อีพี (อัลบั้มเพลง)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอกซ์เทนเดดเพลย์แผ่นเสียงรูปแบบไวนีล

เอกซ์เทนเดดเพลย์ (อังกฤษ: extended play) ย่อว่า อีพี (EP) เป็นแผ่นเสียงรูปแบบไวนีลหรือซีดี หรือสื่อดิจิทัลสำหรับดาวน์โหลด ที่มีเพลงมากกว่าซิงเกิล แต่น้อยกว่าลองเพลย์ (แอลพี) หรือสตูดิโออัลบั้ม อีพีมักจะมีความยาวรวมของเพลงอยู่ราว 10-28 นาที ขณะที่ซิงเกิลมีความยาว 10 นาที และอัลบั้มทั่วไปมีความยาวเพลงรวม 30-80 นาที และมินิแอลพี อยู่ราว 20-30 นาที[1] ในสหราชอาณาจักร Official Chart Company ได้แบ่งแยกระหว่างอีพีกับอัลบั้ม ที่ความยาว 25 นาที หรือ 4 แทร็ก (รวมถึงเวอร์ชันต่าง ๆ ของเพลง)[2][3]

ประวัติ[แก้]

อีพีได้ออกมา หลายขนาดในหลายทศวรรษ ในทศวรรษ 1950 และ 1960 อีพีเป็นที่รู้จักในรูปแบบของเพลงรวมหรืออัลบั้มตัวอย่าง และเล่นที่ 45 และต่อมาที่ 33⅓ rpm บันทึกเสียงบนแผ่น 7 นิ้ว (18 ซม.) มี 2 เพลงในแต่ละด้าน[1][4]

อย่างไรก็ตาม อัลบั้มเพลงคลาสสิกหลายอัลบั้มได้เริ่มออกมาในยุคแห่งแอลพี ก็ออกมาในรูปแบบของอัลบั้มอีพี เช่นผลงานของ Arturo Toscanini ที่บันทึกเสียงทางวิทยุระหว่างปี 1944 และ 1954 ผลงานโอเปร่าชุดนี้ออกอากาศทางวิทยุเอ็นบีซี และมีออกวางขายในรูปแบบทั้ง 45 RPM และ 33⅓ RPM ต่อมาในยุค 1990 ออกมาในรูปแบบแผ่นดิสก์

ในระหว่างทศวรรษ 1950 ค่ายอาร์ซีเอวิกเตอร์ ออกอัลบั้มอีพีหลายอัลบั้ม สำหรับภาพยนตร์ของวอลต์ดิสนีย์ ที่มีทั้งเรื่องราวในภาพยนตร์และเพลง ในแต่อัลบั้มมี 2 แผ่น และมีสมุดภาพ บรรจุชื่อเพลงต่าง ๆ มีเพลงอย่าง Snow White and the Seven Dwarfs, Pinocchio และในเวอร์ชันปี 1954 ออกมาในชื่อ 20,000 Leagues Under the Sea

ในปี 1967 เดอะบีทเทิลส์ ออกอัลบั้มอีพีคู่ ซึ่งมีเพลงในภาพยนตร์โทรทัศน์เรื่อง Magical Mystery Tour สตีวี วันเดอร์ ออกอีพี ที่มีเพลง 4 เพลงพิเศษ ในปี 1976 ในอีพีคู่ที่ชื่อ Songs in the Key of Life ในยุคทศวรรษ 1980 และ 1980 อีพีออกมาในรูปแบบขนาด 7 นิ้ว (18 ซม.) ,10 นิ้ว หรือ 12 นิ้ว (30 ซม.) ความเร็วทั้ง 33⅓ หรือ 45 rpm

ในปี 1994 อลิซอินเชนส์ ถือเป็นวงแรกที่มี อีพี ขึ้นอันดับ 1 บนชาร์ตอัลบั้ม บิลบอร์ด มีอีพีที่ชื่อ Jar of Flies วางขายเมื่อ 25 มกราคม ค.ศ. 1994 และต่อมา ลิงคินพาร์ก และ เจย์-ซี มีอีพีผลงานร่วมกัน ในชื่อชุด คอลลิชันคอร์ส ก็ขึ้นอันดับ 1 ถัดมาจากอลิซอินเชนส์ โดยในปี 2011 วงบอยแบนด์อังกฤษเทกแดท มีอีพีในชื่อ Progressed สามารถขึ้นไปถึงอันดับ 1 ในชาร์ตของอังกฤษ

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Strong, Martin C. (2002). The Great Rock Discography, 6th edn. Canongate. ISBN 1-84195-312-1.
  2. Official UK Charts Singles Rules
  3. Official Rules For Chart Eligibility — Albums
  4. Shuker, Roy (2005). "Singles; EP's". Popular Music: The Key Concepts. Routledge. p. 324. ISBN 041534770X.