลโนเบล (เสียชีวิต พ.ศ. 2547)
- 23 มิถุนายน - แอลัน ทัวริง นักคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ (เสียชีวิต พ.ศ. 2497)
- 7 สิงหาคม - หวอ จี๊ กง ประธานสภาแห่งรัฐเวียดนาม คนที่ 2 (ถึงแก่กรรม 8 กันยายน พ.ศ. 2554)
- 23 สิงหาคม - จีน เคลลี นักเต้นและนักแสดงชาวอเมริกัน (เสียชีวิต พ.ศ. 2539)
- 5 กันยายน - หม่อมเจ้ารวิพรรณไพโรจน์ รพีพัฒน์ (สิ้นชีพิตักษัย 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531)
- 17 กันยายน - นพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา ภรรยา หม่อมราชวงศ์จักรทอง ทองใหญ่
- 24 กันยายน - พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรกานตมณี (สิ้นพระชนม์ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2520)
- 30 กันยายน - เลียว ศรีเสวก (นามปากกา อรวรรณ) นักประพันธ์ (ถึงแก่กรรม 15 ธันวาคม พ.ศ. 2521)
- 16 ตุลาคม - หม่อมเจ้าขจรจิรพันธ์ จิรประวัติ (สิ้นชีพิตักษัย 14 สิงหาคม พ.ศ. 2514)
- 28 พฤศจิกายน - หลวงพ่อเกษม เขมโก (มรณภาพ 15 มกราคม พ.ศ. 2539)
วันถึงแก่กรรม
[แก้]- 12 มกราคม - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นสรรควิไสยนรบดี ทรงเป็นคนไทยคนแรกที่จบการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ เป็นเจ้านายพระองค์แรกและเป็นคนไทยคนที่ ๒ ที่จบการศึกษาในวิชาระดับปริญญาเอก (ประสูติ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2427)
- 15 เมษายน
- 20 เมษายน - บราม สโตกเกอร์ นักเขียนชาวไอริช ผลงานเด่นคือ แดรกคูลา (เกิด พ.ศ. 2390)
- 30 กรกฎาคม - จักรพรรดิเมจิ จักรพรรดิญี่ปุ่น (พระราชสมภพ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2395)
บันเทิงคดีที่อ้างอิงถึงปีนี้
[แก้]ภาพยนตร์
[แก้]- ขุมทรัพย์สุดขอบฟ้า 3 ตอน ศึกอภินิหารครูเสด (Indiana Jones and the Last Crusade) (เข้าฉายครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2532)
รางวัล
[แก้]- สาขาเคมี – Victor Grignard, Paul Sabatier
- สาขาวรรณกรรม – แกร์ฮาร์ท โยฮัน โรแบร์ท เฮาพ์ทมันน์
- สาขาสันติภาพ – เอลิฮู รูต
- สาขาฟิสิกส์ – นิลส์ กุสตาฟ เดเลน
- สาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ – อเล็กซิส การ์แรล
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "รัตนโกสิทร์ศก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-14. สืบค้นเมื่อ 2015-03-09.
- ↑ "การนับศักราช". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-22. สืบค้นเมื่อ 2015-03-09.
- ↑ "ร.6 ให้เลิกใช้ร.ศ. เปลี่ยนไปใช้ พ.ศ. แทน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-11. สืบค้นเมื่อ 2015-04-20.
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ พ.ศ. 2455