ประวัติพระพุทธเจ้า
หัวข้อของบทความนี้อาจไม่ผ่านแนวปฏิบัติความโดดเด่นทั่วไป (June 2021) |
ประวัติพระพุทธเจ้า | |
---|---|
กำกับ | วัลลภา พิมพ์ทอง |
อำนวยการสร้าง | Media Standard Company Limited (บริษัท มีเดีย สแตนดาร์ด จำกัด) |
ผู้จัดจำหน่าย | โมโนฟิล์ม |
วันฉาย | 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550 |
ความยาว | 98 นาที |
ภาษา | ไทย |
ทุนสร้าง | 108 ล้านบาท |
ทำเงิน | 15 ล้านบาท |
ข้อมูลจากสยามโซน |
ประวัติพระพุทธเจ้า (อังกฤษ: The Life of Buddha) เป็นภาพยนตร์แอนิเมชัน 2 มิติ ที่เล่าเรื่องราวประวัติของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดำเนินการผลิตโดย ดร.วัลลภา พิมพ์ทอง และบริษัท มีเดียสแตนดาร์ด จำกัด ตั้งแต่ พ.ศ. 2546 ด้วยงบประมาณ 108 ล้านบาท โดยมีกำหนดแล้วเสร็จประมาณเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 และจะเริ่มฉายในประเทศไทยประมาณช่วงพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ภาพยนตร์เรื่องนี้มีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นที่ปรึกษาโครงการ และได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มบุคคลที่ใช้ชื่อว่า "กลุ่มธรรมะการ์ตูน ๘๐ พรรษามหาราช " มีพระเมธีวชิโรดม (วุฒิชัย วชิรเมธี) เป็นประธานกลุ่ม
ภาพยนตร์เรื่องนี้ จัดจำหน่ายโดยบริษัท โมโนฟิล์ม โดยจะมีการแปลเป็นภาษาต่างประเทศ คือ ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาเกาหลี ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเยอรมัน และจะนำไปโปรโมทในงานเทศกาลภาพยนตร์ ในต่างประเทศ
ทีมงาน
[แก้]Producer | วัลลภา พิมพ์ทอง(วงษ์ธรรมา) |
Director(ผู้อำนวยการผลิต) | กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์ |
Screenplay(บทภาพยนตร์) | อัมภิรา วงษ์ธรรมา |
Screenplay Advisor(ที่ปรึกษาบทภาพยนตร์ | ทองหล่อ วงษ์ธรรมา |
Casting & Voice Dubbing Director(ผู้กำกับการคัดเลือกผู้พากย์และการพากย์เสียง) | •สรัญญา น้อยไทย • ทีมพากย์อินทรีย์ • กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์ |
original Soundtrack Producer(ผู้ผลิตเสียงดนตรีประกอบต้นฉบับ) | •ปริญญา โบราณประสิทธิ์ •ธีระพงศ์ ไชยพรม |
Soundtrack Co-producer(ผู้ร่วมผลิตเสียงดนตรีประกอบ) | •บัณฑิต มาบุญธรรม •สมพร ก้อนเพชร |
Translator(นักแปล) | นิวิมาน์ วงษ์ธรรมา |
Production(การผลิต) | Media Standard Production House |
เสียงพากย์
[แก้]บทบาท | ผู้พากย์ | หมายเหตุ |
---|---|---|
พระพุทธเจ้า | รัชฏะ สมรทินกร | |
พระเจ้าสุทโธทนะ | อภิวิชญ์ อินทร | |
พระนางสิริมหามายา | ชไมพร จตุรภุช | |
เจ้าชายสิทธัตถะ(วัยเด็ก) | เบญจวรรณ วนิชจิวพันธุ์ | |
เจ้าชายสิทธัตถะ(ตอนโต)/พระโพธิสัตว์ | ศรุต วิจิตรานนท์ | |
พระนางยโสธราพิมพา(วัยรุ่น) | พิมพ์อัปสร เทียมเศวต | |
พระนางยโสธราพิมพา(ตอนโต) | สุภัทรา ทิวานนท์ | |
พราหมณ์โกณฑัญญะ/พระอัญญาโกณฑัญญะ | อภิชาติ อินทร | |
พญามาร | เกรียงศักดิ์ เหรียญทอง | |
นางตัณหา | สกาวใจ พูนสวัสดิ์ | |
นางราคา | ปาณิสรา พิมพ์ปรุ | |
นางอรดี | พัชนี จารุจินดา | |
พระราหุล | ณพวีร์ ไตรทิพเทวิน | |
เจ้าชายอานนท์(วัยเด็ก) | ปฏิมา เทพสงเคราะห์ | |
เจ้าชายอานนท์(วัยรุ่น) | อภิชาติ อินทร | |
พระอานนท์ | แทนคุณ จิตต์อิสระ | |
นายฉันนะ | ธนากร โปษยานนท์ | |
พระเจ้าสุปปพุทธะ | ศุภสรณ์ มุมแดง | |
พระนางอมิตตา | วัฒน์นันท์ เกิดไพบูลย์ | |
พระเจ้าพิมพิสาร | เกรียงศักดิ์ เหรียญทอง | |
เจ้าชายเทวทัต/พระเทวทัต | คมกฤษ ตรีวิมล | |
พระแม่ธรณี | ทัศน์วรรณ เสนีย์วงศ์ | |
พระสารีบุตร/อุปติสสะ | อนุชิต สพันธุ์พงษ์ | |
พระโมคคัลลานะ/โกลิตะ | ชาญชัย กายสิทธิ์ | |
นางพราหมณี(แม่พระสารีบุตร) | พิศมัย วิไลศักดิ์ | |
อหิงสกะ/พระองคุลิมาล | อภิวิชญ์ อินทร | |
นางมันตานี | ศิรินุช เพชรอุไร | |
นางสุชาดา | พิจิกา จิตตะปุตตะ | |
ปุณณทาสี(คนสนิทนางสุชาดา) | น้ำฝน ภักดี | |
อาจารย์วิศวามิตร | เกรียงศักดิ์ เหรียญทอง | |
เจ้าชายนันทะ(วัยรุ่น) | อัศวิน กมโลบล | |
อสิตดาบส | เกรียงศักดิ์ เหรียญทอง | |
ฆฏิการมหาพรหม | อภิชาติ อินทร | |
อุทกดาบส | ศุภกรณ์ มุมแสดง | |
อุรุเวลกัสสปะ | ศุภกรณ์ มุมแดง | |
พระอัสสชิ | พงศ์เพชร อมรสิทธิ์ | |
พระมหานามะ | วีระศักดิ์ แก้วอุ่น | |
อำมาตย์กาฬุทายี/พระกาฬุทายี | วีระศักดิ์ แก้วอุ่น | |
พญากาฬนาคราช/เสียงนาค | ยงยุทธ เกิดบุญส่ง | |
โสตถิยพราหมณ์ | ศุภสรณ์ มุมแดง | |
นายจุนทะ | ยงยุทธ เกิดบุญส่ง | |
สุภัททะ | อภิชาติ อินทร | |
ชาวบ้าน | ธัญญ์นิธิ ฉันท์เอกสิทธิ์ | |
เสียงโฆษกประกาศ | ยงยุทธ เกิดบุญส่ง | |
ผู้บรรยาย | อภิชาติ อินทร | |
เสียงตัวประกอบทั้งหมด | ทีมอินทรีย์(ชาย-หญิง) |
เพลง
[แก้]เพลงสุชาดา
[แก้]ร้อง
•พินิจ ศรีจันทร์ดี
•ณัฐนี พิมพ์ทอง
เพลงปรินิพพาน
[แก้]ร้อง
•บัณฑิต มาบุญธรรม
•ทาลัด กามาล
รางวัล
[แก้]- รางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ ครั้งที่17
ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม : ไกวัล กูลวัฒโนทัย
- สื่อมวลชนคาทอลิคดีเด่น
นำมาฉายซ้ำ
[แก้]เมื่อประมาณปลายปี พ.ศ. 2558 ทางรายการ คิดดีแลนด์ ที่ผลิตโดย บริษัท มีเดียสแตนดาร์ด จำกัด ได้นำภาพยนตร์แอนิเมชันประวัติพระพุทธเจ้า มาออกอากาศใหม่ในรูปแบบช่วงๆ ตอนๆ สลับกับช่วงการ์ตูนต่างๆ ของทางค่ายมีเดียสแตนดาร์ด เช่น อนันตา คิดดีแลนด์ ฯลฯ รวมไปถึงกิจกรรมเข้าวัดฟังธรรม หรือกิจกรรมต่างๆ ควบคู่กันไป โดยออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5[1]
สืบต่อเนื่อง
[แก้]พุทธศาสดา (อังกฤษ: Thus Have I Heard) เป็นภาพยนตร์พุทธประวัติ และเป็นส่วนหนึ่งของโครงการภาพยนตร์ "พุทธศาสดา" เฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา มหาราชา พุทธศักราช 2546 - 2554[2]
ความเป็นมา
ในปี พ.ศ. 2546 เป็นปีที่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเจริญพระชนมายุครบ 80 พรรษา เหล่าข้าราชบริพารและคณะผู้ตามเสด็จ ได้ดำริที่จะจัดสร้างภาพยนตร์พุทธประวัติเพื่อถวายเป็นพระกุศลในวาระอันเป็นมงคลดังกล่าว จึงได้ขอพระราชทานพระวโรกาสเข้าเฝ้าฯ เพื่อกราบทูลความประสงค์ดังกล่าว เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2546 ทั้งนี้ได้พระราชทานพระอนุญาตให้ ดำเนินการสร้างภาพยนตร์พุทธประวัติในรูปแบบภาพ Animation ด้วยทรงคำนึงถึงคุณประโยชน์อันยิ่งใหญ่ให้บังเกิดเป็นพุทธานุสติ ธรรมานุสติและสังฆานุสติ แก่เยาวชน พุทธศาสนิกชนและผู้สนใจทุกท่าน โดยห้ามจำหน่ายหรือคิดค่าใช้จ่าย และทรงเน้นย้ำให้ตรวจทานบทภาพยนตร์ให้ถูกต้องตรงตามหลักฐานที่มีอยู่ เพื่อให้เป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิงทางการศึกษาพุทธศาสนาต่อไป และโปรดให้ทำซ้ำเพื่อเป็นการเผยแพร่ให้ทั่วถึง
นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา โครงการฯ ได้ร่วมมือกับกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการจัดทำบทภาพยนตร์อีกทั้งยังได้รับความอุปถัมภ์จากคณะสงฆ์ทั้งฝ่ายปริยัติและปฏิบัติในรายละเอียดของเนื้อหาทุกขั้นตอน โดยมีประธานกรรมการฝ่ายสงฆ์ คือ สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสสโร ป.ธ.๙) ได้ประทานแนวทางว่าให้ภาพยนตร์พุทธประวัตินี้แสดงถึงเรื่องราวของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งแต่ประสูติ, ผนวช, ตรัสรู้, เผยแพร่พระธรรม จนถึงเสด็จดับขันธปรินิพพาน โดยการลำดับเรื่องราวจากหลักฐานที่มีปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และปฐมสมโพธิกถา พระนิพนธ์ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ตลอดจนคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาชั้นหลังๆ มาเป็นเค้าโครงเรื่อง ทั้งนี้ภายใต้การกำกับดูแลของสมเด็จพระธีรญาณมุนี (สมชาย วรชาโย ป.ธ.๘), พระพรหมมุนี (สุชิน อัคคชิโน ป.๑-๒) และพระอาจารย์สุดใจ ทันตมโน และได้ผ่านการตรวจรับรองความถูกต้องจากกรมการศาสนาว่า มีสาระตามหนังสือปฐมสมโพธิกถา ซึ่งเหมาะสมที่จะใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนในสถานศึกษาได้ตามหนังสือที่ วธ ๐๓๐๓/๑๘๐๑ ลงวันที่ 8 เมษายน 2552 ตลอดจนด้วยความกรุณา จากพระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน) ประธานกิตติมศักดิ์ ได้มอบนามอันเป็นมงคลแก่ภาพยนตร์นี้ว่า “พุทธศาสดา”
วัตถุประสงค์
- เพื่อร่วมเทิดพระเกียรติเนื่องในปีมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเจริญพระชนมพรรษา 7 รอบ 84 พรรษา ในปี พ.ศ. 2554
- เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ที่ได้พระราชทานพระอนุญาตให้คณะกรรมการโครงการฯ ได้ดำเนินการสร้างภาพยนตร์พุทธประวัติ “พุทธศาสดา” นี้ขึ้น
- เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิงที่ถูกต้องในการศึกษาทางพระพุทธศาสนา ให้บังเกิดเป็น พุทธานุสติ ธรรมานุสติ และสังฆานุสติ แก่เยาวชน พุทธศาสนิกชนและผู้สนใจทุกท่าน
- เพื่อใช้เป็นสื่อประกอบการเรียนการสอนพระพุทธศาสนาในสถานศึกษาต่างๆ
กลุ่มเป้าหมาย
- 1. โรงเรียนในสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
- 2. โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 โรง
- 3. วัดจำนวน 40,000 แห่งทั่วประเทศ
- 4. พุทธศาสนิกชน และประชาชนผู้สนใจทั่วไป
มหากาพย์ละครซีรีส์พุทธประวัติ
[แก้]พระพุทธเจ้า มหาศาสดาโลก (อังกฤษ: Buddha) เป็นละครโทรทัศน์ที่ออกอากาศในประเทศอินเดียช่วงปี ค.ศ. 2013 กล่าวถึงพระพุทธประวัติ (ประวัติของพระพุทธเจ้า) ออกอากาศในประเทศไทยทางช่องเวิร์คพอยท์ ตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2558 ทุกวันเสาร์ - อาทิตย์ ช่วงเช้า เวลา 10:00 น. และช่วงค่ำ เวลา 20:30 น. และต่อมาก็มีเสียงเรียกร้องจากผู้ชมทั่วประเทศว่าอยากชมซ้ำ ทางช่องเวิร์คพอยท์จึงนำมาออกอากาศซ้ำอีกครั้ง ในวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 18:20 น. เริ่มออกอากาศตอนแรกในวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2558 และในปี พ.ศ. 2563 เนื่องจากสถานการณ์การระบาดทั่วของโควิด-19 ทางช่องเวิร์คพอยท์ได้นำซีรีส์นี้กลับมาออกอากาศซ้ำอีกครั้ง มาพร้อมกับคติคำสอน ที่จะทำให้เราฝ่าวิกฤตการณ์ครั้งนี้ไปด้วยกัน ในวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 19:00 น. เริ่มออกอากาศตอนแรกในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2563