บิกแบง (วงดนตรีเกาหลีใต้)
บิกแบง | |
---|---|
บิกแบงในเดือนมิถุนายน 2016 จากซ้ายไปขวา: ซึงรี (อดีต), ทีโอพี (อดีต), แทยัง, จี-ดรากอน และแดซ็อง | |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ที่เกิด | โซล ประเทศเกาหลีใต้ |
แนวเพลง | |
ช่วงปี |
|
ค่ายเพลง | |
กลุ่มย่อย | |
สมาชิก | |
อดีตสมาชิก |
บิกแบง (เกาหลี: 빅뱅; อังกฤษ: Big Bang, มักเขียน BIGBANG) เป็นบอยแบนด์เกาหลีใต้ ก่อตั้งโดยวายจีเอนเตอร์เทนเมนต์ ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนสามคนคือ แทยัง, จี-ดรากอน และแดซ็อง (อดีตสมาชิก2คน ซึงรี ได้ประกาศยุติกิจกรรมในอุตสาหกรรมบันเทิงในเดือนมีนาคม 2019 และ ทีโอพี ประกาศว่าออกจากวงในเดือนพฤษภาคม 2023)[2] พวกเขาได้รับการขนานนามว่าเป็น "King of K-POP" และช่วยเผยแพร่กระแสเกาหลีไปทั่วโลกและถือเป็นหนึ่งในศิลปินที่มีอิทธิพลมากที่สุดในเคป็อป[3][4][5][6][7][8] พวกเขาเป็นที่รู้จักจากการทดลองทางดนตรีที่สร้างเทรนด์การผลิตด้วยตนเองและการปรากฏตัวบนเวที[9][10]
บิกแบงเป็นวงดนตรีที่ประสบความสำเร็จเกี่ยวกับท่าเต้นมากที่สุดวงหนึ่งของทวีปเอเชียและได้รับการขนานนามว่าเป็น "Revolutionary Group of Hallyu Wave"[11] ที่มีแนวดนตรีเป็นเอกลักษณ์ของตนเองเมื่อเปรียบเทียบกับวงดนตรีเกาหลีอื่นๆ พวกเขายังนับว่าเป็นผู้นำบอยกรุปของ Hallyu อันเนื่องมาจากความสำเร็จและมีอิทธิพลที่ยิ่งใหญ่[12] ตั้งแต่พวกเขาเปิดตัวครั้งแรก บิกแบงยังประสบความสำเร็จในหลายๆ ซิงเกิล, และอัลบั้มเพลง ถึงแม้ว่าอัลบั้มเต็มชุดแรก บิกแบง วอรูม. วัน (อังกฤษ: BigBang Vol. 1) จะยังไม่ถูกใจแฟนเพลงเท่าไหร่เนื่องจากพวกเขาพยายามจะให้เป็นแนวเพลงแบบฮิปฮอปและอาร์แอนด์บีร่วมสมัย ต่อมาพวกเขาก็ประสบความสำเร็จจากอัลบั้มชนิดอีพีอัลบั้มแรกคือ ออลเวย์ส (อังกฤษ: Always) ในปี 2007 เกือบจะครบ 1 ปีที่ออกอัลบั้ม เพลงในอัลบั้มอย่าง ลายส์ (อังกฤษ: Lies) ก็ฮิตติดอันดับ 1 ในหลายชาร์ตเพลงเป็นเวลา 7 สัปดาห์ติดต่อกัน ตั้งแต่ชื่อเสียงของ ซอแทจีแอนด์บอยส์ บิกแบงก็เป็นกลุ่มมือใหม่วงแรกที่อยู่เป็นอับดับหนึ่งเป็นเวลานาน 1 เดือน ในปีเดียวกันบิกแบงได้รับรางวัล เอ็มเน็ต อาเซียน มิวสิก อวอร์ดส (อังกฤษ: Mnet Asian Music Awards) สาขา "Song of the Year Award" จากเพลง Lies
ต่อมาอัลบั้ม ฮอต อิชชิว (อังกฤษ: Hot Issue) และ สแตน อัพ (อังกฤษ: Stand up) ก็ประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน[13] เพลงที่ฮิตอันดับ 1 คือ ฮารุ ฮารุ (อังกฤษ: Haru Haru) และ ลาร์ส แฟร์เวลล์ (อังกฤษ: Last Farewell) หลังจากที่พวกเขาได้รับรางวัล "ศิลปินแห่งปี" จากเอ็มเน็ต อาเซียน มิวสิก อวอร์ดส และจากโซล กาโย แดซัง อวอร์ด (อังกฤษ: Seoul Gayo Daesung Awards) ไปแล้ว ทางกลุ่มก็ได้ขยายพื้นที่ออกไปยังประเทศญี่ปุ่น โดยออกหลากหลายมินิอัลบั้มและออกอากาศเป็นแบบซิงเกิลหลายเพลง แต่พวกเขาก็ยังไม่ได้รับการส่งเสริมที่ยิ่งใหญ่พอจนกระทั่งปีต่อมาพวกเขาได้ออกซิงเกิลแรก มาย ฮีฟเว่น (อังกฤษ: My Heaven) เป็นภาษาญี่ปุ่น นับแต่นั้นมาบิกแบงก็ประสบความสำเร็จในประเทศญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก บิกแบงจึงกลายเป็นวงดนตรีเกาหลีวงแรกที่ได้รับรางวัล เบสท์ นิวคัมเมอร์ จากสถานีออกอากาศทางเคเบิลทีวีแห่งญี่ปุ่น
เมื่อไม่กี่ปีมานี้ สมาชิกบางคนในวงได้แยกตัวไปทำอัลบั้มเดี่ยว: แท ยัง และ จี-ดรากอน ออกอัลบั้มเดี่ยว ในขณะที่ ท็อป, แดซัง และซึงรี ได้ไปแสดงละคร มิวสิกวิดีโอ และร่วมรายการวาไรตี้ต่างๆ
บิกแบงเป็นเป็นตัวแทนของทวีปเอเชียแปซิฟิคที่ชนะรางวัล MTV Europe Music Awards สาขา Best Worldwide Act ที่กรุงเบลฟาสต์ ไอร์แลนด์เหนือ[14] นอกเหนือจากวงควีนซึ่งเป็นวงดนตรีที่ไม่ได้มาจากทวีปอเมริกาเหนือและยังเป็นวงดนตรีจากทวีปเอเชียวงแรกที่ได้รับรางวัลนี้
ประวัติ
[แก้]วายจีเอนเตอร์เทนเมนต์ เป็นค่ายเพลงที่มีชื่อเสียงทางด้านเพลงฮิปฮอปและอาร์แอนด์บีของเกาหลี ได้ออดิชั่นเด็กกลุ่มหนึ่งเข้ามาฝึก ซึ่งรวมถึง จี-ดรากอน และ แทยัง นั้นเป็นศิลปินฝึกหัดอยู่ถึง 6 ปี ทั้งคู่เคยมีโปรเจกต์เฉพาะกิจชื่อ GDYB และเคยไปร้องร่วมกับเซเว่นและเป็นแบ็คอัพให้กับหลายวงในวายจี จี-ดรากอนยังเป็นโปรดิวเซอร์และแต่งเพลงในอัลบั้มบิกแบงอีกหลายเพลง แทยัง ตำแหน่งร้องนำเข้ามาเป็นศิลปินฝึกหัดวายจีตั้งแต่อายุ 12
6 ปีผ่านไปหลังจาก วายจีเอนเตอร์เทนเมนต์ ได้ออดิชั่นกลุ่มเด็ก ในที่สุด ยัง ฮย็อน-ซ็อก เจ้าของค่ายเพลงประกาศโครงการ Big Bang Project โดยคัดหาเด็กมาสร้างเป็นกลุ่มฮิปฮอป โดยวางสมาชิกตัวยืนไว้สองคนคือ จี-ดรากอน และ แทยัง ส่วนการคัดเด็กที่เหลือจากรายการแนวสารคดี+เรียลลิตี้ ชื่อรายการ "Big Bang Documentary"
ได้มีการคัดตัวเด็กมาอีก 4 คน และจะถูกคัดออกบางส่วนเมื่อจบรายการ โดยเด็กทั้ง 6 จะถูกฝึกทุกอย่างทั้งการร้อง การเต้น การแร็ป การแต่งเพลง ภาษาเอเชียที่ 2 ฯลฯ ทุกสัปดาห์จะมีการประเมินผล ในที่สุดวันตัดสินคัดเลือกก็มาถึง ยัง ฮย็อน-ซ็อก ตัดสินใจคัดเด็กออก 2 คนคือ ซึง รี และ Sol-1 แต่ยังคงอนุญาตให้ทั้งสองคนสามารถใช้ห้องซ้อมได้ แต่จะไม่ได้รับการฝึกจากครูเหมือนเคย และในที่สุด วายจี ได้เรียกตัว ซึงรี และ Sol-1 กลับมาเดบิวท์อีกครั้ง และคนที่ได้รับเลือกคือ ซึงรี เหตุผลที่ ซึงรี ได้รับการคัดเลือก เพราะเขามีการพัฒนาเรื่องการร้องเพลงมากขึ้นและมีความมั่นใจในตัวเอง ในขณะที่ Sol-1 นั้น เป็นคนขี้อายเมื่อขึ้นแสดงโชว์ จึงทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเป็นนักร้องของเขา เขาจึงไม่ผ่านการคัดเลือกในรอบนี้ แต่ถึงแม้ว่า Sol-1 จะไม่ได้รับคัดเลือกก็ยังมีแฟนคลับที่คอยสนับสนุนและให้กำลังใจเขาอยู่เสมอ โดยการทำเว็บไซต์ของ Sol-1 เพื่อให้เขาตั้งใจฝึกฝนและพัฒนาตนเองต่อไป
ซิงเกิลแรก Dirty Cash เพลงป็อบสนุกสนาน กลิ่นอายฮิปฮอปที่ได้โปรดิวเซอร์ชื่อดัง Andy Love (อดีตนักร้องวง เพตชอปบอยส์) และ Jos Jorgensen ที่มีผลงานเพลงธีม X-factor และ อเมริกาก็อดทาเลนท์ มาแต่งช่วยทำนองและเรียบเรียง เพลงนี้ จี-ดรากอน หัวหน้าวงและโค-โปรดิวเซอร์ยังได้โชว์ความสามารถในการแต่งท่อนแรพทั้งหมด ในอัลบั้ม BIGBANG VOL.1 สมาชิกแต่ละคนได้แต่งเนื้อร้องและก็มีผลงานโซโล่ของตนเอง
2000–2006: การก่อตั้งและเปิดตัว
[แก้]ก่อนที่จะมีการเปิดตัวของวง สมาชิกหลายคนได้แสดงตัวต่ออุตสาหกรรมบันเทิงแล้ว หัวหน้าวง จี-ดรากอน และนักร้องหลัก แทยัง เป็นหนึ่งในผู้ที่ได้รับการฝึกหัดภายใต้วายจีเอนเตอร์เทนเมนต์ เมื่ออายุได้ 11 ปี ก่อนที่จะเข้าสู่วายจีเอนเตอร์เทนเมนต์ พวกเขาเคยเป็นนักแสดงและนายแบบเด็กมาก่อนและเคยเป็นเด็กฝึกหัด ค่ายเอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์ เป็นระยะเวลา 5 ปี ก่อนที่ทั้งคู่จะตัดสินใจออกจากการเป็นเด็กฝึกของค่ายเอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์ เพราะรู้ว่าแนวเพลงที่ทั้งคู่ต้องการเป็นแนวฮิปฮอปซึ่งขัดแย้งกับความต้องการของทางค่ายเอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์ จึงตัดสินใจมาออดิชั่นที่วายจีเอนเตอร์เทนเมนต์แทน พวกเขาได้รับการแนะนำให้รู้จักบริษัทครั้งแรกเมื่อได้รับเลือกให้แสดงเวอร์ชันเด็กในมิวสิกวิดีโอเพลง A-YO ของศิลปิน Jinusean เมื่อปี 2001 ภายหลังจากถ่ายมิวสิกวิดีโอ พวกเขาก็ตัดสินใจเข้าร่วมกับวายจีเอนเตอร์เทนเมนต์ตั้งแต่พวกเขาผ่านการร้องฮิปฮอปและอาร์แอนด์บี ทั้งสองได้เปิดตัวภายใต้ชื่อว่า GDYB และออก 2 เพลงภายใต้อัลบั้มวายจีแฟมิลี่ อย่างไรก็ตาม พวกเขาไม่ได้ออกอัลบั้มที่พวกเขาเป็นเจ้าของ หนึ่งในอัลบั้มที่รู้จักกันดีคือ "Unfold to Higher Place" ซึ่งแสดงกับ Perry และ Gummy ทั้งคู่ยังโดดเด่นในอัลบั้มของศิลปินค่ายวายจีอื่นๆอีก เช่น Wheesung, Gummy, Perry, Masta Wu, และ Se7en ขณะที่เป็นแร็ปเปอร์นั้น จี-ดรากอน ยังได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมของวายจีแฟมิลี่ต่างๆ ซึ่งวายจีแฟมิลี่ประกอบด้วย 1TYM, Perry, Masta Wu, Jinusean, Se7en และ Gummy ในเวลานั้น ถึงแม้ว่า แทยัง เป็นคนแรกที่ได้รับการฝึกให้เป็นแร็ปเปอร์ แต่เขาก็หันไปเป็นนักร้องทันทีหลังจากที่ได้ยินว่าวายจีเอ็นเตอร์เทนเมนต์ต้องการน้องร้องหลังจากที่เปิดตัวบิกแบงแล้ว ทั้ง จี-ดรากอน และ แทยัง ได้จี้ทั้งในและนอกกิจกรรมของบริษัทด้วยกับจนกระทั่งการเปิดตัวครั้งสุดท้ายของพวกเขากับบิกแบง
ทีโอพีเคยเป็นแร็ปเปอร์ใต้ดินใช้ชื่อว่า เทมโป หนึ่งในเพลงที่ฮิตของเขาคือ Buckwild กับศิลปินที่ชื่อ เอ็นบีเค เกรย์ จี-ดรากอน ติดต่อไปยัง ทีโอพี เมื่อวายจีเอนเตอร์เทนเมนต์กำลังหาผู้สมัครเพื่อที่จะสร้างบอยกรุป ทั้งคู่ได้บันทึกการสาธิตหลายครั้งและส่งไปให้ ยัง ฮย็อน-ซ็อก ซีอีโอของวายจีเอนเตอร์เทนเมนต์ ผู้ซึ่งต่อมาชวนให้ทีโอพีมาออดิชั่น อย่างไรก็ตาม เขาถูกปฏิเสธโดยถูกบันทึกว่ามีน้ำหนักและบุคลิกภาพโดยรวมที่ดูตัวใหญ่มากเกินไป อย่างไรก็ตาม หกเดือนต่อมา เขาจึงได้รับการตอบกลับจากค่ายวายจีเอนเตอร์เทนเมนท์หลังจากลดน้ำหนักแล้ว
2006 : เปิดตัวครั้งแรก, มินิอัลบั้มชุดแรก Bigbang Vol.1
[แก้]บิกแบงเปิดตัววงครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2006 ที่ยิมนาสติก อารีน่า ในโซล โอลิมปิก ปาร์ค ระหว่างการแสดงคอนเสิร์ตวายจีแฟมิลี่คอนเสิร์ตปีที่ 10[15]
ตามมาด้วยซิงเกิลแรกของวงคือ Bigbang ประกอบด้วยเพลง We Belong Together, A Fool's Only Tears โดยร้องร่วมกับ Park Bom, และเพลง This Love ซึ่งดัดแปลงมาจากเพลงวงร็อคอเมริกันอย่างมารูนไฟฟ์, เรียบเรียงใหม่โดยจี ดรากอน ยอดขายซิงเกิลนี้อยู่ที่ 40,000 ชุด[16] ซิงเกิลที่สองคือ Bigbang Is V.I.P. วางแผงเมื่อเดือนกันยายน ทำยอดขายทั้งหมดอยู่ที่ 32,000 ชุด[16] ซิงเกิลสุดท้ายคือ Bigbang 03 ยอดขายทั้งหมด 40,000 ชุด[16] เมื่อตอนสิ้นเดือนธันวาคม 2006 บิกแบงจัดคอนเสิร์ตครั้งแรก The Real เดือนต่อมาได้ออกอัลบั้ม Since 2007 ทำยอดขายทั้งหมดที่ 48,000 ชุดเมื่อสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2007 [16]
สมาชิก
[แก้]ปัจจุบัน
อดีต
- ทีโอพี (탑) – แร็ปเปอร์ (2006–2023)
- ซึงรี (승리) – นักร้อง (2006–2019)
ผลงานเพลง
[แก้]
อัลบั้มภาษาเกาหลี[แก้]
|
อัลบั้มภาษาญี่ปุ่น[แก้]
|
|
ทัวร์และคอนเสิร์ต
[แก้]
|
|
รางวัลและการเสนอชื่อ
[แก้]Music Bank
[แก้]Year | Date | Song |
---|---|---|
2007 | September 7 | Lies |
October 5 | ||
October 19 | ||
December 14 | Last Farewell | |
December 21 | ||
2008 | January 11 | Last Farewell |
August 22 | Haru Haru | |
September 5 | ||
September 12 | ||
September 19 | ||
September 26 | ||
November 21 | Sunset Glow | |
November 28 | ||
December 16 | ||
2011 | March 4 | Tonight |
March 11 | ||
September 17 | ||
April 22 | Love Song | |
2012 | March 9 | Blue |
March 16 |
Inkigayo
[แก้]Year | Date | Song |
---|---|---|
2007 | September 9 | Lies |
December 16 | Last Farewell | |
December 16 | ||
2008 | January 13 | Last Farewell |
August 24 | Haru Haru | |
August 31 | ||
September 7 | ||
November 30 | Sunset Glow | |
December 7 | ||
December 14 | ||
2011 | March 6 | Tonight |
March 13 | ||
March 20 | ||
April 17 | Love Song | |
April 24 | ||
May 1 | ||
2012 | March 11 | Blue |
March 18 | ||
March 25 |
M! Countdown
[แก้]Year | Date | Song |
---|---|---|
2007 | September 27 | Lies |
August 25 | ||
2008 | January 17 | Last Farewell |
August 28 | Haru Haru | |
September 4 | ||
September 11 | ||
September 25 | ||
December 4 | Sunset Glow | |
2011 | March 13 | Tonight |
March 20 | ||
March 27 | ||
April 28 | Love Song | |
2012 | March 8 | Blue |
March 15 | Fantastic Baby | |
March 23 |
Music on Top
[แก้]Year | Date | Song |
---|---|---|
2012 | March 14 | Blue |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Fujimori, Sachi (November 8, 2012). "Leading up to its Newark shows, is Big Bang ready to bring K-pop to the U.S.?". NorthJersey. The Record. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 5, 2016. สืบค้นเมื่อ November 16, 2012.
- ↑ https://news.abs-cbn.com/entertainment/03/11/19/big-bangs-seungri-announces-retirement-amid-controversy
- ↑ "Bigbang is going on tour: Get to know the kings of K-pop". The Straits Times. April 2, 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 3, 2015. สืบค้นเมื่อ October 8, 2017.
- ↑ Cracan, Andreea-Mihaela (April 30, 2015). "Bigbang: The kings of k-pop are back". UK Blasting News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 3, 2015. สืบค้นเมื่อ October 7, 2017.
- ↑ Maria, Sherman (October 12, 2015). "K-Pop Kings Bigbang Fly Seoul's Soul to NYC". The Village Voice. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 3, 2016. สืบค้นเมื่อ October 8, 2017.
- ↑ Lee, David (October 13, 2015). "Review: Kings of K-Pop Bigbang Performs First U.S. Show In 3 Years". Vibe. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 3, 2015. สืบค้นเมื่อ December 12, 2015.
- ↑ Bui, Hoai-Tran (April 21, 2016). "BIGBANG: The biggest boy band in the world you probably haven't heard of". USA Today. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 3, 2015. สืบค้นเมื่อ January 12, 2018.
BIGBANG – unofficially called the "kings of K-pop" – are old pros in the increasingly youthful K-pop industry, still beating out newbie boybands and girl groups every year in both awards and album sales.
- ↑ Liu, Marian (February 18, 2017). "K-pop's growing pains: Why Asia's biggest bands are splitting up". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 30, 2017. สืบค้นเมื่อ October 7, 2017.
In January, 'Kings of K-pop' Big Bang played their last concert before going on hiatus – after dominating the charts for 10 years.
- ↑ Brown, August (October 5, 2015). "Review BigBang explodes K-Pop convention at the Honda Center". tronc. Los Angeles Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 25, 2015. สืบค้นเมื่อ October 26, 2015.
- ↑ Sun, Rebecca (November 1, 2015). "Big Bang's Global Influence: How to Build a Boy Band That Lasts". The Hollywood Reporter. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 30, 2016. สืบค้นเมื่อ December 11, 2015.
- ↑ Catherine Deen (2012-03-12). "K-Pop royalty Big Bang speaks to fans with 'Fantastic Baby'". Yahoo!. สืบค้นเมื่อ 2012-03-12.
- ↑ http://www.allkpop.com/2012/03/time-magazine-makes-another-mention-of-big-bangM
- ↑ Han, Sang-hee (2008-01-03). "Big Bang Will Knock on Japan". The Korea Times. สืบค้นเมื่อ 2008-01-27.
- ↑ "MTV EMA 2001 Winners". สืบค้นเมื่อ 2011-11-07.
- ↑ "올 최고 기대주 빅뱅, 9월 중순부터 본격 활동 개시". Sports Chosun. 2006-08-21. สืบค้นเมื่อ 2010-01-15. (เกาหลี)
- ↑ 16.0 16.1 16.2 16.3 "Album Sales For The Month of February 2007". Industry Association Of Korea (ภาษาเกาหลี). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-21. สืบค้นเมื่อ 2008-02-15. (เกาหลี)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ (ในภาษาเกาหลีและอังกฤษ)