ข้ามไปเนื้อหา

บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์

หน้าถูกกึ่งป้องกัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์
เกิด27 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 (62 ปี)
อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ประเทศไทย
การศึกษาDegree, Ramkhamhaeng. Master Degree, Dhonburi Rajabhat
อาชีพ
  • นักแสดง
  • ผู้กำกับภาพยนตร์
  • นักสังคมสงเคราะห์
ปีที่แสดงพ.ศ. 2527–ปัจจุบัน
ผลงานเด่นไอ้ขวัญ - แผลเก่า (2531)
ไอ้ลือ - รอยไถ (2532)
อ้ายแกว่น - ไผ่แดง (2534)
หมวดปลิว - เหตุเกิดที่ สน. (2533)
อ้ายทองเหม็น - บางระจัน (2543)
รางวัล
พระสุรัสวดีนักแสดงนำชายยอดเยี่ยม

พ.ศ. 2529 – ตำรวจเหล็ก
พ.ศ. 2532 – รอยไถ

พ.ศ. 2543 – บางระจัน
โทรทัศน์ทองคำดารานำชายดีเด่น
พ.ศ. 2531 – แผลเก่า
เมขลาผู้แสดงนำชายดีเด่น
พ.ศ. 2532 – คนเหนือดวง

บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ (เกิด 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2505) ชื่อเล่น ท็อป เป็นนักแสดง ผู้กำกับภาพยนตร์ นักสังคมสงเคราะห์ชาวไทย[1]

ประวัติ

บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ มีชื่อเล่นว่า ท็อป เกิดเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 ที่อำเภอสระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี (ปัจจุบัน คือ จังหวัดสระแก้ว) เป็นบุตรของนายชูชาติ กับนางปรางทิพย์ บรรลือฤทธิ์ บิณฑ์ มีน้องชายฝาแฝดซึ่งเป็นนักแสดงด้วยเหมือนกัน คือ เอกพันธ์ บรรลือฤทธิ์ ปัจจุบันสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิทยาการการจัดการจาก มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี และปริญญาจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง

เริ่มเข้าสู่วงการด้วยการถ่ายแบบและแสดงเป็นตัวประกอบในภาพยนตร์เรื่อง นิจ เมื่อปี 2526 โดยแสดงเป็นเพื่อนเจ้าบ่าวของสรพงศ์ ชาตรี คู่กับเอกพันธ์น้องชายฝาแฝดของเขา ก่อนจะมารับบทนำจากการแนะนำของ คมน์ อรรฆเดช ในเรื่อง "ตำรวจเหล็ก" คู่กับ มาช่า วัฒนพานิช ซึ่งเป็นนักแสดงใหม่ด้วยกันทั้งคู่ และมีชื่อเสียงโด่งดังมาจากละครโทรทัศน์ เรื่อง "แผลเก่า" ทางช่อง 7 เมื่อปีพ.ศ. 2531 โดยรับบทเป็น "ไอ้ขวัญ" แสดงคู่กับชุติมา นัยนา จากนั้นจึงมีผลงานที่เป็นที่รู้จักอีกคือเรื่อง "เหตุเกิดที่ สน." เมื่อ พ.ศ. 2533 โดยรับบทเป็น หมวดปลิว นายตำรวจประจำ สน.

ผลงานเด่น ๆ ทางภาพยนตร์ได้แก่ บางระจัน เมื่อปีพ.ศ. 2544 รับบทเป็น "อ้ายทองเหม็น" ซึ่งได้รับรางวัลตุ๊กตาทองนักแสดงนำชายยอดเยี่ยมด้วย และยังมีผลงานกำกับการแสดงจากเรื่อง ตำนานกระสือ ใน พ.ศ. 2545, ช้างเพื่อนแก้ว ในปีพ.ศ. 2546, เดอะโกร๋น ก๊วนกวนผี ในปีพ.ศ. 2547 และปัญญา เรณู ในปีพ.ศ. 2554 นอกจากนี้ยังเคยรับบทเป็นพระราชาอินเดียในภาพยนตร์ฮอลลีวูดที่มาถ่ายทำในประเทศไทยด้วยคืออเล็กซานเดอร์ มหาราชชาตินักรบ ส่วนผลงานละครโทรทัศน์ในระยะหลัง ๆ มีเพียงเรื่องรุกฆาต ทางช่อง 7 เมื่อปีพ.ศ. 2552 ในฐานะดารารับเชิญ

ในกลางปี พ.ศ. 2552 ปรากฏเป็นข่าวว่าได้เข้าสมัครเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทยพร้อมกับ เอกพันธ์ น้องชายฝาแฝด และจะลงเลือกตั้งในคราวต่อไปด้วย[2]แต่ต่อมาเจ้าตัวได้ปฏิเสธ โดยบอกว่าเพียงแค่ได้รับทาบทาม แต่ไม่เคยคิดเล่นการเมือง อีกทั้งเพียงแค่งานการแสดงและงานสาธารณกุศลก็ล้นมืออยู่แล้ว[3] แต่ก่อนหน้านั้นก็เคยลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. พ.ศ. 2538 ในนามพรรคนำไทย มาแล้วครั้งหนึ่ง แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[4]

ซึ่งด้านงานการแสดงนั้น เจ้าตัวเคยให้สัมภาษณ์ว่าเป็นบุคคลที่เลือกรับบท โดยจะรับบทเฉพาะดี ๆ แตกต่างจากเอกพันธ์น้องชาย เนื่องจากเคยเป็นพระเอกมาก่อน และเคยได้รับรางวัลนักแสดงนำชายมาแล้วถึง 5 รางวัลด้วยกัน[5]

22 ตุลาคม พ.ศ. 2559 บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ ผู้จัดการฝ่ายกิจกรรมพิเศษมูลนิธิร่วมกตัญญู พระเอกชื่อดังเข้าอุปสมบทอย่างเรียบง่าย ณ อุโบสถวัดบางแวก แขวงคูหาสวรรค์ เขตภาษีเจริญ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้และถวายความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยพิธีอุปสมบทครั้งนี้มีท่านพระครูธีรธรรมานันท์ เจ้าคณะแขวงบางแวก เจ้าอาวาสวัดบางแวก เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาทางพระพุทธศาสนาว่า อาจิตปุญโญ แปลว่า ผู้ทำบุญไว้ดีแล้ว

งานอาสาสมัคร

นอกจากงานแสดงแล้ว เขายังเป็นที่รู้จักจากการเป็นอาสาสมัครในมูลนิธิร่วมกตัญญูเป็นเวลากว่า 30 ปี[6] ในช่วงเดือนสิงหาคม ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2562 เขากลับมาเป็นที่รู้จักอีกครั้งจากการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่จังหวัดอุบลราชธานี[7] โดยเขาได้เปิดรับบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยจนกระทั่งมียอดบริจาคทรัพย์สินรวมทั้งสิ้น 400 กว่าล้านบาท[8] แต่ได้ลาออกไปในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2563 หลังผู้จัดการไม่ต้องการให้เขาพูดเรื่องทางการเมืองท่ามกลางการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563; เขาเป็นผู้สนับสนุนพระมหากษัตริย์[9]

ผลงานภาพยนตร์

  • ข้ามากับพระ 2527
  • ทับทิมโทน 2528
  • เพลงสุดท้าย 2528
  • ไอ้หนูภูธร 2528
  • คนดีที่บ้านด่าน 2528
  • ปลัดเพชรบ่อพลอย 2528
  • ผัวเชลย 2528
  • ตำรวจเหล็ก 2529
  • ร้อยป่า 2529
  • ดังกว่าปืน 2529
  • บุกเดี่ยว 2529
  • ปล้น 2529
  • ลุยรำมะนา 2529
  • 4นัดตัดชีพ3 2529
  • ก้อ โอเคน่ะ 2530
  • พรหมจารีสีดำ 2530
  • ตะวันเพลิง 2530
  • กระทิงเหล็ก 2530
  • รักทรมาน 2530
  • คนดิบ 2530
  • ชาติชายต้องไว้ลาย 2530
  • จงรัก 2531
  • ด้วยรักคิดถึง 2531
  • น.ส. บังอร 2531
  • นางกลางไฟ 2531
  • ปีศาจสีเงิน 2531
  • เราสอง 2531
  • ไอ้ด่างเกยชัย 2531
  • ตัวกูผู้ชนะ 2532
  • ทับเทวา 2532
  • นรกสั่งตาย 2532
  • รับจ้างตาย ตอน แลกตาย 2532
  • ปลุกมันขึ้นมาฆ่า 2 2532
  • ผีสองนาง 2532
  • เพชร 2532
  • มโนราห์ท่าเรือ 2532
  • รอยไถ 2532
  • สมิงดงดิบ 2532
  • สาวดินระเบิด 2532
  • เจ้าพ่อ 2532 (รีเมคจาก นักเลงเรียกพ่อ) - พันตำรวจตรีเชิดชัย
  • ฟ้าสางที่ฝ้งโขง 2532
  • 3 อันตราย 2533
  • 7 ป่าช้า ตอนผีแหกท้อง 2533
  • กระสือกัดปอบ 2533
  • ข้ามาจากสวรรค์ 2533
  • นางพญางูผี 2 2533
  • บ้าแล้วต้องฆ่า 2533
  • ปลุกมันขึ้นมาฆ่า 3 ตอน จ๊ะเอ๋ผีหัวขาด 2533
  • ปีศาจสงคราม 2533
  • ปีศาจแมงมุมสาว 2533
  • ผีสำออย 2533
  • ไอ้เพชร บ ข ส 2533
  • เพชฌฆาตดำ 2533
  • ท้าลุย 2533
  • หัวใจเหล็ก 2533
  • คนพันธ์ดุ 2533
  • ลำเพลินปืนโหด 2533
  • เพชรฆาตเหล็ก 2534
  • 2 เดนนรก 2534
  • พยัคฆ์ร้ายเซียงชุน 2534
  • 5 สาวผ่านนรก 2534
  • เพชรฆาตโหดสิงห์ป่าชุม 2534
  • บ้าดีเดือด 2534
  • เก่งจริงนะตัวแค่เนี้ยะ 2535
  • ทายาทไอ้ฝาง ร.ฟ.ท. 2535
  • โป้ง โป้ง ชึ่ง 2535
  • หินเหล็กไฟ 2535
  • ไอ้เพชร บ ข ส ภาค 2 2535
  • 2 มืปืนสารวัตรใหญ่ 2535
  • อีหนูภูธร 2536
  • จระเข้ผีสิง 2536
  • เสียงแคน ดอกคูน 2536
  • ลำเพลิน เพลงรัก 2536
  • อินทรีแดนเถื่อน 2537
  • 3 มือปืนสารวัตรใหญ่. 2537
  • ม้งกรจ้าวท่า 2537
  • มนต์รักเพลงลูกทุ่ง 2538
  • มนต์เพลงรักก้องโลก 2538
  • คนล่าคน 2539
  • บางระจัน 2543
  • ตำนานกระสือ 2545
  • พ่อตาต๊ะติ้งโหน่ง 2546
  • ช้างเพื่อนแก้ว 2546
  • อเล็กซานเดอร์ มหาราชชาตินักรบ (ภาพยนตร์ฮอลลีวูด 2547)
  • อ. หนูกันภัย ศึกมหายันต์ 2553
  • ทาสรักอสูญ 2557
  • ทองดีฟันขาว 2560

ละครโทรทัศน์

ละครสั้น ชุดปากกาทอง ทางช่อง 7

มิวสิควีดีโอ

ผลงานกำกับ

อ้างอิง

  1. "Boom takes a pounding for just trying to help". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-14. สืบค้นเมื่อ 18 November 2015.
  2. "ดารา-เสื้อแดงแห่ลงสมัครส.ส.พท". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-28. สืบค้นเมื่อ 2009-09-19.
  3. หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับที่ 21,925 วันศุกร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2552 คอลัมน์ เลาะรั้วหนามเตย โดย ฟิล์ม มาเนีย
  4. เลือกตั้ง ส.ส. พ.ศ. 2538 ในนามพรรคนำไทย มาแล้วครั้งหนึ่ง ข่าวไทยรัฐ
  5. “บิณฑ์” ทะนงศักดิ์ศรีพระเอก ประกาศไม่เล่นบทพ่อ-โจรบ้าๆ บอๆ?เก็บถาวร 2011-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากผู้จัดการออนไลน์
  6. ""บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์" 30 ปีกับชีวิตที่อุทิศเพื่อเพื่อนมนุษย์" ["Bin Bunluerit" 30 years with a life dedicated to humanity]. sanook. 2016-03-13. สืบค้นเมื่อ 2017-03-26.
  7. สรุปยอด "บิณฑ์" แจกเงินน้ำท่วมอุบลฯ ช่วยเหลือแล้ว 1,166 ครัวเรือน
  8. "บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์" เผยยอดบริจาคช่วยน้ำท่วมอุบลฯ ทะลุ 400 ล้านบาทแล้ว
  9. "'BIN BANLUERIT' LEAVES CHARITY TO FIGHT 'EVIL ANTI-MONARCHISTS'". Khaosod English. 27 October 2020. สืบค้นเมื่อ 27 October 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น